แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน มีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติล้วนมีผลกระทบต่อประชาชนในโลกทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใดของโลกล้วนได้รับผลกระทบ ดังเช่นที่ปัญหาโลกร้อนได้ทำให้ประชาชนทุกคนได้รับรู้ด้วยตนเอง การกระทำใด ๆ ไม่ว่าส่วนใดในโลกจะมีผลกระทบต่อโลกที่เราอาศัยอยู่ ดังนั้นประชาชนทุกคนจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อโลกหรือสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ประชาชนในทุกภูมิภาคของโลกพึงร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1. ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดไม่ว่าอาหาร เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ไฟฟ้า เป็นต้น จะต้องลดปริมาณการใช้ลงให้เหลือเท่าที่จำเป็นต้องใช้

2. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า ทรัพยากรธรรมชาติจะต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การกินอาหารไม่ควรให้เหลือทิ้ง ใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจนกว่าจะหมดสภาพ การดูแลซ่อมแซมเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

3. ลดและเลิกการใช้สารเคมี การใช้สารพิษในชีวิตประจำวันและในการประกอบอาชีพจะต้องใช้ให้น้อยลงหรือเลิกใช้ โดยหันมาใช้สารธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพแทน

4. การใช้ทรัพยากรให้หลากหลาย เป็นการใช้ทรัพยากรชนิดใดชนิดหนึ่งในหลายวัตถุประสงค์ เช่น การใช้แหล่งน้ำทั้งในการทำประปา นันทนาการ และศึกษาวิจัย หรือใช้บ้านให้เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและที่ประกอบอาชีพ

5. การให้ความช่วยเหลือกัน ประเทศที่ร่ำรวยหรือพัฒนาแล้ว ควรให้ความช่วยเหลือประเทศยากจน ให้สามารถดำรงชีวิตโดยไม่ขาดแคลนหรือให้ความช่วยเหลือในการบูรณะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6. การปลูกป่า ทุกประเทศควรมีนโยบายปลูกป่าและการปลูกต้นไม้ในชุมชนหรือบ้านเรือน และให้ถือเป็นการปฏิบัติของประเทศที่สำคัญ รวมทั้งการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ไม้พื้นเมืองเพื่อการใช้สอยในชุมชน

7. การสร้างและพัฒนาแหล่งน้ำ ทุกประเทศจะต้องดำเนินการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก และสำหรับใช้สอยของประชาชนทั้งในเมืองและในชนบทรวมทั้งการป้องกันและปรับปรุงแหล่งน้ำและคุณภาพน้ำให้มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้

1.5 ประหยัดการใช้ทรัพยากร การใช้ทรัพยากรทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ๆ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ควรเป็นไปอย่างประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด

1.6 พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ทั้งในการเกษตร อุตสาหกรรม การสื่อสารคมนาคม และในครัวเรือน จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งจะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขฟื้นฟูสภาพแวดล้อม

1.7 ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่เหมาะสม ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต และการใช้ปัจจัยในการดำรงชีวิต จะต้องเป็นไปอย่างพอเหมาะกับกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศ

1.8 จัดการศึกษา การจัดการศึกษาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในชีวิตและธรรมชาติเพื่อให้ประชาชนเกิดทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติได้อย่างแท้จริง

โลกของเราเกิดขึ้นมาจากองค์ประกอบหลาย ๆ องค์ประกอบร่วมกัน จนกระทั่งกลายมาเป็นโลกที่มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด ธรรมชาติได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อทำให้โลกของเรานั้น มีความเหมาะสมต่อการเติบโต อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ต่าง ๆ แต่แล้วจากความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ จึงทำให้ธรรมชาติเหล่านั้นถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาการปล่อยควันพิษ อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การขับรถจากการใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง, การปล่อยควันเสียออกจากโรงงาน, การทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลองต่าง  ๆซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งมีชีวิตสัตว์น้ำ และพืชน้ำ เพราะฉะนั้นโลกในยุคปัจจุบันนี้จึงถึงคราวตื่นตัว หันมาดูแลใส่ใจอนุรักษ์ธรรมชาติกันมากยิ่งขึ้น โดยทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ทั้งนั้น

แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน มีอะไรบ้าง

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อโลกของเรา

การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านรวมเข้าด้วยกัน เริ่มจากต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วให้มีต่อไป และมีมากขึ้นในอนาคต ควบคุมการปล่อยของเสียสู่ธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรู้คุณค่า ควบคุมจำนวนประชากรคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นใหม่ที่เกิดมานั้นจะต้องมีคุณภาพ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การควบคุมจำนวนประชากร ก็ยังเป็นการควบคุมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมนุษย์อีกด้วย ลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก และให้หันมาศึกษาวิธีทางธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการกำจัดศัตรูพืชแทน

แนวทางการปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีความเหมาะสม ได้แก่…

  • การอนุรักษ์ คือ การทำนุบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ให้คงอยู่สืบต่อไป เช่น ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนการสร้างกระดาษที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักนั้น จะมีพื้นที่ที่ทางเอกชนจัดตั้งขึ้นมา เพื่อนำมาใช้ปลูกต้นไม้และนำไปผลิตกระดาษโดยเฉพาะ ทำให้ไม่ได้ใช้ต้นไม้จากธรรมชาติที่มีอยู่แล้วนำมาปลูกกระดาษ
  • วางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องคำนึงถึงในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองรวมทั้งชีวิตของประชากรในสังคมอีกด้วย เพราะว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน ไม่อาจที่จะมีองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง มากกว่าองค์ประกอบอื่น เพราะก็อาจจะทำให้เกิดการเสียสมดุล
  • ปลูกฝังความรักในสิ่งแวดล้อม และทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความตระหนักรู้ แท้จริงแล้วธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่อยู่ผูกพันกับมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งโบราณ และจะต้องอยู่ผูกพันต่อไปในอนาคตอีกยาวไกล เพราะฉะนั้นควรปลูกฝังตั้งแต่ประชากรยังเป็นเด็ก โดยบุคคลในครอบครัว ก็จำเป็นที่ต้องปลูกฝังด้วยเช่นกัน เช่น สอนการคัดแยกขยะ, สอนการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีความคุ้มค่า, สอนการใช้พลังงานน้ำให้มีความคุ้มค่า, ลดละเลิกการใช้ถุงพลาสติกไม่จำเป็น หันมาใช้ถุงผ้า หรือเลือกใช้หลอดทำจากยาง, เยื่อไม้ไผ่ และอื่น ๆ เป็นต้น รวมทั้งปลูกจิตสำนึกทางสังคม เช่น ไม่ทิ้งขยะมั่วซั่ว, ไม่ทิ้งขยะลงทะเล ถึงแม้ว่าอาจจะดูเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ แต่ถ้าทุกคนร่วมแรงร่วมใจพร้อมใจกันทำ จะทำให้ธรรมชาตินั้นค่อย ๆ ฟื้นฟูตัวเองและกลับมาเป็นธรรมชาติอันสมบูรณ์ betflik123

 

สุดท้าย คือ ทำให้ผู้คนเกิดความตระหนักรู้ว่า แท้จริงแล้วส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยความสำคัญของธรรมชาติ บางครั้งมนุษย์อาจหลงลืมรากเหง้าความเป็นมา จึงทำให้คิดว่าตนเองนั้นต้องเอาชนะธรรมชาติเท่านั้น แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เราได้รู้แล้วว่า การดำเนินชีวิตให้มีความสมดุล กลมกลืนผสมผสานเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ที่สามารถดำเนินไปพร้อม ๆ กับรักษาธรรมชาติ เป็นสิ่งที่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง และในอนาคตอันใกล้เราคงจะเห็นนวัตกรรมใหม่ ๆ สร้างขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติโดยแท้

แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนมีอะไรบ้าง

9 วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน.
1. ประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน ... .
2. ใช้ซ้ำ สำหรับสิ่งของที่สามารถใช้ได้ ... .
3. รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ... .
4. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด ถ้าไม่เสียอย่าเพิ่งทิ้ง ... .
5. ทดแทนวัสดุที่เป็นมลพิษด้วยของจากธรรมชาติ ... .
6. ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย.

แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมคืออะไร

การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง กระบวนการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยการวางแผน ดําเนินงาน ติดตามประเมินผลและปรับปรุง แก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงการใช้อย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ให้ได้ยั่งยืน ยาวนานตลอดไป และเอื้ออํานวยประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติให้มากที่สุด (วินัย วีระวัฒนา ...

ข้อใดเป็นแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน.
5. แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน ... .
5.1 การควบคุมอัตราการเพิ่มของประชากรอย่างเหมาะสม ... .
5.2 ต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างถูกหลักอนุรักษ์วิทยา ... .
5.3 ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ... .
5.4 ต้องกำหนดแผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ชัดเจน.

แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีอะไรบ้าง

1) พัฒนาแนวทางในการจัดการของเสียและน้ำเสียของทุกภาคส่วนให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน 2) ส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และวิถีชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดลอม 3) ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยชุมชน และ 4) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับ ...