ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง

มนุษย์ติดโซเชียล พร้อมพาส่องหนุ่มหล่อสาวสวยมากความสามารถ ชอบอัปเดตเทรนด์ของโลก มีอะไรปังๆ ดังๆ ก็ไม่พลาดเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

แต่ละพื้นที่ท้องถิ่นนั้นจะมีประเพณีที่แตกต่างกันออกไป แสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิต วัฒนธรรมที่เรียกว่าเป็นจุดเด่นของในภูมิภาคนั้นๆ นั่นเอง ซึ่งในครั้งนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาศึกษากันหน่อยว่า ประเทศไทยเราในแต่ละภาคมีประเพณีอะไรบ้าง

ประเทศไทยมีกี่ภูมิภาค

การแบ่งอย่างเป็นทางการ

การแบ่งภูมิภาคแบบ 6 ภูมิภาค ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 และจัดให้เป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520 ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ การแบ่งแบบนี้ประกอบไปด้วย 6 ภูมิภาค ได้แก่

  1. ภาคเหนือ
  2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. ภาคตะวันตก
  4. ภาคกลาง
  5. ภาคตะวันออก
  6. ภาคใต้

การแบ่งแบบสี่ภูมิภาค

การแบ่งภูมิภาคแบบ 4 ภูมิภาค ใช้ในบางบริบทในการบริหารและสถิติ และยังเป็นการแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมแบบกว้าง ๆ โดยจัดให้ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกรวมอยู่ในภาคกลาง ในขณะที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี อยู่ในภาคเหนือ การแบ่งแบบนี้ใช้กันมากในโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อพูดถึงสภาพอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค

  1. ภาคเหนือ
  2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. ภาคกลาง
  4. ภาคใต้

ประเพณีต่างๆ ในภาคเหนือ

  • ประเพณียี่เป็ง
  • ประเพณีทานขันข้าว
  • ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
  • ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)
  • ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า
  • ประเพณีสลากภัต

ประเพณีต่างๆ ในภาคกลาง

  • ประเพณีตักบาตรดอกไม้
  • ประเพณีกวนข้าวทิพย์
  • ประเพณีตักบาตรเทโว
  • ประเพณีทำขวัญข้าว
  • ประเพณีกำฟ้า
  • ประเพณีโยนบัว
  • ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ

ประเพณีต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ประเพณีแห่ผีตาโขน
  • ประเพณีแห่นางแมว
  • ประเพณีบุญเบิกฟ้า
  • ประเพณีบุญผะเหวด
  • งานประเพณีตีช้างน้ำนอง
  • ประเพณีแซนโฎนตา
  • ประเพณีทอดกฐิน
  • ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
  • ประเพณีบุญบั้งไฟ
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา
  • ประเพณีไหลเรือไฟ
  • ทอดผ้าป่ากลางน้ำ
  • เทศกาลผลไม้
  • ทำบุญกลางทุ่ง
  • ทอดผ้าป่าโจร

ประเพณีต่างๆ ในภาคใต้

  • ประเพณีให้ทานไฟ
  • ประเพณีสารทเดือนสิบ
  • ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
  • ประเพณีลากพระ
  • ประเพณีอาบน้ำคนแก่
  • ประเพณีสวดด้าน
  • ประเพณีแห่นางดาน
  • ประเพณีกวนข้าวยาคู
  • ประเพณียกขันหมากพระปฐม
  • ประเพณีตักบาตรธูปเทียน

โหลดเพิ่ม

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ประเพณีไทยประเพณีไทย 4 ภาคประเพณีต่างๆ ในภาคเหนือประเพณีต่างๆ ในภาคกลางประเพณีต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเพณีต่างๆ ในภาคใต้lifestyledont miss

นิยามความหมายของประเพณีไทย คือ ระเบียบแบบแผนที่ถูกที่ควรในทางปฏิบัติที่ทุกคนล้วนเห็นว่าดี และเป็นที่ยอมรับของผู้คนส่วนใหญ่ นำหลักระเบียบแบบแผนนั้นมาปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา อีกทั้งยังรวมถึงความเชื่อ ,ความคิด ,การกระทำ ,ค่านิยม ,ทัศคติ ,ศีลธรรมจริยธรรม ,จารีต ,วัฒนธรรม และการประกอบพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยอดีตสืบเนื่องกันมาเรื่อยๆ จนถึงยุคสมัยปัจจุบัน

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง
ประเพณีไทย

หากพูดถึงประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อในเรื่องลี้ลับหรืออำนาจเหนือมนุษย์ ก็มีเรื่องเล่าขานเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางเรื่องที่เล่าขานสืบต่อกันมาก็มีเรื่องของพระพุทธเจ้าแฝงอยู่ในเรื่องนั้นด้วย หรือเรื่องเกี่ยวกับฟ้าดินอากาศที่สามารถดลบันดาลตามคำขอของคนได้ก็มีเช่นกัน อาทิเช่น ขอพลังเหนืออำนาจจากฟ้าให้ฝนตก หรือขอพลังเหนืออำนาจจากฟ้าให้ฝนหยุดตก เป็นต้น (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคล) และพจนานุกรมภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้นิยามของคำว่าประเพณีของไทยไว้ว่า ‘ขนบธรรมเนียมแบบแผน’

