การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HTML นั้นจะต้องขึ้นต้นและลงท้ายด้วยอะไร

ภาษาเอชทีเอ็มแอล

ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HyperText Markup Language : HTML) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งใช้สร้างเอกสารเว็บเพจ

เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เป็นลักษณะเหมือนใยแมงมุม ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก

โครงสร้างการเขียนภาษานั้นจะอาศัยตัวกำกับเรียกว่า แท็ก (Tag) หรือป้ายระบุการแสดงผล เป็นตัวบควบคุมการแสดงผล

ของข้อความ รูปภาพ หรือวัตถุอื่นที่แสดงผลผ่านทาง โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)     

ป้ายระบุการแสดงผล

ป้ายระบุการแสดงผลหรือแท็ก เป็นลักษณะเฉพาะของภาษาเอชทีเอ็มแอล ใช้สำหรับการระบุรูปแบบของคำสั่ง

หรือ การลงรหัสคำสั่งของภาษาเอชทีเอ็มแอล ซึ่งจะอยู่ระหว่างเครื่องหมายหน้อยกว่า (<) หรือเครื่องหมาย

มากกว่า (>) โดยที่ป้ายระบุการแสดงผลหรือแท็ก ของภาษาเอชทีเอ็มแอลนี้ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

1. ป้ายระบุการแสดงผลเดี่ยวหรือแท็กเดี่ยว

  เป็นป้ายระบุการแสดงผลที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น <P> , <HR> เป็นต้น

2. ป้ายระบุการแสดงผลเปิด/ปิดหรือแท็กเปิด/ปิด   เป็นป้ายระบุการแสดงผลที่ประกอบด้วยป้ายระบุการแสดงผลเปิดหรือแท็กเปิด

และป้ายระบุการแสดงผล ปิด หรือแท็กปิด โดยป้ายระบุการแสดงผลปิดจะมีเครื่องหมาย สแลช (slash,/) นำหน้าคำสั่งในป้าย

ระบุการแสดงผลนั้นๆ เช่น <H1>…</H1> <B>…</B> เป็นต้น โดยถ้าทำการเปิดด้วยคำสั่งใด จะต้องทำการปิดด้วยคำสั่งนั้น

การกำหนดคุณลักษณะพิเศษเพิ่มเติมของคำสั่ง

การกำหนดคุณลักษณะพิเศษเพิ่มเติมของคำสั่ง (Attributes) เป็นส่วนขยายความสามารถ ของป้ายระบุ การแสดงผล

หรือแท็ก ซึ่งจะอยู่ภายใต้เครื่องหมาย <  > ในส่วนแท็กเปิดเท่านั้น โดยแท็กคำสั่งเอชทีเอ็มแอล (HTML)ในแต่ละคำสั่งจะมีการกำหนดคุณลักษณะพิเศษเพิ่มเติมแตกต่างกันออกไป และการระบุการ กำหนดคุณลักษณะพิเศษ

เพิ่มเติมที่มากกว่า 1 คุณลักษณะจะใช้ช่องว่างเป็นตัวแยก ตัวอย่าง เช่น แท็กสำคัญควบคุมเกี่ยวกับรูปภาพ คือ <IMG>

มีการกำหนดคุณลักษณะพิเศษเพิ่มเติม ดังนี้

<IMG SRC= “filename” WIDTH = “n” HEIGHT = “n” ALT = “text” BORDER = “n”>


SRC 

ใช้สำหรับกำหนดแฟ้มข้อมูลรูปภาพที่จะนำมาแสดงผล

WIDTH 

ใช้สำหรับการกำหนดความกว้างของภาพ

HEIGHT

ใช้สำหรับการกำหนดความสูงของภาพ

ALT 

ใช้สำหรับการกำหนดคำอธิบายภาพ

BORDER

ใช้สำหรับการกำหนดขนาดของเส้นขอบของภาพ

แฟ้มเอกสารที่เป็นภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) นั้น เป็นแฟ้มข้อมูลชนิดข้อความรูปแบบหนึ่ง (Text Files)
ที่เก็บชุดคำสั่งภาษาเอชทีเอ็มแอล ดังนั้นการสร้างเอกสารเอชทีเอ็มแอล ซึ่งสามารถใช้โปรแกรม
สำหรับจัดการแฟ้มข้อมูลตัวอักษร (Text Editor) ทั่วไปในการแก้ไขเอกสารเอชทีเอ็มแอล
เช่น โปรแกรม NotePad, โปรแกรม WordPadThai เป็นต้น


