จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง

สาขาช่างกลโรงงาน อีกหนึ่งสาขาที่มีตลาดแรงงานรองรับ เนื่องจากช่างกลโรงงานเป็นสาขาที่มีความต้องการมาก โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นฐานผลิตสินค้าบริษัทต่าง ๆ จึงมีโรงงานมากมายเปิดตัวในประเทศไทย

ช่างผู้นำชาญการในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างช่างกล มีส่วนสำคัญในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรการผลิตต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน การเรียนสาขานี้จึงน่าสนใจอย่างมาก

รายละเอียดของสาขาวิชา

สาขาช่างกลโรงงาน คือ สาขาที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลภายในโรงงาน หรือเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่น เครื่องกลึง เครื่องไส เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ต่าง ๆ เป็นต้น

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาขาช่างกล ให้ความสำคัญการฝึกปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี โดยเน้นการให้ความรู้และทักษะต่าง ๆ เช่น ความรู้พื้นฐานเรื่องโรงสร้างเครื่องยนต์กลไก ความรู้เรื่องระบบการทำงาน และการดูแลรักษา การซ่อมบำรุงต่าง ๆ เป็นต้น

บทความงาน > บทความผู้หางาน > เทคนิคหางาน > เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์

เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์

  • 22 January 2022

จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง
จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง
จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง
จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง
จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง
จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง
จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง

จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง

           ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคนทำงานบริษัทส่วนใหญ่มักจะซื้อรถไว้เป็นของตนเอง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางไปทำงานหรือไปที่อื่น ๆ ดังนั้นหนึ่งในอาชีพที่มีความต้องการมากขึ้นตามไปด้วยก็คืออาชีพช่างยนต์ เพราะเป็นอาชีพที่จะมาช่วยในการดูแลรถยนต์ รวมไปถึงยานพาหนะอื่น ๆ 

           ในปัจจุบันอาชีพช่างยนต์มีเส้นทางให้เลือกหลากหลายขึ้น เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ของเครื่องยนต์ การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกับยานพาหนะ ไปจนถึงอุปกรณ์แต่งรถต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนช่วยให้เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์แตกสาขาออกไปได้มากขึ้น ลองมาดูกันดีกว่าว่าเส้นทางอาชีพนี้จะสามารถแยกเป็นสายไหนได้บ้าง

           ช่างยนต์ทำหน้าที่อะไรบ้าง

           หน้าที่หลักของช่างยนต์คือการวินิจฉัย ซ่อมแซมและบำรุงเครื่องยนต์ ถึงแม้ว่าในสมัยก่อนช่างยนต์จะดูเรื่องเครื่องยนต์ในยานพาหนะเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ช่างยนต์เองก็ต้องคอยติดตามเทคโนโลยีเหล่านี้และคอยเรียนรู้เพิ่มเติมอีกด้วย

           หากคุณสนใจที่จะทำงานในสายอาชีพนี้ ก็สามารถลองดูได้ว่าหน้าที่หลัก ๆ ที่ต้องทำมีอะไรบ้าง 

  • การดูแลเครื่องยนต์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งเครื่องยนต์ การเปลี่ยนน้ำมัน การเปลี่ยนล้อรถยนต์ การตั้งศูนย์ ไปจนถึงการเปลี่ยนไส้กรองเป็นต้น 
  • การซ่อมแซมเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ โดยอาจจะต้องทำการซ่อมแซมเครื่องยนต์ ตรวจสอบและวินิจฉัยความผิดปกติของเครื่องยนต์ รวมไปถึงเปลี่ยนอะไหล่และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ 
  • ตรวจสอบความสามารถในการให้บริการของเครื่องยนต์ พร้อมปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้ เช่น การทดสอบขับรถยนต์แล้วจึงปรับแต่งเครื่องยนต์ และระบบต่าง ๆ ให้เข้าที่
  • ปฏิบัติตามกฏจราจรในด้านการทดสอบเครื่องยนต์ ความปลอดภัยของยานยนต์ และ ตรวจสอบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
  • ดูแลทำความสะอาด และทาสียานยนต์ 
  • เก็บข้อมูลการดูแลซ่อมแซมเครื่องยนต์ของพาหนะแต่ละชนิด 
  • ประเมินการซ่อมแซมในแต่ละครั้ง รวมไปถึงประเมินราคาการซ่อมและราคาอะไหล่ว่ายังอยู่ในงบประกันหรือไม่ 
  • ตรวจสอบคลังสินค้า คอยสั่งอะไหล่ที่ขาดและตรวจสอบใบเสร็จต่าง ๆ 
  • เรียนรู้ทักษะ และเทคนิคใหม่ ๆ โดยอาจจะเรียนผ่านออนไลน์ หรือมองหาชั้นเรียนเพิ่มเติม 

           อัตราเงินเดือน

           ช่างยนต์ส่วนใหญ่จะทำงานแบบเต็มเวลา ดังนั้นอัตราเงินเดือนก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานที่ทำงาน ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน หรือขนาดขององค์กร ทั้งนี้อัตราเงินเดือนมักจะขึ้นอยู่กับทักษะเป็นส่วนใหญ่ และในปัจจุบัน หากมีความรู้และมีทักษะด้านเครื่องยนต์ไฮบริดและระบบไฟฟ้าก็มีสิทธิที่จะได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น