ประเพณีต่างๆ ในประเทศไทยหากแบ่งตามหลักอย่างเป็นทางการจะสามารถแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคเหนือ ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,ภาคตะวันตก ,ภาคกลาง ,ภาคตะวันออก และภาคใต้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะแบ่งกลุ่มตามลักษณะประเพณีวัฒนธรรมที่คล้ายกันแบบกว้างๆ กล่าวคือมีการรวมภูมิภาคให้เหลือเพียง 4 ภูมิภาค โดยจัดแบ่งดังนี้

  1. ภาคเหนือ
  2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. ภาคกลาง : จะรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้าไปด้วย
  4. ภาคใต้
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างประเพณีสำคัญของไทยในภาคเหนือ

  1. ประเพณีทานขันข้าว
  2. ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)
  3. ประเพณีสลากภัต
  4. ประเพณียี่เป็ง
  5. ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
  6. ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า เป็นต้น

ตัวอย่างประเพณีสำคัญของไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. ประเพณีแห่นางแมว
  2. ประเพณีแห่ผีตาโขน
  3. ประเพณีบุญเบิกฟ้า
  4. ประเพณีบุญผะเหวด
  5. ประเพณีแซนโฎนตา
  6. ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
  7. ประเพณีบุญบั้งไฟ
  8. ประเพณีแห่เทียนพรรษา
  9. ประเพณีไหลเรือไฟ
  10. ทอดผ้าป่ากลางน้ำ เป็นต้น

ตัวอย่างประเพณีสำคัญของไทยในภาคกลาง

  1. ประเพณีกวนข้าวทิพย์
  2. ประเพณีทำขวัญข้าว
  3. ประเพณีโยนบัว
  4. ประเพณีตักบาตรดอกไม้
  5. ประเพณีตักบาตรเทโว
  6. ประเพณีกำฟ้า
  7. ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ เป็นต้น

ตัวอย่างประเพณีสำคัญของไทยในภาคใต้

  1. ประเพณีกวนข้าวยาคู
  2. ประเพณีให้ทานไฟ
  3. ประเพณีสารทเดือนสิบ
  4. ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
  5. ประเพณีลากพระ
  6. ประเพณีอาบน้ำคนแก่
  7. ประเพณีสวดด้าน
  8. ประเพณีแห่นางดาน
  9. ประเพณีกวนข้าวยาคู
  10. ประเพณียกขันหมากพระปฐม เป็นต้น

เราได้รวบรวมประเพณีไทยเพื่อให้ทุกคนได้ศึกษาเบื้องต้น แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างประเพณีในประเทศไทยส่วนน้อยเท่านั้น ยังมีประเพณีต่างๆ ของไทยที่น่าสนใจให้คุณได้ค้นคว้าถึงประวัติความเป็นมา ความเชื่อส่วนบุคคล ความลี้ลับ ส่งผลให้ประเพณีไทยมีความน่าค้นหา น่าพิศวง และน่าสนุกยิ่งขึ้น

ประเพณีวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

ขอยกตัวอย่างประวัติความเป็นมาของประเพณีในประเทศไทยแต่ละภูมิภาค เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ความศรัทธาของผู้คนในแต่ละภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน และได้สืบทอดการปฏิบัติประเพณีนั้น ๆ จากรุ่นสู่รุ่น

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ความเป็นมาประเพณีอุ้มพระดำน้ำของภาคเหนือ

เมื่อราวประมาณ 400 ปีก่อน เหล่าชาวบ้านได้ออกหาปลาที่แม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ทำเป็นประจำทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งไม่มีชาวบ้านคนใดสามารถจับปลาได้เลยสักตัว หลังจากนั้นได้เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น อยู่ดีๆ บริเวณน้ำที่มักจะไหลหลากกลับหยุดนิ่ง ปรากฏขึ้นเป็นพรายน้ำผุดขึ้นมาพร้อมกับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง จากนั้นชาวบ้านจึงนำพะพุทธรูปนั้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ บูชาให้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ และได้มีการจัดประเพณีอุ้มพระดำน้ำนี้ขึ้นทุกปีในวันแรมสิบห้าค่ำเดือนสิบ เพื่อเป็นการบูชาสักการะหนองน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และได้มีการสืบเนื่องการปฏิบัติประเพณีนี้จนมาถึงปัจจุบัน

ประเพณีแห่นางแมว

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง
ประเพณีแห่นางแมว

ความเป็นมาประเพณีแห่นางแมวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ด้วยความเชื่อที่ว่าสาเหตุที่ฝนไม่ตกมีหลายปัจจัยอาจเป็นเพราะ ฟ้าดินมีการเปลี่ยนแปลง ,ประชาชนไม่ปฏิบัติตามศีลธรรม หรือเจ้าเมืองหรือผู้ปกครองเมืองไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม ทำให้ฟ้าดินลงโทษส่งผลให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาลหรือฝนไม่ตกเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ผืนดินแห้งแล้งทำการเพาะปลูกไม่ขึ้นเพราะขาดน้ำที่จะมาหล่อเลี้ยงนาไร่ นาสวน ชาวบ้านจึงมีความคิดที่ว่าแมวเป็นสัตว์ที่กลัวน้ำ กลัวฝน แมวจะร้องทันทีหากโดนน้ำ เลยนำแมวมาแห่เพื่อแก้เคล็ด เพราะเชื่อว่าหากฝนตกแมวจะร้องทันที จึงนำแมวมาแห่และสาดน้ำใส่ทำให้แมวร้องสุดเสียงหลังจากนั้น 3-7 วันฝนจะตกตามคำร้องขอ ก่อให้เกิดเป็นประเพณีแห่นางแมว แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีอย่างฝนเทียมทำให้ไม่ค่อยได้พบเห็นการประเพณีแห่นางแมวในสังคมไทยสักเท่าไหร่

ประเพณีทำขวัญข้าว

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง
ประเพณีทำขวัญข้าว

ความเป็นมาประเพณีทำขวัญข้าวของภาคกลาง

ถือเป็นพิธีกรรมที่ชาวไร่ ชาวนาต่างมีความเชื่อที่ว่า การบูชาแม่โพสพหรือทำพิธีกรรมทำขวัญข้าว จะเป็นสิริมงคลให้กับพื้นไร่ พื้นนาให้ความอุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกง่าย มีผลผลิตที่ดีงาม อีกทั้งยังเชื่อว่าแม่โพสพยังคอยคุ้มครองให้การทำไร่ ทำนาปราศจากโรคภัยจากศัตรูต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแมลงหรือภัยจากธรรมชาติอีกด้วย ประเพณีทำขวัญข้าวนี้ยังถือเป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของชาวไร่ ชาวนา เป็นขวัญและกำลังใจให้มีพลังกำลังในการเพาะปลูกต่อไป

ประเพณีกวนข้าวยาคู

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอะไรบ้าง
ประเพณีกวนข้าวยาคู

ความเป็นมาประเพณีกวนข้าวยาคูของภาคใต้

มีความเชื่อที่ว่า ในพุทธประวัตินางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาสยาคูให้แก่พระพุทธเจ้า หลังพระพุทธเจ้าเสวยก็ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ ชาวไทยจึงมีความเชื่อว่าข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ ผู้ใดได้กินจะมีสมองที่เป็นเลิศ ,สติปัญญาดี ,ขจัดโรคร้าย ,อายุยืนยาน อีกทั้งยังสมความปรารถนาในทุกๆ เรื่องที่หวังอีกด้วย

และนี่เป็นตัวอย่างประวัติความเป็นมาของประเพณีไทยต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค จะเห็นได้ว่าประเพณีไทยนั้น นอกจากการปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมา ก็ยังมีความเชื่อที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งความเชื่อต่างๆ เป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคลเพียงเท่านั้น ควรใช้วิจารณญาณในการอ่านข้อมูล แต่ประเพณีไทยทั้งหมดล้วนมีเจตนาที่ดีที่อยากให้คนรุ่นหลังได้ปฏิบัติตามและรักษาประเพณีที่ดีงามไปชั่วรุ่นลูกรุ่นหลาน

ขนบธรรมเนียมประเพณีหมายถึงอะไรได้แก่อะไรบ้าง

ความหมายของ “ขนบประเพณี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ ความหมายไว้ว่า “จารีตประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว” ขนบประเพณี หมายถึง “ความประพฤติที่หมู่ชนหนึ่งถือเป็นแบบแผน กันมาอย่างเดียวกันและสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบ ก็ผิดประเพณีหรือผิดจารีตประเพณี”

ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับอาชีพมีอะไรบ้าง

ประเพณีการทำขวัญข้าว ประเพณีแห่นางแมว เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาให้รู้ว่า การทำนาปลูกข้าวของตนนั้น จะไม่สูญเปล่า เพราะพระแม่โพสพเป็นผู้ดูแล และเมื่อมีการเกี่ยวข้าวก็จะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี และที่สุดคือการร่วมสนุกสนานเมื่อทุกคนเหนื่อยยาก และประสบความสำเร็จด้วยดี

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยใด เป็นประเพณีทางสังคม

2. ประเพณีเกี่ยวกับสังคม หรือประเพณีส่วนรวม เป็นประเพณีที่ประชาขนส่วนใหญ่ในสังคมถือปฎิบัติ ได้แก่ ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประเพณี สงกรานต์ ประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น ประเพณีส่วนร่วมที่คนไทยส่วนมากยังนิยมปฎิบัติกันเช่น

ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมมีความสำคัญอย่างไร

-เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติของเผ่าพันธุ์ท้องถิ่น -เป็นสิ่งที่แสดงถึงเกียรติและความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่นและของคนในชาติ ทำให้เกิดความรัก หวงแหน เห็นคุณค่า -เป็นสิ่งก่อให้เกิดความรู้สึก ความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ เป็นความมั่นคงของชาติ