อาการปวดเมื่อยตามตัวเกิดจากอะไร

ถ้าหากคุณรู้สึกว่า มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งอาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และก็ถือเป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะสามารถรับรู้ถึงสาเหตุของความเจ็บปวดได้ง่ายๆ คุณจำเป็นต้องประเมินและสังเกตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเอง

Show

เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา ทำไมถึงรู้สึกปวดเมื่อยอยู่บ่อยๆ ?

อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาจเกิดมาจากโรคประจำตัวของคุณ ซึ่งในปัจจุบันมีโรคภัยต่างๆมากมายในโลก ในบางครั้งเมื่อมีอาการเจ็บปวด ก็ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมแต่ถ้าหากท่านยังไม่มีอาการที่รุนแรงเพียงแค่ต้องการหายารักษาที่ตรงโรคหรือแค่ใช้เพื่อบรรเทาอาการ คุณอาจจะลองมองหาตัวเลือก สมุนไพรไทยที่ช่วยในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยของคุณเองก็เป็นได้ สเปรย์สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ราฟาสเปรย์ ราคา ไม่แรงเพียงคุณทักเพื่อรับ โปรโมชั่นจากเราได้เลย

เราได้รวบรวมสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด 9 ข้อ ไว้ใช้อธิบายสาเหตุของอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ที่คุณไม่ควรละเลย

1. โรคซึมเศร้า
อาการซึมเศร้าจะทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าหดหู่ ถือเป็นโรคทางอารมณ์ที่มักจะทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนล้า/เมื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิตต่ำ และส่งผลต่ออาการนอนไม่หลับ

2. โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)
Fibromyalgia เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย ส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ซึ่งจะไม่เหมือนกับความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคไขข้ออักเสบ

3. โรคไขข้ออักเสบ
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นภาวะที่อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความแข็งตึงและข้อต่อผิดรูปได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก

4. โรคโลหิตจาง
ภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ร่างกายไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบินได้มากพอ ซึ่งหมายถึง ไม่สามารถขนส่งออกซิเจนไปยังส่วนที่ต่างๆภายในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีอาการ เช่น ความเหนื่อยล้า จะทำให้เกิดอาการปวดหัว ชาบริเวณมือและเท้า และอาการเจ็บหน้าอก เป็นต้น

5. ภาวะขาดน้ำ
โรคนี้อาจมีผลต่อระบบอวัยวะทุกส่วนในร่างกายมนุษย์ เพราะเราต้องพึ่งพาน้ำเพื่อให้ระบบต่างๆทำงานได้อย่างดี หากร่างกายไม่มีน้ำอย่างเพียงพอให้กล้ามเนื้อสามารถหล่อลื่นได้ จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด

6. ภาวะขาดแคลเซียม
กล้ามเนื้อจะบาดเจ็บ เมื่อนำแคลเซียมมาใช้ได้ไม่เพียงพอ แคลเซียมมีส่วนสำคัญในการช่วยให้กระดูกแข็งแรง แต่ทราบหรือไม่ว่า การขาดแคลเซียมไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงเพียงแค่โรคกระดูกเท่านั้น ยังมีอีกหลายโรคที่มีผลมาจากการขาดแร่ธาตุชนิดนี้ เช่น กระดูกและฟันมีปัญหา หรือชาตามแขน/ขา

7. โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ
การอักเสบของกระเพาะและลำไส้ที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นในเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่า อาการปวดเมื่อยตามร่างกายของพวกเขา อาจเกิดมาจากโรคนี้

8. ระบบเผาผลาญไม่ดี
ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดี จะเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงยังทำให้ประสิทธิภาพในการเผาผลาญสารพิษต่างๆลดลง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดร่างกาย

9. โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด
เป็นภาวะที่ผนังของหลอดเลือดแดงเริ่มแข็งขึ้น ซึ่งหลอดเลือดจะทำให้เกิดอาการปวดตามร่างกาย ส่วนใหญ่จะพบอาการปวดบริเวณหน้าอกมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามที่มีเส้นเลือดแข็งตัวก็ทำให้มีอาการปวดได้หมด

