ผลสะท้อนกลับ feedback หมายถึงข้อใด

ผลสะท้อนกลับ feedback หมายถึงข้อใด

Show

Feedback คืออะไร? ทำไมคนเราถึงกลัวการถูก Feedback

JIGSAW FOR GOOD LIFE ต่อจิ๊กซอว์เพื่อชีวิตที่ดี

ทำไมเรากลัวการถูก Feedback ft.ดุจดาว วัฒนปกรณ์


“Feedback มักทำงานให้เรารู้สึกเจ็บเราเลยรู้สึกกลัว และไม่อยากรับฟัง Feedback จากใคร”


Minute Pick Up

0:00 - Feedback คืออะไร? คนเราใช้คำนี้ผิดความหมายไปหรือเปล่า
5.57 - เริ่มต้นการให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพ
10.41 - การ Feedback เชื่อมโยงถึงเรื่องความสัมพันธ์
13.39 - รับมือกับการถูก Feedback แบบมืออาชีพ


Highlight

● มีคนเข้าใจว่า เวลา Feedback จำเป็นต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกเจ็บ เขาจะได้จำ แต่คำพูดที่ทำให้รู้สึกเจ็บนั้นกลับไม่ใช่สิ่งที่ทำให้คนฟังนำกลับไปพัฒนา เหลือแต่ความรู้สึกกลัวการรับคำวิจารณ์ก็เพียงเท่านั้น

● สิ่งที่เราต้องเรียนรู้จากการให้และรับ Feedback ก็คือ การสร้างสมดุลให้กับ ‘คำติ’ และ ‘คำชม’ ให้เกิดขึ้นอย่างพอดีและมีความหมายต่อการพัฒนาสำหรับผู้ฟังอย่างแท้จริง


สำหรับคุณแล้ว...คำว่า Feedback มีความหมายว่าอย่างไร?

เป็นคำตำหนิ, คำวิจารณ์ หรือคำพูดคำจาใส่อารมณ์จากความรู้สึกส่วนตัวที่ทำให้คุณรู้สึกแย่อย่างนั้นหรือเปล่า?

ถ้านั่นคือ Feedback ในแบบที่คุณรู้จัก คงถึงเวลาแล้วที่เราจะเปลี่ยนรูปแบบคำตำหนิเหล่านั้นให้กลายเป็นพลังทางคำพูดที่จะช่วยเปลี่ยนเป็นแรงผลักดันให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนากันแบบจริงจังกับ Jigsaw For Good Life EP. 1 พอสต์แคสที่จะช่วยเติมเต็มชีวิตของคุณให้ดีกว่าเดิมได้จากการฟัง

ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดคุยในประเด็นสำคัญกันในหัวข้อ ‘ทำไมคนเราถึงกลัวการถูก Feedback’ ผ่านมุมมองของคุณสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (คุณเอ๋ หรือ นิ้วกลม) และคุณดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักเคลื่อนไหวบำบัดจิตที่จะมาชวนให้ทุกคนได้ทบทวนความคิดว่า จริงๆ แล้ว การ Feedback คืออะไร คำนี้เป็นแค่คำตำหนิที่เราต้องรับฟังจริงๆ ไหม และมีวิธีการให้และรับ Feedback อย่างไรจึงจะได้ผล


Feedback คืออะไร? ทำไมเรารู้สึกหวาดกลัวที่จะรับฟัง

บ้านเราถือเป็นสังคมที่มีปัญหากับคำว่า ‘Feedback’ อยู่ไม่น้อย เพราะเราตีความคำนี้ไปในเแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์แบบเจ็บแสบและเผ็ดร้อน หรือพูดเพื่อการระบายอารมณ์และความรู้สึกไม่ชอบใจ ทำให้การส่งมอบและรับคำ Feedback เป็นเหมือนยาขมที่กินยากและลำบากใจที่จะน้อมรับคำวิจารณ์เหล่านั้นมาปรับปรุงและแก้ไขด้วยความเต็มใจอยู่พอสมควร
ยิ่งในยุคที่มี Social Media ต่างๆ แบบนี้ด้วยแล้ว ทำให้การ Feedback กลายเป็นเรื่องเสรีและขยายขอบเขตออกไปเป็นวงกว้าง ทำให้เราต้องทนรับฟัง Feedback จากคนที่เราไม่รู้จักมากหน้าหลายตา ซึ่งถ้ามีในปริมาณมากๆ เข้า อาจนำไปสู่การเป็นวัฒนธรรมแบบ Cyber bullying ในเวลาต่อมาก็เป็นได้

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เราจะมีความรู้สึกเข็ดขยาดกับการถูก Feedback เพราะเวลาปกติก็ไม่มีใครเต็มใจที่จะให้คนอื่นพูดถึงพาร์ทที่ไม่สมบูรณ์แบบมาสะท้อนให้เราเห็นอยู่แล้ว แต่นี่ต้องมาทนรับฟังคำพูดแย่ๆ ที่มักทำงานให้คนรู้สึกเจ็บ แน่นอนว่า มันส่งผลต่อจิตใจคนเราโดยตรง ทำให้รู้สึกกลัว และไม่อยากที่จะรับฟังคำ Feedback จากใคร


ความหมายที่แท้จริงของคำว่า Feedback

จริงๆ แล้วความหมายของคำว่า Feedback คือ การสะท้อน ทำหน้าที่เป็นเหมือนกระจกที่แสดงให้เราเห็นถึงข้อดีและข้อเสียในตัวเองจากคนใกล้ชิด มีประโยชน์ของแง่ของการนำคำเหล่านี้กลับไปคิดต่อยอดและพัฒนา

