ธุรกิจอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 5 ชนิด

07:58 ประเภทอุตสาหกรรม

Show

อุตสาหกรรม (Industry) คือ กระบวนการแปรรูป หรือ การผลิตสิ่งของจากวัตถุดิบให้เป็นวัสดุใหม่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละมากๆ จนสามารถนำไปขายเป็นสินค้าได้

อุตสาหกรรม (Industry) เป็นคำจำกัดความที่ใช้กับกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อที่จะผลิตสิ่งของ หรือ จัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

การแยกประเภทอุตสาหกรรม อาจทำได้ดังนี้ คือ

1. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามกรรมวิธีแยกเป็น 4 ประเภท คือ
1.1 อุตสาหกรรมสกัดจากธรรมชาติ หมายถึง การสกัดหรือแยกหรือนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น การทำเหมืองแร่ การประมง การป่าไม้ (นับว่าเป็นขั้นแรกของการเพิ่มคุณค่าของวัตถุดิบจากธรรมชาติ)
1.2 อุตสาหกรรมการผลิต หมายถึง การนำเอาวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมการสกัดจากธรรมชาติมาผลิตเป็นวัตถุสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น การผลิตกระดาษ การผลิตผ้า
1.3 อุตสาหกรรมการขนส่ง หมายถึง การประกอบการเพื่อนำวัตถุสำเร็จรูปไปยังผู้บริโภค เช่นการเดินเรือ การรถไฟ การเดินอากาศ
1.4 อุตสาหกรรมการบริการ หมายถึง การประกอบกิจการด้านการใช้บริการต่าง ๆ เช่น
การท่องเที่ยว การโรงแรม

2. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะและขนาดของกิจการ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
2.1 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์และเงินทุนสูงมาก เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า
2.2 อุตสาหกรรมขนาดย่อม หมายถึง อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนเงินทุนน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเครื่องอุปโภคทั่ว ๆ ไป เช่น อุตสาหกรรมฟอกหนัง อุตสาหกรรมน้ำตาล
2.3 อุตสาหกรรมในครัวเรือน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำกันภายในครอบครัว ในบ้านที่อยู่อาศัย เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความชำนาญทางฝีมือ เช่น การจักสาน การแกะสลัก

3. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะการใช้ หมายถึง การแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ได้ผลิตขึ้นมาว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 อุตสาหกรรมสินค้าทุน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้เป็น
วัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น การทำเครื่องจักร การถลุงโลหะ อุตสาหกรรมฟอกหนัง
3.2 อุตสาหกรรมสินค้าบริโภค หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตให้ได้ผลิตผลสำหรับประชาชนนำ

ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป

4. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามสภาพและสมบัติผลิตภัณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
4.1 ประเภทถาวร หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิต ผลิตภัณ์ที่มีความคงทนถาวร หรือมีอายุการใช้
งานนาน เช่น การทำเครื่องจักร
4.2 ประเภทกึ่งถาวร หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานใน
ระยะเวลาอันสั้น เช่น เสื้อผ้า หลอดไฟ ดินสอ
4.3 ประเภทไม่ถาวรหรือประเภทสิ้นเปลือง หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เมื่อใช้งาน
เพียงครั้งเดียวก็แปรสภาพไปหรือไม่อาจนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น อุตสาหกรรมเคมี
อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป
เมื่อมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้น มนุษย์ย่อมมีความต้องการใช้วัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเพิ่มจำนวน
ประชากร ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติก็มีมากขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติมี
จำนวนลดลง จึงจำเป็นต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

5. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะของการผลิต จะแบ่งเป็น 3 ประเภท
5.1 อุตสาหกรรมเบื้องต้น  หรืออุตสาหกรรมที่ 1  เป็นการผลิตเพื่อให้ได้วัตถุดิบไปใช้ประกอบการอย่างอื่น  เช่น  การกสิกรรม  การประมง  การทำเหมืองแร่
5.2 อุตสาหกรรมที่  2  เป็นการผลิตวัตถุสำเร็จรูป  เช่น การทำอาหารกระป๋อง   การสีข้าว
5.3 อุตสาหกรรมที่  3  เป็นกิจการด้านบริการ  เช่น การขนส่ง  การโรงแรม

6. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 17 ประเภท
6.1 ประเภท A เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้
6.2 ประเภท B การประมง
6.3 ประเภท C การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน
6.4 ประเภท D การผลิต
6.5 ประเภท E การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา
6.6 ประเภท F การก่อสร้าง
6.7 ประเภท G การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน
6.8 ประเภท H โรงแรมและภัตตาคาร
6.9 ประเภท I การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม
6.10 ประเภท J การเป็นตัวกลางทางการเงิน
6.11 ประเภท K กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและกิจกรรมทางธุรกิจ
6.12 ประเภท L การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคม ภาคบังคับ
6.13 ประเภท M การศึกษา
6.14 ประเภท N งานด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 
6.15 ประเภท O กิจกรรมด้านการบริการชุมชน สังคมและการบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ
6.16 ประเภท P  ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล
6.17 ประเภท Q องค์การระหว่างประเทศและองค์การต่างประเทศอื่น ๆ และสมาชิก 

7. การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามโรงงานอุตสาหกรรม
จำแนกตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
7.1 ประเภทโรงงานหลัก 107 ประเภท

ส่งอีเมลข้อมูลนี้ BlogThis! แชร์ไปที่ Twitter แชร์ไปที่ Facebook

เมื่อได้อ่านข่าวผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุด ที่สะท้อนออกมาผ่านสถานประกอบการและผู้ประกันตน ที่ได้รับความเสียหายด้านรายได้และว่างเว้นจากการทำงาน เพราะกิจการต้องปิดจำหน่ายหรือปิดให้บริการชั่วคราว ก็ยิ่งย้ำให้ทราบว่า มีหลายภาคส่วนได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้ไม่น้อยเลย โดยมี สถานประกอบการ 35,068 แห่ง และผู้ประกันตน 644,136 คน ต่างได้รับผลกระทบต้องหยุดประกอบธุรกิจและหยุดงานกันถ้วนหน้า ซึ่งนอกเหนือจากการยื่นคำร้องออนไลน์ตามมาตรการเยียวยาของทางภาครัฐแล้ว บุคคลกลุ่มนี้ยังสามารถลุกขึ้นสู้ด้วยทักษะและความสามารถของตนเอง หันมาทำ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่พิสูจน์จากผู้ลงมือทำและได้ผลจริงๆ

ธุรกิจอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 5 ชนิด

โดยแหล่งข่าวที่นำข้อมูลดีๆนี้มาบอกกัน คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ที่ไม่ได้ส่งเสริมแค่อุตสาหกรรมหนักในระดับประเทศเท่านั้น แต่ในยามวิกฤต กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยังมองว่า ผลิตภัณฑ์อาหารโฮมเมด งานทำมือ ฝีมือคนไทย จากภูมิปัญญาไทย ซึ่งจัดเป็น อุตสาหกรรมในครัวเรือน ยังเป็นอีกหนึ่งทางรอด สร้างงานสร้างรายได้ในช่วงเวลานี้
ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อธิบายเพิ่มเติมถึงแนวคิดนี้ว่า

“เพื่อเป็นการผลักดันให้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน และผู้ว่างงานอยู่รอด มีงาน มีรายได้ ตลอดช่วงวิกฤตนี้   กสอ.แนะให้ผู้ได้รับผลกระทบสร้างอาชีพทำเงินได้ด้วย 5 อุตสาหกรรมในครัวเรือน ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทั้งในประเภทสมุนไพร อาหาร เครื่องดื่ม และแฟชั่น”


ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยแปรรูป วัตถุดิบหาง่าย สนับสนุนคนไทยใช้สมุนไพรต้านโควิด

จากข้อมูลของ กสอ. ระบุชัดเจนว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกก็จริง แต่เป็นโอกาสที่ดีของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย ที่ได้เฉิดฉายขึ้นมา เพราะบ้านเรามีสมุนไพรไทยหลากหลายชนิด ที่มีสรรพคุณสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และต้านโควิด-19 ได้ดี ไม่แพ้ยาขนานไหนในโลก
โดยข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 18,200 ล้านบาท และปีนี้คาดว่าตลาดดังกล่าวจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 20,000 ล้านบาท

ธุรกิจอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 5 ชนิด

ด้วยเหตุนี้ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยจึงเป็นหนึ่งใน อุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่น่าสนใจด้วยการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้ภูมิปัญญาที่มีอัตลักษณ์อย่างการนำพืชสมุนไพร หรือพืชที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจหลักมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล
อาทิ สบู่เหลวล้างมือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย แชมพู และอาหารเสริมสุขภาพ อย่าง น้ำขิงสำเร็จรูป อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวควรให้ความสำคัญกับการสร้างสรรบรรจุภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นและตราสินค้าให้มีความแตกต่าง เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
ทั้งนี้ ถ้าใครยังคิดไม่ออกว่า จะจับเอาสมุนไพรไหนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ในช่วงนี้ เรามีไอเดียจาก เภสัชกรหญิงสุภาภรณ์ ปิติพร หรือ หมอต้อม หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่มาชี้เป้าสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณต้านไวรัสได้ดีมาบอกกันอีกครั้ง
  • ขิง แนะนำให้ทำน้ำขิงผงหรือชาขิงจำหน่าย เพราะน้ำขิงแก่ต้มน้ำเดือดนาน 30 นาที มีพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้
  • กระเทียม มีสรรพคุณป้องกันและลดระยะเวลาการเป็นหวัด อาจทำเป็นกระเทียมดองออกจำหน่าย ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีประสิทธิผลในการป้องกันหวัดได้ดี
  • ตะไคร้ คนรุ่นปู่ย่าใช้รักษาหวัด ไข้หวัดใหญ่ แก้ไข้ มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันได้ดี มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านอักเสบ ดังนั้นอาจทำผลิตภัณฑ์ชาตะไคร้จำหน่ายได้
  • หอมใหญ่ หอมเล็ก มีสาร Quercetin มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ และมีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านฮีสตามีน ช่วยขยายหลอดลม ยิ่งในหอมสดจะมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่าหอมที่ผ่านความร้อน จึงแก้อาการหวัดได้ดี สามารถทำ ยาหม่องหอมแดง ออกมาจำหน่ายได้

ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เน้นของอบแห้ง เก็บไว้กินได้นาน โดนใจผู้บริโภคช่วง อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ

อานิสงส์จากการทำ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป นอกจากจะได้สร้างรายได้เพิ่มเติมในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้แล้ว ยังมีส่วนช่วยภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากข้อจำกัดด้านการกระจายผลผลิตและการส่งออก อีกทั้งปัญหาราคาตกต่ำจากสินค้าล้นตลาดด้วย
ดังนั้น การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่สามารถเก็บรักษาได้นานในอุณหภูมิปกติ และคงรสชาติ สี กลิ่นเดิมของอาหารนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สร้างรายได้แก่เกษตรและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีฟรีซดราย (Freeze Drying) ทำผลิตภัณฑ์จากอาหาร ผัก หรือผลไม้และเทคโนโลยีอบแห้ง

ธุรกิจอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 5 ชนิด

ที่ผ่านมา กรมอนามัย ได้เชิญชวนลูก หลาน ส่งอาหารแห้งที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ แทนความรัก ความห่วงใย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้
เพราะเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ มีมาตรการงดการเดินทางข้ามจังหวัดหรือเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อลดอากาสการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ก็สามารถทำได้ผ่านการสื่อสารออนไลน์ หรือจัดส่งสิ่งของอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางจัดส่งต่างๆ ซึ่งของอุปโภคที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ อาทิ ข้าวกล้อง วุ้นเส้น ธัญพืชอบแห้ง ปลากรอบ ปลาเล็กปลาน้อย ปลาแห้ง หมูแดดเดียว ไข่เค็ม หมูหยอง
ทั้งนี้ อาหารแปรรูปที่กล่าวมาล้วนเป็นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการเก็บไว้ได้นาน ซึ่งใครมีความรู้ในการผลิตอาหารเหล่านี้ ก็สามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ เพราะจะตอบโจทย์การ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ได้ดีทีเดียว
โดยปี 2563 ทาง กสอ. ได้แจ้งข่าวดีด้วยว่าได้เตรียมงบประมาณ 5 ล้านบาท สำหรับโครงการเสริมสร้างศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปแบบครบวงจรเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ 160 ราย และพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร 5 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งถ้าใครสนใจสามารถติดตามข่าวสารอัปเดตได้ทางเว็บไซต์ของ กสอ.

น้ำผลไม้อุดมวิตามินซี โดนใจคนรักสุขภาพ ดื่มสร้างภูมิต้านทานโควิด-19

ในช่วงที่คนไทยตื่นตระหนกกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หนึ่งในวิธีลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คือ การดื่มน้ำผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี ไอเดียในการทำน้ำผลไม้สกัดเย็น หรือน้ำผลไม้คั้นบรรจุขวดออกมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ช่วงนี้ จึงเป็นความคิดที่ไม่เลวเลย

ธุรกิจอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 5 ชนิด

โดย top 5 ผลไม้อุดมวิตามินซี ที่ดีต่อสุขภาพ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ได้แก่
  • มะขามป้อม วิตามินซี 276 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
มะขามป้อม จัดเป็นราชาของผลไม้ในกลุ่มที่มีวิตามินซีสูงก็ว่าได้ ผลของมะขามป้อมมีสารป้องการเกิดออกซิไดซ์ของวิตามินซี ทำให้วิตามินซีไม่เสื่อมสภาพแม้จะถูกความร้อน และถูกใช้เป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคหลายชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค แก้ไอ ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นต้น
  • ฝรั่ง วิตามินซี 160 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
แม้ฝรั่งจะเป็นผลไม้ที่ไม่มีรสเปรี้ยว แต่ก็อุดมไปด้วยวิตามินซีในปริมาณมากโดยพบได้บริเวณเปลือกของฝรั่ง สามารถนำมาปั่นแยกกากหรือสกัดเย็นจำหน่ายได้
  • ลิ้นจี่ วิตามินซี 71.5 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
ว่ากันว่ากินลิ้นจี่เพียงวันละ 3 เม็ด ก็ได้รับปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายต้องการได้ ด้วยรสชาติที่หวานหอมและอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะวิตามินบี 1 ที่ช่วยป้องกันอาการเหน็บชา นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงหลอดเลือดและกระดูกและฟันได้ด้วย
  • สตรอเบอร์รี่ วิตามินซี 58.8 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
สตรอเบอร์รี่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง ช่วยในการบำรุงดวงตาและลดการเสื่อมสภาพของดวงตา โดยเฉพาะในสตรอเบอร์รี่สดจะมีปริมาณวิตามินซีมาก
  • ส้ม วิตามินซี 53.2 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
ส้มเป็นผลไม้ยอดฮิตที่คนไทยนิยมกิน เพราะรู้กันดีว่ามีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังมีใยอาหารที่ช่วยในระบบขับถ่ายให้ดีขึ้น รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้

ต่อยอด อุตสาหกรรมในครัวเรือน ด้านสิ่งทอ มาผลิต หน้ากากผ้า ไอเทมยอดฮิตของผู้คนยุคโควิดระบาด

อุตสาหกรรมการทอผ้า หรือตัดเย็บผ้า เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่มีชาวไทยไม่น้อยยึดเป็นอาชีพหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวมานาน มาในวันนี้ ถ้าใครปรับเปลี่ยนมาเป็นการใช้ผ้าทอ หรือผ้าฝ้าย ร่วมกับผ้ามัสลิน ผ้าสาลู มาผลิตเป็น หน้ากากผ้า รับรองว่า สามารถสร้างปั๊มรายได้เข้ากระเป๋าได้ไม่รู้ตัว
เพราะ ผ้ามัสลิน เป็นผ้าที่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับรองว่า สามารถทำเป็นหน้ากากผ้าทดแทนหน้ากากอนามัยที่ตอนนี้กำลังขาดแคลน เพื่อใช้สวมใส่ป้องกันละอองฝอยจากการไอจามได้

ธุรกิจอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 5 ชนิด

ยืนยันได้จากการศึกษาของบุคลากรด้านสาธารณสุขของไทย ที่เปิดเผยผลการศึกษาชนิดของผ้าต่างๆที่มีคุณสมบัติเหมะสมเพื่อนำมาใช้ทำหน้ากากผ้า ป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ในตอนนี้ คือ หนึ่ง ต้องสามารถกันอนุภาคขนาดเล็ก สอง ป้องกันการซึมผ่านของละอองน้ำ และสาม ต้องสามารถนำไปซักได้หลายครั้งรวมถึงหาได้ง่ายทั่วไป
ผลการศึกษาพบว่า ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าฝ้ายมัสลิน และผ้านาโน เมื่อนำผ้ามาประกอบกัน 2 ชั้น และส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เส้นใยผ้าสามารถกันอนุภาคได้ใกล้เคียงหน้ากากอนามัยทางการแพทย์
และผ้าฝ้ายดิบ ผ้าฝ้ายมัสลิน ยังสามารถนำมาซักได้มากกว่า 100 ครั้ง โดยคุณภาพของเนื้อผ้าไม่เสื่อม และทดสอบประสิทธิภาพการต้านการซึมผ่านของละอองน้ำพบว่า ผ้าฝ้ายมัสลินและผ้าสาลู สามารถต้านการซึมผ่านได้ดี
ยิ่งสร้างสตอรี่ต่อยอดไปด้วยว่าเป็นงานทำมือ ฝีมือการตัดเย็บละเอียด มีช่องสอดแผ่นกรองเพิ่มได้ ก็ยิ่งทำให้ผลิตภัณฑ์หน้ากากผ้านั้นได้รับความสนใจจากผู้คนแน่นอน

จับวัตถุดิบท้องถิ่นมาใส่ไอเดีย สร้างสรรค์ งานคราฟต์รักษ์โลก ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่

บอกได้เลยว่าแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยยังไม่คลี่คลาย แต่กระแสกรีนมาร์เก็ต (Green Market) ที่เน้นการเลือกใช้วัสดุหรือการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังเป็นเทรนด์ที่มาแรงในปีนี้และอีกหลายปีข้างหน้า นี่เป็นสิ่งที่ กสอ. ยืนยัดเจน
ยิ่ง งานคราฟต์รักษ์โลก นี้ ผลิตออกมาในรูปแบบของ ของตกแต่งบ้าน ยิ่งจะโดนใจผู้คนที่ส่วนใหญ่มักใช้เวลา อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ในช่วงนี้ จึงมักจะมองหาของตกแต่งบ้านทำมือ มีสไตล์ และเป็นชิ้นงานคุณภาพมาตกแต่งบ้าน 

ธุรกิจอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 5 ชนิด

ดังนั้น แนวคิดในการต่อยอดปั้น “วัตถุดิบท้องถิ่น” สู่ “งานคราฟต์รักษ์โลก”ที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ แต่คงความโดดเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ อาทิ งานจักสานตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์จักสาน ไปจนถึง กระเป๋ากระจูดไซส์มินิ ดีไซน์เก๋สำหรับใส่สมาร์ทโฟน หรือหน้ากากอนามัยจากผ้าทอ
เหล่านี้ ล้วนอยู่ในนิยาม อุตสาหกรรมงานฝีมือและหัตถกรรม ที่ฝีมือคนไทยนั้นได้รับการยอมรับ ไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่ผู้คนทั่วโลกต่างชื่นชอบและชื่นชมทั้งในความงดงาม ประณีต และไม่เหมือนใครของชิ้นงานคราฟต์ของไทยกันทั้งนั้น ยืนยันได้ด้วยข้อมูลทางสถิติจาก ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ที่เคยระบุว่า อุตสาหกรรมหัตถกรรมของไทย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 87,000 ล้านบาท ทีเดียว

ที่มา :

  • รายงานข่าว เรื่อง “กสอ.แนะ 5 อุตสาหกรรมครัวเรือน ปั๊มรายได้ที่บ้านสู้โควิด-19” จากเว็บไซต์ mcot.net
  • รายงานข่าว เรื่อง “ชวนลูก-หลาน ส่งอาหารแห้ง เก็บได้นาน สร้างโภชนาการดีให้ผู้สูงวัย โดย Panjawara Boonsrangsomเผยแพร่ในเว็บไซต์ สสส. (วันที่ 14 เมษายน 2563)
  • ข่าวจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ “กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ผ้าฝ้ายมัสลินเหมาะทำหน้ากากผ้ามากกว่าผ้าชนิดอื่น”

ค้นหาหลากหลายเคล็ดลับ ไอเดีย เทคนิค ทำเงิน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