แต่ถึงยังไงก็ตาม อาการเหล่านี้ก็อาจจะไม่ใช้ปัจจัยหลักที่ทำให้คุณรู้สึกถึงอาการปวดเมื่อย แต่อาจจะรวมถึงสรีระร่างกายร่างกายของผู้ปวดด้วยหรืออายุที่มากขึ้นทำให้มวลกระดูกลดลงหรือการทำงานหนักที่หักโหมจนเกินไป เราก็อยากให้คุณนึกถึงสุขภาพของตัวท่านเองเป็นสิ่งสำคัญ

อาการปวดเมื่อยตามตัวเกิดจากอะไร

เคยเป็นไหม? ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวไม่รู้จะทำไงดี สุดท้ายก็ต้องหยิบยาคลายกล้ามเนื้อมาทาน เพื่อบรรเทาให้อาการปวดเมื่อยเนื้อตัวเหล่านั้นหายไป โดยที่ไม่รู้ว่ากินไปแล้วจะช่วยได้จริงหรือเปล่า

รู้จัก “ยาคลายกล้ามเนื้อ”ยาคลายกล้ามเนื้อคือยาที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดเฉียบพลันจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อส่วนคอ กล้ามเนื้อส่วนหลัง กล้ามเนื้อแขน ขา หรือข้อต่อตามส่วนต่างๆ ที่อาจเกิดจากการบาดเจ็บ นั่งทำงานผิดท่า หรือเกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นต้น

ใช้ “ยาคลายกล้ามเนื้อ” อย่างไร ให้ถูกจุดสำหรับคนที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่อยๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดอาจต้องใช้ยาหลายกลุ่มควบคู่กันไป โดยขั้นแรกอาจใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดอาการปวดดูก่อน แต่หากยังไม่ดีขึ้น อาจเปลี่ยนมาเป็นยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ จากนั้นจึงค่อยใช้ยาลดการอักเสบ เนื่องจากยาอักเสบจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ หากทานแล้วอาการทุเลาลงควรทานต่อจนอาการปวดเมื่อยนั้นหายไป แต่หากผ่านไป 1-2 สัปดาห์ แล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการหนักกว่าเดิม ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการปวดเมื่อยตามตัวเกิดจากอะไร

ท่าบริหารง่ายๆ ทำทุกวัน…ช่วยลดอาการปวดเมื่อย1. ท่ายืดกล้ามเนื้อ เริ่มจากนำมือทั้งสองข้างประสานกันในท่าไพล่หลัง แล้วเหยียดออกไปด้านหลัง ท่านี้จะช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า และไหล่ ช่วยคลายความเมื่อยล้าได้2. ท่าแก้อาการปวดหลัง เริ่มจากยืนตรงโดยเท้าชิดกัน ปลายเท้าขนานกับหัวไหล่ จากนั้นค่อยๆ ก้มตัวไปด้านหน้า เข่าตึง แล้วเหยียดแขนแตะปลายเท้า (หากแตะไม่ถึงให้ก้มมากที่สุดเท่าที่จะทำได้) ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที3. ท่าคลายกล้ามเนื้อสะโพก เริ่มจากนั่งให้ก้นติดพนักเก้าอี้ ยกขาขวาขึ้นมาวางทับขาซ้ายโดยให้เข่าชิดตัวมากที่สุด แล้วก้มตัวลงเข้าหาหัวเข่า ทำสลับข้างประมาณ 10 ครั้ง4. ท่าคลายกล้ามเนื้อขา โดยเริ่มจากยืนหันหน้าเข้าหาเก้าอี้ นำขาข้างหนึ่งพาดลงไปแล้วโน้มตัวลงช้าๆ ให้มือแตะที่เท้า ทำสลับข้างประมาณ 10 ครั้ง5. ท่าบริหารมือ เริ่มจากกำมือสลับกับกางนิ้วออกทั้งสองข้าง หรือประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันแล้วเหยียดข้อมือให้สุด ทำสลับไปมาเพื่ยืดกล้ามเนื้อมือและแขนจริงอยู่ที่การทานยา จะช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นได้ แต่วิธีที่ดีที่สุดก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหมั่นบริหารกล้ามเนื้อให้มีความยืนหยุ่นอยู่เสมอ

สอบถามรายละเอียดศูนย์กระดูกและข้อ อาคาร 2 ชั้น 2โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4โทร.02-514-4141 ต่อ 1102 – 1105