  • ฐานเงินเดือน: 15,000-30,000 บาท ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ และทักษะที่หลากหลาย

           เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์ เป็นอย่างไรบ้าง

           ระดับเจ้าหน้าที่ (ประสบการณ์ 1-3 ปี)

  • ช่างยนต์ระดับเจ้าหน้าที่ 

           ระดับหัวหน้างาน (ประสบการณ์ 4-8 ปี) 

  • หัวหน้าช่างยนต์ 

  • ผู้ฝึกสอนช่างยนต์ 

           ระดับผู้จัดการ (ประสบการณ์ 8 ขึ้นไป)

  • ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน
  • ผู้จัดการร้าน 
  • เจ้าของกิจการ 

           ทักษะที่ช่างยนต์ควรมี 

           ทักษะที่ต้องการ 

  • มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเครื่องยนต์ และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ 

           พื้นฐานของการเป็นช่างยนต์คือมีความรอบรู้เรื่องเครื่องยนต์ของยานพาหนะต่าง ๆ แต่หากต้องการเป็นช่างเฉพาะทางก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับยานพาหนะอื่น ๆ เช่น รถยนต์ระบบผสมผสาน รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถไฟฟ้า

  • มีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า และระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมยานยนต์อย่างละเอียด

           ช่างยนต์ควรมีความกระตือรือร้นในการหาความรู้ใหม่ ๆ ในด้านเครื่องยนต์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ และเครื่องมือใหม่ ๆ ที่อาจจะช่วยให้การทำงานราบรื่นขึ้น 

  • มีร่างกายที่แข็งแรงและมีทักษะด้านการพัฒนากล้ามเนื้อ

           การเป็นช่างยนต์ต้องใช้งานร่างกายค่อนข้างหนัก นอกจากจะต้องแข็งแรงแล้วจะต้องมีความคล่องแคล่วด้วย เพราะในบางครั้งคุณอาจจะต้องยกเครื่องยนต์หนัก ๆ ในระหว่างการทำงาน

           ทักษะอื่น ๆ 

  • ทักษะการวินิจฉัย

           หน้าที่หลักในการเป็นช่างยนต์คือการตรวจสอบและวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เครื่องยนต์ หากคุณมีความสามารถในการวินิจฉัยอาการของเครื่องยนต์ได้ตรงจุด ก็จะสามารถแก้ปัญหาเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยรักษาค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการและลูกค้าไว้ได้อีกด้วย 

  • ความสามารถในการดัดแปลง

           เครื่องยนต์มักจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นช่างยนต์ก็ควรจะมีทักษะด้านการดัดแปลง และต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทันตลอดเวลา ดังนั้นช่างยนต์จึงต้องพร้อมที่จะดัดแปลงเครื่องยนต์ และโปรแกรมใหม่ ๆ ตลอดเวลา

  • ทักษะเกี่ยวกับผู้คน

           ช่างยนต์ต้องสามารถสื่อสารกับผู้คนได้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการทราบรายละเอียดปัญหาเครื่องยนต์ และต้องการทราบความคืบหน้า ดังนั้นการมีทักษะการสื่อสารกับผู้คนจะช่วยให้ลูกค้าประทับใจมากขึ้น 

           การศึกษา 
           ถึงแม้ว่าช่างยนต์ไม่จำเป็นต้องเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแต่ก็ควรจะมีการเข้ารับการเรียนและฝึกฝนเกี่ยวกับเครื่องยนต์เพื่อให้รู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ โดยประกาศงานตำแหน่งช่างยนต์ที่มีใน JobsDB มักจะต้องการคุณสมบัติ คือ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานเครื่องยนต์ การซ่อมบำรุง การเปลี่ยนอุปกรณ์ การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาเครื่องยนต์ 

           ประกาศนียบัตรและการฝึกอบรมที่ควรมี

           นอกจากการฝึกขั้นพื้นฐานแล้ว ก็ควรมีขับขี่ไว้ด้วย เพราะหนึ่งในหน้าที่ของช่างยนต์คือการทดลองขับยานพาหนะ 

           โอกาสในการเรียนต่อ 

           การเป็นช่างยนต์ต้องหมั่นหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเสมอ ในปัจจุบันมีการสอนออนไลน์มากมายที่คุณสามารถเรียนรู้และพร้อมที่จะอัปเดตเทรนด์เครื่องยนต์ใหม่ ๆ หรือตามข่าวเกี่ยวกับเครื่องยนต์ได้ คุณอาจจะลองเรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ หรือการใช้แบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

           การเขียนเรซูเม่ของช่างยนต์

ชื่อ – นามสกุล

ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล

รายละเอียด

ส่วนแรกควรอธิบายเกี่ยวกับ ทักษะและประสบการณ์การทำงานด้านเครื่องยนต์ของคุณ โดยเฉพาะความรู้ด้านโปรแกรมหรือระบบต่าง ๆ หากคุณมีผลงานโดเด่นก็สามารถสรุปใว่ไว้ในส่วนนี้ได้เช่นกัน 

