ความหลากหลายทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที



นักชีววิทยาได้คาดการณ์ว่าในโลกมีสิ่งมีชีวิตจำนวนหลายล้านชนิด เป็นสิ่งมีชีวิตในป่าเขตร้อนชื้น (Tropical rain forest) ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 7% ของพื้นแผ่นดินที่อยู่อาศัยของโลก และคาดว่าจะมีสิ่งมีชีวิตไม่ต่ำกว่า 5 ล้านชนิด แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันบ่งบอกว่าสิ่งมีชีวิตเพียง 5 แสนชนิดเท่านั้นที่ได้รับการศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ ในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลก เกิดความหลากหลายทางชีวภาพขึ้น  การเกิดขึ้นย่อมต้องมีขบวนการทางธรรมชาติบางอย่างในการก่อให้เกิดความสมดุล มีการสูญพันธุ์เกิดขึ้น ซึ่งการสูญพันธุ์ในช่วงระยะเวลา 600 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 1 ชนิดพันธุ์ เท่านั้น แต่ในปัจจุบันการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเกิดได้เร็วมาก โดยเฉพาะป่าเขตร้อนชื้นในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งเกิดจากน้ำมือมนุษย์ นักวิชาการได้มีการประเมินว่าอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจะสูญพันธุ์ไม่น้อยกว่า 20-60% ในคริสศตวรรษที่ 20 หากอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตยังไม่ลดลง

จากการที่นักวิชาการประมาณการว่ามีสิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีประมาณ 5 ล้านชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ในประเทศไทย ประมาณร้อยละเจ็ด ประเทศไทยมีประชากรเพียงร้อยละหนึ่ง ของประชากรโลก ดังนั้น เมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนประชากร ประเทศไทยจึงนับว่ามีความร่ำรวยอย่างมากในด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตในประเทศไทยหลากหลายได้มาก เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายและแต่ละแหล่งล้วนมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต นับตั้งแต่ภูมิประเทศแถบชายฝั่งทะเล ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบลอนคลื่น และภูเขาที่มีความสูงหลากหลายตั้งแต่เนินเขาจนถึงภูเขาที่สูงชันถึง 2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งของป่าไม้นานาชนิด ได้แก่ ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าสนเขา

อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ การเพิ่มของประชากรทำให้มีการบุกเบิกป่าเพิ่มขึ้น การให้สัมปทานป่าไม้ที่ขาดการควบคุมอย่างเพียงพอ การตัดถนนเข้าพื้นที่ป่า การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม การแพร่ของเทคโนโลยีที่ใช้ทำลายป่าได้อย่างรวดเร็ว การครอบครองที่ดินเพื่อเก็งกำไร เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ซึ่งเคยมีมากถึงประมาณ 2.7 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2504 เหลือเพียงประมาณ 1.3 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 26 ในปี พ.ศ. 2536 ข้อมูลนี้จากการศึกษาตามโครงการ VAP61 โดยคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2539) แสดงว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลงเท่าตัวในช่วงเวลา 32 ปี และส่วนใหญ่ เกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชายเลน ยังผลให้พืชและสัตว์สูญพันธุ์ อาทิ เนื้อสมัน แรด กระซู่ กรูปรี และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ ควายป่า ละอง ละมั่ง เนื้อทราย กวางผา เลียงผา สมเสร็จ เสือลายเมฆ เสือโคร่ง และช้างป่า รวมทั้งนก สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง และ สัตว์น้ำอีกเป็นจำนวนมาก
การทำลายป่าก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ เริ่มลดน้อยลง ผืนป่าที่เหลืออยู่ไม่สามารถซับน้ำฝนที่ตกหนัก เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ยังผลให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจ บ้านเรือน และความปลอดภัยของชีวิตคนและสัตว์เป็นอันมาก เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เหตุการณ์พายุเกย์ถล่มจังหวัดชุมพร และเหตุการณ์น้ำท่วมในที่ต่างๆ เป็นต้น

ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย จึงเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันแก้ไขด้วยการหยุดยั้งการสูญเสียระบบนิเวศป่าทุกประเภท การอนุรักษ์สิ่งที่เหลืออยู่ และการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพดังเดิม เพราะความหลากหลายเหล่านั้น เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
สังคมไทยมีพื้นฐานมาจาก สังคมเกษตรกรรม และเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก วัฒนธรรมไทยหลายอย่างผูกพันกับการแสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณในการเพาะปลูก คนไทยแต่โบราณกาลจึงมีความอ่อนน้อมต่อธรรมชาติและผูกพันกับธรรมชาติอย่างแยกกันไม่ออก นับว่าคนไทยมีพื้นฐานเชิงวัฒนธรรมพร้อมมูลอยู่แล้ว
แม้ว่าการศึกษาสมัยใหม่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่การใช้เทคโนโลยีและวิชาการอย่างไม่เข้าใจหลักการและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ย่อมนำสังคมไปสู่หายนะในระยะยาว แม้ว่าในระยะสั้นจะดูเหมือนว่ามีความเจริญรุ่งเรืองก็ตาม

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)

          ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คือ การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก ความหลากหลายทางชีวภาพเกิดจากการสะสมความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ในระยะเวลานานและเป็นผลจากการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยการเกิดความหลากหลายทางชีวภาพเริ่มจากการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นผลให้เกิดความหลากหลายทางสปีชีส์ บนความแตกต่างหลากหลายของระบบนิเวศ ดังนั้นหากจะกล่าวถึงความหลากหลายทางชีวภาพนักเรียนต้องเข้าใจเกี่ยว ความหลากหลายทางพันธุกรรม , ความหลากหลายทางสปีชีส์ และความหลากหลายทางนิเวศวิทยา


          ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic diversity) หมายถึง ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อแม ่และ ส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปเช่น ลักษณะความหลากหลายของลวดลายและสีของหอยทาก Cepaea nemoralls     ความหลากหลายของสีสันของ emerald tree boas Corallus canius  ลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอด นั้นผ่านทางยีน (gene) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งส่งผลให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมีลักษณะ ที่คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันไปตาม ยีน (gene) ที่ได้รับการถ่ายทอดมา ตัวอย่างของความหลากหลาย ทางพันธุกรรมมีอยู่ทุก ครอบครัวของสิ่งมีชีวิต พี่น้องอาจมีสีผม สีผิวและ สีของนัยน์ตาที่แตกต่างกัน เป็นต้น

ความหลากหลายทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร
ภาพที่ 1 ความแปรปรวนของรูปแบบและสีสันที่พบในหอยชนิดเดียวกัน 
Cepaea nemoralls   ที่มา : Solomon et al , 2002
ความหลากหลายทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร
ภาพที่ 2 ความแปรปรวนทางพันธุกรรมที่พบใน emerald tree boas
Corallus canius   ที่มา : Solomon et al , 2002

          ความหลากหลายทางสปีชีส์ (Species diversity) หรือความหลากหลายทางชนิดการเปลี่ยนแปลงมีจุดเริ่มมาจาก ความหลากหลายทางพันธุกรรม แต่เกิดขึ้นสะสมความแตกต่าง เป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายชั่วรุ่น และผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรืออาจเกิดจากการคัดเลือกพันธุ์โดยมนุษย์ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ เช่น กล้วยไม้บางชนิด
มีลักษณะคล้ายกัน แต่ผสมพันธุ์กันไม่ได้ เนื่องจากเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละชนิด


          ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecological diversity) ความแตกต่างของลักษณะของสิ่งมีชีวิตเป็นผลจาก กลไกทางพันธุกรรม ซึ่งการแปรผันที่เกิดขึ้น ลักษณะใดที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จะทำให้ลักษณะดังกล่าวถูกคัดเลือกให้สืบพันธุ์ ุ์และดำรงอยู่ต่อไป ดังนั้นสภาพแวดล้อมย่อมมีผลต่อทิศทางและ การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของ ความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิต บนโลก สิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเป็นผลมาจาก ความหลากหลาย ของระบบนิเวศ ในโลกมีระบบนิเวศมากมายหลายชนิด กระจัดกระจายตามภูมิศาสตร์ต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทจะมีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่พบไม่เหมือนกันทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยทางกายภาพ ที่สิ่งมีชีวิตต้องการไม่เหมือนกัน จากข้อมูลดังกล่าว ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายของสปีชีส์ และความหลากหลายของระบบนิเวศ เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพก่อให้เกิดความสมดุลของโลก

         การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
          สิ่งมีชีวิตที่พบในปัจจุบันเป็นผลมาจากการเกิดวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตในช่วงระยะเวลากว่า 3,500 ล้านปี โดย ในแต่ละยุคจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นใหม่ หรือสูญพันธุ์ไปบ้าง บางส่วนก็ทิ้งร่องรอยแสดงให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ของสปีชีส ์นั้น แต่ส่วนใหญ่มักสูญหายไปโดยไม่ปรากฏร่องรอยเหลือไว้เลย อย่างไรก็ตามนักธรณีวิทยา (Geologist) และนักบรรพชีวิน (Palaeontologist) ได้พยายามสร้างตารางเวลาเพื่อบันทึกลำดับเหตุการณ์ กำเนิดของสิ่งมีชีวิต ต่างๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยใช้หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ที่สามารถคำนวณอายุได้ ดังแสดงในตารางธรณีกาล (Geologic time scale)

ความหลากหลายทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร
 

ความหลากหลายทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา
อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม

ความแตกต่างผันแปรของพันธุกรรมในแต่ละประเภทของสิ่งมีชีวิตนั้นมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลง พันธุกรรม( mutation) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระดับ ยีนส์ (genes) หรือในระดับโครโมโซม ผสมผสานกับกลไกที่เรียกว่า Crossingover ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ สำหรับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จึงมีผลทำให้ ยีนส์ (genes) สลับที่รวมตัว ...

ความแปรผันทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร

ความแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม(genetic variation) หมายถึง ลักษณะที่แตกต่างกัน เนื่องจากพันธุกรรมที่ไม่เหมือนกัน และสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกได้ โดยลูกจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมาจากพ่อครึ่งหนึ่งและได้รับจากแม่อีกครึ่งหนึ่ง เช่น ลักษณะเส้นผม สีของตา หมู่เลือด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์หมายถึงอะไร

2.ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species diversity) หมายถึงจำนวนชนิด และจำนวนหน่วยสิ่งมีชีวิตที่เป็นสมาชิก ของแต่ละชนิดที่มีอยู่ใน แหล่งที่อยู่อาศัยในประชากรนั้น ๆ หรือหมายถึงความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต (species) ที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งนั่นเอง

ความหลากหลายทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตเป็นผลอย่างไร

ความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นกลไกหนึ่ง ที่ประชากรสิ่งมีชีวิตปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนไป ถ้าประชากรมีความแตกต่างกันมาก หน่วยสิ่งมีชีวิตบางหน่วยในกลุ่มประชากรก็จะมีโอกาสมีอัลลีลในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า และก็จะมีโอกาสรอดชีวิตแล้วสร้างทายาทที่มีอัลลีลที่ว่ามากกว่าหน่วยอื่น ๆ กลุ่ม ...