ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ การประกอบธุรกิจ การค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จนำมาซึ่งผล ประโยชน์และกำไรสูงสุด

ประเภทของธุรกิจนั้น ผมมองว่าเป็นสิ่งที่มีผลในการกำหนดทิศทางของธุรกิจที่มีผลกระทบต่อเรื่องเงิน และเรื่องต่างๆในการทำธุรกิจ ดังนั้นเรามารู้จักสิ่งที่เรียกว่า ประเภทของธุรกิจกันก่อน เพื่อจะได้เข้าใจว่าธุรกิจของเรานั้นเป็นประเภทไหนระหว่าง “บุคคลธรรมดา” กับ “นิติบุคคล” 


เลือกอ่านได้เลย!

ประเภทของธุรกิจ แบบบุคคลธรรมดา

สำหรับบุคคลธรรมดานั้นจะประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ คณะบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้

  • เจ้าของคนเดียว

    คือ การธุรกิจด้วยตัวเราคนเดียว เมื่อได้กำไรหรือขาดทุนก็จะมีผลต่อตัวเราเพียงคนเดียว ซึ่งข้อดีก็คือความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น คนค้าขายทั่วไปที่เราพบเห็นกันนี่แหละครับ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ

    คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาร่วมลงทุนและดำเนินกิจการร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรจากการทำธุรกิจและรับผิดชอบหนี้สินร่วมกัน ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญแบบที่ไม่ได้จดทะเบียน จะถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จะถือว่าเป็นนิติบุคคลครับ (ตรงนี้สังเกตชื่อดีๆนะครับ ไม่ยาก)

  • คณะบุคคล

    คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงกระทําการที่มีเงินได้พึงประเมินร่วมกันอันมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญครับ นี่คือนิยามใหม่ที่ปรับปรุงตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาครับ

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันรูปแบบของห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลนั้นไม่เหมาะแก่การใช้งานอีกต่อไปครับ เนื่องจากเหตุผลของการเสียภาษีที่ซ้ำซ้อนระหว่างกัน ดังนั้นคำแนะนำของผมตรงนี้คือ หากคุณเลือกทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา การอยู่ในรูปแบบเจ้าของคนเดียว น่าจะเป็นทางออกที่ง่ายและดีที่สุดครับ

ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

ประเภทของธุรกิจ แบบนิติบุคคล

ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัดครับ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด

    อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่แรกครับว่า สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน จะมีลักษณะเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญ เพียงแต่มีการจดทะเบียนขึ้นมาเป็นนิติบุคคลครับ ส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีข้อแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่ จะมีหุ้นส่วนบางคนเรียกว่า หุ้นส่วนจำกัด ถูกจำกัดหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านหนี้สินของกิจการไว้เพียงเงินลงทุนของตัวเองครับ

  • บริษัทจำกัด

    เป็นรูปแบบของการดำเนินงานที่มีการจัดตั้งโดยคนตั้งแต่ 3 คนขึ้น และไปใช้การวิธีการเข้าร่วมลงทุนโดยการกำหนดทุนออกเป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่าๆกัน และเราจะเรียกคนเหล่านั้นว่า “ผู้ถือหุ้น” โดยมีความรับผิดชอบเท่ากับมูลค่าของหุ้นที่ซื้อไว้เท่านั้นครับ

ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

ถ้าถามที่ว่าธุรกิจรูปแบบไหนดีที่สุด ?

บอกตรงๆครับว่า “ไม่รู้” เพราะมีปัจจัยมากมายหลายหลากในการตัดสินใจ ดังนั้นให้ปรึกษาและเลือกให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจครับผม ทีนี้หลายคนอาจจะโต้แย้งขึ้นมา ด้วยคำพูดที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่า “ถ้าอยากประหยัดภาษี ให้เลือกจดทะเบียนแบบนิติบุคคล” ใช่ไหมครับ สำหรับเรื่องนี้ผมจะมีคำอธิบายในตอนต่อไปครับผม ฝากติดตามกันด้วยนะครับ

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจทำธุรกิจ รู้หรือไม่ว่าธุรกิจมีกี่ประเภทและ ประเภทธุรกิจ ที่คุณจะทำอยู่ในประเภทไหน ทั้งนี้เพราะมีผลต่อการจดทะเบียนและการเสียภาษีนั่นเอง เพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น เรามาดูกันว่าธุรกิจมีกี่ประเภทและแต่ละประเภทธุรกิจมีลักษณะอย่างไร

หัวข้อเนื้อหา

1. ธุรกิจมีกี่ประเภท?

ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง
ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

ปกติแล้วเรามักจะเคยได้ยินการเรียกประเภทธุรกิจโดยเรียกตามขนาด เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ในทางกฎหมายได้แบ่งประเภทธุรกิจออกเป็น 5 ประเภทดังต่อไปนี้

1. กิจการเจ้าของคนเดียว

ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง
ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

กิจการเจ้าของคนเดียว เป็นประเภทธุรกิจที่บุคคลคนเดียวเป็นทั้งเจ้าของ และบริหารเอง จึงทำให้กิจการเจ้าของคนเดียวนี้มีความคล่องตัวสูง ไม่ยุ่งยาก เจ้าของกิจการสามารถบริหารงานและตัดสินใจได้เองอย่างอิสระ เรามักจะพบรูปแบบกิจการเจ้าของคนเดียวได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ร้านขายของชำ ร้านโชห่วย ร้านเสริมสวย ร้านหาบเร่แผงลอย เป็นต้น

2. ห้างหุ้นส่วน

ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง
ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่มีการลงทุนทางการเงินหรือแรงกายร่วมกัน ซึ่งเรียกว่าหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ก็เพื่อมีการแบ่งกำไรจากการดำเนินกิจการร่วมกัน  สามารถทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ และสามารถทำสัญญาด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร สำหรับห้างหุ้นส่วนจะแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญห้างหุ้นส่วนจำกัดจำนวนผู้ถือหุ้นมีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบสิทธิของผู้ถือหุ้นผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนแหล่งทุนทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบลงทุนเป็นแรงงานไม่ได้การจดทะเบียนจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ต้องจดทะเบียน และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลการชำระหนี้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ

3. บริษัทจำกัด

ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง
ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

เป็นการประกอบกิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ถือหุ้นเท่ากัน รับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนที่ลงทุน และมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริษัทขึ้นมาบริหารและตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมี บริษัทมหาชนจำกัด มาจากการที่บริษัทจัด มีการนำหุ้นออกขายให้คนทั่วไปเพื่อร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัท ตามสัดส่วนที่ซื้อและสามารถขายต่อได้ตามราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน

4. สหกรณ์

องค์กรบุคคลที่มีอาชีพ ความต้องการ ความสนใจที่คล้ายกันร่วมตัวกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพของสมาชิกและส่งเสริมความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สมาชิกแต่ละคนโดยมีการควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร เป็นต้น

5. รัฐวิสาหกิจ

ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง
ธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรของรัฐ หรือหน่วยงานที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 ถือเป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไร เช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจแบ่งออกเป็น  2  ประเภท

2. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

1.เพื่อความมั่นคงของประเทศ เพราะบางกิจการมีความจำเป็นที่ต้องใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

2.เพื่อประโยชน์ของสังคมในการให้บริการประชาชน 

3.เพื่อหารายได้เข้ารัฐ  เพราะธุรกิจบางประเภทมีผลกำไรเป็นจำนวนมาก เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น

4.เพื่อควบคุมสินค้าบางชนิดที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม เช่น โรงงานสุรา โรงงานยาสูบ เป็นต้น

5.เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศพร้อมกับเชิญชวนมาให้ท่องเที่ยวในประเทศไทย เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

5.1 รัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล

เป็นองค์กรและหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีการดำเนินงานที่แยกออกจากผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการโดยเฉพาะ เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การสวนสัตว์ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทขนส่ง เป็นต้น

5.2 รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล

เป็นกิจการบางอย่างของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดยใช้ทุนดำเนินการของรัฐทั้งหมด สังกัดหน่วยงานราชการที่เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น โรงงานยาสูบและสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นต้น

ประเภทธุรกิจ มีหลากหลายประเภท ก่อนตัดสินใจทำธุรกิจประเภทไหน ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน เพราะมีผลต่อการจดทะเบียนและการเสียภาษีนั่นเองค่ะ

ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลมีธุรกิจใดบ้าง

ประเภทของธุรกิจ แบบนิติบุคคล ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัดครับ

ประเภทของธุรกิจแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

ประเภทของธุรกิจ (Business) มีกี่รูปแบบ?.
1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว ... .
1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ ... .
2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด ... .
2.2 บริษัทจำกัด ... .
2.3 บริษัทมหาชนจำกัด ... .
2.4 องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ.

ธุรกิจแบบนิติบุคคล คืออะไร

การดำเนินธุรกิจแบบจดทะเบียนนิติบุคคล เป็นการดำเนินธุรกิจที่แยกออกจากการเป็นบุคคลธรรมดา หากมีการดำเนินการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมสัญญา นิติกรรมสัญญา รวมถึง การชำระเงินภาษีจะเป็นไปในนามของกิจการทั้งหมด ซึ่งโดยปกติการจดทะเบียนนิติบุคคลนิยมทำคือ การจดทะเบียนบริษัทจำกัด

ธุรกิจส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

แบบบุคคลธรรมดา : กิจการเจ้าของคนเดียว ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็ก สิทธิการบริหารจัดการทุกอย่างกระทำโดยบุคคลเดียว เช่น ร้านค้าต่างๆ และห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นการตกลงร่วมกันเพื่อทำธุรกิจ แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา เช่น การทำธุรกิจของสามี-ภรรยา ซึ่งหุ้นส่วนทุกคนต้องเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา