ดอกไม้ทะเลกินอะไรเป็นอาหาร

ปลาการ์ตูนมีลำตัวรูปทรงไข่ (Oval Shape) มีรูปร่างแบนข้าง (compress) หัวค่อนข้างกว้าง โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก ลูกตากลมโต เเละโปนเล็กน้อย ส่วนปากอยู่ปลายสุดของจะงอยปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันแหลมคม ครีบทุกครีบมีลักษณะกลม ทำให้ว่ายน้ำได้ช้า ครีบที่เป็นครีบคู่ (Pair Fins) ได้แก่ ครีบอก (pectoral fin) และครีบท้อง (pelvic fin) เพื่อใช้ในการทรงตัว บังคับทิศทาง และว่ายถอยหลัง ครีบเดี่ยว (Median Fins) ได้แก่ ครีบหลัง และครีบก้น โดยครีบหลังประกอบด้วยส่วนก้านครีบแข็ง (Dorsal Spines) และก้านครีบอ่อน (Fin Rays) เป็นโครงร่างค้ำจุน บางชนิดครีบหลังเว้าลงตรงกลางทำให้คล้ายถูกแบ่งออกเป็น 2 ตอน บางชนิดครีบหลังยาวตลอดจนถึงคอดหาง โดยแบ่งครีบหลังเป็น 2 รูปแบบ คือ ครีบหลังเดี่ยว เช่น ปลาการ์ตูนในกลุ่มปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Tomato Complex) ส่วนครีบหลังสองตอน เช่น กลุ่มปลาการ์ตูนส้มขาว (Percula Complex) ปลาการ์ตูนใช้ครีบเดี่ยวในการทรงตัว และว่ายตรง ส่วนครีบหางในปลาชนิดอื่นจะใช้ในการว่ายไปด้านหน้า ซึ่งครีบหางเป็นทรงกลมจะทำให้ไม่สามารถใช้เพิ่มความเร็วเพื่อว่ายพุ่งไปด้านหน้าได้ ทำให้ปลาการ์ตูนใช้ครีบเดี่ยว และครีบอกในการเคลื่อนที่ ลำตัวของปลาการ์ตูนปกคลุมด้วยเกล็ด ทำหน้าที่ช่วยป้องกันการบาดเจ็บ และติดเชื้อ บนเกล็ดจะมีชั้นเมือกปกคลุมที่ช่วยในการว่ายน้ำ ป้องกันการติดเชื้อ และยังช่วยป้องกันเข็มพิษจากดอกไม้ทะเล

วงจรชีวิต

ในทะเลจะปลาการ์ตูนอาศัยอยู่กันเป็นคู่บริเวณดอกไม้ทะเลเป็นหลัก โดยในดอกไม้ทะเลหนึ่งดอกจะมีคู่ปลาการ์ตูนเพศผู้ เพศเมีย 1 คู่ และมีปลาการ์ตูนขนาดเล็กอาศัยร่วมด้วยประมาณ 1-4 ตัว ลูกปลาการ์ตูน มักฟักออกจากไข่ในช่วงกลางคืน ลูกปลาที่ฟักออกใหม่จะมีขนาดประมาณ 2 มม. ลำตัวมีลักษณะโปร่งแสง และชอบว่ายขึ้นผิวน้ำในวันที่มีแสงจันทร์ หลังจากนั้น 7-21 วัน จะเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะลูกปลา ขนาดตัว 10-12 มม. ในระยะนี้ลูกปลาจะว่ายลงพื้นท้องทะเลเพื่อหาแหล่งอาศัยที่เป็นดอกไม้ทะเล กลุ่มดอกไม้ทะเลที่มีปลาการ์ตูนตัวอื่นอาศัยอยู่แล้ว ในระยะลูกปลามักจะถูกไล่กัดจากปลาการ์ตูนเจ้าบ้านจนต้องออกหาแหล่งดอกไม้ ทะเลอื่น แต่หากเกิดการยอมรับก็จะสามารถอยู่ร่วมอาศัยได้ เมื่อลูกปลา มีอายุ 1 เดือน ขนาดประมาณ 4 ซม. ซึ่งเป็นระยะที่มีลักษณะเหมือนพ่อ และแม่ปลาทุกประการ แต่ยังเป็นทั้งเพศผู้ และเพศเมียที่ยังแยกเพศยังไม่ได้ จนถึงอายุประมาณ 4 เดือน จึงจะสามารถแยกเพศได้

ความสัมพันธ์กับดอกไม้ทะเล

ปลาการ์ตูนเป็นปลาที่มีลักษณะเฉพาะ คือ จะอาศัยอยู่ภายในดอกไม้ทะเลซึ่งมีเข็มพิษ แต่ไม่เป็นอันตรายกับปลาการ์ตูน เพื่อป้องกันตัว เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ทั้งสองพึ่งพากัน ดอกไม้ทะเลมีหนวดยาวมากมายพลิ้วไหวไปตามกระแสน้ำ ส่วนร่างยึดติดกับโขดหินหรือปะการังเอาไว้ หนวดที่อ่อนนุ่มเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้หาอาหาร บริเวณปลายหนวดเต็มไปด้วยเข็มพิษจำนวนมหาศาล เมื่อมีปลาว่ายหลงผ่านมา ดอกไม้ทะเลจะใช้หนวดพิษทิ่มแทงเหยื่อให้เป็นอัมพาต แล้วใช้หนวดจับเข้าปาก จึงไม่มีปลาอื่นกล้าว่ายเข้าใกล้ดอกไม้ทะเล ยกเว้นเพียงปลาการ์ตูน ที่เที่ยวว่ายหากินสาหร่ายเล็ก ๆ อยู่รอบ ๆ ครั้นมีศัตรูมารบกวน มันจะรีบว่ายเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในกอดอกไม้ทะเล

นอกจากนี้แล้ว จากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเวลากลางคืนที่ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดน้อยลง ปลาการ์ตูนจะโบกครีบไปมาเพื่อให้เกิดกระแสน้ำไหลผ่านดอกไม้ทะเลเพื่อให้ออกซิเจนอีกด้วย

อันที่จริงแล้วปลาการ์ตูนก็ได้รับพิษเช่นกัน แต่รู้จักปรับตัวโดยใช้วิธีว่ายเข้าไปสัมผัสกับดอกไม้ทะเลทีละน้อย ๆ แล้วถอยออกมา ทำอยู่จนกระทั่งร่างกายสร้างเมือกขึ้นมาปกคลุมตัว ช่วยป้องกันเข็มพิษดอกไม้ทะเลได้ใน
ที่สุด แต่ถ้าปลาการ์ตูนปราศจากเมือกอันนี้เมื่อใด ปลาก็จะถูกเข็มพิษของดอกไม้ทะเลทำร้าย จนตายในที่สุด

การสืบพันธุ์

ปลาการ์ตูนสามารถวางไข่ได้ประมาณเดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 500-1,000 ฟอง ขึ้นกับขนาดและความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์ ใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน ไข่พร้อมที่จะฟักเป็นตัว สังเกตได้จากตาของตัวอ่อนในไข่มีสีเงินวาว ลูกปลาจะฟักออกจากไข่ในเวลากลางคืน

แกงคั่วเห็ดหลุบ เมนูที่ผู้เขียนได้สัมผัสรสชาติครั้งแรกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีนี่เอง ต้องขอบอกว่า ใช่เลย! มันอร่อยสมคำร่ำลือจริงๆ ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่ชาวประมงเขาเก็บมาจากชายทะเล (เคยเคี้ยวแล้วโดนทรายไปหลายเม็ด) แต่พอไปสืบเสาะเบาะแสทราบข้อมูลแล้วจึงถึงบางอ้อ เห็ดหลุบ ที่กินกันอย่างเอร็ดอร่อยนั้น มันคือ ดอกไม้ทะเล และเป็นสัตว์คุ้มครองของไทยไปแล้ว มีผู้รู้ท่านบอกไว้ ตอนนี้อย่าเที่ยวไปจับมากิน มาเลี้ยง มาขายเชียวนะ เดี๋ยวติดคุกหรือถูกปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับเอาง่ายๆ (หากแวะมาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอแนะนำว่า สั่งกินตามร้านอาหารน่าจะปลอดภัยที่สุด)

ลักษณะของเห็ดหลุบ (ดอกไม้ทะเล)

เห็ดหลุบ ชื่อเป็นเห็ด แต่จริงๆ มันคือ ดอกไม้ทะเล เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกดอกไม้ทะเล หรือซีแอนนีโมนชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบอินโด-แปซิฟิก มีรูปทรงกระบอกสามารถยืด หด ได้ ชาวบ้านพื้นถิ่นคนบนเกาะเขาก็เลยเรียกว่า “เห็ดหลุบ” นั่นเอง!

ส่วนมากผู้ล่า (ชาวประมง) เขาจะใช้ชะแลงงัดทำลายกองหิน เพื่อนำตัวมาทำอาหาร (ผู้เขียนเคยเห็นเห็ดหลุบตัวเป็นๆ ที่ผ่านการแช่แข็งมาก่อนที่จะแปรรูปมาเป็นแกงคั่วเห็ดหลุบ เมนูยอดฮิตของหลายๆ คน ทีนี้ก็ได้รู้กันเสียทีว่า มันไม่ใช่เห็ดอีกต่อไป)

เห็ดหลุบ เป็นดอกไม้ทะเลชนิดหนวดสั้น มีชื่อเรียกหนึ่งว่า “พังผืดทะเล” มีพฤติกรรมเหมือนดอกไม้ทะเลทั่วไป คือจะบานเมื่อปราศจากสิ่งใดมารบกวน หากมีสิ่งรบกวนจะหุบตัวเข้ากับซอกหินที่ใช้เป็นที่เกาะ มีสีต่างๆ มากมายหลายสี เช่น สีเหลือง เขียว เทา หรือสีปริน (ซึ่งเป็นสีที่หายาก) ปลายหนวดลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ หากไปสัมผัสถูกเข้าจะเหนียวหนึบ ขาดติดกับมือมาได้เลย กินอาหารด้วยวิธีการสองวิธี คือ การสังเคราะห์แสงจากสาหร่ายซูแซนแทนลีที่อยู่ในเนื้อเยื่อ และจับเหยื่อเอาจากหนวด ซึ่งได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก และปลาวัยอ่อนๆ

ดอกไม้ทะเลกินอะไรเป็นอาหาร
เห็ดหลุบ อาศัยอยู่ตามพื้นทรายและกระจายพันธุ์ไปทั่วน่านน้ำเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของพื้นที่อินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ มอริเชียส ฟิจิ หมู่เกาะริวกิว ทางใต้ของญี่ปุ่นไปถึงออสเตรเลีย

ในทางชีววิทยา เห็ดหลุบ เป็นดอกไม้ทะเลที่เป็นแหล่งที่พักพิงของสัตว์ทะเลหลายชนิด เช่น ปลาการ์ตูนต่างๆ รวมถึงปลาสลิดหินสามจุดในวัยอ่อน และยังมีความสัมพันธ์กับสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆ เช่น กุ้งชนิดต่างๆ และปู โดยให้เป็นสถานที่หลบภัย

เห็ดหลุบ เหล่านักชิมทั้งหลายส่วนมากก็ไม่รู้หรอก? ว่าเขาจับมากินกันได้อย่างไร แต่ชาวบ้านตามเกาะต่างๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขาบอกว่า เห็ดหลุบเป็นอาหารพื้นบ้านของคนเกาะสมุย เกาะพะงัน รวมถึงบริเวณอื่นๆ ที่ใกล้เคียงตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย โน่น โดยสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่างๆ ได้โดยเฉพาะแกงคั่ว มีความกรุบ กรอบ และอร่อย หากท่านผู้ใดไปเที่ยวเกาะสมุย ลองไปถามชาวบ้านแถบชายทะเลดูได้ เพราะชาวบ้านดั้งเดิมเขาจะรู้จักเห็ดหลุบกันแทบทุกครัวเรือน ว่างั้น

เมนู แกงคั่วเห็ดหลุบ

(แกงแบบเดียวกับแกงกะทิปลาใบ ใส่ใบยี่หร่า)

นิยมของคนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนเห็ดหลุบที่ได้มานั้นถูกหรือผิดกฎหมายเราก็ไม่สามารถจะรู้ได้ ขอบอกว่าถ้าใครได้ลองลิ้มชิมรสชาติกรุบๆ กรอบๆ ของแกงคั่วเห็ดหลุบสักครั้ง รับรองท่านต้องติดอกติดใจอย่างแน่นอนค่ะ (ผู้เขียนได้เรียบๆ เคียงๆ ถามสูตรเด็ดเคล็ดลับแกงคั่วเห็ดหลุบมาฝาก)

ส่วนผสม

เห็ดหลุบ
เครื่องแกงคั่ว (ใต้)
กะทิ
กะปิ
เกลือ
น้ำตาลปี๊บ
ใบยี่หร่า
พริกชี้ฟ้า (พริกขี้หนูแดงเม็ดใหญ่)
วิธีการปรุง

เห็ดหลุบ ล้างสะอาด (ต้องล้างให้สะอาดจริงๆ เพราะมีเม็ดทราย) หั่นเป็นชิ้นพอคำเตรียมไว้ ตั้งหม้อ กะทิใส่เครื่องแกงและกะปิ ผัดให้เข้ากันดีแล้ว ใส่เห็ดหลุบ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนเครื่องแกงซึมเข้าเนื้อ และน้ำแห้งขลุกขลิก ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย (ส่วนมากเครื่องแกงใต้ไม่ต้องเติมเลย) ใส่น้ำตาลปี๊บเล็กน้อย (จะไม่ใส่ก็ได้ หรือใส่เพื่อปรุงแต่งรสชาติเล็กน้อยเท่านั้น) ใส่ใบยี่หร่า พริกชี้ฟ้า ผัดให้เข้ากัน ชิมจนได้รสชาติเผ็ดกลมกล่อม ทีนี้ก็กินกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยๆ อย่าบอกใครเชียว

ดอกไม้ทะเลกินอะไรเป็นอาหาร
แกงคั่วเห็ดหลุบ เป็นแกงพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของชาวเกาะสมุย ที่มีรสชาติเผ็ด กลมกล่อม หอมกลิ่นเครื่องแกงใต้ รสชาติเอร็ดอร่อย และนอกจากนี้ยังมีอีกหลายเมนูที่ไม่ควรพลาด คือ วายคั่วกะทิ (วาย ก็คือปลาหมึกสายตัวยาวๆ มีความเหนียวกว่าปลาหมึกหน่อยค่ะ) เอามาต้มกะทิ เติมความเปรี้ยวจากลูกตะลิงปลิงสักหน่อย รับรองทั้งหอมและอร่อยสุดๆ เลย เวลากินเอาน้ำมาราดข้าว หรือจะซดเพียวๆ อร่อยอย่าบอกใคร?

และอีกเมนูพื้นบ้านที่ห้ามพลาดเลยก็คือ ยำสาหร่ายข้อสมุย (เป็นสาหร่ายชนิดหนึ่งที่มักจะเก็บตอนน้ำทะเลลด) รสชาติสาหร่ายสดๆ จากทะเล เคี้ยวกรุบ กรอบ เข้ากันดีกับน้ำยำ และส่วนผสมต่างๆ จนต้องยกนิ้วให้เลย (น้ำยำตามสูตรสมุยจะใส่กะปิเล็กน้อย)

หากมีโอกาสได้มาจังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือเกาะสมุย ที่ไม่ได้มีดีเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความสวยงามตามธรรมชาติทางทะเลเท่านั้น ยังมีอาหารพื้นบ้านหลากหลายเมนู ที่สามารถบ่งบอกถึงวิถีชีวิตของคนใต้ชายทะเลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเกาะสมุย เมืองที่ล้อมรอบด้วยทะเล ซึ่งอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของสมุยจึงมาจากทะเลแทบทั้งสิ้น อาทิ หอยเจาะ สาหร่ายข้อ ไข่หอยเม่น วายคั่ว เห็ดหลุบ ซึ่งถ้ามาถึงสุราษฎร์ธานี และสมุยแล้วไม่ได้ลองชิมเมนูเหล่านี้ ท่านจะไม่รู้จักวัฒนธรรมของคนริมทะเลที่แท้จริง

ดอกไม้ทะเลกินอาหารยังไง

อาหารของดอกไม้ทะเลได้แก่สัตว์น้ำตัวเล็กๆที่ว่ายไปมา เมื่อถูกกับหนวดของมันเข้า มันจะปล่อยเข็มพิษออกมาฆ่าเหยื่อก่อน แล้วใช้หนวดรวบจับใส่ปากกินเป็นอาหาร ลักษณะทางเดินอาหารของดอกไม้ทะเลเป็นท่อตรง มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก

ดอกไม้ทะเลเป็นอะไร

ดอกไม้ทะเล หรือ ซีแอนนีโมนี (Sea Anemone) ไม่ใช่พืชแต่เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวอ่อนนุ่ม อยู่ในกลุ่มเดียวกับ แมงกะพรุน ปะการัง ปะการังอ่อน ทั่วโลกพบมากกว่า 1,000 ชนิด แต่ละ ชนิดจะมีหนวดที่แตกต่างกันอาศัยอยู่ตามพื้นหินหรือทรายที่มั่นคง มีสีสันสวยงามอยู่ใต้ท้องทะเล โดยมีปลา การ์ตูนอาศัยอยู่ร่วมกัน มีลักษณะ ...

ดอกไม้ทะเลขับถ่ายทางไหน

ข้อนี้ตอบ 3 ค่ะ เพราะดอกไม้ทะเลยังไม่มีระบบขับถ่ายโดยเฉพาะการขับถ่ายอาศัยการแพร่ของๆเสียออกจากเซลล์และผิวลำตัวออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง สำหรับเนฟริเดียมเป็นอวัยวะขับถ่ายของไส้เดือนดิน หรือพวกหอยค่ะ

ดอกไม้ทะเลมีประโยชน์อย่างไร

ดอกไม้ทะเลสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ ส่วนสาหร่ายนอกจากจะมีที่อยู่อาศัย ยังสามารถนำเอาของเสียจากการขับถ่ายของดอกไม้ทะเล เป็นแร่ธาตุไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต