แหล่งมรดกโลกมีความหมายว่าอย่างไรแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

การแบ่งประเภทของมรดกโลก

            มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า

            มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์

            มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก

            ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้

            เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [3] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

            กระทั่งปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก[4] ดังนี้

ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก

[แก้] หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม

            (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์

            (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

            (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

            (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

            (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

            (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

[แก้] หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ

            (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก

            (viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได

            (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

            (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

            มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้? และ มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว

            ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ[1][2] 

            โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น 

            ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม

            ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 911 แห่ง ใน 151 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และอีก 27 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน

หมายเหตุ มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป

ตารางจำนวนของมรดกโลกแบ่งตามทวีป

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในภูมิภาค

เอเชีย-แปซิฟิก..

อัฟกานิสถาน (2)


2545 (2002) - ว - Minaret and Archaeological Remains of Jam

2546 (2003) - ว - ทิวทัศน์และแหล่งโบราณคดีแห่งหุบเขาบามิยัน

อาร์เมเนีย (3)

2539 (1996) - ว - Monasteries of Haghpat and Sanahin

2543 (2000) - ว - Cathedral and Churches of Echmiatsin and the Archaeological Site of Zvartnots

2543 (2000) - ว - Monastery of Geghard and the Upper Azat Valley

ออสเตรเลีย (18)


2524 (1981) - ธ - เกรตแบเรียร์รีฟ

2524 (1981) - ผ - Kakadu National Park

2524 (1981) - ผ - Willandra Lakes Region

2525 (1982) - ธ - Lord Howe Island

2525 (1982) - ผ - Tasmanian Wilderness

2529 (1986) - ธ - Gondwana Rainforests of Australia

2530 (1987) - ผ - Uluru-Kata Tjuta National Park

2531 (1988) - ธ - Wet Tropics of Queensland

2534 (1991) - ธ - อ่าวชาร์ก

2535 (1992) - ธ - เกาะเฟรเซอร์

2537 (1994) - ธ - Australian Fossil Mammal Sites (Riversleigh/Naracoorte)

2540 (1997) - ธ - เกาะเฮิร์ดและหมู่เกาะแมกดอนัลด์

2540 (1997) - ธ - Macquarie Island

2543 (2000) - ธ - Greater Blue Mountains Area

2546 (2003) - ธ - Purnululu National Park

2547 (2004) - ว - Royal Exhibition Building and Carlton Gardens

2550 (2007) - ว - โรงอุปรากรซิดนีย์

2553 (2010) - ว - สถานที่คุมขังนักโทษ ออสเตรเลีย

อาเซอร์ไบจาน (2)

2543 (2000) - ว - Walled City of Baku

2550 (2007) - ว - Gobustan Rock Art Cultural Landscape

บังกลาเทศ (3)


2528 (1985) - ว - นครมัสยิดประวัติศาสตร์บาเครหัต

2528 (1985) - ว - แหล่งวิหารทางพุทธศาสนาพาฮาร์ปุระ

2540 (1997) - ธ - ซันดาร์บัน

กัมพูชา (2)


2533 (1990) - ว - เมืองพระนคร (อังกอร์)

2551 (2008) - ว - ปราสาทพระวิหาร

จีน (41)


2530 (1987) - ว - พระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเฉิ่นหยาง

2530 (1987) - ว - สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้

2530 (1987) - ว - ถ้ำผาม่อเกา

2530 (1987) - ว - แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง โจวโข่วเตี้ยน

2530 (1987) - ว - กำแพงเมืองจีน

2530 (1987) - ผ - เขาไท่ซาน

2533 (1990) - ผ - เขาหวงซาน

2535 (1992) - ธ - ภูมิทัศน์แห่งหวงหลงและพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ

2535 (1992) - ธ - ภูมิทัศน์แห่งหุบเขาจิ่วจ้ายโกวและพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ

2535 (1992) - ธ - ภูมิทัศน์แห่งอู่หลิงหยวนและพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ

2537 (1994) - ว - หมู่โบราณสถานบนเทือกเขาอู่ตัง (บู๊ตึ๋ง)

2537 (1994) - ว - กลุ่มโบราณสถานพระราชวังโปตาลาในลาซา

2537 (1994) - ว - สถานที่พักร้อนและหมู่วัดในเฉิงเต๋อ

2537 (1994) - ว - ศาลและสุสานขงจื๊อรวมทั้งคฤหาสน์ของตระกูลขงที่ชูฟู่

2539 (1996) - ว - อุทยานแห่งชาติเขาหลูซาน

2539 (1996) - ผ - เขาเอ๋อเหมยซานและพระพุทธรูปเล่อซาน (เขาง้อไบ๊)

2540 (1997) - ว - เมืองโบราณผิงเหยา

2540 (1997) - ว - สวนโบราณ เมืองซูโจว

2540 (1997) - ว - เมืองเก่าลี่เจียง

2541 (1998) - ว - พระราชวังฤดูร้อนและอุทยานในกรุงปักกิ่ง

2541 (1998) - ว - หอสักการะฟ้าเทียนถัน

2542 (1999) - ว - งานแกะสลักหินต้าสู (พระพุทธรูปหินแกะสลัก)

2542 (1999) - ผ - เขาอู่อี๋ซาน

2543 (2000) - ว - หมู่บ้านโบราณตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ซีตี้และหงชุน

2543 (2000) - ว - สุสานจักรพรรดิราชวงศ์หมิงและชิง

2543 (2000) - ว - ถ้ำผาหลงเหมิน

2543 (2000) - ว - เขาชิงเฉิงและระบบชลประทานตูเจียงเอี้ยน

2544 (2001) - ว - ถ้ำผาหยุนกัง

2546 (2003) - ธ - แดนน้ำสามสายในเขตคุ้มครองมณฑลยูนนาน

2547 (2004) - ว - เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโกคูรยอโบราณ

2548 (2005) - ว - ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งมาเก๊า

2549 (2006) - ธ - ศูนย์อนุรักษ์แพนด้าเสฉวน

2549 (2006) - ว - ยินซู

2550 (2007) - ว - ไคผิงเตียวโหลวและหมู่บ้าน

2550 (2007) - ธ - คาร์สต์ในตอนใต้ของจีน

2551 (2008) - ว - บ้านดินถู่โหล

2551 (2008) - ธ - อุทยานแห่งชาติซานชิงซาน

2552 (2009) - ว - เขาอู่ไถ

2553 (2010) - ว - อนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์แห่งเติงเฟิง "ศูนย์กลางแห่งสวรรค์และโลก"

2553 (2010) - ธ - ตานเสีย

2554 (2011) - ว - ทิวทัศน์ทางวัฒนธรรมแห่งทะเลสาบตะวันตกในนครหางโจว

 จอร์เจีย (3)

2537 (1994) - ว - Bagrati Cathedral in Kutaisi and Gelati Monastery

2537 (1994) - ว - Historical Monuments of of Mtskheta

2539 (1996) - ว - Upper Svaneti

อินเดีย (27)


2526 (1983) - ว - ป้อมอัครา

2526 (1983) - ว - ถ้ำอชันตา

2526 (1983) - ว - ทัชมาฮัล

2526 (1983) - ว - ถ้ำเอลลอรา

2527 (1984) - ว - กลุ่มอนุสาวรีย์ที่มหาพลีปุรัม

2527 (1984) - ว - Konark Sun Temple

2528 (1985) - ธ - อุทยานแห่งชาติคาซีรันกา

2528 (1985) - ธ - อุทยานแห่งชาติเคโอลาเดโอ

2528 (1985) - ธ - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามานัส

2529 (1986) - ว - Churches and Convents of Goa

2529 (1986) - ว - Khajuraho Group of Monuments

2529 (1986) - ว - Group of Monuments at Hampi

2529 (1986) - ว - Fatehpur Sikri

2530 (1987) - ว - ถ้ำเอเลฟันตา

2530 (1987) - ธ - อุทยานแห่งชาติซุนดาร์บันส์

2530 (1987) - ว - Great Living Chola Temples

2530 (1987) - ว - Group of Monuments at Pattadakal

2531 (1988) - ธ - อุทยานแห่งชาตินนันทาเทวีและหุบเขาดอกไม้

2532 (1989) - ว - สิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาที่สาญจิ

2536 (1993) - ว - Humayun's Tomb, Delhi

2536 (1993) - ว - Qutub Minar and its Monuments

2542 (1999) - ว - Mountain Railways of India (ขยายขอบเขตอีกในปี 2548 และ 2551)

2545 (2002) - ว - Mahabodhi Temple Complex

2546 (2003) - ว - Rock Shelters of Bhimbetka

2547 (2004) - ว - Chhatrapati Shivaji Terminus

2547 (2004) - ว - Champaner-Pavagadh Archaeological Park

2550 (2007) - ว - ป้อมแดง

2553 (2010) - ว - จันทรามันตรา

อินโดนีเซีย (7)


2534 (1991) - ว - กลุ่มวัดบุโรพุทโธ

2534 (1991) - ธ - อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน

2534 (1991) - ธ - อุทยานแห่งชาติโคโมโด

2534 (1991) - ว - กลุ่มวัดพรัมบานัน

2539 (1996) - ว - แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน

2542 (1999) - ธ - อุทยานแห่งชาติโลเรนซ์

2547 (2004) - ธ - มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา

อิหร่าน (12)


2522 (1979) - ว -

Naghsh-i Jahan Square

2522 (1979) - ว - Tchogha Zanbil

2522 (1979) - ว - เปอร์เซโปลิส

2546 (2003) - ว - Takht-e Soleyman

2547 (2004) - ว - Bam and its Cultural Landscape

2547 (2004) - ว - Pasargadae

2548 (2005) - ว - Dome of Soltaniyeh

2549 (2006) - ว - Bisotun

2551 (2008) - ว - ป้อมวิหารอาร์เมเนีย

2552 (2009) - ว - Shushtar Historical Hydraulic System

2553 (2010) - ว - อนุสาวรีย์บรรจุพระศพ ชีค ซาฟี อัลดิน เมืองอาร์ดาบิล

2553 (2010) - ว - ตลาดประวัติศาสตร์ทาบรีซ

อิสราเอล (7)


2524 (1981) - ว - Old City of Jerusalem and its Walls

2544 (2001) - ว - มาซาดา

2544 (2001) - ว - Old City of Acre

2546 (2003) - ว - นครสีขาวแห่งเทลอาวีฟ

2548 (2005) - ว - Biblical Tels - Megiddo, Hazor, Beer Sheba

2548 (2005) - ว - Incense Route - Cities in the Negev - Haluza, Mamshit, Avdat, Shivta

2551 (2008) - ว - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บาฮาอิในเมืองไฮฟา และอาลิลีตะวันออก

ญี่ปุ่น (16)


2536 (1993) - ว - ฮิเมจิโจ (ปราสาทฮิเมจิ)

2536 (1993) - ว - วัดโฮริวและสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาใกล้เคียง

2536 (1993) - ธ - ชิระคะมิซันจิ (เทือกเขาชิระคะมิ)

2536 (1993) - ธ - ยะกุชิมะ (เกาะยะกุ)

2537 (1994) - ว - อนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์แห่งเมืองเกียวโตะ

2538 (1995) - ว - หมู่บ้านทางประวัติศาสตร์แห่งชิระงะวะโงและโกะกะยะมะ

2539 (1996) - ว - ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ

2539 (1996) - ว - อนุสรณ์สันติภาพฮิโระชิมะ (โดมปรมาณู)

2541 (1998) - ว - อนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์แห่งเมืองนะระ

2542 (1999) - ว - ศาลเจ้าและวัดแห่งนิกโก

2543 (2000) - ว - แหล่งกุซุกุและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องของอาณาจักรริวกิว

2547 (2004) - ว - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเส้นทางแสวงบุญบนเทือกเขาคิอิ

2548 (2005) - ธ - ชิเระโตะโกะ

2550 (2007) - ว - เหมืองเงินอิวะมิและภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม

2554 (2011) - ธ - หมู่เกาะโอะกะซะวะระ

2554 (2011) - ว - ฮิระอิซุมิ

คาซัคสถาน (3)


2546 (2003) - ว - อนุสาวรีย์บรรจุศพของโฮยา อะเหม็ด ยาซาวี

2547 (2004) - ว - จิตรกรรมขูดหินภายในภูมิทัศน์ทางโบราณคดีแห่งทัมกาลีย์

2551 (2008) - ธ - ซาร์ยาร์กา — ทุ่งกว้างและทะเลสาบทางตองเหนือของคาซัคสถาน

คิริบาส (1)


2553 (2010) - ธ - พื้นที่อนุรักษ์หมู่เกาะฟินิกซ์

คีร์กีซสถาน (1)


2552 (2009) - ว - Sulaiman-Too Sacred Mountain

ลาว (2)


2538 (1995) - ว - เมืองหลวงพระบาง

2544 (2001) - ว - ปราสาทหินวัดพูและสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงในแขวงจำปาสัก

มาเลเซีย (3)


2543 (2000) - ธ - อุทยานกีนาบาลู

2543 (2000) - ธ - อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู

2551 (2008) - ว - มะละกาและจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา

หมู่เกาะมาร์แชลล์ (1)


2553 (2010) - ว - เกาะปะการังบิกินี่ สถานที่ทดลองนิวเคลียร์

มองโกเลีย (2)


2546 (2003) - ธ - รุ่มน้ำอุฟส์นู (ร่วมกันสหพันธรัฐรัสเซีย)

2547 (2004) - ว - ทิวทัศน์และแหล่งวัฒนธรรมแห่งหุบเขาโอร์ฮอน

เนปาล (4)

2522 (1979) - ว - หุบเขากาฐมาณฑุ

2522 (1979) - ธ - อุทยานแห่งชาติสการมาถา

2527 (1984) - ธ - อุทยานแห่งชาติชิตวัน

2540 (1997) - ว - ลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

นิวซีแลนด์ (3)


2533 (1990) - ธ - เท วาฮีโปอูนามู - นิวซีแลนด์ตะวันตกเฉียงใต้

2533 (1990) - ผ - อุทยานแห่งชาติตองการิโร

2541 (1998) - ธ - หมู่เกาะกึ่งขั่วโลกใต้แห่งนิวซีแลนด์

เกาหลีเหนือ (1)


2547 (2004) - ว - หมู่สุสานโกคูรยอ

ปากีสถาน (6)


2523 (1980) - ว - กลุ่มซากโบราณคดีที่โมเอนโจดาโร

2523 (1980) - ว - ตักสิลา

2523 (1980) - ว - Buddhist Ruins at Takht-i-Bahi and Neighbouring City Remains at Sahr-i-Bahlol

2524 (1981) - ว - ป้อมและสวนชาลามาร์แห่งลาฮอร์

2524 (1981) - ว - กลุ่มอนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์แห่งทัตตา

2540 (1997) - ว - ป้อมโรห์ตัส

ปาปัวนิวกินี (1)


2551 (2008) - ว - Kuk Early Agricultural Site

ฟิลิปปินส์ (5)


2536 (1993) - ธ - อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ

2536 (1993) - ว - โบสถ์ยุคบารอคแห่งฟิลิปปินส์

2538 (1995) - ว - นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์

2542 (1999) - ว - นครประวัติศาสตร์วีกัน

2542 (1999) - ธ - อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา

รัสเซีย (ส่วนที่อยู่ในเอเชีย) (8)


2539 (1996) - ธ - กลุ่มภูเขาไฟคัมชัตคา (ขยายเพิ่มปี 2544)

2539 (1996) - ธ - ทะเลสาบไบคาล

2541 (1998) - ธ - Golden Mountains of Altai

2544 (2001) - ธ - แนวเขาซีโคเต-อะลินตอนกลาง

2546 (2003) - ธ - รุ่มน้ำอุฟส์นู (ร่วมกันมองโกเลีย)

2547 (2004) - ธ - Natural System of Wrangel Island RESERVE

2542 (1999) - ธ - Western Caucasus (รวมอยู่ในทวีปยุโรปด้วย)

2546 (2003) - ว - Citadel, Ancient City and Fortress Buildings of Derbent, Dagestan (รวมอยู่ใทวีปยุโรปด้วย)

หมู่เกาะโซโลมอน (1)


2541 (1998) - ธ - เรนเนลล์ตะวันออก

เกาหลีใต้ (10)


2538 (1995) - ว - ถ้ำซกกุรัมและวัดพุลกุกซา

2538 (1995) - ว - วัดแฮอินซา จังยองพันจอน สถานที่เก็บพระไตรปิฎกไม้เกาหลี

2538 (1995) - ว - ศาลเจ้าจงเมียว

2540 (1997) - ว - พระราชวังชางด๊อกกุง

2540 (1997) - ว - ป้อมฮวาซอง

2543 (2000) - ว - เขตประวัติศาสตร์กยองจู

2543 (2000) - ว - สุสานหินโกชัง ฮวาซุน และกังฮวา

2550 (2007) - ธ - เกาะเชจูและถ้ำลาวา

2552 (2009) - ว - สุสานหลวงราชวงศ์โชซอน

2553 (2010) - ว - หมู่บ้านประวัติศาสตร์ฮาโฮและยางดอง

ศรีลังกา (8)


