ภูมิประเทศในภาคกลางส่วนใหญ่มีลักษณะทางกายภาพอย่างไร

ภาคกลางมีจำนวนจังหวัดและประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดของประเทศไทย ภาคกลางได้สมญานามว่า “อู่ข้าวอู่น้ำของไทย” เพราะมีทรัพยากรดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศไทย มีบ่อน้ำมันที่กำแพงเพชร และมีเขื่อนขุนด่านปราการชลเป็นเขื่อนคอนกรีต ที่ยาวที่สุดในโลก ตลอดจนมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางความเจริญในทุก ๆ ด้าน

1.ลักษณะทางกายภาพ

ที่ตั้งและขนาด ภาคกลางมีพื้น ที่ประมาณ 92,795 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 22 จังหวัด แบ่งออกเป็น
–ภาคกลางตอนบน มี 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี
–ภาคกลางตอนล่าง มี 15 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ โดยมีอาณาเขตติตต่อกับพื้นที่ต่างๆดังนี้
-ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ จังหวัดสุโขทัย
-ทิศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาค คือ จังหวัดเพชรบูรณ์
-ทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ จังหวัดกำแพงเพชร
-ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค คือ จังหวัดสมุทรสงคราม

2.ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง
เขตที่ราบ
– เขตที่ราบภาคกลางตอนบน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ)
– เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา
– เขตที่ราบทางตะวันออกและตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับลูกฟูก มีภูเขาที่ไม่สูงกระจายอยู่ทั่วไป
แม่น้ำสายสำคัญของภาคกลาง
แม่นำเจ้าพระยา เริ่มจากจังหวัดนครสวรรค์ไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ และมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่เป็นสาขาคือ แม่น้ำมะขามเฒ่า(แม่น้ำลพบุรี) แม่น้ำน้อย(สุพรรณบุรี) และแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน)

แม่น้ำป่าสัก เริ่มจากจังหวัดเลย ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แม่น้ำสะแกกรัง เริ่มต้นจากนครสวรรค์และกำแพงเพชร ไหลมาบรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี

***ภาคกลางมีแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาค คือ บึงบอระเพ็ด อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์
และบึงสีไพ จังหวัดพิจิตร
คลองที่สำคัญในภาคกลาง
คลองรังสิต เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก

คลองบางบัวทอง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครชัยศรี

คลองภาษีเจริญ เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับคลองบางกอกน้อย

คลองแสนแสบ , คลองพระโขนงและคลองสำโรง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง

คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง

3.ลักษณะภูมิอากาศของภาคกลาง
ภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) คือมีฝนตกปานกลาง และสลับกับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าภาคกลางตอนบน

ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิของภาคกลาง
1. ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่นำความชุ่มชื้นมาสู่ภาคกลาง
2. มีการวางตัวของแนวภูเขาตะนาวศรี และภูเขาถนนธงชัยในลักษณะเหนือ-ใต้ ทำให้ส่วนที่เป็นหลังเขามีฝนตกน้อย
3. ความใกล้ไกลทะเลทำให้อุณหภูมิของอากาศแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว
-ภาคกลางมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-28 องศาเซลเซียส ซึ่งอากาศค่อนข้างร้อน
-ปริมาณน้ำฝนของภาคเฉลี่ยประมาณ 1,375 มิลลิเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอับฝน
-ฝนตกมากสุดในเดือนกันยายน จังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ และจังหวัดที่มีปริมาณฝนน้อยที่สุดคือ นครสวรรค์
4.ทรัพยากรธรรมชาติในภาคกลาง
4.1 ทรัพยากรดิน
ภาคกลางตอนบนเป็นดินตะกอนเก่าไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกเนื่องจากเกิดการจับตัวแข็งในช่วงฤดูแล้ง
ดินที่เหมาะในการเพาะปลูกควรเป็นดินเหนียวท่าจีน ดินเหนียวลพบุรี ดินเหนียวองครักษ์ ดินร่วนกำแพงแสน และดินเหนียวดำกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำพัดพามารวมกันเป็นที่ราบขนาดใหญ่ของภาคกลาง
ส่วนดินบริเวณที่ราบเนินภูเขาจะ เกิดจากการสลายตัวของหินปูนและหินอัคนี เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะม่วง ขนุน เป็นต้น
4.2 ทรัพยากรน้ำ
ประกอบแม่น้ำและลำคลองมากมากจึงเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และมีการสร้างเขื่อนต่าง ๆ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนป่าสัก จังหวัดลพบุรี
4.3ทรัพยากรป่าไม้
ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
จังหวัดอุทัยธานีจะมีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด ประมาณ 2,620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง
ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่ป่าไม่เหลืออยู่เลย
4.4ทรัพยากรแร่ธาตุ
ภาคกลางมีแร่ธาตุไม่มากนัก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แร่ที่สำคัญคือ แร่โลหะ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว ทองคำ แร่อโลหะ ได้แก่ ยิปซัม หินอ่อน ดินมาร์ล หินปูน แร่เชื่อเพลิง พบ**น้ำมันดิบที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
5ลักษณะทางวัฒธรรม : ประชากรในภาคกลาง
ภาคกลางเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมและ เกษตรกรรม การแสดงจะเกิดขึ้นในลักษณะสนุกสนามหรือเป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกันเช่น เพลงเกี่ยวข้าวหรือรำกลองยาวเป็นต้น

ภาคกลางมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
*กรุงเทพฯเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดและหนาแน่นมากที่สุด
*จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดอุทัยธานีจะมีความหนาแน่นของประชากรเบาบางที่สุด
6.กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคกลาง
6.1การเพาะปลูก ประชากรในภาคกลางมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก เพราะอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์และเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำส่วนการปลูกพืชไร่จะปลูกบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม
6.2การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เช่น สุกร เป็ด ไก่
6.3การประมง มีการทำประมงน้ำจืดมากที่สุด ส่วนประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อยจะอยู่บริเวณจังหวัดที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล

6.4 อุตสาหกรรม เป็นภาคที่มีการทำอุตสาหกรรมมากที่สุด เช่น อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ประกอบรถยนต์ โรงงานปูนซิเมนต์ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล
6.5 การค้าและบริการ เป็นอาชีพที่มีมากที่สุด มีทั้งการค้าภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการบริการด้านต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว การธนาคาร การแพทย์ เป็นต้น

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของภาคกลางเป็นอย่างไร

ลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ที่ราบและที่ลุ่ม ลักษณะภูมิอากาศ ได้แก่อากาศร้อนชื้น ฝนตก แม่น้าที่สาคัญ มีทั้ง 3 สาย ภูเขา ได้แก่ทิวเขา เพชรบูรณ์ตะวันตก ป่าไม้พืชพรรณธรรมชาติ

ลักษณะทางกายภาพของภาคกลางมีอะไรบ้าง

- เขตที่ราบภาคกลางตอนบน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ) - เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา - เขตที่ราบทางตะวันออกและตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับลูกฟูก มีภูเขาที่ไม่สูงกระจายอยู่ทั่วไป

ภาคกลางมีลักษณะเป็นอย่างไร

ภาคกลางเป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ตอนใจกลางของประเทศ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะคล้ายรางน้ำขนาดใหญ่ประกอบด้วยทิวเขาทางด้านตะวันออก และด้านตะวันตก ซึ่งทอดตัวยาวขนานกันจากทิศเหนือ ลงไปทางทิศใต้เป็นขอบของราง ต้นรางอยู่บริเวณ ที่ราบสูงทางเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม แบ่งตามรูปลักษณะออกได้เป็นสองตอนคือ

ภูมิลักษณ์ของภาคกลางมีจุดเด่นอะไรที่สำคัญ

ภาคกลาง มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชอื่น ๆ โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำสำคัญ สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่จะเป็นวัดเก่าแก่ ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีความสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปะ นอกจากนี้ก็มีพระราชวังบางปะอิน ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ...