เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

โดยชาวจีนนำมาบรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสายจีน และประกอบการแสดงงิ้วบ้าง บรรเลงในงานเทศกาล และงานรื่นเริงต่าง ๆ บ้าง

                คำว่า ขิม มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน ซึ่งมาจากอักษรจีน ซึ่งในภาษาจีนกลางอ่านว่า ฉิน

             นักดนตรีไทยนำขิมมาบรรเลงในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 โดยแก้ไขบางอย่าง คือเปลี่ยนสายลวดทองเหลืองให้มีขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับ ไปตลอดจน ถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายกับมือขวามีระดับเกือบตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้ใหญ่และก้านแข็งขิ้น หย่องที่หนุนสาย มีความหนา กว่าของเดิมเพื่อให้เกิดความสมดุล และมีความประสงค์ให้เสียงดังมากขึ้น และไม่ให้เสียงที่ออกมาแกร่งกร้าวเกินไปให้ทาบสักหลาดหรือหนังตรงปลายไม้ตี ส่วนที่กระทบกับสาย ทำให้เสียงเกิดความนุ่มนวล และได้รับความนิยม บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผสมจนถึงปัจจุบัน


ประเภทของขิม 


เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร


                


                    1.ขิมผีเสื้อ เป็นแบบที่พบได้ทั่วไปรูปร่างคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีกมีหยักโดยรอบ มักมีลิ้นชักใส่ค้อนปรับเสียง และมีช่องให้เสียงออกสองช่องที่หน้าขิม มีตุ๊กตาขิมแปะไว้ เมื่อนำฝาขิมมาประกอบเรียงกับไม้ขิม  และลิ้นชักที่ว่านั่น จะได้รูปร่างคล้ายผีเสื้อ ถ้าเป็นแบบเก่ามีการเขียนลายแบบจีนที่ฝาขิมเป็นรูปแปดเทพของจีน จะเรียกขิมโป๊ยเซียน




              


  

เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร


             2.ขิมคางหมู เป็นขิมที่การลดทอนรายละเอียดที่เป็นหยักโดยรอบของขิมผีเสื้อให้กลายเป็นไม้เรียบๆสัณฐานโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจึงเรียกขิมคางหมู เจาะช่องให้เสียงออกด้านข้างเป็นแนวยาว



เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร



              3.ขิมแผ่น เป็นขิมที่ใช้แถบโลหะขนาดต่างกันแปะวางบนหน้าขิมแทนตำแหน่งเสียงบนขิมใช้ไม้เป็นพลาสติกหัวกลมแข็ง เหมาะสำหรับฝึกเล่นในเบื้องต้นให้รู้จักเสียง ตีให้ตายยังไงก็ไม่มีปัญหาสายขาด



เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

            

               4.ขิมกระเป๋า เรียกขิมที่ยึดตัวขิมไว้กับกระเป๋าอย่างแน่นหนาถือหิ้วไปมาได้




เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร



            5.ขิมหลอด โครงสร้างคล้ายขิมแผ่นแต่เปลี่ยนจากแถบโลหะ เป็นหลอดโลหะกลวงเทียบเสียงแล้วติดวางบนหน้าขิม ใช้ไม้ขิมธรรมดาตีได้

วิธีจับไม้ขิม
จากภาพตัวอย่างด้านบนแสดงวิธีการจับไม้ขิมในท่าพื้นฐาน ให้สังเกตว่านิ้วหัวแม่มือจะอยู่ด้าน
บน นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและ นิ้วก้อย รองรับไม้ขิมอยู่ด้านล่างโดยให้ปลายนิ้วก้อยสัมผัสกับปลาย
ด้ามไม้ขิมพอดี เมื่อจับตามลักษณะนี้แล้วให้เน้นกำลังบีบไม้ขิม 3 จุดด้วยกันคือ ที่ปลายนิ้วหัวแม่
มือ (เลข 1) ที่ปลายนิ้วชี้ (เลข 2) และ ที่ปลายนิ้วก้อย (เลข 3) การที่แนะนำให้จับไม้ขิมครบ
ทั้ง 5 นิ้วนั้นก็เพราะจะได้กำลังมากที่สุดและสามารถบังคับไม้ขิมได้ 100 เปอร์เซนต์ ลองคิดดูซิ
ครับว่าคนเรามีนิ้วมือ 5 นิ้ว หากจับไม้ขิมเพียง 3 นิ้วหรือ 4 นิ้ว (นิ้วก้อยเปิด) ก็จะสามารถควบ
คุมไม้ขิมได้เพียง 3 ใน 5 ส่วน หรือ 4 ใน 5 ส่วน เท่านั้น ผู้ที่จับครบทั้ง 5 นิ้ว จะสามารถตีขิม
ได้ดังชัดเจนและแม่นยำมากที่สุด

เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

วิธีตีสายขิม
เมื่อจับไม้ขิมได้มั่นเหมาะแล้วก็เริ่มฝึกสีสายขิมกันเลยนะครับ ก่อนอื่นต้องเรียนรู้กลไกในการตี
สายขิมเสียก่อนว่าเป็นอย่างไร คำว่า “ตีสายขิม” นั้นอาจจะทำให้หลายๆคนเข้าใจผิดและตีสาย
ขิมผิดวิธีไปด้วย โดยปกติคำว่า “ตี” นั้นหมายถึงการที่เราใช้มือหรือวัตถุในมือฟาดลงไปบนวัตถุ
อีกสิ่งหนึ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงการประคบมือแต่อย่างใด และการตีนั้นส่วนมากจะใช้กำลังค่อน
ข้างแรงเพราะมุ่งที่จะให้สิ่งที่ตีนั้นแตกทำลายไปหรือกระเด็นไปให้ไกลที่สุด หากใครตีสายขิม
ด้วยความหมายดังที่ผมเพิ่งกล่าวไปนี้เสียงขิมจะแตกพร่าหาความไพเราะไม่ได้เลยครับ ที่ถูกแล้ว
การตีสายขิมน่าจะเรียกว่า “การเคาะสายขิม” มากกว่า เพราะทุกครั้งที่ปลายไม้ขิมสัมผัสกับสาย
ขิม เราจะต้องยกปลายไม้ขึ้นด้วยทุกครั้ง ยกตัวอย่างเช่นเวลาที่เราใช้มือเคาะประตูเมื่อเคาะถูก
บานประตูแล้วเราก็ยกมือขึ้น เวลาที่ครูใช้ไม้บรรทัดเคาะศีรษะลูกศิษย์เมื่อเคาะถูกแล้วก็ยกไม้ขึ้น
เช่นกัน การเคาะจึงหมายถึง “การตีอย่างเอ็นดู” คือไม่ต้องการจะทำร้ายอย่างรุนแรงนัก พูดง่ายๆ
ตามภาษาชาวบ้านก็คือไม่ต้องการฟาดจนหัวร้างข้างแตกนั่นแหล่ะครับ ถ้าเป็นภาษาวิทยายุทธจีน
ตอนที่ประลองฝีมือกันก็มักจะใช้คำว่า “จี้ถึงตัวแล้วหยุดยั้ง” ดังนั้นการ “ตีสายขิม” จึงไม่ใช่
“การฟาดสายขิม” แต่เป็นการ “เคาะสายขิม” มากกว่า
การตีสายขิมมีขั้นตอนในการบังคับไม้อยู่ 5 ขั้นตอนคือ
1. เคลื่อนไม้ขิม 2. เงื้อไม้ขิม 3. ตีสายขิม 4. ยกไม้ขิม 5. หยุดไม้ขิม
1. เคลื่อนไม้ขิม – คือการเลื่อนปลายไม้ขิมในมือซ้ายหรือมือขวาไปยังตำแหน่งสายขิมที่
ต้องการตี
2. เงื้อไม้ขิม – คือการเงื้อปลายไม้ขิมสูงขึ้นเหนือตำแหน่งที่จะตีเล็กน้อย
3. ตีสายขิม – สะบัดปลายไม้ขิมลงไปกระทบกับสายขิมทั้ง 3 เส้นในแนวระนาบเดียวกัน
(พยายามให้แนวสันของปลายไม้ขิมกระทบสายขิมทั้ง 3 เส้นพร้อมๆกัน)
4. ยกไม้ขิม – เมื่อปลายไม้กระทบสายขิมเต็มเสียงแล้วให้รีบยกปลายไม้ขิมขึ้นอย่างรวดเร็ว
อย่าให้มีการกระทบสายขิมซ้ำซ้อนจนเกิดเป็นหลายเสียง ให้ยกปลายไม้สูงจากสายขิม
ประมาณ 3 – 4 นิ้ว
5. หยุดไม้ขิม – เป็นกลวิธีในการทำให้ไม้ขิมหยุดสั่นไหวโดยเร็วเพื่อความสะดวกในการ
เลื่อนไม้ขิมไปตีสายขิมอื่นๆต่อไป ทั้งนี้เพราะเมื่อเราตีสายขิมแล้วจะเกิดแรงสั่นสะเทือนไป
ทั่วทั้งตัวไม้ขิมโดยเฉพาะที่ตรงปลายไม้จะสั่นไหวมากที่สุด ถ้าเรายังบีบไม้ขิมไว้แน่น
แรงสั่นสะเทือนนี้จะยิ่งทบทวีมากขึ้นทำให้ควบคุมวิถีของปลายไม้ขิมได้ยาก การตีสายขิม
ครั้งต่อๆไปจึงไม่ค่อยแม่นยำเท่าที่ควร วิธีการหยุดแรงสั่นสะเทือนของไม้ขิมให้ทำดังนี้คือ
เมื่อตีสายขิมและยกปลายไม้ขิมขึ้นแล้วให้ผ่อนกำลังนิ้วที่บีบด้ามไม้ขิมนิดหนึ่งเพื่อลดแรง
สั่นสะเทือนของตัวไม้แล้วจึงบีบกระชับใหม่ วิธีนี้จะทำให้ไม้ขิมหยุดนิ่งได้ทันทีเมื่อจะเลื่อน
ไปตีสายขิมอื่นจะควบคุมวิถีของปลายไม้ได้เที่ยงตรงมากขึ้น

เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

ในภาพเป็นการแสดงการตวัดปลายไม้ขิมลงไปกระทบกับสายขิมทั้ง 3 สายให้ได้แนวระนาบ
เดียวกันแล้วจึงยกปลายไม้ขึ้นอย่างรวดเร็วตามแนวแถบลูกศรสีขาว คำว่า “แนวระนาบเดียวกัน”
หมายถึงการที่แนวสันของปลายไม้ขิม (ตำแหน่งที่เลข 1 ชี้) ตกลงไปกระทบกับสายขิม 3 เส้น
พร้อมๆกันพอดีทุกๆครั้งที่ตีสายขิมไม่ว่าจะเป็นมือซ้ายหรือมือขวาก็ตามต้องตีให้ได้แบบนี้ทุก
ครั้งไป
เริ่มฝึกตีสายขิม
ต่อไปจะเป็นการฝึกตีสายขิมทั้ง 21 ตำแหน่งเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและชำนาญ ขอให้สังเกตดู
แผนผังการเรียงเสียงของสายขิมดังภาพต่อไปนี้ครับ

แต่ละแถวจะใช้ตัวเลข 1 ถึง 7 แทนเสียงโน้ตโดยกำหนดสัญญลักษณ์ประจำแต่ละแถวดังนี้คือ
ถ้าเป็นเลขในแถวซ้ายจะไม่มีเครื่องหมายกำกับใดๆทั้งสิ้น ถ้าเป็นเลขในแถวกลางจะมีเครื่องหมาย
“จุด” กำกับไว้ข้างบน ส่วนตัวเลขในแถวขวาจะมีเครื่องหมาย “บวก” กำกับไว้ข้างบน การที่
กำหนดเครื่องหมายไว้ดังนี้เพื่อมิให้มีความสับสนในขณะที่ถอดทำนองเพลงด้วยโน้ตครับ
ขั้นแรกให้ฝึกตีสายขิมในแถวซ้ายก่อนโดยเริ่มตีจากข้างบนลงมาข้างล่าง ใช้ไม้ขิมในมือซ้าย
ตีที่ตำแหน่งเลข 2 จากนั้นใช้ไม้ขิมในมือขวาตีที่ตำแหน่งเลข 1 แล้วตีสลับมือกันดังนี้เรื่อยลงมา
จนถึงเลข 3 ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายในแถว ถ้าตีสลับมืออย่างถูกต้องไม้ขิมในมือซ้ายจะจบลงที่
ตำแหน่งเลข 3 พอดี จากนั้นจึงตีย้อนกลับขึ้นไปใหม่จนไม้ขิมในมือซ้ายไปจบลงที่เลข 2 อีกครั้ง
ถือเป็น 1 รอบ ให้ฝึกตีไล่เสียงขึ้นลงดังนี้หลายๆรอบพร้อมกับกำหนดรู้ไปด้วยว่าตีไปกี่รอบแล้ว
ขณะที่ตีให้วางแนวไม้ขิมให้คู่ขนานกันเหมือนกับรางรถไฟดังภาพหมายเลข 1 อย่าวางแนวไม้
ขิมอยู่ในแนวเอียงเหมือนดังในภาพหมายเลข 2 เพราะจะดูไม่สวยงาม การฝึกวางมือให้สวย
งามและถูกต้องเสียตั้งแต่แรกเป็นสิ่งสำคัญมากครับ เพราะถ้าเคยชินกับการจับแบบใดแบบหนึ่ง
แล้วจะแก้ไขได้ยาก นักดนตรีที่มีบุคลิกภาพเรียบร้อยสง่างามและมีท่วงท่าทะมัดทะแมงย่อม
โน้มนำให้ผู้ชมมีความชื่นชอบไปแล้วส่วนหนึ่งจริงไหมครับ

พยายามให้ไม้ขิมขนานกันเหมือนรางรถไฟ
การฝึกตีไล่เสียงสายขิมทั้ง 7 ตำแหน่งนี้ต้องฝึกทุกแถวนะครับ คือเมื่อฝึกตีสายขิมในแถวซ้าย
จนคล่องแล้วให้ย้ายมาฝึกตีสายขิมในแถวกลางและแถวขวาด้วย ขณะที่ตีก็ให้พิจารณาตรวจสอบ
ไปด้วยว่ากลไกการตีเป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปแล้วหรือไม่ พยายามฝึกตีไล่เสียงสายขิมจนมี
ความชำนาญคือเมื่อนึกจะตีสายขิมตำแหน่งไหนด้วยมือซ้ายหรือมือขวาก็ทำได้ทันที วิธีฝึกแบบ
นี้เป็นกระบวนท่าพื้นฐานซึ่งจะมีประโยชน์ในการฝึกตีขิมมากทีเดียวครับ
การวางตำแหน่งของปลายไม้ขิม
ขิมเป็นเครื่องดนตรีที่มีต้นกำเนิดเสียงมาจาก “การตี” ดังนั้นตำแหน่งที่ปลายไม้ขิมกระทบกับ
สายขิมจึงมีความสำคัญมากทั้งนี้เพราะความไพเราะน่าฟังเพียงของเสียงขิมขึ้นอยู่กับจุดกระทบ
เหล่านี้ทั้งสิ้น จากการสังเกตและประสบการณ์ในการสอนขิมของผมเป็นเวลานานกว่า 30 ปีพบว่า
ส่วนใหญ่ ผู้ที่เริ่มฝึกหัดจะตีสายขิมในลักษณะดังแผนภูมิต่อไปนี้คือ

ในภาพหมายเลข 1 เมื่อผู้ฝึกเริ่มตีสายขิมมักจะวางไม้ขิมในแนวขนานกันและตีลงไปตามแนว
ขนานนั้น การตีแบบนี้ดูเผินๆก็น่าจะสมเหตุผลดีแต่ถ้าลองฟังเสียงให้ชัดๆจะพบว่าเสียงขิมจาก
มือซ้ายและมือขวาดังแตกต่างกันเพราะจุดกระทบของปลายไม้ขิมในมือซ้ายและขวาไม่ใช่
ตำแหน่งเดียวกัน คือปลายไม้ขิมในมือซ้ายจะตกกระทบสายขิมในแนวเส้นประของอักษร A
ส่วนปลายไม้ขิมในมือขวาจะตกกระทบสายขิมในแนวเส้นประของอักษร B จึงได้เสียงขิมที่ไม่
เท่ากัน เพื่อให้เข้าใจกรณีที่ผมกำลังกล่าวนี้ได้ชัดเจนขึ้นขอให้ลองพิจารณาดูภาพหมายเลข 2
นะครับ
ในภาพหมายเลข 2 สมมติว่าเราก้มลงมองขนานไปตามแนวยาวของหย่องขิมจะเห็นสายขิม
ทุกเส้นที่พาดอยู่บนหย่องทางด้านซ้ายทำมุมลาดลงทั้งสองฟากคล้ายกับพื้นผิวบนถนน ถ้าเราตี
สายขิมในแนว A และ B ก็เปรียบเหมือนรถ 2 คันที่วิ่งกันคนละแนวคือรถคันขวาวิ่งเลียบใกล้
เส้นกึ่งกลางของถนนส่วนรถคันซ้ายลงไปวิ่งบนไหล่ทาง หากเป็นเรื่องของรถวิ่งบนถนนก็คงไม่
มีผลแตกต่างอะไรกันมากนักหรอกครับแต่ถ้าเป็นการตีสายขิมแล้วจะมีผลแตกต่างกันมากทีเดียว
เพราะเสียงขิมจะไม่เหมือนกันคือ เสียงจากมือขวาจะฟังแข็งกระด้างกว่ามือซ้ายเพราะว่าปลาย
ไม้ขิมในมือขวาตีลงใกล้กับสันหย่องจึงมีความสั่นสะเทือนน้อยกว่า ส่วนเสียงจากมือซ้ายจะเบา
กว่าและก้องมากกว่าเพราะตีห่างจากหย่องมากสายขิมจึงสั่นสะเทือนนานกว่า เมื่อเสียงของไม้
ขิมในมือซ้ายและมือขวาไม่เหมือนกันดังนี้แล้วก็อุปมาเหมือนการที่เราใส่รองเท้าผิดคู่ คือข้าง
ซ้ายใส่รองเท้ายางส่วนข้างขวาใส่รองเท้าหนัง เวลาเดินคงมีเสียงที่ฟังดูแปร่งหูพิลึกๆนะครับ
ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอแนะนำให้ฝึกตีสายขิมดังตัวอย่างแผนภูมิในภาพหมายเลข 3 จะดีกว่าครับ
ภาพหมายเลข 3 เป็นการตีสายขิมโดยให้ปลายไม้ขิมตกกระทบกับสายขิมเป็นแนวระนาบเดียว
กัน วิธีการวางแนวไม้ขิมก่อนตีนั้นจะเหมือนกันคือให้คู่ขนานกันเหมือนกับรางรถไฟ แต่เวลาที่ตี
สายขิมแล้วตอนที่ยกปลายไม้ขึ้นให้เบี่ยงปลายไม้ขิมเฉียงออกเล็กน้อยเพื่อจะได้ไม่ชนกับปลายไม้
ขิมอีกข้างที่กำลังตีตามลงไป ดังนั้นจุดตกกระทบของปลายไม้ขิมจึงเป็นแนวเดียวกันโดยตลอด
ซึ่งก็คือแนวของ “จุด C” ดังที่ได้แสดงไว้ในภาพหมายเลข 3 นั่นเอง วิถีของปลายไม้ขิมขณะที่
ยกขึ้นลงจึงมิได้อยู่ในแนวตรงหากแต่โค้งเบี่ยงออกเล็กน้อยและทำมุมเป็นรูปตัว V การตีแบบนี้
เรียกได้ว่าเป็นการตี “ทับรอย” คล้ายกับการวางตำแหน่งของเท้าในขณะที่เดินไต่เชือกเส้นเดียว
นั่นเอง การตีขิมโดยวางแนวปลายไม้แบบนี้จะได้เสียงขิมที่ดังชัดเท่ากันทั้งมือซ้ายและมือขวา
ทำให้บรรเลงขิมได้ไพเราะน่าฟังกว่าการตีแบบภาพหมายเลข 2 ซึ่งน่าจะเรียกว่าตีแบบ “เป็ด
เดิน”คือไม้ขิมเคลื่อนไปคนละแนวคล้ายกับการเดินของเป็ดและยังทำให้เสียงขิมไม่เท่ากันด้วย
ขอให้ฝึกตีสายขิมขึ้นลงทั้ง 3 แถวจนคล่องพร้อมทั้งกำหนดรู้ 3 ประการไปด้วยในขณะที่ฝึกตีคือ
1) ต้องตีสายขิมให้ดังเท่ากันทั้งสองมือ
2) จังหวะการซอยสลับมือต้องสม่ำเสมอ
3) ตีสายขิมได้แม่นยำทั้งมือซ้ายและมือขวา
ทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้เป็นการฝึกขั้นพื้นฐานในการตีขิมซึ่งผู้เริ่มฝึกหัดตีขิมควรทราบและ
ทำให้ได้ก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้การตีเป็นทำนองเพลง หากสามารถ ตีดัง-ฟังชัด และตีได้อย่างต่อ
เนื่องราบเรียบและมีความแม่นยำทั้งมือ ซ้าย-ขวา แล้ว จะบรรเลงเพลงอะไรก็ไพเราะทั้งนั้นครับ
ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนตีขิมมักจะใจร้อนและไม่เห็นความสำคัญของการฝึกขั้นพื้นฐานเพื่อให้สามารถ
ตีขิมได้เสียงดังฟังชัดเสียก่อน ข้ามไปเริ่มฝึกบรรเลงเป็นเพลงเลย จึงบรรเลงเพลงไม่ได้ไพเราะ
เท่าที่ควร การฝึกตีสายขิมให้แม่นยำและได้คุณภาพเสียงที่ชัดเจนก็เหมือนกับการฝึกหัดพูดนั่น
แหล่ะครับ เมื่อพูดได้ชัดแล้วต่อไปจะพูดสักกี่ร้อยกี่พันคำก็ชัดน่าฟังเหมือนกันหมด แต่ถ้าพูดไม่
ชัดแล้วถึงจะพูดกี่ร้อยกี่พันคำก็พูดไม่ชัดทั้งนั้น นอกจากทำให้ผู้ฟังไม่ประทับใจแล้วยังพลอยรู้
สึกรำคาญด้วย
เพื่อให้ได้บรรยากาศเหมือนกำลังอ่านคัมภีร์ฝึกวิทยายุทธของวัดเส้าหลินผมจึงได้วาดภาพ
หลวงจีนชรากำลังแนะนำวิธีตีขิมไว้จำนวน 40 ภาพ ภาพเหล่านี้เป็นการรวบรวมและแยกแยะ
วิธีการใช้มือตีสายขิมไว้มากมายหลายรูปแบบโดยไม่ซ้ำกัน สำหรับหนังสือคัมภีร์ตีขิมเล่มแรก
นี้ผมขอนำภาพดังกล่าวมาให้ชมเพียง 9 กระบวนท่าก่อน เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนของ
คัมภีร์ฝึกตีขิม “ภาคปฏิบัติ” ซึ่งเน้นเฉพาะเรื่องการถอดทำนองเพลงจากโน้ต มิได้เน้นเรื่องความ
รู้ทางด้านทฤษฎี คำอธิบายโดยละเอียดทั้ง 40 กระบวนท่าจะรวมอยู่ในหนังสือคัมภีร์ฝึกตีขิม

ขิม 7 หย่อง ชนิดกระเป๋าแข็ง

เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

ชื่อเรียกส่วนต่างๆของขิมแบบ “กระเป๋า”
1 ตัวขิม 2 ขอบฝาขิม 3 ไม้ตีขิม
4 ฝาขิม 5 หมุดยึดสายขิม 6 สลักกุญแจบนฝาขิม
7 สลักกุญแจบนตัวขิม 8 กระบอกเทียบเสียง 9 ช่องเสียง
10 หูหิ้ว 11 หย่องหนุนสายขิม 12 สายขิม
13 หย่องบังคับเสียง
ขิมชนิดนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากขิม 7 หย่องแบบขิมโป๊ยเซียนคือ นอกจากมีหย่องสำหรับ หนุนสายขิมแถวละ 7 หย่องเหมือนกับขิมโป๊ยเซียนแล้ว ลักษณะอื่นๆจะแตกต่างออกไปมากที เดียว ประการแรกตัวขิมและฝาขิมทำเป็นรูปคล้ายกับกระเป๋าเดินทางคือทำด้วยวัสดุแข็งทนต่อ การขีดข่วน ช่างดนตรีไทยได้ประดิษฐ์ให้เหมาะในการนำติดตัวไปยังสถานที่ต่างๆโดยทำ “หูหิ้ว” ไว้เหมือนกับกระเป๋าเดินทาง หมุดยึดสายขิมก็ทำเป็น “หมุดเกลียว” ใช้กระบอกที่มีก้าน สำหรับหมุนหมุดเพื่อเทียบเสียงแทนการใช้ฆ้อนตอก ส่วนที่ด้านในของฝาขิมทำเป็นแถบยางยืด ไว้สำหรับเสียบไม้ตีขิม ตรงขอบฝาขิมติดกุญแจไว้สำหรับล็อคฝาขิมให้ติดกับตัวขิมและมีลูก กุญแจสำหรับไขเปิดออกได้ พื้นใต้ตัวขิมติดปุ่มยางเล็กๆไว้ 4 มุมเพื่อกันครูดกับพื้น ลักษณะภาย นอกนั้นบางร้านทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูซึ่งมีขอบกลมมน บางร้านก็ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งนี้แล้วแต่รสนิยมของช่างผู้ผลิตแต่ละร้าน ขิม 7 หย่องดังที่กล่าวมานี้นิยมเรียกว่า”ขิมประเป๋า” ซึ่งคิดและออกแบบประดิษฐ์ขึ้นโดยช่างดนตรีของไทย
ขิมไม้รุ่นใหม่
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

ขิมไม้รุ่นใหม่เป็นขิม 7 หย่องที่มีรูปลักษณะเหมือนขิมโป๊ยเซียนแต่ใช้หมุดยึดสายขิมเป็น แบบเกลียวและใช้กระบอกที่มีก้านสำหรับหมุนเทียบเสียงนั้นก็มีการผลิตออกมาจำหน่ายเช่นกัน แต่ไม่นิยมวาดลวดลายลงบนฝาขิมเหมือนขิมโป๊ยเซียน ฝาขิมและตัวขิมจะทำเป็นลายไม้ลงเงา เรียบๆเท่านั้น ขิมพวกนี้ จะมี “กระเป๋าอ่อน” ซึ่งทำด้วยผ้าใบหรือพลาสติกที่เข้ารูปกับตัวขิมมา ห่อหุ้มไว้เพื่อป้องกันการเสียดสีกระทบกระแทกกับของแข็งจนเป็นรอยขีดข่วน ที่กระเป๋าจะมี ซิปสำหรับรูดปิดเปิดเพื่อให้ใส่ขิมทั้งตัวได้สะดวกและมีช่องสำหรับใช้เก็บอุปกรณ์ต่างๆของขิม เช่น สายขิม แปรงสำหรับปัดฝุ่น กระบอกเทียบเสียง และ เหล็กแหลมที่ใช้ในการเขี่ยแคะสายขิม เวลาที่จะเปลี่ยนสายขิมเป็นต้น บางร้านยังให้กระเป๋าเล็กๆ สำหรับใส่ของกระจุกกระจิกมาด้วย นับว่าเป็นการคิดค้นปรับปรุงและพัฒนาทางด้านอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการบรรเลงขิมที่ ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมากทีเดียว
ขิมแผ่น (ขิมทอง ขิมเหล็ก ขิมอะลูมิเนียม)
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

ชื่อเรียกส่วนต่างๆของ “ขิมแผ่น”
1 – ตัวขิม 2 – ฝาขิม 3 – ไม้ตีขิม 4 – หูหิ้ว
5 – สลักกุญแจ 6 – กุญแจ 7 – ที่เหน็บไม้ 8 – แผ่นโลหะ
ยังมีขิมอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะการเรียงเสียงคล้ายกับขิม 7 หย่อง แต่ใช้แผ่นโลหะแทน สายขิมทำให้เสียงแตกต่างออกไปจากขิมสายคือ เสียงจะคล้ายกับเสียงฆ้องวงที่ใช้บรรเลงในวง ปี่พาทย์ ไม้ตีขิมก็ทำรูปร่างเปลี่ยนไปคือส่วนหัวทำด้วยลูกยางกลมๆเพื่อให้เสียงดังนุ่มนวลยิ่งขึ้น แต่เดิมคงจะเริ่มทำด้วยโลหะเช่นเหล็กหรือทองเหลืองก่อน จึงเรียกกันว่า “ขิมเหล็ก” หรือ “ขิม ทอง” (ย่อมาจากคำว่าทองเหลือง) ต่อมาเมื่อมีการใช้อะลูมิเนียมทำก็เรียกกันว่า “ขิมอะลูมิเนียม” เมื่อเรียกกันหลายชื่อเช่นนี้จึงเกิดชื่อรวมขึ้นคือ “ขิมแผ่น” ซึ่งหมายถึงขิมที่ใช้แผ่นโลหะแทนสาย ขิมนั่นเอง ขิมแผ่นนี้มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกับขิมกระเป๋าคือมีวัสดุเปลือกแข็งหุ้มอยู่ทั้งที่ตัวขิม และฝาขิม มีกุญแจซึ่งผู้ใช้สามารถล็อคได้ มีที่สำหรับเหน็บไม้ขิม แต่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับเทียบ เสียงขิม เพราะเสียงจะไม่เพื้ยนเนื่องจากเป็นแผ่นโลหะที่กลึงจนได้น้ำหนักเสียงมาพอดีแล้ว ข้อ แตกต่างจากขิมสายที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแผ่นโลหะที่นำมาเรียงแทนสายขิมนั้นจะมีแถวละ 8 แผ่นและเรียงเสมอกันทุกแถวไม่ได้เรียงสลับเหลื่อมกันเหมือนขิมสายเวลาบรรเลงก็บรรเลง เฉพาะทำนองหลัก จึงเรียกได้ว่าเป็น “ฆ้องของวงเครื่องสาย”
ขิมแยกส่วน ขิมชนิดนี้เป็นขิม 7 หย่องชนิดอีกหนึ่ง แต่เป็นขิมลูกผสมระหว่างขิมกระเป๋าและขิมไม้
สามารถถอดแยกออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ ตัวขิม ฝาขิมด้านบน และ ฝาขิมด้านล่าง ดังภาพ
ต่อไปนี้
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

