นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมีลักษณะอย่างไร

ธนาคารกลางก็จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ ในการปรับลดความร้อนแรงนั้นลง เช่น การถอนสภาพคล่องออกจากระบบ, การขึ้นอัตราดอกเบี้ย, การปรับเพิ่มสัดส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์

ซึ่งเราจะเรียกนโยบายนี้ว่า Contractionary Monetary Policy หรือ “นโยบายการเงินแบบหดตัว”
ยกตัวอย่างการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว เช่น

- ธนาคารกลางทำการสั่งให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องมี Reserve Requirement ในสัดส่วนที่สูงขึ้น
เพราะการมีสัดส่วนเงินสำรองที่มากขึ้น จะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้ในปริมาณที่น้อยลง

โดยทั่วไปแล้วนโยบายเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้เงินในระบบมีปริมาณลดลง ซึ่งก็จะช่วยลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลงได้

กลับกัน ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย เช่น ในช่วงที่ GDP ติดลบติดต่อกันหลายไตรมาส

ธนาคารกลางก็จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ ในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว เช่น การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ, การลดอัตราดอกเบี้ย, การปรับลดสัดส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์

ซึ่งเราจะเรียกนโยบายนี้ว่า Expansion Policy หรือ “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย”
ยกตัวอย่างการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เช่น

- ธนาคารกลางทำการเข้าซื้อพันธบัตรจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองที่สามารถนำไปปล่อยกู้ได้มากขึ้น

เราอาจเคยได้ยินผ่าน ๆ หูกันมาบ้างกับคำว่านโยบายทางการเงิน แต่บทความชิ้นนี้จะเล่าเรื่องนโยบายทางการเงินอย่างง่าย ๆ ให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่างไม่ซับซ้อน สิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจคือความแตกต่างระหว่างนโยบายการเงินและการคลัง หลังจากนั้น เราจะมาลงรายละเอียดว่านโยบายการเงินมีกี่รูปแบบ แต่ละรูปแบบใช้กับเศรษฐกิจแบบใด สุดท้ายเราจะมาลองดูตัวอย่างของมาตรการนโยบายทางการเงินกัน

 

ก่อนที่เราจะเริ่มทำความรู้จักกับนโยบายทางการเงิน สิ่งแรกที่เราต้องแยกให้ออกคือความแตกต่างระหว่างนโยบายการเงินและการคลัง การเงินคือ สิ่งที่สังคมยอมรับในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการ การคลังคือ การดำเนินการด้านการเงินของภาครัฐทั้งด้านรายรับและรายจ่าย

 

นโยบายการเงิน คือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่ปริมาณเงิน อัตราการเเลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเหล่านี้ทำให้การปรับลดหรือเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจส่งผลต่อการกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่าลง โดยนโยบายทางการเงินดังกล่าวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย

 

โดยประเภทของนโยบายการเงินก็แบ่งออกเป็นสองรูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่ นโยบายการเงินแบบขยายตัว และนโยบายการเงินแบบหดตัว

 

นโยบายการเงินแบบขยายตัว

1. เงินสดสำรอง: ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่กำหนดสัดส่วนเงินสดสำรองของประเทศ หากมีการปรับลดเงินสดสำรอง จะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสดสำรองส่วนเกินเพื่อปล่อยกู้กับประชาชนเพิ่มขึ้น
2. การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรของธนาคารกลางกับภาคเอกชน อีกหนึ่งแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางจะซื้อหลักทรัพย์จากภาคเอกชน เพื่อปล่อยเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการบริโภค การลงทุนและทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไป
3. การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์ การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัวจะทำโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งจะมีผลทำให้เงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น และทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
4. การขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตาม เช่น การขอให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทที่มีความสำคัญ เช่น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เป็นต้น

กลับกันหากประเทศกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางจะใช้ “นโยบายการเงินแบบเข้มงวด” ซึ่งการดำเนินการจะตรงข้ามกับตัวอย่างด้านบน ตัวอย่างเช่น ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย, ขายพันธบัตรเพื่อดึงออกจากระบบเศรษฐกิจ หรือเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

 

ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้นโยบายการเงินเป็นนโยบายที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ คอยดูแลรักษาความสมดุลต่าง ๆ ปรับตัวตามกฏของอุปสงค์และอุปทาน และปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามากระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องจับตามองดูแนวโน้มว่าช่วงไหนรัฐบาลจะดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างไร เพื่อปรับตัวตามและเท่าทันสภาพเศรษฐกิจของประเทศ

คือ การดำเนินนโยบายโดยใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เพื่อทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น มักใช้ในกรณีที่ระบบเศรษฐกิจซบเซา กล่าวคือ การลงทุนและการบริโภคมวลรวมอยู่ในระดับต่ำ ความต้องการสินเชื่อมีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณเงินที่มีอยู่ การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว

นโยบายการเงินแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted monetary policy) มีบทบาทช่วยเสริมและเติมเต็มกลไกการทำงานของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่าง ‘สมดุล’ เนื่องจากมีจุดเด่นในการดูแลและป้องกันความเสี่ยงเฉพาะจุด ซึ่งช่วยลดทอนผลลบข้างเคียงในวงกว้างที่อาจมีต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ปัจจุบันไทยได้เริ่มมีการใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจงเป้าหมายแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังเน้นเฉพาะเครื่องมือที่ดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน  ซึ่งได้แก่ มาตรการกำกับดูแลรายสถาบันการเงิน (Microprudential measures) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (Macroprudential measures) ขณะที่เครื่องมือสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการเงินผ่อนคลายแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted monetary easing) ยังมีจำกัด

ท่ามกลางขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy space) ที่จำกัด กอรปกับประสิทธิภาพการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ลดลง Targeted monetary easing จะเป็นมิติใหม่ของเครื่องมือนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตกระจายตัวทั่วถึงในทุกภาคส่วนและยั่งยืน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมและเติมเต็มการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 3 ประการ ประการแรก ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินบรรลุเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพอย่างสมดุลโดยดูแลทั้งเสถียรภาพราคาและเสถียรภาพระบบการเงินควบคู่กัน ประการที่สอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายในมิติเชิงคุณภาพนอกเหนือจากเชิงปริมาณ ท่ามกลางข้อจำกัดที่ทำให้ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินด้อยลง รวมถึงขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่ค่อนข้างจำกัดในปัจจุบัน ประการสุดท้าย เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเชิงรุก (Proactive measure) ช่วยสนับสนุนบางภาคเศรษฐกิจที่สมควรได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษแม้ในยามที่เศรษฐกิจยังไม่ประสบปัญหา แตกต่างจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบปกติที่มีลักษณะเชิงรับซึ่งมักจะตอบสนองหลังจากเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างชัดเจน (Countercyclical measure)

นโยบายการเงินแบบเข้มงวดมีลักษณะอย่างไร

นโยบายการเงินแบบเข้มงวด มีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางการเงินเพื่อ ท าให้ปริมาณเงิน มีขนาดเล็กลง ใช้กับระบบเศรษฐกิจที่มีปัญหาต่างๆ เช่น ภาวะราคาสินค้าสูงขึ้นท าให้ประชาชนมี การใช้จ่ายมากกว่าความสามารถในการ ผลิตของระบบเศรษฐกิจ

นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายคือข้อใด

(1) นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืดของรัฐบาล โดยใช้ เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะทาง เศรษฐกิจในขณะนั้น ซึ่งเป็น การเพิ่มอำนาจการซื้อให้ประชาชน เป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจ ฟื้นตัว ทำให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น จูงใจให้ ลงทุนเพิ่มขึ้น การจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้น ...

นโยบาย การเงิน มีความสําคัญอย่างไร

นโยบายการเงินส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและราคาสินค้าและบริการ การปรับขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ธปท. จึงดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และระบบการเงินมี ...

นโยบายการเงิน การคลัง มีอะไรบ้าง

นโยบายการคลังมีรัฐบาลเป็นผู้ออกนโยบาย ซึ่งการคลังเป็นการดำเนินการทางการเงินของภาครัฐทั้งรายรับและรายจ่าย ประเภทของนโยบายการเงิน นโยบายการเงินแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และนโยบายการเงินแบบตึงตัว โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน