พยาบาล icu ต้องรู้อะไรบ้าง

Intensive Care Unit หรือ ICU เป็นห้องที่ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต จัดไว้เพื่อดูแลรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือมีอาการสาหัสจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมายังห้อง ICU อาจด้วยกำลังเผชิญกับภาวะอวัยวะใด อวัยวะหนึ่ง หรือหลายๆ ส่วน ที่ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

ICU จึงเป็นส่วนที่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น

พยาบาล icu ต้องรู้อะไรบ้าง

พยาบาล icu ต้องรู้อะไรบ้าง

พยาบาล icu ต้องรู้อะไรบ้าง

มือกุมมือ..ด้วยใจประสานใจ ห้วงเวลานี้ ทีม ICU โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ พร้อมเข้าใจดุจญาติมิตรด้วยประสบการณ์ที่สั่งสม จึงพร้อมเคียงข้างอย่างมุ่งมั่นเพื่อให้บริการทางการแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิดตามหลักมาตรฐานระดับสากล

พร้อมด้วยทีมบุคลากรเฉพาะทาง

  • ด้วยทีมแพทย์ พยาบาล ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยหนักโดยเฉพาะ ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถตัดสินใจได้ดีในสถานการณณ์กดดัน
  • ทีมเภสัชกร เพื่อการวางแผนการใช้ยา ร่วมกับแพทย์ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับโรค
  • ได้รับการประเมินทางกายภาพ โดยนักกายภาพบำบัด เพื่อการฟื้นฟู
  • มีการกำหนดอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมจากนักโภชนาการ

พร้อมด้วยความสามารถให้การดูแลรักษา

  • ดูแลผู้ป่วยหนักโรคทางอายุรกรรม ครอบคลุมตั้งแต่วัยเด็กถึงผู้สูงอายุ
  • ดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทางศัลยกรรมและด้านสูตินรีเวช
  • ดูแลผู้ป่วยด้านระบบประสาทและสมอง
  • ดูแลผู้ป่วยหนักระบบทรวงอกและทางเดินหายใจ
  • ให้การดูแลผู้ป่วยพิเศษในภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตและผู้ป่วยติดเตียง

พร้อมด้วยการให้บริการอย่างใกล้ชิด

  • ผู้ป่วยจะได้รับการดูแล รักษาจากทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และมีความพร้อมทางการแพทย์เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะวิกฤตได้ทันท่วงที
  • เทคโนโลยี เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ทันสมัย พร้อมใช้งาน
  • พื้นที่รองรับผู้ป่วยหนักถึง 10 ยูนิตและ 1 ยูนิตสำหรับห้อง Negative Pressure สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • จัดสรรพื้นที่ขับถ่ายพิเศษไว้ภายในห้อง เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ป่วยในระยะฟื้นตัว หรือผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหว
  • มีการเรียนการสอนสำหรับญาติผู้ดูแล เพื่อเตรียมความพร้อม เช่น การให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ญาติเกิดความมั่นใจ ก่อนรับไปดูแลต่อที่บ้าน

ไม่เพียงในห้อง ICU จะมีบุคลากรและเครื่องมือที่มีความพร้อมให้การดูแลเพียงผู้ป่วยโดยตรงแล้ว  ICU ยังเป็นแหล่งรวมความห่วงใย ความหวัง รวมถึงภาวะความตึงเครียดของญาติ จึงได้จัดให้มีห้องรับรองและห้องให้คำปรึกษาไว้ภายใน เพื่อให้ญาติสามารถพูดคุยสอบถาม และร่วมกันวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์และทีมสหวิชาชีพอย่างเป็นส่วนตัว

(Intensive Care Units หรือ ไอซียู) คือ ห้องดูแลผู้ป่วยหนัก เป็นพื้นที่พิเศษที่จัดไว้เพื่อรักษาดูแลอาการผู้ที่ป่วยหนัก หรือมีอาการสาหัสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตโดยเฉพาะ โดยมีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังดูแลอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และคอยบริหารจัดการให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ สามารถทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที

พยาบาล icu ต้องรู้อะไรบ้าง

นอกจากห้อง ICU จะเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นแหล่งรวมความเป็นห่วง ความหวัง และความตึงเครียดของญาติไปจนถึงบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยด้วย ดังนั้น ทั้งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และเหล่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย จึงต้องมีการสื่อสารระหว่างกัน เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวะวิกฤตนี้ให้เร็วที่สุด

ICU เป็นอย่างไร ?

ICU มีไว้เพื่อรักษาดูแลอาการผู้ป่วยให้พ้นจากภาวะวิกฤตที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและสามารถย้ายไปพักฟื้นรักษาตัวในแผนกรักษาเฉพาะทางต่าง ๆ ต่อไปได้ บางโรงพยาบาลอาจมีห้อง ICU เฉพาะในแต่ละแผนก เช่น ICU ของแผนกกุมารแพทย์ จะดูแลรักษาเฉพาะผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหนัก หรือบางโรงพยาบาลอาจมีห้อง ICU แห่งเดียว แต่แบ่งโซนการรักษาออกเป็นแผนกตามอาการของผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวมารักษาใน ICU จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น สายยางและสายไฟต่าง ๆ ถูกต่อพ่วงเข้ากับเตียงผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยประคับประคองและรักษาอาการให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายผู้ป่วยสามารถทำงานต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้ในที่สุด ในระหว่างนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับยาบรรเทาอาการปวด หรือยาระงับประสาทที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน เนื่องจากการต่อเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยชีวิตเหล่านี้ อาจสร้างความเจ็บปวดและทำให้ผู้ป่วยไม่สบายตัว

อุปกรณ์ที่ใช้ในห้อง ICU ได้แก่

  • เครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ ประกอบด้วยสายยางที่อาจสอดเข้าไปทางปาก จมูก หรือรูเล็ก ๆ บริเวณลำคอ ซึ่งแพทย์เป็นผู้ผ่าสร้างช่องเพื่อให้สามารถสอดท่อช่วยหายใจเข้าไปได้
  • เครื่องมือเฝ้าระวังอาการ เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อตรวจการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายผู้ป่วย เช่น ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ ตรวจความดันโลหิต ตรวจระดับออกซิเจนในเลือด เป็นต้น
  • สายยางที่ต่อเข้ากับเส้นเลือดและตัวปั๊ม ใช้เพื่อส่งสารเหลว สารอาหารที่จำเป็น และให้ยาเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยผ่านทางกระแสเลือด
  • สายยางให้อาหาร ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ สายยางจะถูกสอดเข้าทางจมูก ทางช่องเล็ก ๆ บริเวณหน้าท้องเพื่อใส่สายให้อาหาร หรืออาจให้อาหารชนิดเข้มข้นทางเส้นเลือด  
  • สายสวนและท่อระบายของเสีย ผู้ป่วยอาจได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะ ใส่ท่อระบายอุจจาระผ่านลำไส้บริเวณหน้าท้อง ใส่ท่อระบายเลือดจากแผล หรือระบายของเหลวจากร่างกาย

ทำไมต้องเข้า ICU ?

ผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวเข้ามารักษาในห้อง ICU คือ ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาดูแลอาการอย่างใกล้ชิด หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด และการดูแลเฝ้าระวังอาการในห้อง ICU จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น

ผู้ป่วยในห้อง ICU ส่วนใหญ่มักเผชิญปัญหาอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หรือหลาย ๆ ส่วน ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือผู้ป่วยอาจไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง ซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนใหญ่ ได้แก่

  • ประสบอุบัติเหตุรุนแรง เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน ตกจากที่สูง ศีรษะถูกกระแทกอย่างแรง ถูกไฟไหม้อย่างรุนแรง
  • ภาวะอาการป่วยที่รุนแรงและกะทันหัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน
  • ภาวะติดเชื้อร้ายแรง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดอักเสบรุนแรง
  • การผ่าตัดใหญ่ แพทย์อาจวางแผนการดูแลเฝ้าระวังอาการให้ผู้ป่วยอยู่ในห้อง ICU เพื่อเป็นประโยชน์ในการฟื้นตัว หรือในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเผชิญกับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายในระหว่างหรือหลังการผ่าตัด

การตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษา

ด้านอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเข้ารับการรักษา หากผู้ป่วยเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปีบริบูรณ์) โดยที่ยังคงมีสติรู้สึกตัว และสามารถสื่อสารได้ในระหว่างเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยจะมีอำนาจการตัดสินใจเลือกการรักษาทั้งหมดได้ด้วยตนเอง

แต่หากผู้ป่วยหมดสติ หรือไม่มีสติสัมปชัญญะอย่างสมบูรณ์ในขณะนั้น ผู้ป่วยจะไม่สามารถตัดสินใจหรืออนุญาตให้ทำการรักษาในขั้นตอนต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

ดังนั้น หากผู้ป่วยรู้ตัวก่อนว่าต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉินในห้อง ICU ควรมอบอำนาจให้ผู้ที่ไว้ใจได้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการรักษา หรือแจ้งให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจแทนโดยชอบทราบก่อนล่วงหน้าว่าขั้นตอนใดที่ไม่ต้องการให้แพทย์ทำการรักษาเมื่อถึงเวลาป่วยจนถึงภาวะวิกฤต ซึ่งตามกฎหมายได้เรียงลำดับผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจแทนตามลำดับ ดังนี้

  • คู่สมรส  
  • บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
  • บิดา มารดา
  • ญาติระดับใด ๆ ก็ตาม
  • ผู้ที่ได้รับเสนอชื่อโดยบุคคลที่ดูแลผู้ป่วยนั้นอยู่ประจำ
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่กฎหมายกำหนด

ถึงที่สุดแล้ว หากเป็นกรณีฉุกเฉินที่ไม่มีผู้มีอำนาจตัดสินใจ แพทย์อาจตัดสินใจรักษาตามวิธีการที่เหมาะสม หรือปรึกษากับญาติของผู้ป่วยถึงวิธีการรักษาที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด รวมถึงความเสี่ยงและผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

การพักฟื้นหลังออกจากห้อง ICU

เมื่อผู้ป่วยพ้นจากสภาวะวิกฤต แพทย์จะย้ายผู้ป่วยออกจากห้อง ICU แล้วส่งต่อผู้ป่วยให้ไปรักษาที่แผนกรักษาเฉพาะทางต่าง ๆ ตามอาการป่วย จนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นตัวและสามารถกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านได้ต่อไป

ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถฟื้นตัวได้ดีหลังออกจาก ICU แต่ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเผชิญกับอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นเป็นผลตามมา เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถปรับสภาพได้ดีหลังหมดฤทธิ์ยา และยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่ เช่น

  • แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อตึง
  • เมื่อยล้า หมดแรง
  • ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน
  • มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือมีความเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการคิด เช่น ความจำไม่ดี คิดอะไรไม่ออกเท่าที่ควรหรืออย่างที่เคย

โดยปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลยาวนานหลายเดือน ผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาดูแลและติดตามผลการรักษาอย่างเหมาะสมจนกว่าอาการจะดีขึ้นหรือหายไป ด้วยการช่วยเหลือสนับสนุนของญาติและบุคคลใกล้ชิดอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ป่วยบางรายจะสามารถออกจาก ICU ได้ในเวลาไม่กี่วัน แต่บางรายอาจต้องใช้เวลารักษาตัวใน ICU นานหลายวัน หลายเดือน หรือมีอาการทรุดหนักลงจนเสียชีวิตได้เช่นกัน

การเยี่ยมผู้ป่วยในห้อง ICU

แม้ผู้ป่วยในห้อง ICU บางรายอาจไม่รู้สึกตัว ไม่ได้สติ หรือมีอาการหนัก แต่ญาติสามารถเข้าเยี่ยมผู้ป่วยได้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมตามที่แพทย์อนุญาต โดยญาติหรือบุคคลใกล้ชิดอาจมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่ดีขึ้นและอาจส่งผลต่อการรักษาและการฟื้นตัวของผู้ป่วยได้

อย่างไรก็ดี การเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ICU ญาติและบุคคลใกล้ชิดต้องปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้