การใช้ชีวิตในช่วง Pandemic situation จงอยู่กับมันและ Move on

พลิกวิกฤตด้วย Go Online ขายง่ายๆ ได้ที่บ้าน

ธุรกิจอาหารหลังโควิด-19 โอกาสแจ้งเกิดของ ‘แบรนด์ใหม่’

Post Views: 2,651

  • TAGS
  • Covid-19
  • งานคราฟต์
  • งานฝีมือ
  • ทำเงิน
  • น้ำผลไม้
  • ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
  • ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหาร
  • ฝ่าวิกฤตโควิด-19
  • สร้างรายได้
  • หน้ากากผ้า

Previous article11 จังหวัดสำลัก ‘ฝุ่นพิษ’ เจ็บนานกว่า ‘โควิด’

Next articleCOVID-19 Global Report Vol.24

ธุรกิจอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างมา 5 ชนิด

Praornpit Katchwattana

https://www.salika.co

เริ่มต้นขีดเขียนในฐานะ สื่อมวลชน กับงานผู้สื่อข่าวประจำกองประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปี 2546 ก่อนไปหาประสบการณ์ชีวิตที่เมลเบิร์น ออสเตรเลียมา 1 ปี และกลับมายึดอาชีพ “นักเขียน” จริงจัง กับการเป็น กองบรรณาธิการนิตยสารชีวจิต 3 ปี หลังจากนั้นคิดว่าน่าจะเปลี่ยนสายไปทำงานในบริษัท PR agancy ได้ 6 เดือน เมื่อรู้ว่าไม่ถูกจริต เลยออกมาเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารฟีลกู้ดอย่าง Happy+ อยู่ 1 ปี สัมภาษณ์ทั้งดาราและคนบันดาลใจ ก่อนเข้าสู่ระบบงานประจำอีกครั้งกับนิตยสาร MBA กับการเป็นนักเขียนที่รับผิดชอบในเซคชั่นหลักสูตร MBA ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ สั่งสมประสบการณ์อยู่ 3 ปี ก็ได้เวลา Upskill สู่งาน Online content writer ที่ใช้ความชอบและความหลงใหลในการถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ความรู้ใหม่ๆ ในยุค Education 4.0 อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

อุตสาหกรรมมี 9 ประเภท อะไร บ้าง

ทั้งนี้ ได้มีการศึกษาสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญจำนวน9 อุตสาหกรรม ได้แก่1 อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป 2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, 3อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน, 4อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ, 5อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, 6 อุตสาหกรรมเคมีภัณท์และพลาสติก, 7อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า,8 อุตสาหกรรม ...

ธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นแบบไหน

กิจการอุตสาหกรรม (Manufacturing Firm) หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทหนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์ในการแปรสภาพ วัตถุดิบ โดยการใช้แรงงานคนหรือใช้เครื่องจักร เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าสำเร็จรูป สำหรับจำหน่ายให้กับลูกค้าโดยตรง หรือ จำหน่ายให้กับธุรกิจอื่นที่จะนำไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง

กิจกรรมอุตสาหกรรมมีกี่ประเภท

การแยกประเภทอุตสาหกรรมตาม ลักษณะของการผลิต เป็นเกณฑ์ จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ อุตสาหกรรมเบื้องต้น หรืออุตสาหกรรมที่ 1 เป็นการผลิตเพื่อให้ได้วัตถุดิบไปใช้ประกอบการอย่างอื่น เช่น การกสิกรรม การประมง การทำเหมืองแร่ อุตสาหกรรมที่ 2 เป็นการผลิตวัตถุสำเร็จรูป เช่น การทำอาหารกระป๋อง การสีข้าว

ธุรกิจอุตสาหกรรมมีลักษณะอย่างไร

กิจการอุตสาหกรรมมีลักษณะการดาเนินการโดยการจัดหาวัตถุดิบผ่านกระบวนการผลิต แปรสภาพออกมาเป็นสินค้าสาเร็จรูปเพื่อจาหน่ายมีต้นทุนการผลิตประกอบไปด้วยวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และมีค่าใช้จ่ายในการผลิต ส่วนกิจการซื้อขายสินค้าไม่มีกระบวนการผลิต การดาเนินการเริ่มต้นจากการซื้อสินค้าสาเร็จรูปจากบุคคลภายนอกมาจาหน่ายทาให้มีข้อ ...