2525 (1982) - ว - นครประวัติศาสตร์โปลอนนารุวา

2525 (1982) - ว - นครประวัติศาสตร์สิคิริยา

2525 (1982) - ว - เมืองศักดิ์สิทธิ์อนุราธปุระ

2531 (1988) - ว - เมืองเก่าและป้อมแห่งเมืองโกลล์

2531 (1988) - ว - เมืองศักดิ์สิทธิ์คานดี

2531 (1988) - ธ - พื้นที่ป่าสงวนสิงหราชา

2534 (1991) - ว - วัดทองแห่งดัมบุลลา

2553 (2010) - ว - ที่ราบสูงตอนกลางแห่งศรีลังกา

ทาจิกิสถาน (1)


2553 (2010) - ว - แหล่งโบราณคดีซาราสซึม

เติร์กเมนิสถาน (3)


2542 (1999) - ว - อุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม "เมียร์ฟโบราณ"

2548 (2005) - ว - คูเนีย - อูร์เกนช์

2550 (2007) - ว - ป้อมปราการมาร์เทียนแห่งนีซา

ไทย (5)


2534 (1991) - ว - นครประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

2534 (1991) - ว - นครประวัติศาสตร์อยุธยาและเมืองบริวาร

2534 (1991) - ธ - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

2535 (1992) - ว - แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

2548 (2005) - ธ - ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

อุซเบกิสถาน (4)


2533 (1990) - ว - อิตชานคาลาแห่งเมืองคีวา

2536 (1993) - ว - ศูนย์ประวัติศาสตร์บูคารา

2543 (2000) - ว - ศูนย์ประวัติศาสตร์ชาห์รีซับซ์

2544 (2001) - ว - ซามาร์คันด์

วานูอาตู (1)


2551 (2008) - ว - Chief Roi Mata’s Domain

เวียดนาม (6)


2536 (1993) - ว - หมู่โบราณสถานเมืองเว้

2537 (1994) - ธ - อ่าวฮาลอง

2542 (1999) - ว - เมืองโบราณฮอยอัน

2542 (1999) - ว - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์หมีเซิน

2546 (2003) - ธ - อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง

2553 (2010) - ว - ป้อมปราการหลวงแห่งเมืองทางลอง - ฮานอย

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก?


            เมื่อเวลาประมาณ 23.45 น. วันที่ 25 มิถุนายน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก แถลงที่กรุงปารีส ว่า ไทยได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก และกรรมการมรดกโลก หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทย 

            ทั้งนี้ในร่างมติที่มีการเสนอให้มีการพิจารณา มีเรื่องการเลื่อนแผนบริหารจัดการของเขมรออกไป ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ แต่ในร่างมติของยูเนสโกที่เสนอเข้ามา ยอมให้มีการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการของเขมรออกไปจริง แต่มีข้อความและข้อกำหนดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ

            ทั้งนี้มีการเจรจาล็อบบี้กับสมาชิกมาตลอดตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน มีการหารือกันมาตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน

            ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยังได้นำโมเดลของทางทหารไปชี้แจง เพื่อให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นว่า ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนและรับรองแผนบริหารจัดการของกัมพูชาจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น

            นายสุวิทย์ยังย้ำว่า หากไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพันต่อประเทศไทย หมายความว่า ทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ

            นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ซึ่งจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายนนี้

แหล่งมรดกโลกมีความหมายว่าอย่างไร

มรดกโลก (อังกฤษ World Heritage Site; ฝรั่งเศส Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร ...

มรดกโลกแบ่งเป็น 3 ประเภทมีอะไรบ้าง

มรดกโลก ถูกแบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม” “มรดกโลกทางธรรมชาติ” และ “มรดกโลกแบบผสมผสาน” มรดกโลกทางธรรมชาติ

สัญลักษณ์มรดกโลกมีความหมายว่าอย่างไร

เครื่องหมายมรดกโลกดังกล่าวได้เน้นให้เห็นถึงความผูกพันกันระหว่างทรัพย์สมบัติ ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ โดยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่อยู่ส่วนกลาง หมายถึงรูปแบบที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ และวงกลมรอบนอกหมายถึงธรรมชาติสองสิ่งนี้มีการเชื่อมโยงกันอย่างไม่มีสิ้นสุด นอกจากนี้สัญลักษณ์เมื่อมองโดยรวมเป็นรูปวงกลมคล้ายโลกยังหมายถึงการปกป้อง ...

มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติมีความหมายอย่างไร

มรดกโลก (World Heritage) หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่มีความโดดเด่นเป็นเลิศในระดับสากล เมื่อได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่ง “มรดกโลก” แล้ว ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในขอบเขตดินแดนของประเทศใด ถือได้ว่าเป็นมรดกของมนุษยชาติทั้งปวงในโลก