เส้นประสาทหูเสื่อมมีอาการอย่างไร

วัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสมอง ทุกอย่างจะเริ่มทำงานช้าลงในขณะที่อายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการทำงานของประสาทการรับเสียงที่เริ่มเสื่อมลงด้วยเช่นกัน

 

4 ข้อควรรู้ ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ มีดังนี้

เส้นประสาทหูเสื่อมมีอาการอย่างไร

1. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ แบบค่อยเป็นค่อยไป

ในวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นการสูญเสียความสามารถทางการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป ของหูทั้งสองข้าง เป็นอาการที่เกิดได้ทั่วไปซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น

และพบประมาณ 30 คน จาก 100 คนในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป บางคนจึงไม่รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงแรก และยังคงได้รับผลกระทบไม่มาก

 

 


 

เส้นประสาทหูเสื่อมมีอาการอย่างไร

2.ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบ “มากกว่าที่หู”

ผู้มีอาการประสาทหูเสื่อมตามอายุที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยฟังมีแนวโน้มที่จะมีความรู้สึกหดหู่มากกว่าผู้ที่ประสาทหูเสื่อมที่ใส่เครื่องช่วยฟัง*

เนื่องจากปัญหาการฟังและการสื่อสาร ทำให้อยากแยกตัวเองออกจากคนรอบข้าง ครอบครัว และเพื่อน ส่งผลให้เกิดความหดหู่ เศร้า และรู้สึกโดดเดี่ยว นอกจากนั้นความบกพร่องทางการได้ยินอาจนำไปสู่อันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น ไม่ได้ยินเสียง รถ ที่กำลังวิ่งเข้ามาขณะเดินอยู่บนถนน

 


 

3. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ มักมีปัญหาในการฟังเสียงสูง ได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้

อาการของผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามอายุ โดยทั่วไปรู้สึกว่าได้ยินเสียงคนอื่นพูดพึมพำ มีปัญหาการได้ยินเสียงสูงเช่น เสียงนาฬิกาเดิน มีปัญหาการฟังและความเข้าใจในบทสนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่มีเสียงรบกวนมาก ฟังเสียงผู้ชายง่ายกว่าเสียงผู้หญิง บางเสียงที่รู้สึกว่าดังมากเกินไปและน่ารำคาญ หรือมีเสียงดังในหู

ประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่แล้วจะส่งผลต่อการรับเสียงสูงจึงทำให้รู้สึกว่าได้ยินเสียงแต่จับคำพูดไม่ได้ ดังนั้นเรามักสังเกตว่าผู้สูงอายุยังคงพูดเสมอว่าได้ยินได้เห็นซึ่งจริงๆ แล้วคือการได้ยินแต่จับคำพูดไม่ได้ เนื่องจากเสียงบางเสียงผู้สูงอายุไม่สามารถได้ยิน

 


 

เส้นประสาทหูเสื่อมมีอาการอย่างไร

4. ประสาทหูเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ เสื่อมตามอายุ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ และปัญหาทางด้านสุขภาพ

ประสาทหูเสื่อมตามอายุไม่สามารถป้องกันได้ ไม่สามารถรักษาให้หายได้ สาเหตุของประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ขนรับเสียงในอวัยวะของหูชั้นใน ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ อายุที่มากขึ้น ปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ผลข้างเคียงจากยา เช่น แอสไพริน ยาเคมีบำบัด และยาปฏิชีวนะบางตัว

 


 

สมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้านการได้ยินต้องการเสียงเข้าไปกระตุ้น เพื่อให้คงสมรรถภาพในการทำงานของประสาทการได้ยิน หากไม่มีเสียงเข้าไปกระตุ้น ประสิทธิภาพของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้านการได้ยินจะเสื่อมถอยลง

 

การช่วยเหลือผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามวัยด้วยเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังจะช่วยให้การได้ยินดีขึ้น แม้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีความบกพร่องทางการได้ยินแต่เป็นที่น่าเสียดายว่ายังได้รับการตรวจการได้ยินในอัตราน้อยกว่าที่เป็นอยู่

เมื่อมีเสียงผ่านเข้ามา ใบหู จะช่วยดักเสียงให้เข้าช่องหู เสียงที่กระทบแก้วหูจะส่งผ่านไปยังหูชั้นกลาง ทำให้กระดูกหูค้อน ทั่งและโกลน ขยับ พลังงานเสียงจะส่งต่อเข้าไปยังอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เกิดกระแสประสาทส่งผ่านเส้นประสาทการได้ยินไปสมอ ทำให้รับรู้และเข้าใจเสียงที่ผ่านเข้ามา

