รู้สึกไม่สบายท้องเกิดจากอะไร

หลังกินข้าวแล้วเกิดอาการท้องอืด จุดเสียด แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อยทุกที ทรมานจนหลายครั้งต้องพึ่งยาช่วยย่อยอาหาร ยาลดกรด แม้อาการจะดีขึ้นและหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา หรือไม่หาสาเหตุอาจกลายเป็นภาวะอาหารไม่ย่อยเรื้อรัง ก่อให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงได้


อาหารไม่ย่อย

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการไม่สบายท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ช่วงระหว่างหรือหลังกินอาหาร ทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายท้อง มีอาการหลายอย่างร่วมกัน พบได้เกือบทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่จะพบได้มากกว่าในเด็ก ส่วนโอกาสการเกิดอาการมีใกล้เคียงกันทั้งในผู้ชายและผู้หญิง บางคนเป็นครั้งคราว บางคนอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง


ต้นเหตุ...ภาวะอาหารไม่ย่อย

บ่อยครั้งที่ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่า สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยมาจากอะไร แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก

  1. พฤติกรรมการกิน เช่น กินอาหารเร็วเกินไปซึ่งการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดจะทำให้อาหารย่อยได้ยากขึ้น หรือกินอาหารในปริมาณมากเกินไปในแต่ละมื้อซึ่งส่งผลให้น้ำย่อยอาหารไม่เพียงพอที่จะย่อยอาหารได้ รวมไปถึงการกินอาหารไม่ตรงเวลา กินอาหารมัน หรือกินอาหารที่มีรสเผ็ด ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือน้ำอัดลมมากเกินไป
  2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน และการตั้งครรภ์
  3. ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น มีภาวะความเครียด วิตกกังวล จะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากกว่าปกติ
  4. ปัญหาด้านสุขภาพหรือการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น
    • การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือภายในลำไส้เล็ก ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H.pylori) และจากสาเหตุอื่น
    • ภาวะท้องผูก ภาวะกรดไหลย้อนหรือเป็นโรคกรดไหลย้อน
    • อวัยวะในระบบย่อยอาหารเกิดการอักเสบ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้เล็กหรือตับอ่อนอักเสบ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร
    • ลำไส้อุดตัน ภาวะลำไส้ขาดเลือด
    • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร พบได้น้อย และส่วนใหญ่จะพบในคนอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
  5. ผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่มีต่อระบบย่อยอาหาร จนนำไปสู่อาการอาหารไม่ย่อยได้ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ยาแก้ปวด ยาสเตียรอยด์ และจำพวกยาต้านอักเสบ เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน และยาไดโคลฟีแนค เป็นต้น

จุกเสียด แน่นท้อง อาการเด่นอาหารไม่ย่อย

เมื่อเกิดภาวะอาหารไม่ย่อยจะทำให้มีอาการเด่นเลย คือ จุดเสียด แน่นท้อง ไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว เป็นต้น โดยอาการจะเป็นเฉพาะบริเวณระดับเหนือสะดือขึ้นไป และจะไม่มีอาการปวดท้องในระดับใต้สะดือและไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายร่วมด้วย

ทั้งนี้ อาหารไม่ย่อยที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง อาจไม่เป็นอันตรายอะไร แต่หากมีอาการอาหารไม่ย่อยมากกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป หรือร่วมกับอาการเหล่านี้ เช่น อาเจียนอย่างรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนออกมาเป็นสีดำคล้ำ น้ำหนักลดไม่มีสาเหตุ กลืนอาหารลำบาก เป็นต้น ควรรีบมาพบแพทย์


ตรวจเช็ค รักษาให้ถูกวิธี

การดูแลรักษาภาวะอาหารไม่ย่อย ต้องรักษาที่ต้นเหตุตามลักษณะอาการที่เป็น โดยเบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัย จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากการที่ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดกรด หรือยาช่วยย่อยอาหาร ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลังจากนั้นจะดูอาการประมาณ 3-4 สัปดาห์

หากไม่ดีขึ้นหรือมีอาการมากขึ้น ก็อาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือด หรือการตรวจลมหายใจหาการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร และการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษที่มีกล้อง (Endoscope) ติดอยู่ตรงส่วนปลายท่อ สอดเข้าไปทางปากของผู้ป่วย แล้วตรวจดูอวัยวะภายในเพื่อหาความผิดปกติผ่านภาพจากกล้อง

อย่างไรก็ตาม อาหารไม่ย่อยควรป้องกันที่สาเหตุและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการรับประทาน เช่น เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป กินอาหารให้ตรงเวลาและกินพอดีไม่เยอะจนเกินไป พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีบริหารจัดการรับมือกับความเครียด หาวิธีผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้ห่างไกลอาการอาหารไม่ย่อยได้

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการปวดท้องบริเวณช่วงบน ร่วมกับมีอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง จุกลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว โดยมักมีอาการในระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร ซึ่งอาการอาหารไม่ย่อยนี้ พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ อาการมักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่รู้หรือไม่ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

อาหารไม่ย่อย อาจเป็นเพราะมีพฤติกรรมเหล่านี้…

อาหารไม่ย่อยเกิดจากอะไร? อาการอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่แล้วพบว่ามีปัจจัยมาจากพฤติกรรมการกิน และลักษณะการดำเนินชีวิต รวมไปถึงอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาบางชนิด ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ

  • เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก่อนกลืน รับประทานเร็ว รับประทานเยอะ
  • ชอบรับประทานอาหารมันๆ อาหารรสเผ็ดจัด
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม มากเกินไป
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
  • รับประทานยาบางชนิด ที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ อาหารเสริมธาตุเหล็ก เป็นต้น
  • มีแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก กรดไหลย้อน
  • มีภาวะเครียดหนัก ภาวะวิตกกังวล
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ

รู้สึกไม่สบายท้องเกิดจากอะไร
รู้สึกไม่สบายท้องเกิดจากอะไร


อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ อาจเสี่ยงเป็น “มะเร็งกระเพาะอาหาร”

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นภัยเงียบของสุขภาพที่หลายคนมองข้าม และกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ ก็มีอาการรุนแรงและลุกลามไปตามอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายแล้ว โดยอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ แน่นท้อง ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร จุกที่ลิ้นปี่ แสบร้อนบริเวณหน้าอก ร่วมกับ อุจจาระเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพราะหากปล่อยไว้อาการอาจรุนแรงขึ้น

ปวดท้องจุกเสียดเกิดจากอะไร

อาการของอาหารไม่ย่อย เมื่ออาหารไม่ย่อย จะทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบย่อยอาหารอย่างกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็ก และผู้ที่มีภาวะอาหารไม่ย่อย จะเผชิญกับอาการดังต่อไปนี้ ปวดท้องช่วงบน จุกเสียดแน่นท้อง จุกลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว ท้องอืด ท้องเฟ้อ หลังการรับประทานอาหาร

ไม่สบายท้องทำไง

6 Tips แก้ปัญหา ท้องอืด ด้วยธรรมชาติ.
1. ปรับเปลี่ยนนิสัยการกินใหม่ แก้อาการท้องอืด ... .
2. กินผักผลไม้ที่ช่วยคลายท้องอืด ... .
3. เครื่องดื่มบางอย่างช่วยได้ ... .
4. รับประทานโปรไบโอติกส์ แก้อาการท้องอืด ... .
5. นวดกดจุดลดแน่นท้อง ... .
6. ใช้ยาสมุนไพรแก้ท้องอืด.

อาการท้องอืดท้องเฟ้อเกิดจากอะไร

อาหาร อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รู้สึกมีลมในกระเพาะอาหาร จนอึดอัดไม่สบายตัว อาจเกิดจากอาหาร เช่น ผักผลไม้ที่มีเส้นใยมาก หากรับประทานมากเกินอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ นอกจากนี้ อาหารเผ็ด แอลกอฮอล์ อาหารไขมันสูง นมและกาแฟ และพฤติกรรมการรับประทานก็มีผลทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน โดยเฉพาะการรับประทานอาหารเร็วเกินไป เคี้ยว ...

ปวดท้องคลื่นไส้ เกิดจากอะไร

คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบมักมีอาการปวดท้องทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร แต่จะค่อย ๆ หายไปเมื่อรับประทานอาหารเข้าไปสักพัก ไม่สบายท้องส่วนบน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกเหมือนมีลมในท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน ขณะที่โรคลำไส้อักเสบมักพบในกลุ่มวัยทำงานได้มากกว่า สังเกตอาการเบื้องต้นคือ อาการแสบท้อง คนไข้จะมีอาการแสบท้อง ...