แนวคิดในการรวมตัวเป็นอาเซียนมีอยู่ในเอกสารใดและมีความสำคัญอย่างไร

1.ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

  • สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 (ค.ศ. 1967) ณ กรุงเทพฯ เป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความมั่นคงทางการเมือง การเจริญเติบโตทางการค้าและทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาทางสังคมของประเทศสมาชิก แรกเริ่ม อาเซียนประกอบด้วย 5 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาได้ขยายจำนวนประเทศสมาชิกเป็น 10 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • อาเซียนมีพัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นลำดับ โดยเริ่มต้นจากความร่วมมือด้านความมั่นคงเป็นส่วนใหญ่ แต่หลังจากภูมิภาคอาเซียนมีความมั่นคงทางการเมืองมากขึ้น จึงเปลี่ยนความสนใจมาเน้นที่เรื่องเศรษฐกิจ และเป็นที่มาของการจัดตั้ง "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2560 โดยขนาดเศรษฐกิจของอาเซียนรวมกันใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีประชากร 642.1 ล้านคน
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยให้การทำธุรกิจและการลงทุนร่วมกันภายในอาเซียนสะดวกมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง ขณะที่การนำจุดแข็งด้านเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมาส่งเสริมซึ่งกันและกันจะทำให้ผลิตภาพ (Productivity) ของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนดีขึ้น

    นอกจากนี้ การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านยังถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนอีกด้วย และอาเซียนยังถือเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

2.บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย

     กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบหลักด้านความร่วมมือทางการเงินและระบบสอดส่องดูแลเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในภูมิภาค โดยดำเนินการภายใต้การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers' and Central Bank Governors Meeting – AFMGM) ซึ่ง ธปท. มีบทบาทส่งเสริมและผลักดันการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจในส่วนของการส่งเสริมความร่วมมือทางการเงิน โดยมีเป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมการรวมกลุ่มในภาคการเงิน (Integration) การส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Inclusion) และการส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินในประชาคมอาเซียน (Stability) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบการเงินของทุกประเทศสมาชิก

     การรวมกลุ่มทางการเงินมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในหลายด้านผ่านการดำเนินงานของคณะทำงานต่างๆ ดังภาพ ซึ่งในส่วนที่ ธปท. เกี่ยวข้อง ครอบคลุมการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุน การพัฒนาตลาดทุนภูมิภาค การพัฒนาระบบชำระเงิน การเข้าถึงบริการทางการเงิน การเปิดเสรีภาคบริการทางการเงิน ตลอดจนการเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินในประเทศหนึ่งสามารถเข้าไปทำธุรกิจในอีกประเทศได้ง่ายและสะดวกขึ้น ตามกรอบความร่วมมือเปิดเสรีในภาคธนาคาร "Qualified ASEAN Bank (QAB)" ซึ่งเป็นการเจรจาทวิภาคีตามความสมัครใจและความพร้อมของประเทศสมาชิกเป็นคู่ ๆ ไป เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยกับธนาคารกลางมาเลเซียที่ได้เจรจาเสร็จแล้ว

     นอกจากการรวมกลุ่มทางการเงินแล้ว ธนาคารกลางอาเซียนยังมีความร่วมมือในการจัดตั้งกลไกให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยได้ลงนามในสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน (ASEAN Swap Arrangement – ASA) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2520 (ค.ศ. 1977) สัญญาดังกล่าวมีอายุ 2 ปีและได้รับการต่ออายุมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีวงเงินความช่วยเหลือรวม 2 พันล้านเหรียญ สรอ.

     เมื่อปี 2562 ไทยรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนภายใต้แนวคิดหลัก “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ที่มุ่งหวังให้อาเซียนร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดบนพื้นฐานการได้รับประโยชน์ร่วมกัน
เพื่อก้าวไปข้างหน้าสู่ความยั่งยืนในทุกภาคส่วน และภาคการเงิน ได้เน้นการทำงานที่สอดคล้องกับแนวคิดหลักดังกล่าวใน
3 ด้าน ได้แก่
1) ความเชื่อมโยง (Connectivity) เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มทางการเงินและส่งเสริมให้การบริการทางการเงินมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทำให้ภาคเอกชนสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย ธปท. มีการดำเนินการที่สำคัญ คือ การผลักดันการใช้เงินสกุลท้องถิ่น และการส่งเสริมการพัฒนาบริการชำระเงินระหว่างประเทศ

2) ความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อให้สถาบันการเงินและตลาดตราสารต่างๆ ที่เป็นตัวกลางทางการเงิน ทำหน้าที่ในการจัดสรรเงินทุนไปสู่ภาคธุรกิจโดยเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและสังคมในระยะยาวมากกว่าผลตอบแทนในระยะสั้น โดย ธปท. จะผลักดัน Sustainable Finance เป็นวาระหลักของอาเซียนและยกระดับความตระหนักรู้เรื่อง Sustainable Banking

3) การสร้างภูมิคุ้มกัน (Resilience) เพื่อให้ระบบการเงินของภูมิภาคมีเสถียรภาพและปลอดภัย โดย ธปท. จะมุ่งเน้นการพัฒนากรอบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาคการเงิน ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางไซเบอร์ในภาคการเงินที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาความรู้ด้าน Cybersecurity ของบุคลากรทางการเงินของอาเซียน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ทีมความร่วมมือระหว่างประเทศ 1-2 ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ

สายสื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร
โทร. 0-2283-6184 หรือ 0-2283-5168

e-mail:

การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)

1. ภาพรวม

1.1 อาเซียนมีเป้าหมายจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ที่ประกอบด้วยสามเสาหลัก

ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม วิสัยทัศน์ร่วมของผู้นำอาเซียน คือ การสร้าง

ประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็น

ศูนย์กลาง โดยเมื่อปี 2551 ได้มีการจัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (Roadmap) ในทั้งสามเสาหลัก

ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน คือการสร้างประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้าง

โอกาสและรับมือสิ่งท้าทายทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยให้ประชาชนมี

ความเป็นอยู่ที่ดีและสามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และประชาชนในอาเซียนมี

ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

1.2 ต่อมาในปี 2552 ไทยได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Connectivity)

เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของประชาคมอาเซียน และนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

(ค.ศ. 2015) อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีโลก

1.3 นอกจากการสร้างประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งแล้ว อาเซียนยังให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์

กับนอกภูมิภาค โดยมีเป้าหมายที่จะรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมในภูมิภาค และ

เพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก

2. การดำเนินการเพื่อรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

2.1 สามเสาหลักของประชาคมอาเซียน

2.1.1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ 1) มีกติกาและมีการพัฒนา

ค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน โดยยึดมั่นหลักการของการไม่แทรกแซงกิจการภายในและการส่งเสริมค่านิยมของ

ประชาคมควบคู่กันไป 2) มีความเป็นเอกภาพ ความสงบสุข และความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกัน

เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนพึ่งพาอาศัยกลไกของตนมากขึ้นใน

การแก้ไขปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ ในภูมิภาค และ 3) มีพลวัตและมีปฏิสัมพันธ์กับนอกภูมิภาคอาเซียน

2.1.2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ได้แก่ 1) การเป็นตลาดและฐาน

การผลิตเดียวสำหรับประชากร 600 ล้านคนในอาเซียน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและบุคลากร

วิชาชีพต่าง ๆ อย่างสะดวกมากขึ้น และมีการไหลเวียนอย่างเสรียิ่งขึ้นสำหรับเงินทุน 2) การสร้างขีดความสามารถใน

การแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทาง

เศรษฐกิจ 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยการพัฒนา SMEs และการเสริมสร้าง

ขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration:

IAI) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และ 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยเน้นการปรับประสาน

นโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน รวมทั้งส่งเสริม

การสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก

2.1.3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคม

ที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

ของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยให้ความสำคัญ

กับการดำเนินการใน 6 สาขา ได้แก่ การพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และการลดช่องว่างทางการพัฒนา

2.2 ความเชื่อมโยง อาเซียนได้จัดทำแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Master

Plan on ASEAN Connectivity) ในปี 2553 เพื่อเป็นกรอบในการร่วมมือในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันใน 3 มิติ

คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน โดยความเชื่อมโยงดังกล่าว

จะเน้นอาเซียนในเบื้องต้น และจะเป็นพื้นฐานในการเชื่อมโยงไปภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และ

อื่น ๆ ต่อไป

3. ความสัมพันธ์กับนอกภูมิภาค

3.1 การรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนเป็นผู้ขับเคลื่อน

กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ในภูมิภาค ได้แก่ ASEAN+1 ASEAN+3 East Asia Summit (EAS) และ ASEAN Regional

Forum (ARF) ทั้งนี้ อาเซียนสามารถผลักดันให้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ เกิดประโยชน์สูงสุดกับอาเซียน

3.2 การเพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก อาเซียนมีส่วนร่วมในการประชุม G20 อย่างต่อเนื่อง และมีการประชุม

ระหว่างผู้นำอาเซียนกับเลขาธิการสหประชาชาติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งได้จัดทำความเป็นหุ้นส่วนรอบด้านกับ

