ผู้ ขาย ที่ ดี ควร มี ลักษณะ อย่างไร

คุณสมบัติทั่วไปของพนักงานขาย

1.                 บุคลิกภาพ (Personality) หมายถึง คุณลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลซึ่งไม่เหมือนกัน ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา กิริยา ท่าทาง การพูด การแต่งกาย บุคลิกภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความประทับใจที่ลูกค้าได้รับก่อนสิ่งใดคือบุคลิกภาพของพนักงานขายนั่นเอง พนักงานขายจึงควรเอาใจใส่และปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้


1) รูปร่างหน้าตา (Appearance) พนักงานขายสามารถปรับปรุงหน้าตาของตนเองได้ ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สุขภาพแข็งแรงย่อมมีผลทำให้รูปร่างหน้าตาแจ่มใส ผิวพรรณสดชื่น สุขภาพร่างกายที่ดีจะทำให้การทำงานเกิดความกระฉับกระเฉงว่องไว


2) การแต่งกาย Clothing) เสื้อผ้าการแต่งกายเป็นสิ่งที่เสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีอีกวิธีหนึ่งการแต่งกายที่เหมาะสมจะสามารถสร้างความเชื่อถือให้แก่ผู้พบเห็นโดยเฉพาะกับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและต้องการที่จะเข้าร่วมสนทนาด้วย


3) กิริยาท่าทาง (Manner) สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ กิริยาท่าทางของพนักงานขายต้องสามารถสร้างความประทับใจกับลูกค้าและผู้ที่พบเห็นได้ การเดิน การนั่ง การยืน และการไหว้ กิริยาท่าทางต่างๆ พนักงานขายจำเป็นต้องสร้างความสุภาพอ่อนน้อมและแสดงถึงความจริงใจอยู่เสมอ


4) การพูด (Speech) พนักงานขายต้องสามารถปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอเกี่ยวกับการพูด เพราะพนักงานขายจะต้องพบปะพูดคุยและนำเสนองานขายให้ลูกค้า การพูดของพนักงานขายจึงต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย การออกเสียงถูกต้อง น้ำเสียงชัดเจนแจ่มใส กิริยาท่าทางประกอบให้มีความเหมาะสม


2. มีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation) เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องกระทำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับอาชีพการขายจำเป็นต้องใช้มนุษยสัมพันธ์มากกว่าอาชีพอื่นหลายเท่า เนื่องจากพนักงานขายต้องพบปะผู้คนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น พนักงานขายจึงต้องสามารถปรับตนเองให้เข้ากับทุกคนให้ได้


3. ความซื่อสัตย์ (Honesty) พนักงานขายที่ดีต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจต่อลูกค้า ต่อกิจการและต่อตนเอง การตอบคำถามของลูกค้าต้องตอบด้วยความจริงใจ และตรงไปตรงมา จะทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและเกิดความเชื่อมั่น


4. ความร่าเริงแจ่มใส (Cheerfulness)  พนักงานขายจำเป็นต้องเป็นคนร่าเริงแจ่มใส ยิ้มง่ายดูอารมณ์ดี ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้งานขายประสบผลสำเร็จได้ ความร่าเริงแจ่มใสอาจแสดงออกมาด้วยคำพูด ท่าทาง และอารมณ์


5.ความเสียสละ (Donation) การปฏิบัติงานขายบางครั้งอาจจะไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนได้นั้นเป็นเหตุผลหนึ่งที่พนักงานขายต้องรู้จักการเสียสละ ความเสียสละของพนักงานขายที่มุ่งเน้นจะทำให้การทำงานประสบกับความสำเร็จ และทำให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรืองและอยู่รอดได้


6. ความรับผิดชอบ (Responsibility) พนักงานขายที่มีคุณภาพต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบ เพราะความรับผิดชอบของพนักงานขายจะสามารถสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริหารงานขายได้ ทำให้งานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายมาสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้


7. ความยับยั้งชั่งใจ (Inhibition) หมายถึง การที่พนักงานขายสามารถควบคุมอารมณ์ให้เป็นไปตามปกติในทุกสถานการณ์ ซึ่งความยับยั้งชั่งใจเป็นสิ่งที่พนักงานขายควรปฏิบัติอย่างยิ่ง จะทำให้พนักงานขายมีพัฒนาทางจิตใจที่ดีและมีผลต่อการทำงาน ทำให้ประสบกับความสำเร็จในอาชีพทางการขายได้ดีขึ้น