ชื่อเรียกส่วนต่างๆของขิมแยกส่วน
1 ตัวขิม 2 ฝาขิมด้านล่าง 3 ฝาขิมด้านบน
4 หูหิ้ว 5 สลักกุญแจด้านบน 6 สลักกุญแจด้านล่าง
7 ขาตั้งสำหรับวางตัวขิม ทำด้วยแผ่นไม้ สามารถถอดเก็บพับได้
ในภาพจะเห็นว่าตัวขิมนั้นแยกเป็นอิสระออกจากฝาขิมและสามารถเก็บไว้ภายในฝาขิมด้านบน และฝาขิมด้านล่างคล้ายๆกับตัวหอยซ่อนอยู่ในเปลือกหอย เวลาจะบรรเลงก็นำตัวขิมออกมาวาง ไว้บนขาตั้งซึ่งผู้ผลิตทำมาให้เป็นพิเศษหรือจะวางซ้อนไว้บนผาขิมก็ได้ ขาตั้งนี้ถอดแยกออกได้ เป็น 3 ชิ้น ดังในภาพหมายเลข 7 ซึ่งสามารถถอดและประกอบเข้าเป็นขาตั้งสำหรับรองรับตัวขิม ไว้ขาตั้งนี้จะเอนลาดลงมาหาตัวผู้บรรเลงทำให้สามารถตีขิมได้สะดวกยิ่งขึ้นและสามารถถอดพับหรือวางตามแบนไว้ภายในฝาขิมได้เพราะใช้วิธีเกาะเกี่ยวกันด้วยบานพับโลหะเล็กๆที่สวมล็อค เข้าหากันได้ ขิมแยกส่วนนี้แข็งแรงมากเนื่องจากกรอบตัวขิมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง แม้ตัวจะมีขนาด เท่าขิม 7 หย่องโดยทั่วไป แต่มีน้ำหนักมากกว่าจนเห็นได้ชัดรูปร่างของตัวขิมก็มีลักษณะที่ “เข้า รูป” กับฝาขิม เพื่อให้สามารถวางขิมไว้ภายในฝาได้อย่างสนิทแนบเนียน ภายในฝาขิมทั้งด้าน บนและด้านล่างบุไว้ด้วยสักหลาดและมีขอบกันชนบุสักหลาดไว้สำหรับกันตัวขิมกระแทกกับฝา ขิมด้วย นอกจากลักษณะพิเศษดังที่ได้กล่าวมาแล้วส่วนอื่นๆก็มีลักษณะเหมือนขิมไม้ 7 หย่อง ทั่วไปแต่เสียงของขิมแบบนี้จะ “แน่น” กว่าขิมไม้แบบอื่นๆ
ขิม 9 หย่อง
ขิม 9 หย่องนี้เป็น”วิวัฒนาการ”ในการผลิตขิมที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของช่างดนตรีไทยทีเดียว เพราะตัวขิมจะมีลักษณะเด่นๆที่เปลี่ยนไปจากขิม 7 หย่องอย่างเห็นได้ชัด ดังในภาพต่อไปนี้
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

ชื่อเรียกส่วนต่างๆของขิม 9 หย่อง
1 ตัวขิม 2 หย่องขิมมี 9 อัน 3 หมุดยึดสายเป็นเกลียว
4 ช่องเสียงอยู่ข้างใต้ตัวขิม 5 ไม้ขิม 6 หน้าขิมด้านบนเรียบ
ตัวขิมจะมีขนาดใหญ่กว่าขิมธรรมดาทั่วไป พิ้นผิวด้านบนมีลักษณะโค้งลาดเล็กน้อยและไม่ได้ทำ “ช่องเสียง” ไว้เป็นรูกลมๆขิมแบบ 7 หย่องแต่ได้ทำเป็นร่องยาวไว้ที่ข้างใต้ตัวขิมแทน (ดูภาพ หมายเลข 4) ทำให้ภาพตัวขิมด้านบนดูแปลกออกไปจากเดิม นอกจากการย้ายตำแหน่งของ “รูช่องเสียง” แล้ว ขิม 9 หย่องยังได้เพิ่มจำนวนหย่องรองรับ รายขิมด้านบนขึ้นไปอีก 2 อันรวมเป็น 9 อัน ด้วยเหตุผลดังนี้คือ เนื่องจากขิมชนิดนี้ใช้สายลวด เหล็กเสตนเลส-สตีล แทน สายทองเหลือง สายเสตนเลส-สตีลนั้นมีความเหนียวคงทนมากกว่า สายทองเหลืองหากต้องการให้เสียงขิมกังวานดีจะต้องขึงให้มีความตึงมากๆแต่ถ้าช่วงยาวของ ขิมมีขนาดเท่าเดิมเช่นเดียวกับขิม 7 หย่องแล้วจะไม่สามารถขึงให้ตึงมากๆได้เพราะระดับเสียง จะสูงเกินไป คือจะสูงกว่าระดับเสียงเพียงออ ซึ่งนิยมใช้บรรเลงกันในวงเครื่องสายของไทย ดัง นั้นผู้ผลิตขิมจึงได้เพิ่มความยาวของตัวขิมออกไปอีกเพื่อให้สามารถเพิ่มความตึงของสายขิมได้ มากขึ้นโดยไม่ทำให้ระดับเสียงสูงขึ้นแต่เมื่อเพิ่มช่วงยาวแล้วหากไม่เพิ่มทางช่วงกว้างให้สัมพันธ์ กัน ตัวขิมจะแลดูเรียวยาวผิดส่วนไป จึงต้องเพิ่มทางส่วนกว้างออกไปอีกทำให้จำนวนหย่องเพิ่ม ขึ้นอีก 2 หย่อง กลายเป็นขิม 9 หย่องไป ถ้าหากจะใช้จำนวน 7 หย่องเหมือนเดิมโดยขยายช่วง ห่างระหว่างหย่องแต่ละอันออกไปก็จะทำให้ตำแหน่งการตีสายขิมแต่ละตำแหน่งกว้างมากเกิน ไปจะไม่สะดวกสำหรับผู้บรรเลงเพราะต้องเคลื่อนไหวมือเป็นระยะทางมากขึ้นทั้งในแนวนอน และในแนวดิ่ง การจัดวางระยะตำแหน่งสายขิมในแนวดิ่งให้เหมือนกับขิม 7 หย่องจึงสะดวก กว่าเพราะผู้บรรเลงจะเคลื่อนไหวมือยาวมากกว่าเดิมเฉพาะทางด้านแนวนอนเท่านั้น นอกจากตำแน่งของ “รูช่องเสียง” ที่เปลี่ยนไป จำนวน “หย่อง” ที่เพิ่มขึ้น และใช้สายลวด “เสตนเลส-สตีล” แทนสายลวด “ทองเหลือง” แล้ว ส่วนประกอบอื่นๆของขิมแบบนี้ก็คล้ายกับ ขิม 7 หย่องโดยทั่วไปแต่คุณภาพของเสียงนั้นดีกว่าขิมที่ใช้สายลวดทองเหลืองและยังสามารถ บรรเลงในระดับเสียง “เพียงออ” ได้ด้วย เสียงของขิม 9 หย่องนี้จะมีความคมชัดและมีความ นิ่มนวลมากกว่าขิม 7 หย่อง แต่ความดังจะด้อยกว่าเล็กน้อย ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการเลือกไม้ ตีขิมที่เหมาะสม การที่มีตำแหน่งการตีสายขิมเพิ่มขึ้นอีกแถวละ 2 ตำแหน่งทั้ง 3 แถว ทำให้ผู้ บรรเลงสามารถใช้เสียงได้มากขึ้น การบรรเลงขิมจึงมีความสะดวกและมีความไพเราะน่าฟังมาก ขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังสามารถเทียบให้เข้ากับระดับเสียงของดนตรีสากลได้ด้วยเพราะเมื่อมีสาย เพิ่มขึ้นก็สามารถจัดเสียงบางเสียงเป็น “ครึ่งเสียง” ไว้ในระหว่างเสียงเต็ม ทำให้สามารถ บรรเลงเพลงสากลได้ดีสิ่งที่แปลกออกไปอีกประการหนึ่งของขิม 9 หย่องคือ หย่องบังคับเสียง นั้นนอกจากสันด้านบนจะทำเป็นท่อนโลหะกลมมนสวยงามแล้ว ยังทำเป็นเชิงยื่นเข้ามาทางด้าน ในตัวขิมด้วย “เชิง” หรือส่วนยื่นที่ว่านี้ใช้ประโยชน์ในการปรับเทียบเสียงขิมได้หลากหลายยิ่ง ขึ้น โดยใช้เป็นที่สำหรับสอดท่อนโลหะกลมๆหนุนเข้าไปคั่นอยู่ใต้สายขิมทำให้สามารถปรับเทียบ เสียงขิมได้มากขึ้นโดยไม่ต้องหมุนที่หมุดเทียบเสียง การเทียบเสียงขิมแบบนี้จะใช้ในกรณีที่ต้อง การเพิ่มระดับเสียงของสายขิมตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งให้มีระดับเสียงสูงขึ้นโดยไม่ทำให้ระดับ เสียงของสายขิมด้านฝั่งตรงกันข้ามเปลี่ยนแปลงไป (เรื่องนี้จะได้อธิบายโดยละเอียดต่อไปในบท ที่ว่าด้วยวิธีการปรับเทียบเสียงสายขิม) สรุปรวมความแล้ว ขิม 9 หย่อง เป็นขิมที่ช่างดนตรีของไทยได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นจนมี ลักษณะแตกต่างออกไปจากขิมโป๊ยเซียนมาก ทั้งยังให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า นับว่าเป็นวิวัฒนาการ ทางด้านการผลิตขิมที่สำคัญก้าวหนึ่งในวงการดนตรีของไทย
ขิม 11 หย่อง
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

