ปวช. ต่อมหาลัยต้องสอบอะไรบ้าง

เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตที่น้องๆสายอาชีพต่างถามเข้ามาว่า มีคณะไหนบ้างที่จบ ปวช ปวส สามารถเข้าเรียนต่อได้ ? โดยบทความนี้ พี่ๆ Admission Premium ได้มีการรวบรวมคณะสาขาที่น้องๆ สายอาชีพทั้งระดับ ปวช. และ ปวส สามารถเข้าศึกษาต่อได้มาให้น้องๆ ได้ศึกษากัน โดยคณะสาขาที่น้องๆ สายอาชีพเลือกศึกษาต่อนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคณะที่สามารถต่อยอดจากหลักสูตรสายอาชีพได้ ดังนี้

ปวช. ต่อมหาลัยต้องสอบอะไรบ้าง

- คณะวิศวกรรมศาสตร์
ตัวอย่างสาขา สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, สาขาวิศวกรรมโยธา, สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์, สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ฯลฯ

- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
ตัวอย่างสาขา สาขาการบัญชี, สาขาการตลาด, สาขาการจัดการสํานักงาน, สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ฯลฯ

- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ตัวอย่างสาขา สาขาสถาปัตยกรรม, สาขาสถาปัตยกรรมภายใน, สาขาภูมิสถาปัตย์, สาขาออกแบบอุตสาหกรรม, สาขาสถาปัตยกรรมไทย, สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นต้น

- คณะศิลปกรรมศาสตร์
ตัวอย่างสาขา สาขาทัศนศิลป์, สาขาดุริยางคศิลป์​, สาขานฤมิตศิลป์​, สาขานาฏยศิลป์​ เป็นต้น

- คณะการโรงแรมและการท่องเที่ยว
ตัวอย่างสาขา สาขาการโรงแรม, สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว, สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยว ฯลฯ

- คณะมนุษยศาสตร์
ตัวอย่างสาขา สาขาวิชาการจัดการ, สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ฯลฯ

- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตัวอย่างสาขา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์, สาขาวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, สาขาวิชาชีวสารสนเทศ ฯลฯ

- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตัวอย่างสาขา สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและบริการ, สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

- คณะอุตสาหกรรม
ตัวอย่างสาขา สาขาช่างยนต์, สาขาช่างกลโรงงาน, สาขาช่างเชื่อมโลหะ, สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง, สาขาอิเล็กทรอนิกส์, สาขาช่างก่อสร้าง ฯลฯ

- คณะเกษตรกรรม
ตัวอย่างสาขา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์, สาขาวิชาพืชศาสตร์, สาขาวิชาสัตวศาสตร์, สาขาวิชาประมง ฯลฯ

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดรับน้องๆ สายอาชีพทั้ง ปวช. ปวส.

- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศ
- ราชภัฏทั่วประเทศ
- มหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ 

ปวช. ต่อมหาลัยต้องสอบอะไรบ้าง

เมื่อทราบถึงคณะและมหาวิทยาลัยที่สามารถเข้าศึกษาต่อได้แล้ว มาเช็คกันต่อว่าสามารถสอบเข้าทางไหนได้บ้าง ? ในระบบ T-CAS 5 รอบ สายอาชีพสามารถสอบได้ทั้งหมดทั้ง 5 รอบขึ้นอยู่กับคะแนนในต่อละรอบ

1. Portfolio > สายอาชีพอาจจะได้เปรียบตรงที่มีผลงานเฉพาะด้าน และมีประสบการณ์มาก่อน
2. โควต้า > สายอาชีพจำเป็นต้องเข้าสอบตรงของมหาลัย GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ หรือคะแนนความสามัญอื่นๆ
3. รับตรงร่วมกับ Admission 1 > คะแนนสอบรับตรง GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ หรือคะแนนความสามัญอื่นๆ
4. Admission > มีคะแนน O-NET เข้ามาเพิ่มเติม, GAT/PAT, ใช้คะแนน GPAX ด้วยนะ
5. รับตรงอิสระ > ตามเกณฑ์ที่มหาลัยกำหนด (เกณฑ์อาจจะคล้ายข้อ 2และ4)

ปล. บางมหาลัยมีโครงการเฉพาะสำหรับ ปวช. ปวส. อีกด้วย

ปวช. ปวส. สายอาชีพ สามารถต่อ ป.ตรี ที่ไหนได้บ้าง มาดูกัน ??

