พระฤาษีสอนอะไรให้สุดสาครบ้าง


สุนทรภู่: มหากวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เรียบเรียงโดย ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง

"แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน
บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน
เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
แม้ใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี"


บางส่วนตอนจากกลอนนิทาน “พระอภัยมณี”


พระฤาษีสอนอะไรให้สุดสาครบ้าง

     สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาเช้า ๒ โมง (ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งเป็นบริเวณสถานี รถไฟบางกอกน้อยในปัจจุบัน หลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ จังหวัดระยองซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลังถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคนชื่อ ฉิม และ นิ่ม สุนทรภู่รับราชการในกรมพระอาลักษณ์ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ อยู่เพียง ๘ ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัยเสด็จสวรรคต สุนทรภู่จึงออกบวชเป็นเวลา ๑๘ ปี ระหว่าง บวชนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่งเท่าที่พบระบุในงานเขียนของท่านได้แก่ วันเลียบ วัดแจ้ง วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และ วัดเทพธิดาราม จากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย และ เชื่อว่าน่าจะยังมีนิราศที่ค้นไม่พบอีกเป็นจำนวนมาก

พระฤาษีสอนอะไรให้สุดสาครบ้าง

     สุนทรภู่รับราชการในกรมพระอาลักษณ์ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ อยู่เพียง ๘ ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย
เสด็จสวรรคต สุนทรภู่จึงออกบวชเป็นเวลา ๑๘ ปี ระหว่างบวชนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่งเท่าที่พบระบุในงานเขียน
ของท่านได้แก่ วันเลียบ วัดแจ้ง วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม จากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย และเชื่อว่าน่าจะยังมีนิราศที่ค้นไม่พบอีกเป็นจำนวนมาก
จากวรรณคดีหลายๆ เรื่องที่สุนทรภู่ประพันธ์ขึ้นทำให้เห็นว่าสุนทรภู่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก เช่น ที่พระฤๅษี
สอนสุดสาครว่า “รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” เชื่อว่าสุนทรภู่น่าจะร่วมอยู่ในกลุ่มข้าราชการหัวก้าวหน้าในยุค
สมัยนั้นที่นิยมวิชาความรู้แบบตะวันตก ภาษาอังกฤษ ตลอดกระทั่งแนวคิดยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสตรีมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่สะท้อนแนวความคิดของสุนทรภู่ออกมามากที่สุดคืองานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี โครงเรื่องมีความเป็นสากลมากกว่า
วรรณคดีไทยเรื่องอื่นๆ ตัวละครมีความหลายหลายทางเชื้อชาติ ตัวละครเอกเช่นพระอภัยมณีกับสินสมุทรยังสามารถพูด
ภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา นอกจากนี้ยังเป็นวรรณคดีที่ตัวละครฝ่ายหญิงมีบทบาททางการเมืองอย่างสูง เช่นนางสุวรรณมาลีและนางละเวงวัณฬาที่สามารถเป็นเจ้าครองเมืองได้เอง นางวาลีที่เป็นที่ปรึกษากองทัพ และนางเสาวคนธ์ที่กล้าหาญถึงกับหนีงานวิวาห์ที่ตนไม่ปรารถนา อันผิดจากนางในวรรณคดีไทยตามประเพณีที่เคยมีมา งานเขียนของสุนทรภู่หลายเรื่องสะท้อนแนวคิดด้านเศรษฐกิจ รวมถึงวิจารณ์การทำงานของข้าราชการที่ทุจริตติดสินบน
ไมเคิล ไรท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุษาคเนย์ศึกษาเห็นว่างานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี เป็นการคว่ำคติความเชื่อและค่านิยม
ในมหากาพย์โดยสิ้นเชิง โดยที่ตัวละครเอกไม่ได้มีความเป็น “วีรบุรุษ” อย่างสมบูรณ์แบบ ทว่าในตัวละครทุกๆ ตัวกลับมี
ความดีและความเลวในแง่มุมต่างๆ ปะปนกันไป

พระฤาษีสอนอะไรให้สุดสาครบ้าง


พ.ศ.๒๕๒๙ ในโอกาสครบรอบ ๒๐๐ ปีชาตกาล องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้สุนทรภู่เป็นบุคคลสำคัญ
ของโลกทางด้านวรรณกรรม นับเป็นชาวไทยคนที่ ๕ และเป็นสามัญชนชาวไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติในปีนั้น
สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “อนุสรณ์สุนทรภู่
๒๐๐ ปี” และมีการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ชีวิตและผลงานของ
สุนทรภู่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org ค้นคืนวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓

บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว
สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)

แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)

อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฎิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา

เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก
แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมประทุมทอง

แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

(ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา")

คำสอนของพระฤาษีในเรื่องสุดสาครมีอะไรบ้าง

หลังจากสุดสาครถูกชีเปลือยผลักตกหน้าผา แย่งเอาม้านิลมังกรและไม้เท้ากายสิทธิ์ไป พระฤาษีก็ตามมาช่วยได้ทันจึงได้กล่าวสอนสุดสาคร กลอนนี้สอนเรื่อง : ให้รู้จักระมัดระวังรอบคอบ รู้จักรักษาตัวให้พ้นจากภัยอันตราย เราไม่รู้เลยว่าใครคิดอย่างไรกับเรา การเรียนรู้ที่จะรับมือและเอาตัวรอดจึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ

พระฤาษีมอบสิ่งใดให้สุดสาคร

วันหนึ่ง “สุดสาคร” อยากไปตามหาพ่อ (พระอภัยมณี) พระฤๅษีบวชให้สุดสาคร” พร้อมมอบไม้เท้าวิเศษให้สุดสาคร” ควบ “ม้านิลมังกร” ออกไปกลางทะเล แต่กลับถูกภูติผีใต้มหาสมุทรเข้าทำร้าย “สุดสาคร” และ “ม้านิลมังกร” ต่อสู้กับผีร้ายถึงเจ็ดคืนจนอ่อนล้า เมื่อนึกถึงพระฤๅษี พระฤๅษีก็เหาะมาช่วยปราบผีร้าย

สุดสาครสอนอะไร

สุดสาคร คือ ตัวละครในเรื่องพระอภัยมนีโดยสุดสาครเป็นลูกของพระอภัยมณีกับนางเงือกที่ช่วยเหลือพระอภัยมณีหนีมายังเกาะแก้วพิสดาร สุดสาครเกิดที่เกาะแก้วพิสดารและอยู่เติบโตกับพระฤๅษี เมื่อโตขึ้นสุดสาครจึงออกตามหาพ่อ โดยมีม้านิลมังกรเป็นพาหนะ "แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มัน แสนสุดลึกล้ำเหนือกำหนด

ใครช่วยสุดสาครตกเหว

ธุระไรหรือจึงมาถึงธานี ฯ สุดสาครก็ทูลตอบให้ทรงทราบทุกประการ พร้อมทั้งเรื่องราวความเป็นมา จนถูกชีเปลือยผลักตกเหว ตนจึงตามมาเอาไม้เท้า พระสุริโยทัย ได้ทรงทราบแล้ว ก็โกรธชีเปลือยที่ลวงฆ่าสุดสาคร และมาหลอกลวงชาวเมือง ถ้าไม่ฆ่าก็จะเคยตัว แล้วให้ไปจับชีเปลือยมา แล้วสั่งให้เอาไปผ่าอก