8. ความคิดริเริ่ม (Creative) อาชีพงานขายเป็นงานที่มีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา พนักงานขายจึงต้องพัฒนาตนเองและคิดค้นรูปแบบและวิธีการต่างๆ เพื่อนำเสนอขายที่สร้างสรรค์อยู่เสมอ การใช้คำพูด การสาธิต และการปิดการขาย ต้องสามารถใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในสิ่งเหล่านั้นได้


9. ความกระตือรือร้น ( Enthusiasm) หมายถึง ความพยายามที่จะปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้ด้วยความกระฉับกระเฉงว่องไว มีความตั้งใจในการทำงานทุกครั้ง ความกระตือรือร้นในการทำงานจะเป็นพลังอย่างหนึ่งที่ทำให้พนักงานขายสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆลงได้

คุณสมบัติที่ดีของพนักงานขายที่นายจ้างพึงปรารถนา

พนักงานขายมีส่วนสำคัญที่จะเป็นผู้นำเสนอให้กับลูกค้า ดังนั้น พนักงานขายที่นายจ้างพึงปรารถนาโดยทั่วไป จึงมีคุณสมบัติดังนี้

      กระตือรือร้น ตื่นตัว ดูมีพลัง เป็นคุณสมบัติของนักขายที่ดี ตื่นตัวไม่ใช่อารมณ์กระสันที่อยากขายมากจนเกินพอดี แต่เป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ เช่น การต่อรองเจรจา ภาวะกดดันเมื่อไม่มีตัวเลข การโดนลูกค้าด่า เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ต้องรับมือด้วยพลังบวก ไม่ใช่จิตใจห่อเหี่ยว ท้อแท้ สิ้นหวัง เติมพลังบูสแบบเร่งด่วนได้ด้วยกาแฟ และดูแลสุขภาพให้ดี เรื่องเหล่านี้จะทำให้คุณมีพลังพร้อมสู้งานหนักตลอดเวลา

สำหรับองค์กรที่ต้องการขยายธุรกิจให้ใหญ่โตยิ่งขึ้นหลังจากที่มีเงินทุนและประสบการณ์ในตลาดอยู่พอสมควรแล้ว ตำแหน่งโดยตรงที่จะสามารถสร้างรายได้และส่วนแบ่งตลาดของคุณได้ก็คือการจ้างตำแหน่งนักขายให้เพิ่มขึ้นนี่เองครับ รับรองว่ายอดขายเพิ่มขึ้นแน่ๆ (ในกรณีที่พวกเขาทำได้ดีน่ะนะ)

พูดน่ะมันง่ายครับ ก็ในเมื่อคุณคัดกรองผู้สมัครได้เพียงแค่เรซูเม่ หรือไม่ก็การสัมภาษณ์งานไม่กี่รอบเท่านั้นเอง จะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่คัดมานั้นเป็นคนที่เก่ง เป็นคนดี และพร้อมที่จะลงเรือไปพร้อมกับคุณ ที่สำคัญคือค่าตัวจะต้องสมเหตุสมผลด้วยนะ ผมจึงมีวิธีดีๆ ในการคัดเลือกคนที่ใช่มาฝากคุณกันครับ

1. ความทรหดอดทนและความขยันหมั่นเพียร (GRIT)

ผู้ ขาย ที่ ดี ควร มี ลักษณะ อย่างไร

จะดีมากถ้าภูมิหลังของคนที่คุณสัมภาษณ์มีอะไรที่ออกแนว “คนสู้ชีวิต” มาก่อน พูดง่ายๆ ก็คือไม่ได้เป็นลูกคนรวยที่ทำอะไรก็ดูง่ายไปหมด คนเหล่านี้ย่อมรู้ดีกว่ากว่าจะผ่านความยากลำบากทั้งการเรียน การใช้ชีวิต และการเอาตัวรอด วิธีเช็คก็ง่ายๆ ด้วยการดูเรซูเม่ว่าจบไหนมา จากนั้นก็เอาชื่อ นามสกุลไปค้นในกูเกิ้ล เฟซบุ้คก็จะพอรู้ไลฟ์สไตล์ของคนประเภทนี้ คนกลุ่มนี้แหละที่พร้อมเรียนรู้การเป็นนักขายมือทองอย่างถวายชีวิตเพราะพวกเขารู้ว่าอาชีพนี้จะช่วยพลิกชีวิตของเขาได้

2. เป็นคนขี้สงสัย (Curiosity)

ธรรมชาติของคนขี้สงสัย (ขี้เสือก) เป็นสิ่งดีกับอาชีพนักขายครับ โดยเฉพาะการเสือกหรือสงสัย “ลูกค้า” ว่าพวกเขาทำธุรกิจอะไร งบการเงินมากแค่ไหน มีชีวิตและมีปัญหาอย่างไร ฯลฯ หรือสงสัยในเรื่องที่ควรสงสัยอย่างสินค้าที่ขายมีคุณสมบัติตอบโจทย์หรือไม่ สงสัยว่าปัญหาทางธุรกิจมีอะไร แล้วลงมือแก้ไขปัญหานั้นอย่างเต็มที่

3. มีวินัย (Conscientiousness)

เรื่องนี้สำคัญยิ่งกว่านักขายที่พูดเก่ง มีความมั่นใจในตัวเองสูง อัธยาศัยดี เฟรนลี่ อะไรทำนองนี้เสียอีกครับ คือผมไม่ได้บอกว่าคนที่มีบุคลิกหรือนิสัยตามที่กล่าวมานั้นไม่ดีนะครับ แต่มันวัดผลไม่ได้ครับ สุดยอดแห่งความสำเร็จของนักขายมือทองคือวินัยครับ เพราะความมีวินัยสามารถทำให้การทำงานเป็นระบบได้อย่างดีเยี่ยม วางแผนการติดตามงานได้สม่ำเสมอ สามารถแบ่งเวลาในการทำงานโดยเฉพาะการเข้าพบลูกค้าได้อย่างทั่วถึง นักขายที่ปากหรือบุคลิกดีแค่ไหนก็ไม่เจ๋งเท่ากับคนที่ทำงานอย่างมีวินัยครับ

4. ความหิวกระหาย (Hunger)

นักขายที่ไม่กระหายความสำเร็จหรือทำงานแบบมนุษย์เงินเดือนนั้นมีอยู่มากมาย ทำให้พวกเขาไม่สามารถก้าวข้ามเรื่องฐานะหรือชนชั้นและตำแหน่งหน้าที่การงาน ทั้งๆ ที่อาชีพนี้ตั้งอยู่ในคอนเซ็ป “ทำมากได้มาก” ดังนั้นนักขายที่ประสบความสำเร็จจะต้องตั้งอยู่บนความหิวกระหายต่ออำนาจและเงินตรา ย้ำนะครับว่าถ้าไม่อยากรวยก็ไปทำงานเซเว่นหรือเคเอฟซีเถอะ แต่ที่ผมจะบอกคือต้องกระหายอำนาจและเงินตราในทางที่สุจริต มีจริยธรรมที่ดี ซื่อสัตย์ และไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นนั่นเองครับ

5. ความรับผิดชอบ (Responsibility)

ความรับผิดชอบสำคัญมากเพราะการทำผิดแต่ไม่รับผิดชอบย่อมเสียหายต่อเครดิตและความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ความรับผิดชอบจึงไม่ใช่เพียงแค่ทำงานและส่งมอบตามที่ได้รับเท่านั้นนะครับ แต่ต้องรับผิดชอบเวลาที่มีข้อผิดพลาดหรือต้องแก้ปัญหาให้สำเร็จ ไม่โทษคนอื่น กล้าที่จะยืดอกรับ นี่แหละคือความรับผิดชอบที่แท้จริงของนักขายมือทองครับ

6. มีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)

เห็นอกเห็นใจที่แท้จริงมาจากการฟังและคิดตามว่าถ้าคุณเป็นคนนั้นแล้วจะรู้สึกอย่างไร โดยจะต้องเห็นอกเห็นใจทั้งลูกค้า เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย และทุกคนที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) เพราะอาชีพนี้จะต้องเน้นการพูดคุยและสื่อสารกับคนหลายๆ ฝ่าย การเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจคนอื่นจึงทำให้เป็นคนที่ยืดหยุ่น (Resilient) ไม่เถรตรงหรือตามระเบียบเป๊ะไปซะทุกอย่าง คนที่เถรตรง เจ้าระเบียบ ควรไปเป็นนักบัญชีหรือทหารมากกว่านักขาย

7. สอนได้ เป็นน้ำไม่เต็มแก้ว (Coachability)

นักขายปากดี มั่นใจในตัวเองสูง จอมเก๋า (แต่ตำแหน่งไม่โตซักที) มักไม่ค่อยเปิดรับอะไรใหม่ๆ ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว พูดง่ายๆ ก็คือสอนยาก ไม้แก่ดัดยาก จึงยึดติดแต่อะไรเดิมๆ และไม่เก่งไปกว่านี้ ในทางตรงกันข้ามสำหรับนักขายที่สอนอะไรก็รับแต่สิ่งดีๆ แล้วลงมือทำทันที คนกลุ่มนี้จะเป็นคนหัวก้าวหน้า เปิดรับสิ่งใหม่และปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น แถมเจ้านายยังรักอีกด้วย

8. มีทักษะการขายที่ดี (Selling Aptitude)

ขอพูดถึงทักษะการขายแบบเน้นๆ ไปเลยที่ต้องมีและต้องเก่ง ไล่ตั้งแต่

– บุคลิกภาพ การแต่งกายที่ดี
– เขียนอีเมลสื่อสารกับลูกค้าและเพื่อนร่วมงานได้ดี
– ทำธุรกรรมแบบมีลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
– โทรทำนัดเก่ง
– นำเสนอได้อย่างเฉียบคม เนื้อๆ
– ทำรายงานการขายได้ละเอียด
– ติดตามงานตามที่วางแผนอย่างสม่ำเสมอ
– ต่อรองเจรจาเพื่อรักษาผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายได้ดี
– ปิดการขายอย่างตรงไปตรงมา
– รักษาลูกค้าเก่าและแก้ปัญหาลูกค้าได้ดี

9. ปรับตัวเก่ง (Adaptability)

การปรับตัวไม่ใช่แค่อารมณ์ทำงานที่ไหนก็ได้แบบนี้นะครับ แต่ต้องปรับตัวได้ตามกลยุทธขององค์กร การปรับทีม การขอให้ขายสินค้าใหม่ก็ทำได้ การย้ายเขตหรือมอบหมายลูกค้าใหม่ให้ดูแลก็สามารถทำได้ คนเหล่านี้ถือว่ามีคุณสมบัตินักขายมือทองที่ปรับตัวเก่งครับ

10. มีเกียรติประวัติ (Record of Success)

นักขายมือทองต้องมีถ้วยการันตี มีรางวัลท็อปเซลล์อะไรทำนองนี้ใส่ในเรซูเม่เพื่อเป็นเกียรติประวัติของตัวเองและวงศ์ตระกูล แถมยังเอาไว้อัพค่าตัวหรือเรียกเงินเดือนเพิ่มได้ด้วย

การขายที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

การขายแบบให้ความช่วยเหลือลูกค้า (Selling is Providing Service) ... .
การขายแบบการชักจูงใจลูกค้า (Selling is Using Persuasion) ... .
การขายแบบการติดต่อสื่อสาร (Selling is Communication) ... .
การขายแบบการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า (Selling is Problem Solving) ... .
การขายคืออาการให้ความรู้แก่ลูกค้า(Selling is Educating).

บุคลิกภาพของพนักงานขายที่ดีควรเป็นอย่างไร

บทความวิชาการ.
มีความซื่อตรง (Conscientiousness) ... .
มีความเคารพนับถือผู้อื่น (Respectful) ... .
มีความคิดริเริ่มในการลงมือทำเสมอ (Initiative) ... .
เป็นนักฟังที่ดี (Listener) ... .
มีความเพียร (Persistent) ... .
มีความว่านอนสอนง่าย (Coachable) ... .
เป็นคนคิดบวก (Positive) ... .
มีไหวพริบที่ดี (Resourceful).

ผู้ขายสินค้าที่ดีควรปฏิบัติตนอย่างไร

มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อลูกค้า เพื่อนร่วมอาชีพ และบริษัท เสนอขายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง ให้บริการที่ดีสม่ำเสมอ ชี้แจงให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิ และสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า หมั่นเยี่ยมเยียนลูกค้าเสมอ ทั้งด้วยตนเอง โทรศัพท์ จดหมาย บัตรอวยพรต่าง ๆ

ลักษณะการขายมีกี่ประเภท

งานขายแบ่งตามลักษณะงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ - การโฆษณา (Advertising) - การจัดนิทรรศการหรือการจัดแสดงสินค้า (Exhibition or Display) - การส่งเสริมการขาย (Promotion) - การบริการตนเอง (Self Service) 2.2 งานขายที่ไม่ใช้พนักงานขาย (Non-Personal Selling)