ความหลากหลายทางชีวภาพหมายถึงอะไรและมีองค์ประกอบกี่ประการ

ความหลากหลายทางชีวภาพ ของสวนป่า อ.อ.ป. ที่ผ่านการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานสากล

จากการที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้เข้าร่วมโครงการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้ อ.อ.ป. มีสวนป่าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล ตั้งแต่ปี 2554-2558 จำนวน 23 สวนป่า ครอบคลุมพื้นที่ 299,653.69 ไร่ (47,944.59 ha) และดัชนีชี้วัดที่ทางองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ FSC มีอยู่หลายประการ ซึ่งการกันพื้นที่ของสวนป่าไว้ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนป่า นับว่าเป็นหนึ่งในกฎเกณฑ์สำคัญ เพื่อคงพื้นที่ดังกล่าวไว้สำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่าของภูมิภาคให้ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติต่อไปได้อย่างสมดุลกับการดำเนินกิจการการทำไม้ ซึ่งทุกสวนป่าได้ดำเนินการจัดทำรายงานการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพด้วยความตระหนักถึงความสำคัญและการทำวิจัยทรัพยากรชีวภาพเพื่อมุ่งพัฒนาระบบนิเวศและนำผลการศึกษาไปต่อยอดในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ขององค์กรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรชีวภาพและระบบนิเวศ เนื่องด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตมนุษย์ สร้างความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจากปัญหาพื้นที่ป่าไม้ของไทยได้ถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของทรัพยากรชีวภาพ ทำให้ อ.อ.ป. ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและเล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้รวมถึงสวนป่าของ อ.อ.ป. โดยที่ผ่านมาหน่วยงานที่มีการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเสมอมา เพื่อมุ่งพัฒนาคุณค่าการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อรวบรวม และสำรวจข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพพืชพรรณและสัตว์ป่าในพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสวนป่า

 เป้าหมาย

เพื่อการรวบรวม และสำรวจข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพพืชพรรณและสัตว์ป่าในพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสวนป่า และจัดทำรายงานผลการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพพืชพรรณและสัตว์ป่า ภายในพื้นที่อนุรักษ์ของสวนป่าเป้าหมายโครงการฯ โดยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ ออป. และชุมชนท้องถิ่น อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของ ออป. ในการวางแผนการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและพัฒนาการใช้ประโยชน์โดยชุมชนบนฐานความหลากหลายของทรัพยากรในท้องถิ่น เป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติเพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนเพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนตามหลักเกณฑ์ของ FSC

พื้นที่ดำเนินการ

ดำเนินการศึกษาในพื้นที่สวนป่าภายใต้การดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ทั้งหมด 23 สวนป่า

ขอบเขตการดำเนินงาน

1 รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่เป้าหมายเพื่อจำแนกทางอนุกรมวิธาน และนิเวศวิทยา รวมถึงวิเคราะห์สถานภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเน้นชนิดพันธุ์หายาก ใกล้สูญพันธุ์ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (หากมีการรายงานหรือสำรวจพบ) รวมถึงสำรวจข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติมในพื้นที่ที่ไม่ปรากฏการรายงานความหลากหลายทางชีวภาพพรรณพืชและสัตว์ป่า

2 ระบุพื้นที่ที่สำคัญของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (หากมีการรายงานหรือสำรวจพบ) และชนิดพันธุ์ที่มีการรายงานการพบใหม่

3 ขั้นตอนการศึกษาภาคสนาม จะแบ่งวิธีการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ความหลากหลายของพรรณพืช และ 2) ความหลากหลายของสัตว์ป่า

ขั้นตอนการศึกษาภาคสนาม จะแบ่งวิธีการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. การศึกษาโครงสร้างป่าและองค์ประกอบพรรณพืช

