ความสะอาดตามหลักศาสนาหมายถึงอะไร

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร ใกล้เมืองปาวา นายจุนทกัมมารบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลขอให้พระองค์แสดงธรรมเรื่องความสะอาดในวินัยของพระอริยะว่าเป็นประการใด 

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่จุนทกัมมารบุตร

ความไม่สะอาดทางกาย ทางวาจา และทางใจ ๑๐ ประการ

ความไม่สะอาดทางกาย ๓ ประการ

- เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต
- เป็นผู้ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย
- เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้มีความประพฤติล่วงเกินในสตรีที่มีครอบครัวรักษา ธรรมรักษา สตรีที่มีสามีหรือเจ้าของแล้ว

ความไม่สะอาดทางวาจา ๔ ประการ

- เป็นผู้พูดเท็จ อาจเพราะเหตุแห่งตนหรือผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย
- เป็นผู้พูดส่อเสียด เอาคำพูดของฝ่ายหนึ่งไปพูดให้อีกฝ่ายฟัง เพื่อหวังทำลายหรือยุยงส่งเสริมให้คนทั้งหลายแตกสามัคคีกัน ยินดีในความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกัน
- เป็นผู้พูดคำหยาบ ทำให้ผู้อื่นข้องใจ เดือดร้อน มีความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ
- เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดจาไม่ถูกเวลา พูดคำที่ไม่จริง ไม่มีหลักฐานหรือที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประโยชน์

ความไม่สะอาดทางใจ ๓ ประการ

- เป็นผู้มีความอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
- เป็นผู้มีจิตคิดปองร้ายต่อสัตว์อื่น
- เป็นผู้มีความเห็นผิดว่า ทานที่บุคคลให้แล้วหรือการบูชาไม่มีผล ไม่มีผลแห่งกรรมดีและชั่ว ไม่มีโลกนี้และโลกหน้า ไม่มีมารดาบิดา สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะ  สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม

บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้  แม้จะทำประการใดก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเองเพราะอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เป็นความไม่สะอาดและเป็นตัวทำให้ไม่สะอาดด้วย  เพราะเหตุแห่งการประกอบอกุศลกรรมบท นรกจึงปรากฏ การเกิดเป็นเดรัจฉานจึงปรากฏ เปรตวิสัยจึงปรากฏ หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความสะอาดทางกาย ทางวาจา และทางใจ ๑๐ ประการ

ความสะอาดทางกาย ๓ ประการ

- เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ มีความละอาย เอ็นดู กรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง
- เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาของหรือทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย
- เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ไม่ประพฤติล่วงเกินในสตรีที่มีครอบครัวรักษา ธรรมรักษา สตรีที่มีสามีหรือเจ้าของแล้ว

ความสะอาดทางวาจา ๔ ประการ

- เป็นผู้ละการพูดเท็จ เพราะเหตุแห่งตนหรือผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย
- เป็นผู้ละคำส่อเสียด กล่าววาจาที่ส่งเสริมทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ไม่เอาคำพูดของฝ่ายหนึ่งไปพูดให้อีกฝ่ายฟังเพื่อหวังทำลายสามัคคี
- เป็นผู้ละคำหยาบ พูดในสิ่งที่ไม่มีโทษ ไพเราะหู คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
- เป็นผู้ละคำเพ้อเจ้อ พูดถูกเวลา พูดแต่คำที่เป็นจริง มีหลักฐานอ้างอิง มีประโยชน์

ความสะอาดทางใจ ๓ ประการ

- เป็นผู้ไม่มีความอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
- เป็นผู้ไม่มีจิตคิดปองร้ายต่อสัตว์อื่น ไม่มีเวร ไม่มีความมุ่งร้ายกัน อยากให้สัตว์อื่นมีสุข
- เป็นผู้มีความเห็นชอบว่า ทานที่บุคคลให้แล้วหรือการบูชามีผล มีผลแห่งกรรมดีและชั่ว มีโลกนี้และโลกหน้า มีมารดาบิดา สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะ  สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม

บุคคลผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ แม้จะทำประการใดก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเองเพราะกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เป็นความสะอาดและเป็นตัวทำให้สะอาดด้วย เพราะเหตุแห่งการประกอบกุศลกรรมบท เทวดา มนุษย์ ย่อมปรากฏ หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง

หลังจากฟังธรรมจบ จุนทกัมมารบุตรขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ประกาศตนเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

จนเป็นเหตุให้ผู้คนสาปแช่งเขาเช่นการปัสสาวะและอุจจาระที่ทางสัญจรของผู้คนและในสถานที่พักอาศัยร่มเช่นศาลาพักร้อน และใต้ร่มเงาของต้น ไม้เป็นต้น.


คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้


1- ส่งเสริมให้รักษาความสะอาด

2- หลีกเลี่ยงการกระทำที่จะเป็นเหตุให้ถูกสาปแช่ง

3- ส่งเสริมให้รักษาสภาพแวดล้อมให้มีความสะอาด

4- ห้ามทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้คนทั่วไป




عَنْ جَابِرٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم : أَنَّهُ نَهَى أَنْ يُبَالَ فِي الْمَاءِ الرَّاكِدِ

رواه مسلم


สาม : เล่าจากญาบิร  (..)  จากท่านนบี  (..)  ว่า  แท้จริงท่านได้ห้ามปัสสาวะลงในน้ำนิ่ง.   รายงานโดยมุสลิม


ความหมายโดยสรุป


     ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (..) ได้ห้ามพวกเราปัสสาวะลงในน้ำนิ่งคือน้ำที่ไม่มีการไหลถ่ายเทเพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกขยะแขยงแก่ผู้ที่จะมาใช้น้ำนั้นอีก การห้ามดังกล่าวนอกจากเป็นการรักษาแหล่งน้ำแล้ว ยังเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ ที่จะลงสู่แหล่งน้ำอีกด้วย


คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้


1- ส่งเสริมให้รักษาแหล่งน้ำให้สะอาด

2- การปัสสาวะลงในแหล่งน้ำที่ไม่ไหลถ่ายเท ทำให้ประโยชน์การใช้น้ำเสียไป

3- ปัสสาวะจะทำให้น้ำในแหล่งนั้นกลายเป็นสิ่งโสโครก(นะญิส) หากมีปริมาณน้อย

4-  ปัสสาวะจะทำให้เกิดความรู้สึกขยะแขยง ถ้าหากน้ำนั้นมีมาก




عَنْ أَبِيْ قَتَادَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صلى الله عليه وسلم قَالَ فِي الْهِرَّةِ : " إِنَّهَا لَيْسَتْ بِنَجَسٍ ، إِنَّمَا هِيَ مِنَ الطَّوَّافِيْنَ عَلَيْكُمْ " رواه أبوداود والترمذي


สี่ : เล่าจากอะบีกอตาดะห์ (..) ว่า ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (..) ได้กล่าวถึงเรื่องแมวว่า ความจริงมันไม่ใช่เป็นสิ่งสกปรก (โสโครก)  แต่มันเป็นสัตว์ที่ป้วนเปี้ยนอยู่กับพวกท่าน รายงานโดยอะบูดาวูดและติรมีซี


ความหมายโดยสรุป


      ท่านนบี (..) ได้อธิบายให้พวกเราทราบถึงข้อกำหนดของสิ่งต่างๆ  ในหะดีษนี้ท่านได้อธิบายให้ทราบถึงข้อกำหนดของแมว ซึ่งเป็นสัตว์ที่ศาสนาไม่อนุญาตให้รับประทานเนื้อ แต่เป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดและมักป้วนเปี้ยนอยู่กับผู้คน มีการสัมผัสกัน และบางครั้งก็โดนแมวเลียเป็นต้น ซึ่งท่านก็ได้อธิบายว่าแมวไม่ใช่สิ่งโสโครก (นะญิส) แต่อย่างใด.


คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้


1-แมวไม่ใช่เป็นสิ่งโสโครก ดังนั้นสิ่งที่แมวสัมผัส หรือถูกแมวเลียจึงไม่เป็นสิ่งสกปรก

2- เหตุผลที่แมวไม่ใช่เป็นสิ่งโสโครกเพราะเป็นสัตว์ที่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้คน




عَنْ أَبِي وَاقِدٍ اللَّيْثِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رسولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم " مَا قُطِعَ مِنَ الْبَهِيْمَةِ وَهِيَ حَيَّةٌ فَهِيَ مَيْتٌ " رواه أبوداود والترمذي