ถัดจากขิม 9 หย่องก็มีการพัฒนาการผลิตขิมเป็นแบบชนิด 11 หย่องซึ่งมีลักษณะทั่วไปเหมือน กับขิมชนิด 9 หย่องทุกประการแต่มีจำนวนหย่องเพิ่มขึ้นเป็น 11 หย่อง ขิมแบบนี้สามารถปรับ เทียบสายขิมให้สามารถบรรเลงได้คล้ายกับขิม 2 ตัวในเวลาเดียวกัน คือทางด้านบนจะมีระบบ เสียงเหมือนกับ ขิม 7 หย่อง 1 ตัว ส่วนด้านล่างก็จะมีระบบเสียงเหมือนกับขิม 7 หย่องอีก 1 ตัว ทำให้มีช่วงเสียงลึกมากกว่าขิม 9 หย่องและ 7 หย่อง แต่วิธีการบรรเลงก็ซับซ้อนตามไปด้วย ถ้าผู้บรรเลงขิมไม่มีความสามารถเพียงพอแล้วจะรู้สึกไม่สะดวกเวลาบรรเลง
ขิม 11 หย่อง (เสียงทุ้ม)
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

ยังมีขิม 11 หย่องอีกรุ่นหนึ่งที่ผู้ผลิตออกแบบมาให้มีเสียงทุ้มกังวานเป็นพิเศษโดยได้เปลี่ยน ผังโครงสร้างภายในตัวขิมเสียใหม่และใช้สายลวดเสตนเลสสตีลที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษทำให้ เสียงขิมดังกังวานลึกมากขึ้นจนน่าจะเรียกว่า “ขิมอู้” เช่นเดียวกับที่เรียก”ขลุ่ยอู้” ขิมแบบนี้มีวิธี การบรรเลงแตกต่างไปจากวิธีการบรรเลงขิมแบบอื่นโดยเน้นการบรรเลงในลักษณะเช่นเดียวกับ “ฆ้องวงใหญ่” คือดำเนินทำนองห่างๆไม่รวดเร็วเหมือนกับการบรรเลงขิมตามธรรมดาทั่วไป ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบของขิมชนิดต่างๆที่ช่างดนตรีไทยได้ผลิตขึ้นโดยใช้ จินตนาการและความสามารถของตนเองเป็นวิวัฒนาการในด้านการผลิตเครื่องดนตรีของไทยที่ น่าสนใจยิ่งเพราะได้เพิ่ม “คุณภาพ” ของเสียงดนตรีให้น่าฟังมากยิ่งขึ้น แม้ว่าเราจะได้รับแบบ อย่างของขิมมาจากชาติอื่นก็จริงแต่เราก็ได้นำมาประดิษฐ์คิดค้นจนเป็นแบบฉบับของไทยเราเอง ทั้งยังมีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น เมื่อเครื่องดนตรีมีคุณภาพเป็นมาตรฐานแล้ว ดนตรีไทยก็ไพเราะน่า ฟังมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ขิมโป๊ยเซียน
ขิมเริ่มมีบทบาทในวงดนตรีไทยจริงๆในสมัยรัชกาลที่ 6 โดย อาจารย์มนตรี ตรโมท เป็นผู้ริเริ่มนำขิมมาบรรเลงในวงดนตรีไทย หลังจากนั้นก็มีผู้นิยมบรรเลงขิมกันแพร่หลายทั่วไป ขิมจีนรุ่นแรกๆนั้นคนไทยนิยมเรียกว่า “ขิมโป๊ยเซียน” เป็นขิมที่สั่งเข้ามาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ที่เรียกว่าขิมโป๊ยเซียนก็เพราะขิมรุ่นนั้นนิยมวาดภาพเซียนแปดองค์ของจีนไว้บนฝาขิมต่อมาเมื่อความต้องการซื้อขิมเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศจีน ทำการปิดประเทศช่างดนตรีของไทยจึงได้คิดประดิษฐ์ขิมขึ้นมาเองโดยเปลี่ยนจากภาพเซียนแปดองค์เป็นภาพลายไทยอื่นๆเช่นลายเทพนมเป็นต้น

เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

1) หน้าขิม 2) ฝาขิม 3)ลิ้นชัก 4) ฆ้อนขิม 5) ไม้ขิม 6)หย่องขิม 7)หมุดยึดสาย
8) ช่องเสียง 9) สายขิม 10) หย่องบังคับเสียง 11) ห่วงลิ้นชัก 12) หมุดเทียบเสียง
หมายเลข 1 “ตัวขิม”
ตัวขิมทำด้วยไม้มีลักษณะกลวงอยู่ภายในส่วนที่เป็นกรอบโครงร่างทำด้วยไม้เนื้อแข็งมีขอบ หยักโค้งกลมมนคล้ายปีกผีเสื้อ พื้นด้านล่างและด้านบนทำด้วยแผ่นไม้บางๆเป็นไม้เนื้ออ่อนที่เนื้อ ไม้มีลักษณะ “พรุน” เพื่อให้เสียงก้องกังวานดีขึ้น ทั้ง 2 ฝั่งของตัวขิมเป็นบริเวณที่ตั้งของหมุด ยึดสายขิม หย่องหนุนสายขิม หย่องบังคับเสียง และเป็นที่เก็บลิ้นชักสำหรับใส่ฆ้อนเทียบเสียง ขิมด้วย
หมายเลข 2 “ฝาขิม”
ฝาขิมทำด้วยไม้มีขอบงุ้มลงมาโดยรอบ มีรูปร่างเข้ารูปกับตัวขิมเพื่อให้แลดูสวยงามเวลาที่ ปิดฝาขิม บางร้านนิยมทำ “แถบสำหรับเสียบไม้ขิม” ติดไว้ทางด้านในฝาขิมเพื่อใช้สำหรับเหน็บ ไม้ขิม ขิมโป๊ยเซียนหรือขิม 7 หย่องรุ่นเก่าๆนั้น มักจะนิยมวาดลวดลายสวยงามไว้บนฝาขิมด้าน นอกเช่น รูปเซียนแปดองค์ มังกรคู่ หรือ ลายเทพนม เป็นต้นฯ ส่วนขิม 7 หย่องรุ่นปัจจุบันไม่นิยม วาดภาพหรือลวดลายไว้บนฝาขิมแต่นิยมทำเป็นลายไม้ลงเงาเรียบๆหรือทำด้วยวัสดุแข็งเช่นเดียว กับที่ใช้ทำกระเป๋าเดินทาง ฝาขิมนั้นนอกจากจะมีไว้สำหรับปกปิดตัวขิมด้านบนแล้วยังใช้ประโยชน์ในการทำเป็น “กล่องเสียง” เพื่อขยายเสียงของขิมให้ดังก้องกังวานมากยิ่งขึ้นโดยใช้วางรองรับตัวขิมไว้ด้าน ล่างทำให้ตัวขิมสูงขึ้นและมีสภาพ “กลวง” อยู่ภายใน นอกจากนั้นฝาขิมยังหนุนให้ตัวขิมมีระดับ สูงขึ้นเวลานั่งบรรเลงจะถนัดกว่าเพราะมือของผู้บรรเลงไม่ต่ำลงไปจนชนกับหัวเข่า
หมายเลข 3 “ลิ้นชัก”
ขิมรุ่นเก่าเช่นขิมโป๊ยเซียนจะมีลิ้นชักไม้เล็กๆอยู่ตรงกลางตัวขิมด้านที่ผู้บรรเลงนั่งตี ลิ้นชักนี้ มีไว้สำหรับเก็บ “ฆ้อนเทียบเสียงขิม” ซึ่งทำด้วยทองเหลือง ตรงปลาย ลิ้นชักด้านนอกมี หมุด หรือ ห่วงโลหะเล็กๆ ติดไว้เพื่อให้สามารถใช้มือดึงลิ้นชักออกมาจากตัวขิมได้สะดวกขึ้น นอกจาก ใช้เก็บฆ้อนสำหรับเทียบเสียงขิมแล้ว ยังใช้ลิ้นชักนี้หนุนรองคั่นระหว่าง ตัวขิม และ ฝาขิม เพื่อ เพิ่มระดับความสูงของตัวขิมขึ้นไปอีกทั้งยังช่วยให้เสียงขิมโปร่งกังวานดีขึ้นด้วย แต่ปัจจุบันไม่ นิยมทำลิ้นชักแบบนี้แล้วเพราะมักจะเกิดปัญหาเนื่องจากฆ้อนทองเหลืองพลิกตัวขัดเหลี่ยมอยู่ข้าง ในลิ้นชักทำให้ไม่สามารถจะดึงลิ้นชักออกมาได้ ขิมรุ่นใหม่ๆจึงนิยมทำที่เก็บฆ้อนเทียบเสียงไว้ที่ ตำแหน่งอื่นภายนอกตัวขิม
หมายเลข 4 “ฆ้อนเทียบเสียง”
ฆ้อนเทียบเสียงขิมมักทำด้วยทองเหลือง ตรงด้ามสำหรับจับคว้านเป็นช่องสี่เหลี่ยมลึกเข้าไป เล็กน้อยขนาดพอดีที่จะใช้สวมลงไปบนหัวหมุดยึดสายขิมได้ เวลาที่ต้องการเทียบเสียงก็ใช้ด้าม ฆ้อนสวมลงไปบนหัวหมุดยึดสายขิมที่อยู่ทางด้านขวามือของผู้บรรเลงขิมแล้วบิดหมุนไปมาเพื่อ ปรับความตึงของสายขิมตามที่ต้องการ ที่ใช้ทองเหลืองทำฆ้อนก็เพราะจะได้มีน้ำหนักพอที่จะ ตอกย้ำหมุดให้แน่นติดกับเนื้อไม้ได้ดีนั่นเอง ขิมรุ่นเก่านั้นใช้หมุดยึดสายขิมแบบที่ตอกย้ำได้ เวลา ที่หมุดหลวมก็จะใช้ฆ้อนนี้ตอกย้ำหมุดให้แน่น สายขิมจะได้ไม่คลายตัวง่าย
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

1 — หัวฆ้อนเทียบเสียง 4 — หมุดสำหรับเทียบเสียง
2 — ก้านฆ้อนเทียบเสียง 5 — ปลายหมุดที่ฝังในเนื้อไม้ขิม
3 — ช่องที่ด้ามฆ้อน 6 — สายขิม
หมายเลข 5 “ไม้ตีขิม”
ไม้ตีขิมของจีนนั้นทำด้วยไม้ไผ่เหลาให้เรียวแบนจากด้ามจนถึงปลาย ตรงปลายไม้ทำเป็น สันแข็งไม่นิยมหุ้มวัสดุใดๆไว้ที่ส่วนปลายของไม้ขิม แต่ถ้าเป็นไม้ขิมของไทยจะนิยมบุสักหลาด หรือหนังไว้ตรงปลายไม้เพื่อให้เสียงนุ่มนวลขึ้น หากต้องการจะให้ไม้ขิมมีลักษณะโค้งงอให้ลน ตรงบริเวณที่ต้องการงอด้วยความร้อนจากเปลวไฟพร้อมกับใช้มือดัดให้โค้งทีละน้อย เมื่อพอใจ แล้วให้ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นสักพัก เมื่อไม้ขิมเย็นลงจะโค้งงอดังที่ต้องการ ไม้ตีขิมนี้จะใช้เป็น อุปกรณ์ในการเทียบเสียงขิมควบคู่กับฆ้อนทองเหลืองกล่าวคือเวลาเทียบเสียงผู้เทียบจะใช้มือ ขวาจับฆ้อนเทียบเสียงสวมลงไปบนหมุดยึดสายขิมเพื่อหมุนปรับความตึงของสายขิม ในเวลา เดียวกันก็จะใช้มือซ้ายจับด้ามไม้ขิมเขี่ยหรือกรีดสายขิมเพื่อฟังเสียงไปด้วย ไม้ขิมนั้นมีส่วน สำคัญต่อเสียงขิมเป็นอย่างยิ่งเพราะเสียงขิม จะดังหรือเบา จะแหลมหรือเสียงทุ้ม ล้วนอยู่ที่ไม้ ขิมเป็นส่วนใหญ่ การเลือกใช้ไม้ขิมให้เหมาะกับเพลงที่บรรเลงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บรรเลงต้อง คำนึงถึงเช่นกัน
หมายเลข 6 “หย่อง”
หย่องขิมมี 2 ชนิดคือ “หย่องหนุนสายขิม” และ “หย่องบังคับเสียงขิม” หย่องหนุนสายขิม นั้นมี 2 ชิ้น แต่ละชิ้นมีลักษณะยาวแบนเป็นสันหนา ส่วนล่างนิยมฉลุเป็นลวดลายโปร่ง ส่วนบน มีลักษณะคล้ายกับ “ใบเสมา” มี 7 อันด้วยกัน ทำด้วยวัสดุแข็งเช่น กระดูกสัตว์หรืองาเพื่อให้ สามารถทนแรงกดจากสายขิมจำนวนมากได้ ถ้าหากไม่ใช้ กระดูกสัตว์ หรืองาก็ใช้ไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติกแทนได้แต่ต้องฝังแผ่นโลหะ เช่นทองเหลืองหรือลวดเหล็กไว้บนสันด้านบน เพื่อ ให้แข็งพอที่จะรับแรงกดจากสายขิมได้เป็นเวลานานๆ ขิมตัวหนึ่งจะใช้หย่องหนุนสายขิมจำนวน 2 แถว แถวทางด้านซ้ายมือของผู้บรรเลงทำให้เกิดเสียงที่สามารถบรรเลงได้ทั้ง 2 ฝั่งของตัว หย่อง ส่วนแถวทางด้านขวามือของผู้บรรเลงทำให้เกิดเสียงที่สามารถบรรเลงได้เฉพาะเพียง “ฝั่งซ้าย” ของหย่องเท่านั้น
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร
ตรงส่วนที่ถัดจากแนวที่ตั้งของหย่องที่มีรูปร่างคล้ายกับใบเสมาลงมามักจะนิยมฉลุเป็นลาย โปร่งเพื่อให้แลดูสวยงาม ถ้าเป็นขิมโป๊ยเซียนก็จะฉลุเป็นลายระเบียงแบบอาคารจีน บางทีก็เป็น
ลายดอกไม้ ทั้งนี้สุดแท้แต่ช่างผู้ผลิตขิมจะเห็นสวยงาม หย่องหนุนสายขิมทั้ง 2 อันนี้ทำหน้าที่
ถ่ายทอดแรงสะเทือนจาก สายขิม ลงสู่พื้นไม้ด้านบนของตัวขิม ทำให้เกิดเสียงก้องกังวาน หย่อง จึงต้องทำด้วยไม้เนื้อแข็งที่ไม่มี “ตาไม้” หรือเนื้อไม้ที่จะบิดเบี้ยวได้โดยง่าย นักดนตรีไทยบาง คนเรียกหย่องว่า “นม” คือเรียกตามแบบ “นมจะเข้” เพราะเห็นว่าใบเสมามีลักษณะหยักขึ้นลง เป็นแนวยาวเช่นเดียวกับนมจะเข้ โดยความจริงแล้ว นมจะเข้ไม่ได้รองรับติดอยู่กับสายของจะเข้ คือไม่ได้ทำหน้าที่หนุนสายจะเข้ แต่ทำหน้าที่รองรับการกดของนิ้วมือขณะที่นักดนตรีดีดจะเข้ จึงไม่ได้เรียกว่าหย่อง การที่เราเรียกว่า “นมจะเข้” นั้น เพราะเดิมจะเข้ทำเป็นรูปตัวจระเข้ซึ่งเป็น สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง เราจึงเรียกชิ้นไม้เล็กๆที่เรียงรายอยู่บนตัวจะเข้ว่า “นม” ส่วนหย่อง ของจะเข้นั้นเป็นแผ่นไม้แบนหนาด้านบนเจาะเป็นช่องในลักษณะของ “ซุ้มประตู” ตั้งอยู่ตรงด้าน ซ้ายมือของผู้บรรเลงก่อนที่จะถึง “รางไหม” (ร่องสำหรับสอดสายจะเข้ลงไปในรูที่ก้านลูกบิด) ทำหน้าที่รองรับสายทั้ง 3 สายของจะเข้ไว้ก่อนที่จะไปถึงก้านลูกบิดของจะเข้ หย่องของ “หยางฉิน” (ขิมจีน) ในปัจจุบัน บางแบบทำหย่องแยกออกไปตัวๆอย่างอิสระคือ ไม่ได้เป็นชิ้นเดียวกันแต่ทำเป็นลักษณะคล้ายกับตัวหมากรุกมีฐานกลม ด้านบนทำเป็นสันแข็งไว้ รองรับสายขิมเหมือนขิมทั่วไป การที่ทำหย่องแยกเป็นอิสระจากกันนี้มีข้อดีในการปรับเทียบ เสียงคือ ทำให้สะดวกในการจัดเสียงของสายขิมแต่ละเส้นได้อย่างอิสระแต่ก็มีข้อเสียคือแนวที่ ตั้งของหย่องอาจไม่เรียงกันเป็นแถวอย่างสวยงามนักและไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เทียบเสียงเองไม่ เป็นเพราะต้องเลื่อนจัดหย่องประเภทนี้อยู่บ่อยครั้ง
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

หมายเลข 8 “ช่องเสียง”
ช่องเสียงนี้มี 2 ช่องด้วยกัน นิยมคว้านเป็นรูกลมไว้บนพื้นไม้ด้านบนของตัวขิม รูนี้มีไว้เพื่อ ช่วยให้เสียงขิมดังกังวานดีขึ้นทั้งนี้เพราะภายในตัวขิมกลวงหากไม่เจาะช่องไว้เสียงจะอับเกิน ไปไม่น่าฟัง เมื่อเจาะเป็นช่องแล้วช่างขิมจะทำแผ่นวงกลมที่ฉลุเป็นลวดลายปิดทับรูช่องเสียงไว้ ทั้ง 2 รูเพื่อให้ดูสวยงามขึ้น วัสดุที่ใช้ทำแผ่นประดับนี้เดิมนิยมทำด้วย งา หรือ กระดูกสัตว์ แต่ ในปัจจุบันเนื่องจาก งา หายาก จึงเปลี่ยนไปใช้พลาสติกแทน แต่บางร้านก็ใช้วัสดุจำพวกโลหะ มาฉลุเป็นลวดลายก็มี แผ่นวงกลมที่นำมาปิดช่องเสียงนี้ไม่มีผลต่อเสียงขิมเท่าใดนัก เป็นการตก แต่งเพื่อให้แลดูสวยงามขึ้นเท่านั้นเอง บางครั้งถ้าแผ่นวงกลมนี้ติดไม่สนิทกับเนื้อไม้จะทำให้มี เสียง “ซ่า” เวลาตีขิม ให้ลองกดแผ่นวงกลมนี้ไว้ด้วยด้ามไม้ขิมข้างหนึ่งในขณะที่อีกมือลองใช้ ไม้ตีสายขิมดู เสียงซ่าจะหายไป แต่ถ้าเสียงซ่ายังไม่หายไปก็อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น
หมายเลข 9 “สายขิม”
สายขิมนั้นส่วนใหญ่ทำด้วยสายทองเหลืองเนื่องจากมีเสียงกังวานดีและมีสีสันสวยงาม เสียง ขิม 1 เสียง จะเกิดจากสายทองเหลือง 3 เส้น ซึ่งขึงวางพาดอยู่บนตัวขิมและหย่องขิมดังรูปต่อ ไปนี้
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

1 – หมุดขิมฝั่งซ้าย 2 – หย่องพักสาย 3 – หย่องหนุนสาย 4 – สายขิม
5 – ตัวขิม 6 – ฝาขิม 7 – ลิ้นชักเก็บฆ้อน 8 – ช่องเก็บลิ้นชัก
9 – สันหย่องหนุนสาย (ใบเสมา) 10 – ฐานหย่องหนุนสาย (ฉลุเป็นร่อง)
สายทั้ง 3 เส้นนี้จะขึงอยู่ระหว่างหมุดยึดสายขิมทางฝั่งซ้าย และ หมุดยึดสายทางฝั่งขวาของ ขิมโดยวางพาดอยู่บนหย่อง 3 อันด้วยกันคือ หย่องพักสาย (ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา) และ หย่อง หนุนสาย อีก 1 อัน จำนวนสายขิมทั้งหมดมี 42 เส้น ถ้าเป็นเส้นใหม่ๆจะมีสีเหลืองมันเป็นเงาสวย งาม สามารถใช้มือบิดให้ขาดจากกันได้ง่ายด้วยการพับสายขิมให้งอไขว้กัน แล้วใช้มือบิดโยกไป มาสักสองสามทีก็จะขาด สายทองเหลืองนี้เมื่อนานเข้าจะมีสีดำคล้ำลงเพราะมีขี้ตะกรันมาเกาะ โดยรอบสายจะแห้งเกราะและขาดง่ายขึ้นแต่กลับทำให้เสียงขิมก้องกังวานดีขึ้น ปัจจุบันผู้ผลิตขิมบางรายเปลี่ยนมาใช้สายลวดเหล็กที่เรียกว่า”เสตนเลส-สตีล” (Stainless Steel) ขึงแทนสายลวดทองเหลืองซึ่งให้คุณภาพเสียงขิมดีขึ้นและสายขิมไม่ขาดง่ายแต่ตัวขิม จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะสายลวดเสตนเลส-สตีลนั้นมีความเหนียวกว่าลวดทองเหลืองจึง ต้องขึงให้ตึงมากๆเสียงจึงจะกังวานดี(การที่เพิ่มช่วงยาวของสายขิมทำให้ต้องหมุนสายขิมให้ ตึงมากขึ้นเสียงขิมจึงจะกังวานดี)แต่ถ้าใช้สายลวด เสตนเลส-สตีลมาเปลี่ยนแทนสายลวดทอง เหลืองโดยไม่เพิ่มช่วงยาวของตัวขิมแล้ว เสียงขิมจะไม่น่าฟังเพราะสายยังไม่ตึงเต็มที่หรือถ้า จะให้เสียงดังกังวานดีก็ต้องเทียบเสียงขิมตัวนั้นให้สูงกว่าระดับเสียงปกติที่นิยมบรรเลงกันใน วงเครื่องสายไทย(เสียงที่นิยมบรรเลงกันในวงเครื่องสายคือเสียง เพียงออ)
หมายเลข 10 “หย่องพักสายขิม” (หย่องบังคับเสียง)
หย่องขิมนั้นมีสองประเภทคือ “หย่องหนุนสายขิม” และ “หย่องพักสายขิม” (หย่องบังคับ เสียงขิม) หย่องทั้ง 2 ประเภททำหน้าที่ต่างกันคือ หย่องหนุนสายขิมจะทำหน้าที่ ถ่ายทอดแรง สะเทือนจากสายขิมลงสู่พื้นไม้บนตัวขิม เพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานดีขึ้นส่วนหย่องพักสายขิมนั้น นอกจากจะทำหน้าที่หนุนสายขิมแล้วยังทำหน้าที่ในการบังคับระดับเสียงสูงต่ำของสายขิมด้วย เพราะหย่องพักสายขิมจะถูกวางให้เอียงทำมุมสอบเข้าหากันทางด้านบนคล้ายกับรูปปิรามิด ด้วย เหตุนี้สายขิมที่พาดอยู่ระหว่างช่วงแคบเช่น ช่วงระยะ A – B ดังในภาพต่อไปข้างล่างจะมีความ ตึงมากกว่าสายที่พาดอยู่ระหว่างช่วงกว้างคือระยะ C – D เสียงของสายขิมที่อยู่ทางด้านบนจึง สูงกว่าเสียงที่อยู่ทางด้านล่าง
เครื่องดนตรีขิมทำหน้าที่อะไร

1 — หย่องบังคับเสียง (ด้านซ้าย) 2 — หย่องบังคับเสียง (ด้านขวา)
3 — หย่องหนุนสาย (ด้านซ้าย) 4 — หย่องหนุนสาย (ด้านขวา)
บนแนวสันของหย่องบังคับเสียงนี้ทำด้วยวัสดุที่ “แข็งเป็นพิเศษ” เพื่อให้สามารถรับแรงกดจาก สายขิมจำนวนมากได้และต้องมีส่วนสูงที่สัมพันธ์กับหย่องหนุนสายขิมด้วย ตัวหย่องนั้นทำด้วย ไม้เนื้อแข็ง ถ้าดูทางด้านหน้าตัดจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายกับ “รูปปิรามิด” หย่อง บังคับเสียงของขิมรุ่นใหม่บางรุ่นทำฐานแผ่แบนออกมาใช้สำหรับสอดวางท่อนโลหะกลมเล็กๆ เพื่อหนุนสายขิมบางสายให้มีเสียงสูงต่ำเป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะเสียง “ที” (ซี)