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน

  1. สูญเสียการได้ยินจากการนำเสียงเสื่อม เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง เช่น ขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบ ช่องหูตีบ หูผิดรูปแต่กำเนิด หูชั้นกลางอักเสบ กระดูกหูติดหรือหลุด การบาดเจ็บจากการกระแทกหรือจากแรงดันต่อหู
  2. สูญเสียการได้ยินจากประสาทหู เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นในหรือเส้นประสาทหู เช่น การรับเสียงดัง การใช้ยาที่เป็นพิษต่อหู การติดเชื้อของหูชั้นใน หูตึงเหตุสูงอายุ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน เนื้องอกของเส้นประสาทหู
  3. สูญเสียการได้ยินแบบผสม เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นนอก และ/หรือหูชั้นกลาง ร่วมกับ หูชั้นในและ/หรือเส้นประสาท
  4. สูญเสียการได้ยินจากสมอง เกิดจากพยาธิสภาพของก้านสมอง เช่น มีเนื้องอกในสมองหรือสมองขาดเลือด
  5. สูญเสียการได้ยินที่ไม่มีพยาธิสภาพใด ๆ เกิดจากสภาวะจิตใจ อารมณ์หรือแสร้งทำ ทำให้ระดับการได้ยินที่ตรวจได้แย่กว่าความเป็นจริงหรือผลตรวจเปลี่ยนแปลงโดยอธิบายไม่ได้ เช่น การแกล้งหูเสื่อมเพื่อหวังค่าตอบแทน

ข้อควรปฏิบัติ เพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยิน

  1. หลีกเลี่ยงการรับเสียงดัง หากจำเป็นควรใช้เครื่องมือป้องกันเสียง เช่น ปลั๊กอุดหู
  2. ไม่แคะหู
  3. ระมัดระวังการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ การติดเชื้อหวัด สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
  4. ดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป ออกกำลังกายและควบคุมโรคประจำตัว (ถ้ามี) อย่างสม่ำเสมอ
  5. หากมีอาการผิดปกติทางหู เช่น หนองไหลจากหู ปวดหู การได้ยินลดลง เสียงรบกวนในหู หรือเวียนศีรษะบ้านหมุน ควรมาพบแพทย์หู คอ จมูก
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เปน็ พิษต่อหู ควรตรวจสอบยาที่ใช้หรือแจ้งแพทย์ก่อนจ่ายยาให้ท่าน

รายการยาที่เป็นพิษต่อหู

ยากินหรือฉีด
1. ยาปฎิชีวนะ
1) Aminoglycosides
– Amikacin
– Dihydrostreptomycin
– Gentamicin
– Kanamycin
– Neomycin
– Netilmicin
– Paromomycin
– Spectinomycin
– Streptomycin
– Tobramycin
2) Macrolides
– Azithromycin
– Clarithromycin
– Erythromycin
– Ketolides (telithromycin)

3) Chloramphenicol
4) Polymyxin B
5) Vancomycin

2. ยาขับปัสสาวะ
– Furosemide
– Bumetanide
– Ethacrynic acid
– Others (piretanide, azosemide, triflocin, indapamide)
3. ยาต้านมะเร็ง
1) Platinum compound
– Cisplatin
– Carboplatin
– Oxaliplatin
– Others (nedaplatin, AMD-473, satraplatin)
2) Vinca alkaloids
– Vinblastine
– Vincristine
– Vinorelbine

3) Bleomycin
4) Nitrogen mustard
4. ยาลดการอักเสบ
– Salicylates (ASA)
– NSAIDs
– Quinine
5. ยาขับเหล็ก
– Desferrioxamine (DFO)
6. โลหะหนัก
– Mercury
– Lead
7. น้ำยาฆ่าเชื้อ
– Chlorhexidine
– Alcohol

ยาหยอดหู
– Aminoglycoside
– Gentamicin
– Neomycin/polymyxin
– Chloramphenicol

ข้อแนะนำ

ข้อแนะนำสำหรับผู้ฟังที่มีการสูญเสียการได้ยิน
1. เลือกสถานที่เงียบและมีแสงสว่างพอเพียง
2. มองหน้าคู่สนทนา อ่านปากและสังเกตการแสดงสีหน้า
3. ตั้งใจฟัง
4. ใช้เครื่องช่วยฟัง (ถ้ามี)
5. ค้นหาว่าเหตุใดจึงมีความลำบากในการสื่อสาร เช่น สาเหตุจากผู้พูด สิ่งแวดล้อม
เนื้อหาที่สื่อสาร หรือตนเอง
6. หากอยู่ในสถานการณ์ที่สื่อสารได้ลำบากควรแจ้งคู่สนทนาให้ชัดเจน เช่น หากผู้พูด
พูดเบาไป ควรบอกให้พูดดังขึ้น แทนคำพูดว่า “อะไรนะ”
7. แจ้งคู่สนทนาว่ามีการสูญเสียการได้ยิน
8. เตรียมพร้อมและวางแผนสำหรับการสนทนา หากอยู่ในสถานการณ์ที่สื่อสารได้ลำบาก
9. อย่าแกล้งทำเป็นว่าเข้าใจ ควรแจ้งให้ผู้พูดทราบ ว่าแท้จริงแล้ว ได้ยินว่าอย่างไร
10. คิดในด้านบวก อดทน และงดการต่อว่าผู้อื่น หรือตนเอง

ข้อแนะนำสำหรับผู้พูด เมื่อต้องพูดกับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยิน
1. ให้ผู้ฟังตั้งใจฟัง ก่อนจะเริ่มพูดอาจเรียกชื่อให้หันหน้ามาก่อน
2. ไม่มีสิ่งของหรือมือบังหน้าและปากขณะพูด
3. มองหน้าผู้ฟังให้ผู้ฟังเห็นหน้าและปากขณะพูด
4. งดพูดข้ามห้อง ระยะที่ดีที่สุดเมื่อพูด คือ ห่างประมาณ 3-6 ฟุต
5. พูดให้ช้าและชัดเจนอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องเน้นคำจนเกินปกติ
6. พูดดังขึ้น แต่ไม่ต้องตะโกน
7. พูดด้วยน้ำเสียงปกติ
8. ถ้าผู้ฟังไม่ได้ยิน ให้พูดซ้ำใหม่อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่ได้ยิน ใหเ้ปลี่ยนรูปประโยคใหม่
ไม่ควรพูดซ้ำเดิม
9. อย่าตัดผู้เสียการได้ยินออกจากวงสนทนา ควรช่วยให้มากที่สุด
10. คิดในด้านบวก อดทนและเข้าใจผู้ฟังที่มีการสูญเสียการได้ยิน

เอกสารอ้างอิง
1. http://www.vestibular.org/images/ear_diagram_lg.gif
2. พิชิต สิทธิไตรย์, สายสวาท ไชยเศรษฐ, สุวิชา แก้วศิริ, ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์ บรรณาธิการ. ตำราหู คอ จมูกสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4. เชียงใหม่: บริษัท แลงเกวจ เซ็นเตอร์ แอนด์ แอดเวอร์ทิสเมนท์ จำกัด; 2560.
3. https://www.who.int/deafness/hearing_impairment_grades/en/
4. https://www.who.int/medicines/areas/priority_medicines/BP6_21Hearing.pdf

Views: 3,375

เส้นประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร

ประสาทหูเสื่อม (Sensorineural Hearing Loss: SNHL) เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างภายในหูชั้นในหรือเส้นประสาทรับเสียงถูกทำลาย ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินหรือมีปัญหาในการฟัง โดยเป็นผลมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การได้ยินเสียงที่ดังมาก การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือหูเสื่อมสภาพไปตามอายุที่มากขึ้น เป็นต้น

ประสาทหูเสื่อมต้องทำอย่างไร

ให้ยาขยายหลอดลมเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น ยาวิตามินช่วยบำรุงประสาทหูที่เสื่อม ยาลดอาการเวียนศีรษะ นอนพักผ่อนเพื่อพักหู ลดการฟังเสียงดังที่ไม่จำเป็น เพื่อลดการรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าไปในหูชั้นกลาง (ถ้ามี) นอนยกศีรษะสูงประมาณ 30 องศา เพื่อให้มีความดันในชั้นในน้อยที่สุด

ประสาทหูเสื่อมหายเองได้ไหม

2. ในรายที่ไม่ทราบสาเหตุ มักจะมีโอกาสหายได้เองสูงถึงร้อยละ 60-70 ส่วนใหญ่การรักษามุ่งหวังให้มีการลดการอักเสบของประสาทหู และให้มีเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น ลดการรั่วของน้ำในหูชั้นในที่เข้าไปในหูชั้นกลาง (ถ้ามี)