ประเทศไทยใช้อะไรเป็นกรอบในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

   สาระสำคัญของกรอบรูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะสอดรับกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี ในลักษณะของการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระยะยาวลงสู่การปฏิบัติในช่วงเวลา 5 ปี โดยรูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 กรอบหลักการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
ส่วนที่ 2 การประเมินสถานะของประเทศ
ส่วนที่ 3 วัตถุประสงค์และเป้าหมายในภาพรวม
ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ส่วนที่ 5 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลแผนพัฒนา

วิสัยทัศน์
สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 
ให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

กรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมาย 
1. กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และ กรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน
โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ
2. การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศ (Country Strategic Positioning) เป็นการกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้จัดทำขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ (Trading and Service Nation) เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย แหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย 
1. การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง
2. การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการสร้าง สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
3. การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
4. การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5. การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ

วางรากฐานการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมที่มีความสุขอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ซึ่งจะเป็นแผนที่มีความสำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมที่มีความสุขอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่เป็นกรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว
รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเร่งสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยการขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในระยะยาว ครอบคลุมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศจะต้องมีทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่ชัดเจน โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับการปฏิรูปประเทศที่มุ่งสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในอนาคต

เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” สร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี คนเก่ง


แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศในระยะ 5 ปี จะยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อนหน้า เพื่อให้การพัฒนาในทุกมิติมีการบูรณาการบนทางสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุผล รวมถึงมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี สอดคล้องกับภูมิสังคม การพัฒนาทุกด้าน มีดุลยภาพ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศน์ มีความสอดรับ เกื้อกูล และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยการพัฒนาในมิติหนึ่งต้องไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อมิติอื่นๆ รวมทั้งต้องมุ่งเน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” สร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี คนเก่ง มีศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการเพื่อสร้างความเข้มแข็ง มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมนำไปสู่การสร้างสังคมที่พึงปรารถนา รวมถึงมีจิตอนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ที่มา : http://www.thailocalmeet.com/index.php?topic=63668.0

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติถือเป็นแผนระดับชาติที่มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในการวางแผนการทำงานของหน่วยงานราชการ และภาคเอกชนจะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนดังกล่าว โดยปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เพื่อใช้ในปีงบประมาณ 2566 - 2570 ทดแทนแผนพัฒนาฯฉบับที่ 12 ที่กำลังจะสิ้นสุดอายุในปีหน้า 

ซึ่งขั้นตอนปัจจุบันสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการดำเนินการยกร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆทั่วประเทศ ระหว่างเดือน พ.ย. - ธ.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะรัฐมนตรี (ครม.)และรัฐสภา ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้แผนฯ อย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2565 ต่อไป

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13  ยังคงน้อมนำ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มากำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเป็นหลักนำทางในการขับเคลื่อนแผน ตลอดจนยึดโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโต สังคมก้าวหน้า ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลในระยะยาว

ทั้งนี้ร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 มีเป้าหมายหลักของการพัฒนาในระยะ 5 ปี (2566 -2570)ของแผนรวม 5 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 

1.การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม

2.การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่

3.การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม

4.การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน

5.การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง ภายใต้บริบทโลกใหม่ 

เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจนในลักษณะของวาระการพัฒนา (Agenda) ที่เอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนในการผลักดันการพัฒนาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ในการจัดทำร่างแผนฯ 13  จึงได้กำหนดหมุดหมายการพัฒนา จำนวน 13 ประการ โดยแบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่  

1. มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน หมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก หมุดหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค หมุดหมายที่ 6 ไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของอาเซียน

2. มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม

3. มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

4. มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ ประกอบด้วย หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต และหมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน

นายดนุชา กล่าวด้วยว่าในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สศช. ยังได้จัดให้มีช่องทางออนไลน์ให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13

ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564 ได้ทาง เว็บไซต์ สศช. , Facebook สภาพัฒน์, Email: [email protected] และ ตู้ ปณ.49 ปทฝ.หลานหลวง กรุงเทพฯ 10102 ซึ่งภายหลังจากที่ได้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วนแล้วจะได้นำมาปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่  13 ก่อนนำเสนอร่างแผนพัฒนาฯให้หน่วยงานต่าๆพิจารณาตามลำดับต่อไป 

ปัจจุบันประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ในการพัฒนาประเทศ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. ฉบับนำขึ้นทูลเกล้าฯ สศช. จัดระดมความคิดเห็นระหว่างเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564.

เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงต้องมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สาเหตุสำคัญของการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยนั้นส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักไปที่การผลักดันหรืออิทธิพลของทุนนิยมโลก คือธนาคารโลกและโดยเฉพาะอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาที่ต้องทำสงครามเย็นกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ด้วยการพยายามผลักดันนโยบายเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีนิยมเพื่อปิดล้อมการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชียหลังจีนปฏิวัติสำเร็จในปี ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยถูกใช้ในปีใดเป็นครั้งแรก

ต่อมา ปี 2502 ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปรับโครงสร้างการทำงานและเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติและได้จัดทำ "แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” ฉบับแรกขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2504 และใน พ.ศ. 2515 ได้นำกระบวนการวางแผนพัฒนาสังคมมาใช้ควบคู่กับการวางแผน ...

ปัจจัยสําคัญที่ทําให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยประสบความสําเร็จมีอะไรบ้าง

การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้ 1. ประชากร จำนวนประชากร และคุณภาพของประชากร 2. ทรัพยากรธรรมชาติ ปริมาณและชนิดของทรัพยากรมีผลต่อการผลิต 3. การสะสมทุนการออมและการลงทุนภายในประเทศ 4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิธีการผลิตและการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