ประเภทของอาชีพคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

เกมมาสเตอร์ (Gamemaster) หรือ จีเอ็ม (GM) เป็นชื่อของตำแหน่งที่รับผิดชอบงานการดูแล และการให้บริการเกมออนไลน์ ที่ต้องมีการติดต่อกับลูกค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งมักมีความสับสนกับ คอลเซ็นเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะงานที่ต้องรับผิดชอบคล้ายคลึงกัน โดยมากส่วนที่แตกต่างกันระหว่างสองตำแหน่งนี้คือเกมมาสเตอร์มักมีความอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีต่างๆในเกมมากกว่า เช่น มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบตัวละครหน้าที่ในการดูแลการบริการในตัวเกมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม หรือ การป้องกันการทุจริตของผู้เล่น เป็นต้น ในขณะที่ คอลเซ็นเตอร์นั้นโดยมากมักจะมีหน้าที่ในการติดต่อกับผู้เล่นเป็นตัวกลางที่คอยเชื่อมระหว่างผู้เล่นกับบริษัทผู้ให้บริการเป็นหลักในหลากหลายช่องทาง ได้แก่ การรับสายโทรศัพท์ การตอบคำถามในเวปบอร์ดอย่างไรก็ตามในประเทศไทย บริษัทที่มีการแบ่งหน้าที่ระหว่าง เกมมาสเตอร์ และคอลเซ็นเตอร์อย่างชัดเจนนั้น มีเพียงบริษัทเดียวคือ บริษัท เอเซียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ส่วนบริษัทอื่นๆมักจะรวบเอาหน้าที่ของทั้งสองตำแหน่งไว้ด้วยกัน เพื่อให้ง่ายในการบริหารงาน และประหยัดทรัพยากรบุคคล

นักเขียนโปรแกรม หรือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) มีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมสามารถหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้าน หรือผู้ที่สามารถเขียนรหัสซอฟต์แวร์ได้หลากหลายข้อมูล

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) คือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์เช่นในการออกแบบ การวางแผนพัฒนา ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม โดยอาจมีส่วนร่วมในระดับทั้งโครงงาน แทนการดูแลส่วนของชิ้นงาน ซึ่งในกลุ่มนี้อาจรวมถึงโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์

แบล็กแฮต (black hat) หรือ แคร็กเกอร์ (cracker) ผู้ที่ใช้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์ในทางที่ผิด มีลักษณะคล้ายกับแฮกเกอร์ โดยอาจใช้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่นใช้ความสามารถในการขโมยข้อมูลสำคัญจากคอมพิวเตอร์ของนาย ก เพื่อนำไปขายให้นาย ข

ผู้ดูแลระบบ หรือ แอดมิน (System administrator, systems administrator หรือ sysadmin) เป็น บุคคลที่ถูกว่าจ้างเพื่อที่จะดูและจัดการระบบหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของผู้ดูแลระบบมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือโครงการ โดยทั่วไปผู้ดูแลมักจะทำหน้าที่ติดตั้ง ตอบคำถาม ดูแลเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่น รวมถึงการวางแผนงาน การดูแล ควบคุมโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ผู้ดูแลอาจมีหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ร่วมไปด้วย ในด้านการเขียนโปรแกรม รวมไปถึงการเตรียมตัว และสอนการใช้งานต่อผู้ใช้ทั่วไป

เว็บมาสเตอร์ (webmaster) คือบุคคลผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบ การพัฒนา การดูแลการตลาด และการบำรุงรักษาเว็บไซต์ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ เว็บมาสเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนหรือจัดการความคิดเห็นของผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ เว็บมาสเตอร์อาจเรียกเป็นอย่างอื่นได้เช่น ผู้ดูแลเว็บไซต์ (website administrator) ผู้สร้างเว็บ ผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ออกแบบเว็บ เป็นต้น

อดีตที่ผ่านมาอาชีพสุดเจ๋งที่เป็นเทรนด์ของโลกวนเวียนอยู่ในอาชีพรายได้ สูง อย่างเช่น ที่ปรึกษาด้านการเงิน นักบิน และศัลยแพทย์ ส่วนคนเรียนทางด้านวิศวกรและไอทีมักถูกมองว่าเป็นเด็กเนิร์ดที่หมกมุ่นอยู่ กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ แอบเล่นเกมทั้งวันหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่สตีฟ จ็อบส์และสารพัดสินค้าจากแอปเปิ้ลมหัศจรรย์ของเขาทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ทุกวันนี้บรรดาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กลายเป็นเป้าหมาย ที่เด็กรุ่นใหม่จำนวนมากอยากพิชิตให้ได้

 

คลิกเพื่อดูอินโฟกราฟฟิค

 

“การปฏิวัติเทคโนโลยีที่ เกิดขึ้นทำให้คนที่เฝ้ามองปรากฏการณ์อย่างเราๆ รู้สึกเพลิดเพลินมาก ผู้มีความรู้ทางเทคนิคที่สามารถสร้างและจัดการซอฟต์แวร์ที่ดีได้ เปรียบเสมือนมีใบเบิกทางสู่ความก้าวหน้าทางอาชีพ” Tony Lee นักเขียนจาก CareerCast กล่าว “ความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ในเชิงลึกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วิศวกรด้านซอฟต์แวร์จึงถือเป็นดาวรุ่งของโลกการทำงานในปัจจุบัน รวมถึงอาชีพอย่างนักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์และนักพัฒนาเว็บไซต์ด้วยเช่น กัน”

 

จากรายงานการสำรวจงานยอดนิยมของ CareerCast พบว่า วิศวกรคอมพิวเตอร์เป็นอาชีพที่มีรายได้สูงและเป็นที่ต้องการตัวของนายจ้าง จากทั่วทุกมุมโลก “ปัญหาของการพัฒนาไอทีในปัจจุบันคือ เรามีบัณฑิตที่จบด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อความต้องการ บุคลากรด้านไอทีที่เกิดขึ้นทั่วโลก” Michael Buryk ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ จาก Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) กล่าว “ส่วนวิศวกรไฟฟ้าก็กำลังเป็นอาชีพที่น่าจับตามองเช่นกัน เพราะโลกกำลังตื่นตัวกับเรื่องพลังงานทดแทนและโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)”

 

อีกอาชีพหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและน่าสนใจไม่แพ้กันคือ สาขาวิชาวิศวกรปิโตรเลียม ผู้ทำงานเกี่ยวกับการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ งานด้านนี้ต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และพร้อมเดินทางไปทำงานยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกที่มีแหล่งพลังงานปิโตรเลียมอยู่ใต้ผืนแผ่นดิน อย่างเช่น เพนซิลเวเนีย ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย ฯลฯ

 

จากข้อมูลของ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในอเมริกา พบว่าในปี 2009 ผู้จบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมราว 500,000 คน จบปริญญาโทประมาณ 134,000 คน และปริญญาเอก 41,000 คน แต่นั่นก็ยังไม่สามารถผลิตบุคลากรได้เพียงพอกับความต้องการของตลาดแรงงานได้

 

เรียนวิศวกรรมศาสตร์ในต่างประเทศ
ค้นหาทุนด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

 

แน่นอนว่างานที่เป็นที่ต้องการตัวของนายจ้างและมีค่าตอบ แทนสูงเหล่านี้ ย่อมมีความยากและความกดดันที่ต้องแลก แต่หากคุณเป็นเนิร์ดตัวจริงผู้ไม่เกี่ยงที่จะต้องขลุกอยู่กับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หน้าตาประหลาดทั้งวัน งานด้านวิศวกรรมและไอทีที่มีรายได้สูงลิบติดอันดับต้นๆ ของอเมริกา ก็เป็นเส้นทางอาชีพที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว มาดูกันว่า 12 งานที่พร้อมจ่ายหนักเหล่านี้มีอะไรบ้าง

 

1. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)

ทำ งานวิจัย ออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ให้ทันสมัย และตอบโจทย์การใช้งานในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมหลากหลายชนิด

รายได้ประมาณ 90,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

2. นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Systems Analyst)

วางแผนและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้แก่องค์กรธุรกิจและองค์กรวิทยาศาสตร์ต่างๆ

รายได้ประมาณ 78,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

3. นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)

สร้างสรรค์และปรับปรุงเลย์เอาท์ เนวิเกเตอร์ และฟังก์ชั่นต่างๆ ของเว็บไซต์ทั้งทางอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต

รายได้ประมาณ 75,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

ดูหลักสูตรวิศวกรรม Software / Computer / Website development/  

 

 

ประเภทของอาชีพคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

 

 

4. วิศวกรปิโตรเลียม (หลักสูตรPetroleum Engineer)

วางแผนการขุดเจาะหาแหล่งพลังงานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ

รายได้ประมาณ 114,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

5. วิศวกรโยธา (Civil Engineer)

วางแผนและควบคุมงานก่อสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ อาคารบ้านเรือน รวมถึงสิ่งปลูกสร้างต่างๆ

รายได้ประมาณ 77,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

6. โปรแกรมเมอร์ (Computer Programmer)

มีหน้าที่หลักในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผล

รายได้ประมาณ 71,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

ประเภทของอาชีพคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

 

7. นักเขียนเชิงวิชาชีพ (Technical Writer)

นักเขียนที่สามารถแปลงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ ให้เป็นภาษาเข้าใจง่าย โดยยังได้ใจความสำคัญครบถ้วนถูกต้อง

รายได้ประมาณ 63,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

8. วิศวกรนิวเคลียร์ (Nuclear Engineer)

ทำการวิจัย ออกแบบ ตรวจสอบการดำเนินงาน และตรวจสอบการบำรุงรักษาของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอุปกรณ์โรงไฟฟ้า

รายได้ประมาณ 99,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

9. วิศวกรการบินและอวกาศ (Aerospace Engineer)

ออกแบบ พัฒนา และทดสอบเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องการผลิตเครื่องบินพาณิชย์ เครื่องบินทางการทหาร และยานอวกาศ

รายได้ประมาณ 97,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

10. วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer)

พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกล ประสานงานกับฝ่ายเทคนิคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

รายได้ประมาณ 78,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

11. วิศวกรไฟฟ้า (Electrical Engineer)

ดำเนินการวิจัย วางแผน ออกแบบ และทดสอบการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า

รายได้ประมาณ 87,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

12. นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Designer)

ออกแบบและพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

รายได้ประมาณ 76,000 ดอลล่าร์ต่อปี

 

ถ้าสนใจสาขานี้แล้วแต่ว่าอยากจะศึกษาทางไหนเป็นพิเศษลองดูได้ที่รวมหลักสูตรวิศวกรรม

ท็อป 9 สาขามาแรงประจำปี 2017-2018

เรียนต่อวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในต่างประเทศ

 

 

สรุป

ตั้งแต่ปี 2017 มาจะเห็นได้เลยว่าสายคอมพิวเตอร์หรือสายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจะขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นในสังคม ไม่แปลกที่ความต้องการของตลาดแรงงานจะมีมากขึ้น อย่างไรก็ตามแต่ละสายงานก็เป็นสายที่ละเอียดอ่อน บางคนอาจคิดว่าสายวิศวะ ไอทีก็แค่คิด เขียนโค้ด จำสูตร คำนวน แต่จริงๆ แล้วศาสตร์นี้ก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่งไม่ต่างจากมนุษยศาสตร์ ถ้าใครสนใจงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็ต้องมีแพสชั่นกันจริงจัง ไม่ว่าสายไหนจะได้เงินมากน้อยกว่ากันอย่างไร ทางเลือกที่ดีที่สุดคือไปทางที่เราคิดว่าใช่จะแฮปปี้ระยะยาวมากกว่านะ :D

อาชีพที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

เรียนสายวิศวะและไอที งานอะไรรายได้สูงสุด.
1. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ... .
2. นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Systems Analyst) ... .
3. นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer) ... .
4. วิศวกรปิโตรเลียม (หลักสูตรPetroleum Engineer) ... .
5. วิศวกรโยธา (Civil Engineer) ... .
6. โปรแกรมเมอร์ (Computer Programmer).

งานอาชีพคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร *

งานอาชีพคอมพิวเตอร์ หมายถึง งานบริการด้าน คอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์และ ระบบสารสนเทศทั้งระบบฮาร์ดแวร์ ( Hard ware )

ทำงานหน้าคอมมีงานอะไรบ้าง

นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาโปรแกรม ผู้พัฒนาเกม ผู้ดูแลเว็บไซต์ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิจัย นักสถิติ อาจารย์สอนวิชาคอมพิวเตอร์ นักการตลาดอิเล็กทรอนิกส์

อาชีพเกี่ยวกับไอทีมีอะไรบ้าง

ทำงานไอที อาชีพสาย IT ใดเหมาะสมกับคุณ.
1. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ... .
2. ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ (Administrator) ... .
3. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis ) ... .
4. นักข่าวสายไอที ... .
5. บรรณาธิการนิตยสารไอที ... .
6. นักออกแบบเว็บ (Web Designer) ... .
7. พนักงานขาย ... .
8. คุณครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์.