1) คัดเลือกพื้นที่ตัวอย่างในบริเวณพื้นที่ที่กันไว้สำหรับเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของสวนป่า เพื่อเป็นตัวแทนการศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบพรรณพืชภายในป่า และนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการเปรียบเทียบองค์ประกอบชนิดพันธุ์พืชในป่าธรรมชาติบริเวณใกล้เคียง ว่าภายในพื้นที่ป่าอนุรักษ์นั้นมีการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติ (natural regeneration) ของชนิดพันธุ์พืชดั้งเดิม (native species) มากน้อยเพียงใด ในที่นี้จะใช้การสุ่มแบบเจาะจง (purposive random sampling) บริเวณที่ถือว่าเป็นหมู่ไม้ที่เป็นตัวแทนที่ดีของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ด้วยวิธีการวางแปลงตัวอย่างชั่วคราว (temporary plot) ขนาด 20 เมตร x50 เมตร (จำนวนอย่างน้อย 3 แปลงต่อหนึ่งพื้นที่) โดยแบ่งเป็นแปลงย่อยขนาด 10 เมตร x 10 เมตร, 4เมตร x 4 เมตร และ 1 เมตร x 1 เมตร จำนวนอย่างละ 10 แปลง เพื่อใช้ในการสำรวจ 1) ไม้ใหญ่ (tree) คือไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก 1.30 เมตร (Diameter at breast height, DBH) มากกว่า 4.5 cm 2) ไม้รุ่น (sapling) คือไม้ที่มีขนาด DBH น้อยกว่า 4.5 cm แต่สูงเกิน 1.3 m และ 3) กล้าไม้ (seedling) คือไม้ที่มีความสูงน้อยกว่า 1.30 เมตร ตามลำดับ สำหรับพรรณไม้ที่ไม่สามารถทำการจำแนกชนิดได้ในภาคสนามจะใช้วิธีเก็บตัวอย่าง (Specimens) จำนวนชนิดละ 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาจำแนกและเปรียบเทียบกับชนิดพรรณไม้ ในหอพรรณไม้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชไม้ต่อไป

2) เก็บข้อมูลโครงสร้างด้านตั้ง (profile diagram) และการปกคลุมของเรือนยอด (crown cover diagram) โดยวางแปลงตัวอย่างขนาด 10 x 50 เมตร ที่เป็นตัวแทนที่ดีภายในสังคมพืช

3) ทำการประเมินค่าดัชนีความสำคัญของพรรณพืช (Importance Value Index, IVI) ของพืชแต่ละชนิดในสังคม เพื่อการวิเคราะห์หาชนิดพรรณไม้เด่นที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวดัชนีชี้วัด (Indicator) ของแต่ละชนิดป่าได้ พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของป่าในที่นี้ใช้ค่าดัชนีความหลากหลายของ Shanon-Wiener Index สำหรับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศป่าไม้

4) การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการวิเคราะห์ค่าต่างๆ

2. การศึกษาความหลากหลายของสัตว์ป่า

จำแนกสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังออกเป็น 4 กลุ่ม คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (mammals) นก (birds) สัตว์เลื้อยคลาน (reptiles) และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (amphibians) จากนั้นทำการวางแผนการสุ่มตัวอย่าง โดยเลือกวาง Base line และวางแปลงแบบเป็นระบบ (systematic line plot system) โดยมีรายละเอียดการศึกษาแตกต่างกันตามกลุ่มของสัตว์ป่า

1) การสำรวจและรวบรวมข้อมูลสัตว์ป่าและการศึกษาสภาพนิเวศวิทยาของพื้นที่โครงการมีแนวทางการศึกษา คือ

- การรวบรวมข้อมูล: การรวบรวมข้อมูลความหลากชนิดของสัตว์ป่าในพื้นที่โครงการและใกล้เคียงจากรายงานและเอกสารที่ได้ดำเนินงานที่ผ่านมา

- สำรวจภาคสนาม จากนั้นทำการวางแผนการสุ่มตัวอย่าง โดยเลือกวาง Base Line และวางแปลงแบบ Systematic Line Plot System โดยมีรายละเอียดการศึกษาแตกต่างกันตามกลุ่มของสัตว์ป่า

ข้อเสนอแนะ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)

1.       ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและศึกษาดูงานสำหรับการพัฒนาบุคลากร

2.      ควรมีแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพขององค์กร ทั้งในระดับนโยบายและระดับผู้ปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

3.      ควรมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนิงานด้านการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพมีอะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เเบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) เป็นความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน 2.ความหลากหลายทางชนิด (species diversity) เป็นความแปรผันที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิต

ความหลากหลายทางชีวภาพหมายถึงอะไร มีกี่ประเภท

ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การที่มีสิ่งมีชีวิตมากมาย หลากหลายสายพันธุ์และชนิดในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ความหลากหลายของสปีซีส์ ความหลากหลายทางพันธุกรรม และความหลากหลายของระบบนิเวศ

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสําคัญอย่างไรบ้าง

ความสำคัญของความหลากหลายชีวภาพทางการเกษตร สร้างความมีเสถียรภาพและความยั่งยืนให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อม การมีสายพันธุ์พืช สายพันธุ์สัตว์ ที่หลากหลายซึ่งช่วยป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชได้ มีส่วนช่วยในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความหมายว่าอย่างไร

ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก