เครื่องหมายเสริมนิยมใช้สีอะไร

เครื่องหมายเสริมนิยมใช้สีอะไร
เครื่องหมายเสริมนิยมใช้สีอะไร

ป้ายสัญลักษณ์แพงโกลิน

ข้อมูลสนับสนุนทางเทคนิคป้ายความปลอดภัยและงานจราจร, บทความ สิงหาคม 23, 2019 กันยายน 26, 2021 Srisumeth Rittipairoj

การใช้สีสัญลักษณ์ในงานความปลอดภัย

  • สีแดง ในสัญลักษณ์ความปลอดภัย  หมายถึง “หยุด” ตัวอย่างการใช้งาน เช่น เครื่องหมายหยุด , เครื่องหมายห้าม , เครื่องหมายอุปกรณ์ฉุกเฉิน , เครื่องหมายห้าม มีสีตัดเป็น สีขาว
  • สีเหลือง ในสัญลักษณ์ความปลอดภัย  หมายถึง “ระวัง” ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ชี้บ่งว่าอันตราย (เช่น ไฟ วัตถุ ระเบิด กัมมันตภาพรังสี วัตถุมีพิษและอื่นๆ ) หรือ ชี้บ่งถึงเขตอันตราย ทางผ่านที่มีอันตราย เครื่องกีดขวาง มีสีตัดเป็น สีดำ
  • สีน้ำเงิน ในสัญลักษณ์ความปลอดภัย  หมายถึง “บังคับให้ต้องปฏิบัติ” ตัวอย่างการใช้งาน เช่น เครื่องหมายบังคับให้ต้องสวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล , เครื่องหมายเตือน  เครื่องกีดขวาง มีสีตัดเป็น สีขาว
  • สีเขียว ในสัญลักษณ์ความปลอดภัย  หมายถึง “แสดงภาวะปลอดภัย”  ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ทางหนี , ทางออกฉุกเฉิน
    หน่วยปฐมพยาบาล , ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน , หน่วยกู้ภัย , เครื่องหมายสารนิเทศแสดงภาวะปลอดภัย

    หมายเหตุ : 1. สีแดงยังใช้สำหรับอุปกรณืเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อปกรณ์ดับเพลิงและตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย
                 2. อาจใช้สีแดงส้มวาวแสงแทนสีเหลืองได้ (แต่ไม่ให้ใช้แทนสีเหลืองกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย)
                       สีแดงส้มวาวแสงนี้มองเห็นเด่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มืดมัว
สนใจอุปกรณ์ความปลอดภัยและป้ายความปลอดภัย ติดต่อเราได้ที่ https://pangolinonline.com/contact-us-pangolin.html
เครื่องหมายเสริมนิยมใช้สีอะไร
เครื่องหมายเสริมนิยมใช้สีอะไร

สัญลักษณ์ความปลอดภัย มีไว้สำหรับการเตือนความเป็นอันตราย แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงสถานะต่างๆที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดโรคจากการทำงานได้ ปัจจุบันนิยมนำมาติดไว้บนป้ายโดยมีสัญลักษณ์ต่างๆ และ พื้นของสีที่กำหนดความหมายลงไปบนป้าย เช่น ระบุการกระทำที่จำเป็น หรือ กำหนดให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ppe ที่จำเป็น การห้ามการกระทำ หรือ วัตถุอันตรายต่างๆ การระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ความปลอดภัย เป็นต้น

เราจะพบสัญลักษณ์ความปลอดภัยได้ในพื้นที่ที่มีอันตรายโดยส่วนมาก เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล บนท้องถนน เขตก่อสร้าง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันตราย จำพวกห้องเก็บสารเคมี ห้องควบคุมไฟฟ้า พื้นที่อับอากาศ เป็นต้น

การติดป้ายหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญช่วยให้พนักงานหรือผู้ที่เข้ามาในพื้นที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุและยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นป้ายหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยในบางครั้งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับพื้นที่ประเทศหรือภูมิภาคแต่เป้าหมายที่เหมือนกันคือการสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัยให้ผู้พบเห็นได้รับรู้และปฏิบัติตาม

เครื่องหมายเสริมนิยมใช้สีอะไร

สัญลักษณ์ความปลอดภัยมีกี่ประเภท

สัญลักษณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานมีลักษณะเป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ รูปร่าง คำ วลี ประโยค หรือ ข้อความ รูปร่างแต่ละรูปสื่อความหมายที่แตกต่างกัน และ สีที่แสดงบนสัญลักษณ์ก็แตกต่างกันด้วยเช่นกัน ซึ่งสัญลักษณ์ความปลอดภัย สามารถแบ่งตามความสำคัญได้เป็น 4 ประเภท คือ

  1. สัญลักษณ์ห้าม

เป็นสัญลักษณ์ประเภทหนึ่ง ที่บอกถึงคำสั่งห้าม มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ไม่เพียงแต่บุคคลแต่ต่อพื้นที่และผู้อื่นด้วย ซึ่งสัญลักษณ์ห้าม มีลักษณะเป็นวงกลมแถบสีแดง มีเส้นทแยงมุม 45 องศา 

  1. สัญลักษณ์เตือน

เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับสื่อสารคำเตือนหรืออันตรายในพื้นที่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมสีเหลืองหรือสีเหลืองอำพันและข้อความสีดำ เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังอันตราย

  1. สัญลักษณ์บังคับ

เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ดำเนินการเฉพาะ เพื่อช่วยปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องบุคคลจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