ประวัติการทำงาน

[ชื่อบริษัท], ที่อยู่

ตำแหน่ง, เดือนและปีที่เริ่มทำงาน (ตัวอย่าง มีนาคม 2560 – กรกฎาคม 2564)

  • หน้าที่ที่ทำ เช่น ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยปัญหาเครื่องยนต์ ทำให้ใช้เวลาในการวินิจฉัยและการแก้ปัญหาเร็วขึ้น 
  • ดูแลและซ่อมแซมเครื่องยนต์ไฮบริด 
  • แจ้งความคืบหน้าให้ลูกค้าทราบ 

ประวัติการศึกษา

อนุปริญญาด้านเทคโนโลยีเครื่องยนต์ 

[ชื่อสถานศึกษา], ปีที่เรียน 

  • ได้คะแนนะสูงสุดอันดับ 3 ของชั้นเรียนเครื่องยนต์ไฮบริด
  • ได้รับตำแหน่งนักศึกษาดีเด่นระดับชั้น

ใบประกาศนียบัตรเทคโนโลยีด้านยานยนต์ (การดูแลรักษายานยนต์) 

[ชื่อสถานศึกษา], ปีที่เรียน

  • ผ่านการศึกษาด้านการซ่อมแซมยานยนต์
  • เป็นอาสาสมัครด้านการจัดกิจกรรมงานอีเวนต์ วันการศึกษาด้านอาชีพ

ประวัติการฝึกงาน [ชื่อสถานประกอบการ], ปีที่ฝึกงาน

  • เป็นผู้ช่วยในการเปลี่ยนยาง ตั้งศูนย์เครื่องยนต์ และทำความสะอาดเครื่องยนต์
  • จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในร้าน
  • ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือให้อยู่ในสภาพใช้งานได้

ดาวน์โหลดตัวอย่างเรซูเม่ได้ ที่นี่

ที่ JobsDB เรามีตำแหน่งงานช่างยนต์จากบริษัทชั้นนำมากมาย ผู้หางานที่สนใจสามารถคลิกดูได้ ที่นี่

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

คำถามสู่ความสำเร็จในอนาคต: เด็กรุ่นใหม่ เรียนสายอาชีพดีไหม ?
หางานยังไงให้ได้งาน: จัดระเบียบการหางาน ฉบับปี 2021

 

 

การเขียน Resume  การเรียนสายอาชีพ  ความก้าวหน้าในการทำงาน  งานสายอาชีพ  ช่างยนต์

บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์

จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง

Test case คืออะไรทำไม Tester จำเป็นต้องทำ?

ในสายงานการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ซอฟท์แวร์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ นอกจากอาชีพชูโรงอย่าง Developer แล้ว ยังมีตำแหน่งยิบย่อยอื่น ๆ...

จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง

ChatGPT คืออะไรทำไมเราถึงควรต้องทำความรู้จัก

  เราอาจคุ้นเคยกับเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งก็คือความฉลาดของคอมพิวเตอร์กันมา...

จบ ปวช ช่างยนต์ ทํางานอะไรได้บ้าง

Work From Home vs. Hybrid Work องค์กรใหญ่ควรเลือกระบบไหนในปี 2023

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

ช่างยนต์จบไปทํางานอะไรได้บ้าง

หากคุณสนใจที่จะทำงานในสายอาชีพนี้ ก็สามารถลองดูได้ว่าหน้าที่หลัก ๆ ที่ต้องทำมีอะไรบ้าง การดูแลเครื่องยนต์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งเครื่องยนต์ การเปลี่ยนน้ำมัน การเปลี่ยนล้อรถยนต์ การตั้งศูนย์ ไปจนถึงการเปลี่ยนไส้กรองเป็นต้น.
ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน.
ผู้จัดการร้าน.
เจ้าของกิจการ.

เรียนช่างยนต์ต้องทำอะไรบ้าง

เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านงานยานยนต์ การอ่านแบบ เขียนแบบยานยนต์ การบริการตรวจซ่อมเครื่องยนต์ ซ่อมบำรุงรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ เปลี่ยนอุปกรณ์ภายในรถหรือเครื่องยนต์ เครื่องล่างรถยนต์และไฟฟ้ารถยนต์ เชื้อเพลิงและวัสดุหล่อลื่น ระบบปรับอากาศรถยนต์ นิวเมติกส์ไฮดรอลิกเบื้องต้น เคาะพ่นสี แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ ...

ช่างยนต์ เงินเดือนกี่บาท

เงินเดือน : 15,000 - 18,000 ฿

วุฒิปวช.ทำอะไรได้บ้าง

งานน่าสนใจที่เปิดรับใบสมัครวุฒิ ปวช. และ ปวส..
งานจัดซื้อ/ธุรการ/ประสานงานทั่วไป ... .
งานช่างเทคนิค/อิเล็กทรอนิกส์/ซ่อมบำรุง/ช่างพิมพ์ ... .
งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ/โรงงาน ... .
งานขาย ... .
งานบัญชี.