ขิม เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูล Hammered Dulcimer มีต้นกำเนิดจาก เปอร์เซียหรือดินแดน ตะวันออกกลาง ได้แก่อีหร่านในปัจจุบัน มีการแพร่กระจายไปยังวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้แก่ ยุโรปตะวันออก ตะวันออก กลาง อินเดีย และปากีสถาน มีการเรียก ชื่อเครื่องดนตรีชิ้นนี้ว่า “ซานทูร์” (Santur) และ “คิมบาลอม” (Cymbalom) เมื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ไปอยู่ในวัฒนธรรมใดก็ตาม มักถูกปรับให้มีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมนั้น ๆ นอกจากนี้ยังเรียกชื่อแตกต่างกันอีกด้วย เช่น อินเดีย เรียกว่า santur, santour, หรือ santoor จีนเรียกว่า “หยาง ฉิน”(Yangqin หรือ Yang Ch’in)
การเข้ามาสู่ประเทศสยามของ “ขิม” ในชั้นแรกนั้นสันนิษฐานว่ามากับการแสดงงิ้ว ในการแสดงงิ้ว นี้ จะต้องมีดนตรีประกอบการแสดง เครื่องดนตรีที่ประกอบการแสดงจะต้องมีขิมและเครื่องดนตรีอื่น ๆ อยู่ด้วย ใน ประวัติศาสตร์ปรากฏการแสดงงิ้วในประเทศสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในบันทึกจดหมายเหตุ รายวันของบาทหลวง เดอ ชัวซี (De Choisy) ที่เข้ามาด้วยเงื่อนไขทางการฑูตในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระบุ ว่ามีการแสดงงิ้วจีน ความว่า “…งานฉลองปิดท้ายรายการด้วยงิ้วหรือโศกนาฏกรรมจีนมีตัวแสดงมาจากมณฑลกวางตุ้ง คณะหนึ่ง และจากเมืองจินเจาคณะหนึ่งคณะที่มาจากเมืองจินเจานั้นแสดงได้เยี่ยม และเป็นระเบียบแบบแผนมากกว่า …” (สันต์ ท. โกมลบุตร, ผู้แปล, ๒๕๑๖: ๔๑๖-๔๑๗)
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีพ่อค่าชาวจีนเข้ามาทำการค้ากับประเทศไทย ได้นำขิมเข้ามาในประเทศ ไทยด้วย และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ได้มีปรากฏในหมายรับสั่งงานสมโภชพระแก้วมรกต ระบุมโหรีไทย แขก จีน เขมร ญวน ฝรั่ง เอาไว้ แต่มิได้ระบุว่ามีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง ในการแสดงงิ้ว และในวงมโหรีจีน ที่กล่าวไว้ ในหมายรับสั่งงานครั้งนั้น น่าจะมี ”หยางฉิน” (Yang-Chin) หรือ “ขิม” ร่วมวงบรรเลงอยู่ด้วยแล้ว โดยเฉพาะในสมัย รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการแสดงงิ้วกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตรงกับสมัยพระเจ้า
กวงสูของจีน เป็นสมัยที่งิ้วแต้จิ๋ว เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
สาเหตุที่ไทยเราเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “ขิม” ได้มีผู้ให้คำสันนิษฐานว่า คำว่า “ขิม” นี้อาจจะเพี้ยนมา จากคำว่า “คิ้ม” เพราะคำว่า “คิ้ม” เป็นชื่อเรียกเครื่องดนตรีกระกูลพิณ ที่มีลักษณะเป็นกล่องไม้ กลวงภายในและขึง ด้วยสายใช้สำหรับดีด หรือตีให้เกิดเสียง มีเสียงกังวาน คนไทยจึงเรียกตามและได้เพี้ยนจากเดิมกลายมาเป็น คำว่า “ขิม” แต่ชาวจีนยังคงเรียกเครื่องดนตรีที่ได้มาจากเปอร์เซีย ชนิดนี้ว่า “หยางฉิน” ใช้บรรเลงรวมวงกับ “ฮูฉิน” (Hu- Chin) “ฮูอู้”(Hu-Hu) และเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ คือกลอง“ตั่วปัง”(ฉาบใหญ่)“ซิมปอ” (เครื่องดนตรีประเภทโลหะ มีรูปลักษณะกลมคล้ายผ่าง)“แท่ล่อ”(เครื่องดนตรีประเภทโลหะ)เป็นวงดนตรีประกอบการแสดงงิ้วโบราณของจีน
เมื่อไทยเรานำขิมมาผสมวงบรรเลงในวงเครื่องสายไทย ได้ปรับปรุงดัดแปลงขิมเพื่อความเหมาะสมกับระบบ เสียงของเพลงไทย โดยเฉพาะได้ดัดแปลงส่วนประกอบต่าง ๆ ของขิมเพื่อให้มีเสียงกลมกลืนและสอดคล้องกับเครื่อง ดนตรีไทยชนิดอื่น ๆ ดังนี้
๑) เปลี่ยนแปลงแนวการเทียบเสียงใหม่ ซึ่งไม่เหมือน “หยางฉิน” ๒) ไม้ตีขิมของไทย ใช้หนังหรือสักหลาดหุ้มที่ปลายไม้ตรงส่วนที่ตีลงบนสายขิมเพื่อให้มีกระแสเสียงนุ่มนวล มากขึ้น และมีเสียงทุ้มกว่า “หยางฉิน”
๓)ใช้สายขิมที่ทำด้วยลวดทองเหลืองที่ผ่านกรรมวิธีการทำสายขิม โดยใช้ความตึงของลวดทองเหลือง ขนาด ๒๐/๑,๐๐๐ รวมทั้งหมด ๔๒ สาย สำหรับใช้กับขิมไทยโดยเฉพาะ ทำให้เกิดเสียงกังวานนุ่มนวล ไพเราะน่าฟัง มากขึ้นและเหมาะสมกับระบบเสียงเพลงไทยมากกว่า “หยางฉิน” ของจีน
นอกจากนี้ คณาจารย์ทางดุริยางคศิลป์ไทย ในกรมศิลปากรยังได้วิวัฒนาการคิดประดิษฐ์ขิมให้มี ๓ ขนาด คือขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ให้ชื่อว่า “ขิมเถา” ได้นำออกเผยแพร่ในต่างประเทศมาแล้ว
นอกจากขิม ๓ ขนาดดังกล่าว คณาจารย์ทางดุริยางคศิลป์ไทย ยังคิดประดิษฐ์ “ขิมเหล็ก” โดยการประดิษฐ์ ตามแนวขิมสายทุกประการ โดยนำแผ่นเหล็กขนาดเล็กมาจัดวางในลักษณะเดียวกับตำแหน่งที่ใช้ตีของสายทองเหลือง ของขิมปกติ เสียงของขิมเหล็กมีความกังวาน ให้น้ำเสียงแตกต่างไปจากขิมสาย มีการนำมาผสมวงบรรเลงกันอย่าง แพร่หลาย เช่นกัน
ขิมมีบทบาทในการผสมวงบรรเลงกับวงดนตรีไทย ประเภทวงเครื่องสายไทยมานาน อย่างน้อยในสมัยกรุง รัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่การผสมวงบรรเลงยังไม่เป็นรูปแบบนัก ต่อมาวงเครื่องสายผสมขิม ที่เป็นแบบฉบับ ได้เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ ตามที่อาจารย์มนตรี ตราโมท เล่าไว้ดังนี้
“การที่ข้าพเจ้าสามารถตีขิมได้และเป็นคนขิมประจำวังหลวงก็เพราะ คุณหลวงไพเราะฯ เป็นผู้ริเริ่ม ให้ แรกเริ่มนั้น จีนผู้หนึ่งได้ให้ขิมจีนอย่างเก่าตัวหนึ่งรูปร่างเป็น ๔ เหลี่ยมด้านบนสอบเข้า ไม่ มีลายเขียนใด ๆ แก่คุณหลวงไพเราะฯ พร้อมทั้งแนะนำวิธีตีให้ด้วยคุณหลวงก็เอาขิมตัวนั้นมาให้ ข้าพเจ้าและแนะนำวิธีตีตามที่จีนผู้นั้นบอกให้อีกต่อหนึ่ง ข้าพเจ้าได้เอามาฝึกหัดตีด้วยความพอใจ บังเอิญปีนั้นได้ตามเสด็จทางเรือ ข้าพเจ้ามีเวลาฝึกตีไปในเรือทุกวัน กว่าจะเสด็จกลับก็ตีได้ คล่องแคล่วได้ร่วมบรรเลงกับวงเครื่องสายในงานนอกบ่อยๆ” (มนตรี ตราโมท อ้างใน อานันท์นาคคง,๒๕๓๕: ๒๐)
การริเริ่มนำขิมมาบรรเลงในวงดนตรีไทยอย่างเป็นแบบแผนนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อกรมมหรสพต้องมีการผสมวง เฉพาะกิจเพื่อบรรเลงถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ เมื่อทรงพระประชวร ตามคำแนะนำของแพทย์
“…ครั้น พ.ศ.๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงพระประชวรแพทย์ถวายคำ แนะนำ ให้ ทรงฟังดนตรีบรรเลงเบา ๆ หรือนิทานในเวลาบ่ายทุก ๆ วัน กรมมหรสพก็ต้องจัดวง เครื่องสาย
อย่างเบาไปบรรเลงถวายข้างห้องพระบรรทมที่ วังพญาไท (ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎ เกล้า) เครื่องดนตรีทุกอย่างต้องห้ามเสียง ให้ได้ยินเหมือนบรรเลงไกล ๆ และการบรรเลงนี้ให้มี ขิมบรรเลงด้วย จึงได้ซื้อขิมจากร้านดุริยบรรณเป็นของหลวงในครั้งแรก วงที่บรรเลงนั้นมี หลวงไพเราะเสียงซอ สีซอด้วง, พระสรรเพลงสรวง สีซออู้, พระเพลงไพเราะ เป่าขลุ่ย, นายจ่าง แสงดาวเด่น ดีดจะเข้, ข้าพเจ้า ตีขิม, หลวงวิมลวังเวงกับพระประดับดุริยกิจตีโทนรำมะนาและ หลวงเสียงเสนาะกรรณ ตีฉิ่ง จนหายประชวรเป็นปกติ นับว่าเป็นเครื่องสายวงหลวงของกรม มหรสพมีขิมผสมเป็นครั้งแรก”(เล่มเดียวกัน, ๒๕๕๒: ๒๐)
สรุปได้ว่า วงเครื่องสายผสมขิม วงแรก ที่มีนักดนตรีครบวง ถือเป็นแบบฉบับการผสมวงดนตรีไทย และได้ บรรเลงเป็นครั้งแรก ณ วังพญาไท ในคราวนั้น มีนักดนตรีดังต่อไปนี้
๑. หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ซอด้วง
๒. พระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) ซออู้
๓. นายจ่าง แสงดาวเด่น จะเข้
๔. นายมนตรี ตราโมท ขิม
๕. พระเพลงไพเราะ(โสม สุวาทิต) ขลุ่ย
๖. หลวงวิมลวังเวง (ช่วง โชติวาทิน) โทน
๗. พระประดับดุริยกิจ (แหยม วีณิน) รำมะนา
๘. หลวงเสียงเสนาะกรรณ (พัน มุกตวาภัย) ฉิ่ง
จากนั้นมา เครื่องสายผสมขิมจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย และบรรเลงในงานมงคลโดยทั่วไปสืบมาจนทุก วันนี้ นับว่าการผสมวงดนตรีขึ้นเฉพาะกิจครั้งนั้นเป็นการนำขิมเข้าไปบรรเลงครั้งแรกด้วยบทเพลงไทย และวิธีการ บรรเลงที่ปรับเข้าหาดนตรีไทย เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมคุณภาพของเสียงให้เกิดสุนทรียภาพ อนึ่ง สิ่งที่สำคัญที่ไม่อาจละเลย ได้ คือ นักดนตรีที่กล่าวนามไว้นั้น ล้วนเป็นเอตทักคะทางดนตรีของกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น เมื่อนักดนตรีถึงพร้อม ด้วยทฤษฎีและปฏิบัติแล้ว หากจะนำเครื่องดนตรีชนิดใหม่มาผสมก็ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งใด ๆ กลับส่งเสริม สุนทรียภาพให้แก่ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี
ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของการการนำเครื่องดนตรีต่างชาติมาผสม หรือบรรเลงร่วมกับวงดนตรีไทยนั้น ควรยึด ทำนองของบทเพลงและวิธีการแบบดนตรีไทยเป็นหลักเสียก่อน จากนั้นจะทำการสร้างลีลาเฉพาะอื่น ๆ อันเป็นการ ส่งเสริมสุนทรียะตามแบบไทยนั้น เป็นสิ่งที่ความตระหนักให้มาก มิใช่ทำให้ทำนอง หรือเอกลักษณ์ของดนตรีไทย เพี้ยนกลายไปตามเครื่องดนตรีต่างชาติเสียหมด
หนังสืออ้างอิง
สารานุกรมออนไลน์ wikipedia.org