แต่ด้วยความเข้าใจผิด เรามักนำ Feedback มาใช้เป็นเครื่องมือลดทอนกำลังใจ ซึ่งถ้านำมาใช้ในด้านของการทำงานแล้วจะส่งผลกระทบกับลูกน้อง ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสภาวะของความเครียดและตัดสินใจลาออกไปในที่สุดจากคำพูดร้ายๆ เพียงไม่กี่คำ

ผลสะท้อนกลับ feedback หมายถึงข้อใด

ดังนั้น เราจึงควรใช้การ Feedback ให้ถูกหลักและถูกวัตถุประสงค์ที่เอื้อต่อการนำไปปรับปรุง รวมถึงเรียนรู้ทักษะที่จะสื่อสารเพื่อลดความเจ็บปวด ความรู้สึกต่อต้าน และความรู้สึกไม่ยอมรับของผู้ฟัง ให้เขารู้สึกเหมือนกับเรากำลังให้ ‘ของขวัญ’ ที่จะช่วยทำให้เขาพัฒนาด้วยความรู้สึกจริงใจที่สุด

เรียนรู้ทักษะการ ‘Feedback’ อย่างพอดีและมีความหมาย

เพราะ Feedback เป็นรูปแบบของการสนทนาอย่างตรงไปตรงมา คนที่กำลังจะถูก Feedback ย่อมเกิดความรู้สึกเครียดและกังวล ยิ่งถ้าหากผู้พูดไม่สามารถควบคุมหรือสื่อสารแบบมีประสิทธิภาพได้ การ Feedback ในครั้งนี้อาจจะกลายเป็นตัวทำลายความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายได้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นมากที่เราจะต้องเรียนรู้วิธีการให้ Feedback อย่างพอดี มีความหมาย และเป็นไปอย่างธรรมชาติด้วยทฤษฎี ‘Constructive Feedback’

เรียนรู้ทักษะการ ‘Feedback’ อย่างพอดีและมีความหมาย

ปกติเราจะรู้จักวิธีการให้ Feedback อยู่ 2 รูปแบบ คือ...

● Negative feedback

● Positive feedback

แต่คงไม่มีใครอยากจะรับรู้ด้านแย่ๆ ของตัวเองจาก Negative feedback แบบตรงๆ เพราะมันสร้างความรู้สึกเจ็บปวดเกินกว่าจะยอมรับได้ Constructive Feedback จึงเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเปลี่ยนฟีดแบคในด้านลบให้กลายเป็นคำแนะนำในเชิงสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้


1. กำหนดการ Feedback ให้มีประสิทธิภาพโดยนึกถึงผลประโยชน์ของผู้ฟังให้มากที่สุด

เริ่มง่ายๆ จากการตั้งเป้าหมายในการพูดคุย แยกประเด็นของการ Feedback ให้ชัดเจนว่า เราต้องการอะไรจากการพูดคุยในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการพัฒนาและรู้สึกว่าไม่ได้โดนทำลายความมั่นใจ

2. ไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัวเข้ามาปะปน

เพราะการรับฟัง Feedback ตรงๆ มักสร้างความรู้สึกไม่พอใจให้เกิดขึ้นระหว่างการพูดคุยได้ ดังนั้น การตัดประเด็นที่เกิดจากด้านอารมณ์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การ Feedback ตั้งอยู่บนหลักการและเหตุผลมากที่สุด

3. ต้องนำคำ Feedback ไปปรับปรุงและพัฒนาต่อได้จริง

ให้คิดไว้เสมอเลยว่า การ Feedback ที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ผู้ฟังจะต้องนำคำแนะนำที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาตนเองได้จริง จึงไม่ควรให้ Feedback ในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือย้ำเตือนแค่ในจุดที่ผู้พูดไม่ชอบใจเท่านั้น

ส่วนวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมสำหรับการให้ Feedback นั้น ควรที่จะรู้จักมองให้รอบด้าน ไม่โฟกัสแค่ข้อเสียของคนฟังเพียงด้านเดียว แต่ควรจะห่อหุ้มความรู้สึกของคนฟังด้วยข้อดีและข้อเสียสลับกัน เหมือนกับการทำ sandwich ที่ประกบกันไปมา ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความรุนแรงทางคำพูด และเป็นเหมือนการทบทวนตัวตนให้กับผู้ฟังได้อีกทางหนึ่งด้วย

ฝึกฝนทักษะการรับฟัง Feedback ให้ได้อย่างมืออาชีพ

ผลสะท้อนกลับ feedback หมายถึงข้อใด

เสริมทักษะในฝั่งของผู้ให้ Feedback กันไปแล้ว คราวนี้เป็นตาของการฝึกฝนในฝั่งของผู้รับกันบ้าง โดยมีวิธีการรับมือกับ Feedback ต่างๆ ที่เราต้องเผชิญหน้าอย่างเป็นมืออาชีพได้ด้วยวิธีการปรับความคิดใหม่ ดังต่อไปนี้


การปล่อยวางก็ช่วยได้

แต่ถ้าหากพิจารณามาดีแล้วว่า Feedback ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นความรู้สึกส่วนตัวที่แสดงออกมาเพื่อให้เรารับรู้แค่เท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่อยากจะแนะนำให้เกิดการปรับปรุงอย่างจริงใจ

การเลือกที่จะปล่อยวางและไม่สนใจก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยป้องกันความเครียดที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะมันไม่ได้มีประโยชน์หรือว่าเอื้อต่อการปรับปรุงในด้านใด ก็คิดเสียว่าเป็นเรื่องของคนอื่นที่ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรในชีวิตเรา


“รับชมแบบวิดีโอ”