  1. สัญลักษณ์ฉุกเฉิน

เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วไปและเข้าใจได้ง่าย สัญลักษณ์ฉุกเฉินมักใช้ในการบอกถึงทางออกฉุกเฉิน จุดปฐมพยาบาล จุดรวมพล เป็นต้น ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นหลังสีเขียวและรูปสัญลักษณ์สีขาว 

เครื่องหมายเสริมนิยมใช้สีอะไร

ทำไมต้องใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัย

ป้ายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารด้านความปลอดภัย ซึ่งช่วยส่งข้อความคำแนะนำ และคำเตือนที่ชัดเจน โดยไม่ต้องใช้คำพูดมากเกินไป โดยสัญลักษณ์ความปลอดภัยช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทั้งในส่วนของพนักงานและบุคคลซึ่งไม่ใช่พนักงาน และยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยมากขึ้น

 

เครื่องหมายเสริมนิยมใช้สีอะไร

มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

มาตรฐานสำหรับสัญลักษณ์และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย มีทั้งของกฎหมายไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีความเหมือนกันเนื่องจากเป็นรูปแบบสากลหากจะแตกต่างก็เพียงรูปภาพและภาษา เช่น 

มาตรฐาน ISO 3864

กำหนดมาตรฐานสากลสำหรับป้าย และ เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และ สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ มีลักษณะเป็นป้ายกราฟิกเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค์ทางภาษาให้ผู้มองเห็นสามารถเข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

  • ISO 3864-1:2011 ส่วนที่ 1 : หลักการออกแบบป้ายความปลอดภัย และ ความปลอดภัย
  • ISO 3864-2:2016 ส่วนที่ 2 : หลักการออกแบบฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
  • ISO 3864-3:2012 ส่วนที่ 3 : หลักการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิกเพื่อใช้ในป้ายความปลอดภัย
  • ISO 3864-4:2011 ส่วนที่ 4 : คุณสมบัติสี และ โฟโตเมตริกของวัสดุป้ายความปลอดภัย

มาตรฐาน ISO 7010 

เป็นมาตรฐานที่แนะนำสัญลักษณ์ความปลอดภัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ ให้สัญลักษณ์เกี่ยวกับอันตรายหรือการเตือนด้านสุขภาพและการอพยพกรณีฉุกเฉิน สำหรับรูปร่างและสีของสัญลักษณ์ มีการอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 3864-1

มาตรฐาน ANSI Z535 

มาตรฐานเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับ ISO 3864 โดยกำหนดมาตรฐาน

ไว้ 6 มาตรฐาน ดังต่อไปนี้

  • ANSI Z535.1 มาตรฐานแห่งชาติของอเมริกาสำหรับสีเพื่อความปลอดภัย
  • ANSI Z535.2 มาตรฐานสำหรับป้ายความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก
  • ANSI Z535.3 มาตรฐานสำหรับเกณฑ์สัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัย
  • ANSI Z535.4 มาตรฐานสำหรับป้ายและฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
  • ANSI Z535.5 มาตรฐานสำหรับป้ายความปลอดภัยและเทปกั้น (สำหรับอันตรายชั่วคราว)
  • ANSI Z535.6 มาตรฐานสำหรับข้อมูลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในคู่มือ คำแนะนำ และเอกสารประกอบอื่นๆ
  • ANSI มีหน้าที่ในการรับผิดชอบกำหนดมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในประเทศ

ถึงแม้ว่า ANSI จะไม่ได้บังคับใช้แต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะปฏิบัติตามมาตรฐานของ ANSI เนื่องจากว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับมาตรฐานการให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการทำงาน (ANSI : American National Standard Institute) ANSI จะมีการอัพเดทมาตรฐานทุกๆ 5 ปี ซึ่งในปี 2017 ได้มีการอัพเดทมาตรฐานสำหรับสีเพื่อความปลอดภัย (Z535.1) ปัจจุบัน ANSI Z535.1-2017

มอก.635-2554

เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สี และ เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสีที่ใช้ในการชี้บ่งความปลอดภัยและหลักการออกแบบเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยที่ใช้ในสถานที่ทำงานและพื้นที่สาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนภัย หรือให้ข้อมูลในการป้องกันอุบัติเหตุ อัคคีภัย อันตรายที่เกี่ยวกับสุขภาพ และอพยพฉุกเฉิน รวมถึงใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการจัดทำมาตรฐานที่มีเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย แต่ไม่รวมเครื่องหมายทางการจราจร

ซึ่งในส่วนของ มอก.635-2554 ได้กำหนดประเภทของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยเป็น 5 ประเภท ดังนี้
  • เครื่องหมายห้าม
  • เครื่องหมายบังคับ
  • เครื่องหมายเตือน
  • เครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัย
  • เครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย

นอกจากกำหนดประเภทของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยแล้ว ในมาตรฐานยังกำหนดรายละเอียดต่างๆ ไว้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น รูปทรงเรขาคณิต สีพื้น สีตัดของเครื่องหมายเสริม รูปร่าง ขนาดของเครื่องหมายเสริม และยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่ระบุเอาไว้อย่างครบถ้วน หากต้องการทราบรายละเอียด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก มอก.635-2554

สรุป

สัญลักษณ์ความปลอดภัยอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะอันตราย หรือ ความต้องการสื่อสารมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เข้าไปในสถานที่นั้นๆ ซึ่งนอกจากรูปแบบที่เหมาะสมของสัญลักษณ์ความปลอดภัยแล้ว จุดที่ติดตั้งก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน ต้องติดตั้งในที่ที่เห็นได้ง่าย ชัดเจน หากติดตั้งในมุมอับมองเห็นได้ยาก สัญลักษณ์ความปลอดภัยนั้นอาจไม่เกิดประโยชน์