โครงสร้างของเอกสารเอชทีเอ็มแอล

โครงสร้างของเอกสารเอชทีเอ็มแอลนั้นจะประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนตัวของเอกสาร (Head Section)และส่วนเนื้อหาของเอกสาร (Body Section) โดยส่วนหัวของเอกสารจะอยู่ภายใต้ป้ายระบุหรือคำสั่ง <HEAD>… </HEAD> และส่วนเนื้อหาของเอกสารจะอยู่ภายใต้ป้ายระบุหรือคำสั่ง <BODY> … </BODY> โดยทั้งสองส่วนจะอยู่ภายในป้ายระบุหรือคำสั่ง <HTML> … </HTML> ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้สำหรับบอกว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารเอชทีเอ็มแอล

<HTML>

<HEAD>

<คำสั่งที่อยู่ในส่วนหัวของเอกสาร>

</HEAD>

<BODY>

<คำสั่งที่อยู่ในส่วนเนื้อหาของเอกสาร>

</BODY>

</HTML>

ส่วนหัวเรื่องของเอกสารเว็บ (Head Section)

ส่วนตัวเรื่องของเอกสารเว็บ (Head Section) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับอธิบายข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับเอกสารเว็บนั้น

เช่น ชื่อเรื่องของเอกสารเว็บ (Title) ชื่อของผู้จัดทำเว็บ (Author)  คำสำคัญหรือคีย์เวิร์ด (Keyword) เพื่อใช้สำหรับให้ผู้ใช้งานคนอื่นค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บเพจที่ได้ทำการสร้างขึ้น บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่งที่สำคัญคือ

- META เป็นส่วนที่ไม่ปรากฏผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ในการทำคลังบัญชีเว็บเพจ

สำหรับใช้ในการสืบค้นเว็บเพจ (Search Engine) จากผู้อื่น

- TITLE ใช้สำหรับบอกชื่อเรื่องของเอกสารเว็บ โดยข้อความนี้จะปรากฎที่แถวชื่อด้านบนสุดของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ โดยข้อความนี้ควรครอบคลุมถึงเนื้อหาทั้งหมดของเอกสารเว็บ

<HEAD>

<META NAME = “Author” CONTENT =”ชื่อผู้สร้างเว็บเพจ”>

< META NAME = “Key Words” CONTENT =”คำสำคัญ 1 , คำสำคัญ 2 ,...”>

<TITLE>ข้อความที่ใช้เป็นข้อความหัวเรื่องของเอกสาร</TITLE>

</HEAD>

การพิมพ์ชุดคำสั่งของภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) สามารถใช้ได้ทั้งตัวอักษรพิมพ์เล็กและตัวอักษรพิมพ์ใหญ่

หรือผสมกันทั้งสองแบบ และสามารถใช้ย่อหน้า เว้นบรรทัด หรือช่องว่างสามารถทำได้อย่างอิสระ โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ จะไม่ในใจเกี่ยวกับระยะเว้นบรรทัด ย่อหน้าหรือช่องว่าง แต่จะเป็นประโยชน์สำหรับการอ่านคำสั่ง ของผู้สร้างเอกสารเว็บ และประโยชน์ทำการพัฒนาเว็บเพจ

ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ (Body Section) 

ส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ (Body Section) เป็นส่วนเนื้อหาหลักของเอกสารเว็บ โดยส่วนนี้จะเป็นส่วนที่นำไปแสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งการแสดงผลนั้นจะใช้ป้ายระบุหรือคำสั่งเป็นตัวควบคุมรูปแบบการแสดงผล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความ รูปภาพหรือเสียง การเขียนป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่ง จะไม่มีข้อจำกัดสามารถป้อนคำสั่งติดกันหลายคำสั่งในหนึ่งบรรทัดหรือจะมีเพียง 1 บรรทัดต่อ 1 คำสั่งก็ได้ โดยทั่วไปแล้วจะยึดหลักการจัดวางที่ทำให้ผู้ที่สร้างเอกสารเว็บนั้น สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย เช่นทำการจัดย่อหน้าในชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกันให้อยู่ในย่อหน้าระดับเดียวกัน ซึ่งคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบการแสดงผลทั้งหมด ที่เป็นส่วนของเนื้อหาของเอกสาร จะอยู่ระหว่างป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่ง <BODY>…</BODY> สามารถแบ่งกลุ่มคำสั่งได้ดังนี้

- กลุ่มคำสั่งการจัดย่อหน้า

- กลุ่มคำสั่งจัดควบคุมรูปแบบตัวอักษร

- กลุ่มคำสั่งการจัดทำเอกสารแบบรายการ

- กลุ่มคำสั่งการเชื่อมโยงเอกสาร

- กลุ่มคำสั่งจัดการรูปภาพ

- กลุ่มคำสั่งจัดการตาราง

- กลุ่มคำสั่งการแบ่งส่วนของเอกสาร

- กลุ่มคำสั่งอื่นๆ