  • เวลาเยี่ยม ผู้มาเยี่ยมต้องเข้าเยี่ยมตามช่วงเวลาที่โรงพยาบาลกำหนดไว้เท่านั้น โดยที่ทางแพทย์อาจจำกัดจำนวนคนมาเยี่ยม เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ป่วย ป้องกันการเกิดภาวะติดเชื้อ หรือกระทบต่อกระบวนการรักษาภายในห้อง
  • สุขอนามัย ผู้มาเยี่ยมต้องล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังเข้าเยี่ยม ไม่นำของมาเยี่ยมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย เช่น ดอกไม้ เข้ามาในห้อง ICU และผู้มาเยี่ยมต้องมีสุขภาพดี ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้ที่มาเยี่ยม
  • เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยชีวิต ผู้มาเยี่ยมอาจพบเห็นสายยางและสายไฟระโยงระยาง รวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ บริเวณรอบ ๆ ตัวและรอบเตียงผู้ป่วย ผู้มาเยี่ยมสามารถถามเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลถึงการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่เกี่ยวข้องกับอาการของผู้ป่วยได้ โดยผู้มาเยี่ยมต้องระมัดระมังไม่ไปแตะต้องอุปกรณ์จนก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์นั้น ๆ
  • ทำความเข้าใจสถานการณ์ เมื่อมาเยี่ยมผู้ป่วย ผู้มาเยี่ยมอาจได้พบกับผู้ป่วยในสภาพที่ต่างไปจากปกติ ผู้ป่วยอาจหมดสติ มีท่าทีสับสนมึนงง มีร่องรอยบาดแผล รอยช้ำ หรือตัวบวมตามสาเหตุของการเจ็บป่วย ซึ่งอาจสร้างความไม่สบายใจแก่ผู้ที่พบเห็น อีกทั้งยังต้องเผชิญกับบรรยากาศรอบ ๆ ห้องที่เต็มไปด้วยเสียงเครื่องมือต่าง ๆ ที่กำลังทำงานเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย ดังนั้น ผู้มาเยี่ยมควรมีสติ เข้าใจสถานการณ์ และช่วยเหลือให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างมีความหวังเสมอ
  • ขอคำแนะนำ ผู้มาเยี่ยมต้องสอบถามแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลให้ดีถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำก่อนเข้าเยี่ยมผู้ป่วย สิ่งใดควรนำมาเยี่ยมหรือไม่ควรนำมา ควรพูดคุยกับแพทย์ผู้ดูแลเป็นระยะ ซักถามถึงข้อข้องใจเกี่ยวกับอาการและการรักษาผู้ป่วย รวมถึงสอบถามถึงสภาวะในปัจจุบันของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการรับมือในขั้นต่อไปได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลล้วนมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ผู้มาเยี่ยมควรปรึกษาพูดคุยตามความเหมาะสม

สิ่งที่ควรทำในการเข้าเยี่ยมผู้ป่วย

  • ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและรับการรักษาอย่างเต็มที่ ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้ป่วยและการทำงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หากผู้ป่วยกำลังรู้สึกตัวตื่น ควรพูดกับผู้ป่วยด้วยเสียงเบา ๆ พูดคุยกับผู้ป่วยด้วยบทสนทนาสั้น ๆ ให้กำลังใจให้ผู้ป่วยมีความหวัง พูดให้ผู้ป่วยฟังว่าเรื่องนี้จะผ่านพ้นไปในเร็ววัน และพูดถึงแต่เรื่องราวที่ดี
  • หลีกเลี่ยงการพูดถึงสิ่งที่สร้างความไม่สบายใจ เช่น เรื่องการเงิน หรือปัญหาภายในครอบครัว
  • ไม่ถามคำถามกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถพูดคุยโต้ตอบได้ หากต้องการสื่อสาร ให้ใช้กระดานช่วยให้ผู้ป่วยขีดเขียนข้อความลงในนั้นเพื่อแสดงความประสงค์ต่าง ๆ ของผู้ป่วยแทนการพูดคุย โดยผู้มาเยี่ยมควรมีความอดทน และพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการสื่อสาร
  • สร้างบรรยากาศรอบข้างให้ผู้ป่วยรู้สึกอยู่ในสถานการณ์ปกติ เช่น ให้ผู้ป่วยรับรู้วันเวลาในปัจจุบัน อธิบายถึงเสียงรอบข้างภายในห้อง ICU เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้ และคลายความเครียดหรือความวิตกกังวลลง
  • หากแพทย์อนุญาต ผู้มาเยี่ยมสามารถแสดงความรักความเป็นห่วงและให้กำลังใจผู้ป่วยได้ด้วยการจับมือหรือสัมผัสตัวผู้ป่วยเบา ๆ
  • อาจเสนอให้ผู้ป่วยฝึกสื่อสารด้วยภาษากาย เช่น การใช้นิ้วหัวแม่มือชูขึ้นแทนคำว่า ดี เอานิ้วลงแทนคำว่า เจ็บ เป็นต้น
  • อ่านหนังสือ บทกลอน หรือเปิดเพลงให้ผู้ป่วยฟัง หากแพทย์มีความเห็นว่าเรื่องราวหรือบทเพลงดังกล่าวมีความเหมาะสมและสามารถทำได้เท่านั้น
  • หากผู้มาเยี่ยมมีสภาวะอารมณ์ที่ไม่มั่นคง โกรธ สับสน เสียใจ กระวนกระวาย ควรทำจิตใจให้สงบ เช่น การยึดเหนี่ยวจิตใจทางศาสนา หรือขอความช่วยเหลือและคำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เป็นต้น
  • จัดตารางเวลาญาติหรือบุคคลใกล้ชิดให้สลับผลัดเปลี่ยนกันมาเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อไม่ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเหน็ดเหนื่อยอ่อนแรงจนเกินไปจากการคอยมาเยี่ยมดูแลผู้ป่วย
  • คนในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วยควรสื่อสารอัพเดทอาการป่วยให้ผู้อื่นทราบเป็นระยะ และควรให้กำลังใจซึ่งกันและกัน โดยควรดูแลตนเอง พักผ่อนอย่างเต็มที่ รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อให้ตนมีสุขภาพแข็งแรง สามารถอยู่ช่วยเหลือดูแลเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยจนผู้ป่วยพ้นจากภาวะอันตรายได้ต่อไป

    ไอซียู อยู่ได้กี่วัน

    โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับการดูแลในห้อง ICU เป็นเวลา 1-3 วัน ก่อนจะย้ายออกมายังหอผู้ป่วยธรรมดา ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ที่กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น ผู้ป่วยควรจะกลับบ้านภายใน 6-9 วันหลังผ่าตัด โดยระยะเวลาในการดูแลในห้อง ICU และในหอผู้ป่วยธรรมดาอาจจะยาวนานขึ้นตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

    อุปกรณ์ในห้องICU มีอะไรบ้าง

    แผนกผู้ป่วยวิกฤต(ICU) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีความพร้อมด้านอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตทุกชนิด อาทิ เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของสัญญาณชีพ เครื่องช่วยหายใจชนิดต่างๆ เครื่องล้างไตแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (extracorporeal membrane oxygenation: ...

    ห้อง ICU เป็นยังไง

    Intensive Care Unit หรือ ICU เป็นห้องที่ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต จัดไว้เพื่อดูแลรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือมีอาการสาหัสจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมายังห้อง ICU อาจด้วยกำลังเผชิญกับภาวะอวัยวะใด อวัยวะหนึ่ง หรือหลายๆ ส่วน ที่ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

    ICU นอนเฝ้าได้ไหม

    แม้ผู้ป่วยในห้อง ICU บางรายอาจไม่รู้สึกตัว ไม่ได้สติ หรือมีอาการหนัก แต่ญาติสามารถเข้าเยี่ยมผู้ป่วยได้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมตามที่แพทย์อนุญาต โดยญาติหรือบุคคลใกล้ชิดอาจมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่ดีขึ้นและอาจส่งผลต่อการรักษาและการฟื้นตัวของผู้ป่วยได้