Account payable ทําอะไรบ้าง

ช่วยบริหารงานการเงินด้านเจ้าหนี้ จนถึงการประมาณเงินจ่ายจากที่จะต้องจ่ายชำระ  และสนับสนุนฝ่ายจัดซื้อไม่พลาดในการเจรจาซื้อ เช่น เก็บเงื่อนไขข้อตกลงซื้อได้ไม่จำกัด ,ระยะเวลาของข้อตกลง, เงื่อนไขการชำระเงิน, วิธีคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม, ส่วนลดรวม, ส่วนลดเงินสดและเอกสารตามกระบวนการที่ครบถ้วนลดงานซ้ำ  พร้อมเครื่องมือในการรายงานยอดหนี้ถึงวันที่จ่าย เตรียมเอกสารขออนุมัติจ่าย  จ่ายได้หลายประเภทการชำระ  ตลอดจนมีกระบวนการการตรวจสอบข้อผิดพลาดเช่นแสดงให้ทราบได้ว่าเอกสารครบกำหนดจ่ายนั้นยังไม่สมบูรณ์จากเจ้าหนี้ต้องติดตามเอกสารก่อนจ่าย เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม

  • แยกประเภทและรายละเอียดเปิดหน้าบิลผู้จำหน่ายได้ไม่จำกัด และนำมาใช้การสรุปงานได้ตามหมวดหมู่ประเภทที่กำหนดได้

  • เก็บเงื่อนไขข้อตกลงซื้อ ได้ไม่จำกัด โดยเก็บรายละเอียดเช่น ช่วงวันที่ของข้อตกลง, เงื่อนไขการชำระเงิน, สกุลเงินที่ใช้ชำระ, ตารางราคาซื้อ ,วิธีคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม, ส่วนลดรวมและส่วนลดเงินสด เป็นต้น

  • กรณีจัดซื้อสินค้า สินค้าแต่ละชนิดสามารถระบุผู้จำหน่ายหลัก และผู้จำหน่ายรอง ได้ไม่จำกัด พร้อมเก็บชื่อสินค้าตามเอกสารผู้จำหน่ายได้

  • เก็บรายละเอียดการเสนอราคาของผู้จำหน่ายได้พร้อมกำหนดเวลาการยืนราคา เพื่อติดตามและสรุปการซื่อภายในกรอบเวลาได้

  • เก็บตารางราคาซื้อสินค้าตามแต่ละผู้จำหน่าย เพื่อไม่พลาดในราคาที่ตกลงกันได้

งานการเงิน

  • รองรับเอกสารในการทำงานการเงินด้านเจ้าหนี้ตามธุรกิจที่มีได้ทั้งหมดเช่น

    • เอกสารเพิ่มหนี้/ลดหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับการซื้อสินค้าได้ 

    • เอกสารอนุมัติจ่าย, จ่ายชำระ, จ่ายมัดจำ , รับคืนมัดจำ 

  • ทุกเอกสาร Business Plus ERP ลงบัญชีให้โดยอัตโนมัติ  พร้อมเชื่อมโยงสู่ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ควบคุมการจ่ายชำระตั้งแต่ออกเอกสารซื้อและเพิ่มหนี้ โดยระบุวันที่รับวางบิล และระบุวันที่บนเช็คไม่ให้เกินวันที่ใดโดยอัตโนมัติ จากการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำการกำหนดข้อตกลงในแฟ้มประวัติเจ้าหนี้แต่ละราย

  • รองรับกระบวนการเตรียมการจ่ายชำระ ตั้งแต่รับวางบิล และรายงานยอดเจ้าหนี้ที่มีบิลครบกำหนดชำระหรืออยู่ในช่วงวันที่ที่กำหนด

  • เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินได้อย่างดี  พนักงานมีปฎิทินและรายงานที่สามารถตรวจสอบล่วงหน้า ทำให้การทำงานจะทราบได้ว่าแต่ละวันมีงานจ่ายอย่างไรบ้าง เพื่อป้องกันการผิดพลาดจนอาจจะเกิดการถูกปรับหากมีการชำระล่าช้า เป็นต้น

Account payable ทําอะไรบ้าง

  • ช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน โดยเฉพาะการจ่ายในรายที่ยังไม่ควรจ่าย เช่น

    • คำนวณจำนวนของส่วนลดเงินสดให้อัตโนมัติ เมื่อชำระหนี้อยู่ในระยะเวลาในข้อตกลงการซื้อที่มีลดสด

    • ป้องกันการจ่ายจากเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ ด้วยการแสดงสัญลักษณ์ในการตรวจสอบที่ง่ายและชัดเจน เพื่อทำการละเว้นการจ่ายก่อน ถึงแม้จะครบกำหนดชำระ เช่น ใบส่งของ/ใบกำับภาษีที่ถูกต้องยังไม่ได้รับ(ส่งกลับไปแก้ไข) เป็นต้น

  • ชำระเช็คหนึ่งฉบับต่อใบรับของหลายใบ หรือ ใบรับของหนึ่งใบรับชำระเช็คหลายใบได้ 

  • รองรับการพิมพ์เช็คจ่ายจากระบบแทนการเขียนเช็คเพื่อให้จำนวนเงิน และ ชื่อถูกต้อง ตรงตามเอกสารอนุมัติจ่าย 

  • คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามรายการสินค้าที่แฟ้มสินค้าเป็นสินค้า/บริการ ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้อย่างอัตโนมัติ ตามการเตรียมระบบตั้งต้น ดังนั้นหากมีพนักงานทำแทน หรือ พนักงานใหม่ สามารถทำงานได้ไม่ผิดพลาด

  • รองรับการจัดทำ ภ.ง.ด.53 , ภ.ง.ด.3  และรายงานสรุปได้

  • รายงานพื้นฐานทางบัญชี และติดตามควบคุมการทำงานที่ครบ เช่น การ์ดเจ้าหนี้ รายงานได้ทั้งสรุปยอดหนี้ ,ยอดหนี้ครบกำหนดชำระ ,สรุปการเคลื่อนไหวของเจ้าหนี้

  • รายงานประมาณเงินจ่ายของบิลที่ใกล้ครบกำหนดชำระ ทำให้สามารถประมาณเงินที่ต้องจ่ายตามช่วงอายุเช่น ภายใน 30 วัน 60 วัน 90 วัน ต้องเตรียมจ่ายเท่าไหร่ เป็นต้น

  • รายงานการจ่าย-รับของเจ้าหนี้ เช่น ยอดเงินสด, เช็ค, การโอนเข้าธนาคาร, เศษสตางค์ที่ทอนไม่ได้, กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยนส่วนลดสด, ภาษี ณ ที่จ่าย, บัตรเครดิต, อื่น ๆ

    คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


    คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

    Accounts Payable หรือ เจ้าหนี้การค้า โดยปกติเวลาบริษัทซื้อสินค้าหรือบริการมาเพื่อดำเนินงานธุรกิจมักจไม่ได้ซื้อและจ่ายเป็นเงินสดแต่จะเป็นการรับสินค้ามาก่อนแล้วจ่ายทีหลังหรือเรียกสั้นๆว่าเครดิตซึ่งทำให้เราเป็นหนี้ระยะสั้น และส่วนนี้เองที่เรียกว่าเจ้าหนี้การค้า

    ระยะเวลาของเครดิตที่เจ้าหนี้มักจะให้กับบริษัทก็มักจะไม่เกิน 12 เดือน โดยจริงๆสั้นกว่านั้นเยอะ น่าจะประมาณแค่ 90 วัน เพราะเหตุนี้ รายการนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของ Current

    อีกคำที่ใกล้เคียงกับ Accounts Payable แต่ตรงข้ามโดยสิ้นเชิง คือ Accounts Receivable ซึ่งคือ ซึ่งคือลูกหนี้ของเราเอง ลูกหนี้ที่เราหวังจะได้รับการชำระเงินคืนในระยะสั้นภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า

    Accounts Payable เป็นสิ่งที่ดี เอ๊ะดียังไง? ใครๆก็ไม่อยากเป็นหนี้ไม่ใช่หรือ ใช่ครับ บุคคลทั่วไปไม่ได้อยากเป็นหนี้กัน แต่หลายๆธุรกิจชอบสิ่งนี้ เพราะเวลาเราทำธุรกิจเราต้องใช้เงินมาลงทุนจำนวนสูงซึ่งโดยปกติเราก็ต้องทำการกู้มาแล้วมีดอกเบี้ย แต่ในกรณีซื้อสินค้ามาใช้ดำเนินธุรกิจแล้วจ่ายทีหลังอันนี้ไม่มีดอกเบี้ย เราได้สินค้าที่มีมูลค่ามากมายเอามาขายก่อนได้โดยไม่มีดอกเบี้ย มันคือดีมาก

    บัญชีลูกหนี้ทำหน้าที่อะไรบ้าง

    Account Payable Accountant (AP).
    บันทึกรายการตั้งหนี้ค่าใช้จ่าย.
    ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของค่าใช้จ่ายประจำเดือน.
    จัดทำรายงานภาษีซื้อและกระทบยอดบัญชีภาษีซื้อ.
    จัดทำรายงานภาษีรายเดือน (ภ.พ.30).
    กระทบยอดบัญชีและจัดทำรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้าน AP ตามที่ได้รับมอบหมาย.

    เจ้าหน้าที่บัญชี AP ทําอะไรบ้าง

    เจ้าหน้าที่บัญชีเจ้าหนี้ (AP) - ฝ่ายการเงินและบัญชี.
    รับผิดชอบในการทำจ่ายเงินตามเวลาที่กำหนด ให้กับลูกค้าและคู่ค้ากลุ่มธุรกิจองค์กร ธุรกิจเช่าซื้อ สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย เป็นต้น.
    จัดทำเอกสารการตั้งหนี้ และ บันทึกข้อมูลลงในระบบบัญชีของบริษัทฯจัดทำเอกสารการตั้งหนี้ และ บันทึกข้อมูลลงในระบบบัญชีของบริษัทฯ.

    AP คืองานอะไร

    พนักงานบัญชีฝ่ายเจ้าหนี้ หรือศัพท์ทางบัญชีจะเรียกว่า Accounting Payable (AP) เป็นการทำงานในรูปแบบของ "การจ่ายชำระหนี้" ที่เกิดขึ้นกับบริษัทหรือหน่วยงานของเรา หนี้ที่เกิดขึ้นก็จะมาจาก การสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ เข้ามาใช้ภายในบริษัทนั่นเองค่ะ ซึ่งในแผนกบัญชี ก็จะแยกย่อยออกไปอีกหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing) ฝ่ายรับ ...

    Account payable อยู่ในหมวดใด

    เจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable) หมายถึง เจ้าหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจโดยปกติของกิจการ ซึ่งกิจการจะต้องทำการจ่ายเงินเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการเมื่อถึงระยะตามที่ได้ตกลงกันไว้ โดยเจ้าหนี้การค้าจะถูกบันทึกไว้ในส่วนหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ หากลองสังเกตดูจะพบว่า Accounts Payable ของกิจการก็คือ Accounts Receivable ของ ...