พืชเศรษฐกิจที่สําคัญในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ข้อใด

ก่อนที่จะกล่าวถึงอนาคตเกษตรกรไทยจะเป็นอย่างไร? คงจะต้องมารื้อฟื้นว่า AEC คืออะไร? มีที่มาที่ไปอย่างไร?ข้อเท็จจริงผู้นำประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีมติเห็นชอบที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง โดยกำหนดแนวทางหลักในการร่วมมือของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย

1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) โดยให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงและเสถียรภาพการเมือง ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคเพื่อประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ

2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) เสาหลักที่สองนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางสังคมที่เอื้ออาทร แบ่งปัน สร้างประชาการอาเซียนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสิรมอัตลักษณ์ของอาเซียน

3.เสาหลักที่สาม คือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่เป็นเสาหลักสำคัญยิ่ง ในท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการรวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่าง ๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยภายในปี 2558 มีความประสงค์ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ โดยมีแผนการดำเนินการ 4 ด้าน

3.1 มุ่งที่จะผลักดันให้อาเซียนเป็นตลาดเดียว และเป็นฐานการผลิตร่วมกัน

3.2 มุ่งจะให้เกิดการเคลื่อนย้าย เงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกอย่างเสรี

3.3 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMC) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียนและช่วยให้ประเทศสมาชิกเหล่านี้เข้าร่วมในระบวนการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะเสียเปรียบ และส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

3.4 ส่งเสริมความร่วมมือ นโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยวการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือจากแนวทางทั้ง 4 ด้าน

พืชเศรษฐกิจที่สําคัญในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ข้อใด

พืชเศรษฐกิจที่สําคัญในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ข้อใด

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดภายในประเทศที่ 3 สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิก ในโอกาสนี้เราจะมาวิเคราะห์เฉพาะเสาหลักที่ 3 คือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” ว่าจากแผนงานทั้ง 4 ด้าน จะทำให้เกษตรกรที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีความเป็นอยู่ที่ดี ยั่งยืนจริง ๆ หรือไม่? มาพิจารณาเป็น แผน ๆ ไป

  1. ความตั้งใจจะพัฒนาให้อาเซียนเป็นตลาดเดียว และเป็นฐานการผลิตร่วมกัน ถ้าวิเคราะห์ความหมายของตลาดเดียว คือ ทุกประเทศร่วมกันกำหนดมาตรฐานสินค้า และกำหนดราคาขายเหมือนกันข้อเท็จจริงปัจจุบันยังเป็นระบบต่างคนต่างค้า ทุกประเทศกำหนดราคาของตนเอง ตัวอย่างราคาส่งออกข้าวของไทยยังสูงกว่าราคาข้าวของพม่าและเวียดนาม ทำให้การค้าเหมือนตัดราคากันเองในประเทศผู้ผลิตในอาเซียน ส่วนการเป็นฐานการผลิตร่วมกัน ก็ยังไม่มีการกำหนดปริมาณการผลิตของแต่ละประเทศ เพราะเกษตรกรในประเทศต่าง ๆ ก็ยังปลูกพืชคล้าย ๆ กัน เนื่องจากสภาพดินฟ้า อากาศ มีลักษณะคล้าย ๆ กัน การผลิตพืชเศรษฐกิจจึงคล้ายกับการผลิตก็ผลิตไปตามความต้องการของประเทศนั้น โดยมิได้คำนึงถึงเสถียรภาพราคา

สรุปจากการดำเนินการในปัจจุบันยังเป็นลักษณะที่ทุกประเทศผลิตและค้าเองอย่างเสรี และแข่งขันกันเองในอาเซียนเพื่อประโยชน์ของตนเองมากกว่าของเกษตรกรทั้งอาเซียน ในกรณีเกษตรกรไทยก็ต้องวิเคราะห์ปัญหาเป็นรายสินค้าว่าสินค้าใดมีปัญหาด้านการผลิต เช่น ข้าว มีการส่งออกน้อยกว่าปริมาณที่ผลิตได้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้มีข้าวค้างสต็อกอยู่ในบางประเทศ อีกประการทำให้ผู้ซื้อกดราคาให้ต่ำกว่าปกติหรือไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรส่วนด้านการผลิตเกษตรกรไทยก็มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าประเทศอื่น ดังนั้นเกษตรกรไทยต้องปรับโครงสร้างการผลิตให้สมดุล และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้

  1. มุ่งจะให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการการลงทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกอย่างเสรีจากการเปิดเสรีตามข้อตกลง AEC ด้านการเคลื่อนย้ายเงินการลงทุนได้เสรี ภาคเกษตรกรเองไม่ได้อะไร เพราะเกษตรกรจริง ๆยากที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ มีแต่ภาคอุตสาหกรรม การบริการที่ผู้ประกอบการมีศักยภาพที่จะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในประเทศที่มีวัตถุดิบทางการเกษตรที่ถูกกว่าประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นชัดโรงงานอาหารสัตว์ของไทยไปตั้งในกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ผลที่ตามมาโรงงานของบริษัทนี้ในไทยลดการผลิตลง ทำให้ราคาผลผลิตเกษตรที่ใช้ในโรงงานมีปัญหา สำหรับกรณีเปิดเสรีการค้าของประเทศใน AEC ทำให้มีการนำเข้าสินค้าเกษตรจากกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ที่มีต้นทุนถูกกว่า เนื่องจากแรงงานถูกกว่าไทยทำให้สินค้าเกษตรของไทยถูกกดราคาให้เท่ากับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สินค้าเกษตรจะได้รับผลกระทบจากข้อตกลงของ AEC ซึ่งต่างจากภาคอุตสาหกรรม และการบริการที่มีโอกาส หรือจะสามารถลดต้นทุนจากวัตถุดิบที่มีต้นทุนหรือราคาถูก

กล่าวโดยสรุปจากข้อตกลง AEC ในข้อที่ 2 จะทำให้สินค้าเกษตรไทยได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านทำให้สินค้าไทยต้องลดราคาเพื่อแข่งขันกับสินค้านำเข้ามากกว่าที่จะเกิดผลดีกับสินค้าเกษตรไทย

  1. ให้ความช่วยเหลือกับประเทศสมาชิกใหม่ CLMV เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา ข้อตกลงก็ไม่มีผลดีต่อเกษตรกร เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่เกษตรกรเป็นเกษตรกรรายย่อย ที่ต้องได้รับการพัฒนาเช่นเดียวกับ CLMV เช่น การพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าเกษตรจากไร่นา สู่ตลาดที่เกษตรกรไทยยังขาดอีกมาก4. ส่งเสริมความร่วมมือนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ก็เป็นข้อกำหนดในกลุ่มประเทศ ที่รัฐบาลไทยตกลงไว้ ก็ไม่เกิดประโยชน์กับเกษตรกร แต่มีประโยชน์เชิงพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม AEC เพราะมีโรงงานน้ำตาลไทยและต่างประเทศไปตั้งโรงงานน้ำตาลในกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น ทำให้การขยายตัวด้านอ้อยในประเทศจะน้อยลง ซึ่งเกษตรกรจะต้องพยายามปรับตัวในเรื่องของต้นทุนให้มากขึ้น

สรุปข้อตกลงใน AEC 4 แนวทาง สามารถสรุปได้ว่า ข้อตกลงไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยในทางบวก แต่จะเกิดผลกระทบเชิงลบมากกว่า ดังนั้นเกษตรกรคงต้องพิจารณาปรับตัวในการผลิต และต้องยอมรับความจริงว่า เพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร ๆ จะต้องปรับตัว ข้อพิจารณาจะต้องปรับตัวอย่างไร ในอนาคตเพื่อความยั่งยืนของอาชีพ

           การพิจารณาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดทิศทางในอนาคตของเกษตรกรไทยต้องวิเคราะห์เป็นรายสินค้า ประกอบด้วยข้าว ทั้งอาเซียนประเทศที่ปลูกข้าว ประกอบด้วย 9 ประเทศ ขาดเฉพาะประเทศสิงคโปร์ ประเทศบรูไน มีการปลูกข้าวเล็กน้อย 8 ประเทศที่เหลือมีพื้นที่ปลูก 297,122,000 ไร่ ผลิตข้าว ได้ 209,348,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 695 กิโลกรัม โดยประเทศที่มีการส่งข้าวออกที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม ไทย พม่า กัมพูชา และลาว ส่วนประเทศต้องมีการนำเข้าเพื่อบริโภคได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซียอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน เรียกว่าส่งออก 5 ประเทศ นำเข้า  5 ประเทศ การปรับตัวของเกษตรกรไทยคงต้องพิจารณาศักยภาพของการผลิตผู้ส่งออก จากข้อมูลของสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยมศักยภาพการผลิตต่ำสุด ที่460 กิโลกรัม ต่ำกว่าศักยภาพเฉลี่ยของภูมิภาคมากกว่า 200 กิโลกรัมปัญหาด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของชาวนาไทย คือต้องเพิ่ม ประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันกันกับกลุ่มประเทศเพื่อส่งออกให้ได้ ควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิตสำหรับการรองรับปัญหาด้านตลาดนั้น ทางราชการจะต้องวิเคราะห์และกำหนดปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดรวมทั้งต้องกำหนดชนิดข้าวที่จะผลิต อาทิ ข้าวสำหรับคนที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง ที่ต้องการข้าวคุณภาพ (ข้าวหอมมะลิ) ข้าวที่ผลิตเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวอินทรีย์ ข้าว GAP ข้าวที่ผลิตเพื่อส่งออกทางประเทศอาหรับที่ไม่ต้องการข้าวหอม แต่ต้องการข้าวที่สามารถทานด้วยมือ ไม่เหนียวมาก ข้าวที่มีคาร์โบไอเดรตต่ำ หรือข้าวเพื่อผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ เป็นต้นถ้าหากสามารถปรับโครงสร้างการผลิตข้าว ตามความต้องการของตลาด และการเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ทางราชการจะต้องคำนึงถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ของชาวนากับโรงสี โรงงานน้ำมันรำ และโรงงานแปรรูปข้าวต่าง ๆ เช่นเดียวกับอ้อยที่มีกองทุนน้ำตาล เพื่อใช้พัฒนาการผลิตอ้อย และผลิตสินค้าทั้งระบบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในกลุ่มประเทศอาเซียน จำนวน 7 ประเทศ จำนวน 60,176,000 ไร่ไทยมีเนื้อที่ปลูกเพียง 6,964,000 ไร่ หรือร้อยละ 11 ของอาเซียนไทยเกือบไม่มีการส่งออกเลยเพราะความต้องการในประเทศมาก แต่อนาคตพื้นที่ปลูกน่าจะลดลง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมได้ย้ายไปตั้งโรงงานในกลุ่มประเทศ CLMV ทำให้ความต้องการในประเทศมีแนวโน้มลดลง แต่เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพการผลิตของไทยที่สูงกว่าไร่ละ670 กิโลกรัม สูงกว่ากัมพูชา พม่า (เมียนมา) และฟิลิปปินส์ ที่ให้ผลผลิต 614 กิโลกรัม 596 กิโลกรัม และ 461 กิโลกรัม ตามลำดับ

กล่าวได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังมีปัญหาไม่หนักหนาเท่ากับข้าวในด้านศักยภาพ แต่เรื่องต้นทุนกล่าวได้ว่าจะต้องเร่งรีบพัฒนาเพื่อลดต้นทุน และที่สำคัญต้องพิจารณาการปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับตลาดเป็นหลักอ้อยโรงงาน ทั้งอาเซียนมีพื้นที่ปลูก 17,204,000 ไร่ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด 8,908,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ51 ของพื้นที่ทั้งหมด ศักยภาพการปลูกอ้อยของไทยอยู่อันดับ 2 ได้ไร่ละ 10,568 กิโลกรัม รองจากเวียดนามประเทศเดียวที่ได้ผลผลิต11,345 กิโลกรัม ศักยภาพการผลิตเฉลี่ยของ 7 ประเทศในอาเซียน9,520 กิโลกรัม กล่าวได้ว่าอ้อยโรงงานมีปัญหาน้อยที่สุดเพราะเป็นการผลิตใช้ในประเทศ อีกประการหนึ่งภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลมีความเข้มแข็ง เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมด้านราคา และผลประโยชน์ โดยเกษตรกรได้รับผลจากการแปรรูปเป็นน้ำตาลที่บริโภคภายในประเทศและส่งออก ในรูปกองทุนอ้อยและน้ำตาล ที่มี พ.ร.บ.ค้มุ ครอง ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลได้รับการดูแลและพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำและปลายน้ำ ที่สำคัญเกษตรกรชาวไร่อ้อยมีโอกาสดีกว่าพืชอื่น ๆ ที่ทราบราคาที่จะได้รับล่วงหน้าก่อนปลูก ทำให้เกษตรกรสามารถเลือกระดับการลงทุนได้ตามราคาตลาดและสถานะภาพเกษตรกรเอง หากไม่พอใจในราคาที่จะได้ก็อาจเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ๆ ได้

…อนาคตเกษตรกรไทยใน AEC ยังหนักหนาสาหัสที่เกษตรกรจะต้องยอมรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต โดยยึดการตลาดนำ พร้อมกับต้องเร่งรัดพัฒนาตนเองให้สามารถ เพิ่มศักยภาพลดต้นทุน สามารถแข่งขันกับผู้อื่นอย่างยั่งยืน ในเวลาเดียวกันภาคราชการก็จะต้องสามารถกำหนดแผนการผลิตพืชผลในระยะยาว…

อย่างไรก็ดีเกษตรกรชาวไร่อ้อยก็อาจได้รับผลกระทบจากข้อตกลง AEC เพราะมีโรงงานน้ำตาลไทย และต่างประเทศ ไปตั้งโรงงานน้ำตาลในกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น ทำให้การขยายตัวด้านอ้อยในประเทศจะน้อยลง ซึ่งเกษตรกรต้องพยายามปรับตัวในเรื่องของต้นทุนให้มากขึ้นถั่วเหลือง เป็นพืชอาหารที่มีการปลูกในกลุ่มประเทศอาเซียนพอประมาณในปี 2559 มีพื้นที่ปลูกประมาณ6,150,000 ไร่ โดยประเทศไทยมีความต้องการถั่วเหลือง เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และน้ำมันมาก แต่มีพื้นที่ปลูกประมาณ216,000 ไร่ จึงมีการนำเข้าถั่วเหลืองจำนวนมาก ถั่วเหลืองจึงเป็นพืชที่มีโอกาสในประเทศไทย เพราะผลิตใช้ในประเทศและไทยมีศักยภาพการผลิตสูงสุดในอาเซียน ผลผลิตต่อไร่ 269 กิโลกรัม ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของ 8 ประเทศอาเซียน 246 กิโลกรัมเท่านั้นอย่างไรก็ดีการนำเข้าถั่วเหลืองซึ่งส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกาถั่วเหลืองจึงเป็นพืชที่ทางราชการควรพิจารณาถึงในการปลูกแทนในพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ การผลิตเพื่อใช้ในประเทศจะช่วยลดปัญหาขัดแย้งกับ WTO ได้มันสำปะหลัง เป็นพืชไร่ที่มีพื้นที่ปลูกในกลุ่มประเทศอาเซียนค่อนข้างมาก ประมาณ 25,146,000 ไร่ ประเทศไทยปลูกมากที่สุด 9,464,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 39 แต่มีศักยภาพการผลิตเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน ผลผลิตต่อไร่ 3,426 กิโลกรัม โดยศักยภาพเฉลี่ยของ 8 ประเทศอาเซียน 3,497 กิโลกรัม สูงกว่าศักยภาพของไทย มันสำปะหลังจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีปัญหา เพราะโอกาสที่ผู้ใช้ในประเทศจะนำเข้าจากกัมพูชา และลาว ที่มีศักยภาพสูงและต้นทุนต่ำกว่า อีกประการหนึ่งการไปตั้งโรงงานอาหารสัตว์ในกลุ่มประเทศCLMV ก็จะทำให้อุปทานในประเทศเหลือมาก ซึ่งจำเป็นจะต้องส่งออกไปจีนที่เป็นตลาดหลัก เกษตรกรชาวไร่มันจึงจำเป็นต้องเร่งรัดพัฒนาศักยภาพการผลิต ลดต้นทุน และพัฒนาคุณภาพมันเส้นให้สะอาดได้มาตรฐาน ที่สำคัญเกษตรกรจะต้องซื่อสัตย์ในเรื่องการปลอมปน

สรุปแล้วอนาคตเกษตรกรไทยใน AEC ยังหนักหนาสาหัสที่เกษตรกรจะต้องยอมรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต โดยยึดการตลาดนำ พร้อมกับต้องเร่งรัดพัฒนาตนเองให้สามารถ เพิ่มศักยภาพ ลดต้นทุน สามารถแข่งขันกับผู้อื่นอย่างยั่งยืน ในเวลาเดียวกันภาคราชการก็จะต้องสามารถกำหนดแผนการผลิตพืชผลในระยะยาว 5 ปี 10 ปี 20 ปี อย่างชัดเจนว่าจะผลิตแต่ละพืชปริมาณเท่าใด ที่ใด ให้สอดคล้องกับการตลาด สำหรับพื้นที่ ๆ เหลือก็ควรส่งเสริมการปลูกพืชที่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศต้องการเพื่อลดปัญหาด้านการตลาดและทางราชการสามารถเข้าช่วยเหลือเกษตรกรในการพัฒนาพืชใหม่ได้อย่างเต็มที่และไม่ขัดแย้งกับข้อตกลง WTOจากการกำหนดแผนระยะยาวจะสามารถสร้างเกษตรกรที่ มั่งคั่งมั่นคง และยั่งยืน ไม่เป็นภาระกับทางราชการได้

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียนได้แก่อะไร

ข้าวเป็นพืชอาหารหลักของประชากรในอาเซียนและเอเชียพื้นที่การเกษตรของอาเซียนจึงถูกนำมาใช้ในการผลิตข้าวมากที่สุด องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้รายงานว่าในปี 2557มีพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 304.73 ล้านไร่และมีผลผลิตรวม 209.89 ล้านตันข้าวเปลือกหรือ 117ล้านตันข้าวสาร

พืชไร่เศรษฐกิจ มีอะไรบ้าง

พืชไร่.
กลุ่มธัญพืช เช่น ถั่วประเภทต่าง ๆ, ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี.
กลุ่มพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน, อ้อย.
กลุ่มพืชน้ำตาล เช่น อ้อย.
กลุ่มพืชเส้นใย เช่น ฝ้าย, ปอ, ป่าน, กล้วย, มะพร้าว.
กลุ่มพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง, มันแกว, มันเทศ, เผือก.
กลุ่มพืชอาหารสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง, หญ้ากีนี.

ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของอาเซียนมีอะไรบ้าง

ข้าวผลผลิตทางการเกษตรขุมทรัพย์สำคัญของชาติอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตหลักรายใหญ่ของโลกที่อยู่ในซีแอลเอ็มวีที (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนามและไทย) ที่จากนี้ไปจะต้องเร่งพัฒนาพร้อมยกระดับผลผลิตให้สอดคล้องกับตัวแปรต่างๆ ที่เข้ามากระทบอุตสาหกรรมเกษตรในอนาคต

พืชไร่เป็นพืชชนิดใด

พืชไร่ หมายถึง กลุ่มพืชที่มีลักษณะต้องการน้ำน้อย ทนความแห้งแล้งสูง ไม่ต้องการ ความพิถีพิถันในการปลูก และการดูแลรักษา มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิต เพียงครั้งเดียว เป็นทั้งพืชล้มลุกปีเดียวหรือนานหลายปี มักปลูกในพื้นที่มากเป็นแปลง