หลังคลอด1เดือนกินอะไรได้บ้าง

เมื่อทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในหลาย ๆ ด้านเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพและการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทั้งในช่วงตั้งครรภ์และหลังตั้งครรภ์หรือหลังคลอด เนื่องจากทารกจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าเพื่อใช้ในกระบวนการเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ และคุณแม่จำเป็นต้องใช้สารอาหารน้ำนมในการเลี้ยงลูกน้อย ดังนั้น คุณแม่จึงควรใส่ใจเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย สมอง และอารมณ์ที่สมวัยให้กับลูกน้อย แต่สำหรับคุณแม่ลูกอ่อนที่ยังมีสงสัยว่าแม่ลูกอ่อนห้ามกินอะไร เมนูไหนเป็นอาหารต้องห้ามสำหรับแม่ลูกอ่อน Punnita พร้อมเฉลยข้อข้องใจให้คุณแม่ลูกอ่อนทุกท่านได้รับทราบเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเองกันค่ะ

หลังคลอด1เดือนกินอะไรได้บ้าง

  1. อาหารทะเล

อาหารทะเลจำพวกปลา กุ้ง หอย ปู หมึกส่วนใหญ่มักปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีเพื่อรักษาความสดใหม่ ในช่วงให้นมลูก คุณแม่จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารทะเลให้มากที่สุดเนื่องจากสารเคมีเหล่านั้นอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมองของลูกน้อย โดยจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ลูกจะมีพัฒนาการช้าหรือมีความผิดปกติอื่น ๆ ส่วนอาหารทะเลที่พอทานได้ ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ซึ่งอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูกน้อย

  1. อาหารดิบ กึ่งสุกกึ่งดิบ และอาหารค้างคืน

เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ในช่วงให้นมลูก คุณแม่ลูกอ่อนควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น แหนม ปลาร้า ก้อย ลาบเลือด กุ้งแช่น้ำปลา ฯลฯ รวมถึงอาหารที่ทิ้งไว้ข้ามคืนเนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ และเชื้อจุลินทรีย์ที่จะนำไปสู่ภาวะติดเชื้อในทางเดินอาหาร ทำให้อาหารเป็นพิษหรือท้องเสียได้ ดังนั้น คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ สะอาด และผ่านความร้อนจนสุกดีเท่านั้น

หลังคลอด1เดือนกินอะไรได้บ้าง

  1. ผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิด

ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวบางชนิด เช่น ส้ม มะนาว กีวี สตรอว์เบอร์รี สับปะรด ฯลฯ ประกอบไปด้วยกรดที่อาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการคัน แพ้ หรือระคายเคือง รวมถึงรู้สึกไม่สบายตัว จุกเสียด แน่นท้อง ไปจนถึงอาเจียนได้ ดังนั้น คุณแม่ลูกอ่อนทุกท่านจึงควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเหล่านี้ในช่วงให้นมลูก

  1. ธัญพืชบางชนิด

ธัญพืชจำพวกถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพดมีสารโปรตีนที่อาจกระตุ้นการเกิดภูมิแพ้ในทารก เช่น ผื่นขึ้น ลมพิษ ส่วนกลูเตนที่พบในข้าวสาลีจะทำให้ลูกท้องอืด มีแก๊ส หรือท้องเสียได้ เพราะฉะนั้นในช่วงให้นมลูก คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานธัญพืชจำพวกนี้ไปก่อน

  1. คาเฟอีน

คาเฟอีนส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย การได้รับคาเฟอีนผ่านทางน้ำนมแม่จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด หลับยากได้ ดังนั้น คุณแม่ลูกอ่อนจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ ในช่วงให้นมลูก

  1. หลังคลอด1เดือนกินอะไรได้บ้าง

    นมวัว

นมวัวหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของนมวัวอย่างเช่น ชีส โยเกิร์ต อาจกระตุ้นหรือทำให้ทารกแพ้โปรตีนนม โดยเมื่อทารกได้รับโปรตีนในนมวัวชนิดนี้ก็จะมีอาการถ่ายอุจจาระผิดปกติ เกิดผื่นแพ้ มีอาการกรดไหลย้อน รวมไปถึงยังส่งผลให้มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวได้

  1. ผักและผลไม้ที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

ผักในตระกูลกะหล่ำ บร็อคโคลี หน่อไม้ฝรั่ง รวมถึงผลไม้บางชนิดอย่างกล้วยหอม เชอร์รี และลูกพรุนมักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร คุณแม่ลูกอ่อนจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักและผลไม้เหล่านี้ เพราะอาจส่งผลให้ทารกมีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ทำให้รู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด หรือไม่สบายตัวได้

หลังคลอด1เดือนกินอะไรได้บ้าง

  1. อาหารหมักดอง

อาหารหมักดอง เช่น ปูดอง หอยดอง โดยเฉพาะผลไม้ดองทั้งหลายมักเต็มไปด้วยโซเดียมและเกลือในปริมาณที่สูง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการของลูกน้อย อีกทั้งยังอาจปนเปื้อนสารต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ได้เช่นกัน

  1. อาหารรสจัดหรืออาหารที่มีกลิ่นแรง

แม้อาหารรสจัดอย่างพริก กระเทียม เครื่องแกง เครื่องเทศจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการของลูกน้อย แต่ก็อาจทำให้น้ำนมมีกลิ่นฉุนหรือมีรสชาติที่ผิดแปลกไป ส่งผลให้ลูกน้อยหงุดหงิด ไม่ยอมเข้าเต้าหรือกินนมได้

  1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จริง ๆ แล้ว คุณแม่ลูกอ่อนควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ได้มากที่สุด เพราะแอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองของลูกน้อยได้ แต่หากจำเป็นจริง ๆ ก็สามารถบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ต้องจำกัดอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมคือไม่เกินครั้งละ 1-2 แก้ว และดื่มได้ไม่เกินหนึ่งครั้งต่อวันหรือสองครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น และควรรอให้ร่างกายขับแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือดผ่านทางปัสสาวะเสียก่อนจึงจะสามารถให้นมลูกน้อยได้

ช่วงหลังคลอดและช่วงให้นมลูกถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ แม้ลูกจะยังรับประทานอาหารเองไม่ได้ แต่คุณแม่ลูกอ่อนก็สามารถมอบสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงให้กับพวกเขาได้ผ่านทางน้ำนมเพื่อให้เจ้าตัวน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดี ดังนั้น คุณแม่จึงควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม และอย่าลืมนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลเจ้าตัวเล็กให้เติบโตแข็งแรงสมวัยต่อไปค่ะ

ดูสินค้าแม่และเด็กเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.punnita.com