สหประชาชาติ (ASEAN-UN Comprehensive Partnership) โดยส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นที่มีผลประโยชน์

ร่วมกัน นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียนได้ลงนาม Bali Declaration on the ASEAN Community in the Global

Community of Nations (Bali Concord III) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะมีบทบาทสร้างสรรค์ในเวทีโลก

มากขึ้น และผลักดันให้อาเซียนมีท่าทีที่สอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นในประเด็นที่ประเทศสมาชิก

อาเซียนให้ความสำคัญ และล่าสุด ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ผู้นำ

อาเซียนได้รับรอง Bali Concord III Plan of Action เพื่อวางแนวทางการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

4. ภาพรวมพัฒนาการในอาเซียน

• การสร้างประชาคมอาเซียน อาเซียนให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานสู่

ประชาคมอาเซียนในทั้งสามเสา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยเฉพาะการเร่งรัด

การรวมตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตภายในภูมิภาคเป็นหลัก และลดการพึ่งพาเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน

ในขณะเดียวกัน ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้มีความเสมอภาคกันระหว่างสมาชิกมากขึ้น ทั้งนี้

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ผู้นำอาเซียนได้ตกลงที่จะกำหนดวันที่อาเซียนจะเป็นประชาคมอาเซียน

อย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม 2558

• การขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจา FTA ของอาเซียน 6

ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ได้ประกาศเริ่มการเจรจา RCEP อย่างเป็นทางการ

ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 โดย RCEP จะเป็น FTA ระดับภูมิภาคที่ครอบคลุมตลาดครึ่งหนึ่งของโลก

• การบริหารจัดการภัยพิบัติ อาเซียนได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนสำหรับความช่วยเหลือด้าน

มนุษยธรรมในการจัดการภัยพิบัติ (AHA Center) ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อเป็นกลไกกลางในการประสานข้อมูลเกี่ยวกับ

การเกิดภัยพิบัติในภูมิภาคและการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ประสบภัยพิบัติ นอกจากนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพ

ร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลีจัด ARF Disaster Relief Exercise 2013 (DiREx 2013) ในเดือนพฤษภาคม 2556 เพื่อ

ฝึกซ้อมการรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาค

• สิทธิมนุษยชน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ได้รับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

(ASEAN Human Rights Declaration) ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

ในภูมิภาคและสะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกอาเซียนในการยึดมั่นหลักการสิทธิมนุษยชนซึ่ง

ถือเป็นค่านิยมสากล

• สถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation -

AIPR) ในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 21 ได้มีการเปิดตัวสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ ซึ่ง

เป็นองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน (Track II) โดยมีหน้าที่หลักในการดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องสันติภาพ

การจัดการความขัดแย้ง และการแก้ไขความขัดแย้ง

• ศูนย์ทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Mine Action Center - ARMAC) ผู้นำอาเซียน

เห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยมีเป้าหมาย

ให้ภูมิภาคอาเซียนปราศจากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่หลงเหลือจากสงคราม รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหา

ด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากทุ่นระเบิด

กลุ่มงานนโยบาย

กรมอาเซียน

พฤศจิกายน 2555

แนวคิดในการรวมตัวเป็นอาเซียนมีอยู่เอกสารใด

กฎบัตรอาเซียน กำหนดขึ้นมาโดยมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ ซึ่งกฎบัตรอาเซียนนี้มีผลทำให้องค์กรอาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล โครงสร้างของกฎบัตรอาเซียน

แนวคิดในการรวมตัวเป็นอาเซียนมีสาระสำคัญอย่างไร

ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน คือการสร้างประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้าง โอกาสและรับมือสิ่งท้าทายทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยให้ประชาชนมี ความเป็นอยู่ที่ดีและสามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และประชาชนในอาเซียนมี

เอกสารสำคัญที่ก่อให้เกิดอาเซียนคืออะไร

เอกสารสำคัญอาเซียน.
Master Plan on ASEAN Connectivity. ... .
Roadmap for an ASEAN Community 2009-2015. ... .
การจัดทำความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของอาเซียน ... .
กฎบัตรอาเซียน ... .
Bali Concord II 2003. ... .
Bali Concord III 2011. ... .
ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration of the Conduct of Parties in the South China Sea - DOC).

สาระสําคัญของกฎบัตรอาเซียนครอบคลุมเรื่องใดบ้าง

สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน มีสาระสำคัญ คือ เพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีเสถียรภาพ มั่งคั่ง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง มีการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงาน การเคลื่อนย้ายทุนเสรียิ่งขึ้น ด้านการเมืองความมั่นคง