ปวช. ปวส. และ สายอาชีพ เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยจะมีวุฒิการศึกษาที่เทียบเท่ากับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับชั้น ปวช. ส่วน ปวส. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง คืออนุปริญญา จะมีคุณสมบัติเทียบเท่านักศึกษาชั้นปี 2

น้องๆ คนไหนท ที่จบ ปวช. ปวส. สามารถเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ โดยสามารถเข้าระบบ TCAS ได้ทั้ง 5 รอบ แต่จะจำกัดคณะ/สาขา สำหรับคุณสมบัตินั้นต้องมีอย่างไรบ้าง ต้องสอบอะไรบ้าง มาดูกัน

ระบบ TCAS ทั้ง 5 รอบ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้างในการคัดเลือก

Portfolio ไม่ต้องใช้คะแนนอะไรเลย แต่ต้องมีผลงานตามที่คณะ/สาขากำหนด

โควตา คะแนนที่ใช้ จะเป็นการสอบตรงที่มหาวิทยาลัยเลย  GAT/PAT , 9 วิชาสามัญ หรือคะแนนวัดความรู้ด้านอื่น ๆ ตามกำหนด

รับตรงร่วมกัน คะแนนที่ใช้ อาจจะเป็นการสอบตรง  GAT/PAT , 9 วิชาสามัญ หรือคะแนนวัดความรู้ด้านอื่น ๆ ตามกำหนด

แอดมิชชั่น คะแนนที่ใช้ O-NET GAT/PAT และ GPAX

รับตรงอิสระ คะแนนที่ใช้ แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด เกณฑ์อาจจะเหมือนรอบ 2 – 4

คะแนนต่างๆ สามารถสอบได้อย่างไรบ้าง ??

ONET

ต้องสมัครเอง !! ที่เว็บ สทศ. ค่าสมัครฟรี ช่วงรับสมัคร ต้นพฤศจิกายน

สมัครได้เฉพาะนักเรียนที่เรียนปีการศึกษาสุดท้าย (ปวช. 3) หากเป็นเด็กซิ่ว ไม่สามารถสมัครได้

สอบให้ครบ ทั้ง 5 วิชา

GAT/PAT

สมัครได้เองที่เว็บ สทศ. ค่าสมัคร วิชาละ 140 ช่วงรับสมัคร ธันวาคม

สมัครสอบใหม่ได้ทุกปี

อายุคะแนนจะอยู่ได้ 2 ปี

ไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา สอบเฉพาะวิชาที่ใช้

9 วิชาสามัญ

สมัครได้เองที่เว็บ สทศ. ค่าสมัคร วิชาละ 100 ช่วงรับสมัคร ธันวาคม

สมัครสอบใหม่ได้ทุกปี

อายุคะแนน 1 ปี

ไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา สอบเฉพาะวิชาที่ใช้

สอบตรง

สอบตรงกับทางมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันที่จัดสอบ โครงการที่มีสอบตรง ในระเบียบการจะระบุวันเวลาสมัครสอบ และวันสอบไว้

มหาวิทยาลัยที่รับ ปวช. ปวส.

รอบที่ 1 – 5 ทุกมหาวิทยาลัยเปิดรับ ปวช. หรือเทียบเท่า ม. 6 บางมหาวิทยาลัยก็อาจจะมีรับ ปวส. ด้วย น้อง ๆ เช็คคุณสมบัติในระเบียบการแต่ละรอบได้เลย

มหาวิทยาลัยที่มีโครงการเฉพาะ ปวช. ปวส.

มหาวิทยาลัยที่มีโครงการเฉพาะ ปวช. ส่วนใหญ่จะรับอยู่ในรอบ 1, 2 และ 5 สำหรับ ปวส. จะรับในรอบที่ 2 เป็นหลัก

มหาวิทยาลัย ที่เปิดรับสมัคร ปวช.  ปวส.

ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ม.เทคโนโลยีราชมงคล ทั่วประเทศ

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

ราชภัฎ ทั่วประเทศ

คณะที่ ปวช. เข้าได้

เข้าได้เกือบทุกคณะ ยกเว้น คณะสายวิทยศาสตร์สุขภาพ เช่น ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัช สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์

การสมัคร TCAS

Portfolio สมัครผ่านมหาวิทยาลัย

โควตา สมัครผ่านมหาวิทยาลัย

รับตรงร่วมกัน สมัครผ่าน My TCAS

แอดมิชชั่น สมัครผ่าน My TCAS

รับตรงอิสระ สมัครผ่านมหาวิทยาลัย

.

**หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ของน้องๆ ปวช. ปวส. นะจ้ะ

ขอบคุณข้อมูล     :    trueplookpanya.com

Post Views: 2,748