อาชีพหลักของชาวสุโขทัยมีอะไรบ้าง

�Զժ��Ե�ͧ���������⢷��
��ѡ�ҹ�ҧ����ѵ���ʵ�������֡���Զժ��Ե�ͧ����������⢷����ҡ���·ҧ
�� ���Ҩ��֡ �����Ծ����ǧ
��餹������⢷���觪���鹡�û���ͧ��� �ع ����鹼�����û���ԧ ��� ��� ���ŧ�
��� ��� ���ʧ�����Ѻ���¡��ͧ �������⢷�¤���ǹ�˭��Сͺ�Ҫվ�ҧ����ɵ�
 �ա�����ҧ�к������͡����л�١ ���ӡ�ä�ҡ��� ��觷ҧ�Ҫ������ӡ�ä��������
��������ռ�ҹ��ҹ���������������Ժ
����������⢷�����йѺ�����ʹҾط����Ѻ����������Ѻ��� �繤�㨺ح㨡��� ����ͨѺ����ҡ�������¹��
��Ъغ����§���
�Ҫվ�ͧ��������⢷��㹻Ѩ�غѹ��� ��� �������ͧ��� ��÷ͼ�����

เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัย สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม...

Posted by ประวัติศาสตร์ ม.5 - สุโขทัย on Sunday, August 6, 2017

ความเจริญด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัย

                จากการที่อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ยม น่าน และป่าสัก ทำให้มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับดินแดนของบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลด้านอ่าวไทย นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัยมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เช่น แร่เหล็ก สังกะสี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว

                อาชีพหลักที่สำคัญของอาณาจักสุโขทัย 
1. ด้านเกษตรกรรม
2. ด้านหัตถกรรม
3. ด้านการค้าขาย
1.  ด้านเกษตรกรรม
1.1 การทำนา ทำไร่ ทำสวน
ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการ  ทำนา ทำไร่ ทำสวน พืชหลักที่ปลูก ได้แก่ ข้าว นอกจากนั้นปลูกไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว หมาก พลู จากความอุดมสมบูรณ์ของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า  “...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...”

อาชีพหลักของชาวสุโขทัยมีอะไรบ้าง
 

 รูปการทำนาของเกษตรกร 


1.2 การใช้น้ำภายในตัวเมือง
1) การสร้างเขื่อนสรีดภงส์ หรือทำนบพระร่วง สร้างเป็นแนวคันดินกว้าง ประมาณ 10 – 14 เมตร บนหลังเขื่อนกว้าง 3 – 4 เมตรยาว 400 เมตร การสร้างเขื่อนสรีดภงส์มีวัตถุประสงค์  เพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝนไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง

อาชีพหลักของชาวสุโขทัยมีอะไรบ้าง
    
อาชีพหลักของชาวสุโขทัยมีอะไรบ้าง
 

รูปเขื่อนสรีดภงส์ 

                                2) การสร้างคูน้ำระหว่างกำแพงเมืองแต่ละชั้น มีคูน้ำกว้างประมาณ 15 เมตร           ขุดขนานไปตลอด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันข้าศึก และยังใช้เป็นคลอง เพื่อรับน้ำเข้ามาใช้ภายในอาณาจักรสุโขทัย
3) การสร้างตระพังหรือสระน้ำ บริเวณที่ต่อจากคูเมืองมีท่อสำหรับแจกจ่ายน้ำเข้าสู่ตระพัง ลักษณะของท่อเป็นท่อน้ำกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบครึ่งเมตรใช้ในการดักตะกอนดินกรวดทราย ดังนั้น ทำให้น้ำที่ไหลเข้าสู่ตระพังจึงเป็นน้ำที่ใสสะอาด ภายในตัวเมืองสุโขทัยมีตระพังอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังตะกวน และตระพังโพยสี
4) การสร้างบ่อน้ำ บ่อน้ำมีลักษณะเป็นบ่อที่กรุด้วยอิฐ รูปกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 60 ซ.ม. ถึง 2.5 เมตร รับน้ำที่ซึมมาจากตระพังต่างๆ ภายในตัวเมืองสุโขทัย จะพบบ่อน้ำเป็นจำนวนมากบริเวณด้านตะวันออกของอาณาจักสุโขทัย

อาชีพหลักของชาวสุโขทัยมีอะไรบ้าง

ภาพถ่ายทางอากาศ ภายในเมืองสุโขทัย หากมองมุมสูง จะเห็นว่ามีตระพังหรือสระน้ำต่างขนาดจำนวนมากมาย นับว่า ได้มีการจัดการระบบชลประทานนี้ดี เพื่อกักเก็บน้ำสำหรับชาวเมืองเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค เนื่องจากพื้นที่ของเมืองเก่านี้เป็นบริการที่แห้งแล้ง 

ภาพพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ประทับบนพระแท่นมนังคศิลา ปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข และทรงบริหารราชอาณาจักรแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองที่สุด ในช่วงปี พ.ศ.1822 ถึง พ.ศ.1842

จังหวัดสุโขทัย ใช้อักษรย่อว่า "สท"

คำขวัญของจังหวัดสุโขทัย

เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลก ทองโบราณ
สักการแม่ย่า พ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข"

ธงประจำจังหวัดสุโขทัย

อาชีพหลักของชาวสุโขทัยมีอะไรบ้าง

เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสี ๓ สี แถบแดงอยู่เบื้องบน แถบสีเหลืองอยู่ตรงกลาง และแถบเขียวอยู่เบื้องล่าง พื้นธงมุมบนด้านใกล้คันธง มีภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงประทับบนพระแท่นมนังคศิลาและมีคำว่าจังหวัดสุโขทัยอยู่เบื้องล่างใต้ฐานยอดคันธงชิดกับมุมบนของธงด้านเสามีแถบสีแดง สีเหลืองและสีเขียวห้อยชายมายังเบื้องล่างในลักษณะพองาม การใช้สีแดง สีเหลือง และสีเขียวเป็นพื้นธงมีความหมายดังนี้

สีแดง หมายถึง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปได้อย่างกว้างขวาง ทิศเหนือได้เมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศตะวันตกถึงเมืองหงสาวดี ทิศตะวันออกแผ่พระราชอาณาเขตออกไปจนถึงแม่น้ำโขง ต่อแดนเวียงจันทน์และเวียงคำ ทิศใต้ได้ตลอดถึงแหลมมาลายู นับว่าดินแดนของประเทศไทยสมัยนั้นแผ่ขยายกว้างขวางยิ่งกว่าสมัยใดทั้งสิ้น

สีเหลือง หมายถึง พระพุทธศาสนา ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองและนิมนต์พระสังฆราชจากลังกามาปรับปรุงกิจการคณะสงฆ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยต้องตามพุทธบัญญัติ และเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกทรงผนวช

สีเขียว หมายถึง การเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ประชาชนดำรงชีพด้วยความสบาย ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ใครใคร่ประกอบอาชีพใดก็ตามใจชอบ เจ้าเมืองไม่เก็บจังกอบ จึงอยู่กันด้วยความเป็นสุขสบาย ดังปรากฏตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ดังนี้

"…เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่อเอา จกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส…"

อาชีพหลักของประชาชนในสมัยสุโขทัยคืออะไร

สีเขียว หมายถึง การเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ประชาชนดำรงชีพด้วยความสบาย ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ใครใคร่ประกอบอาชีพใดก็ตามใจชอบ เจ้าเมืองไม่เก็บจังกอบ จึงอยู่กันด้วยความเป็นสุขสบาย ดังปรากฏตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ดังนี้

งานหัตถกรรมของชาวสุโขทัยคืออะไร

2. หัตถกรรมที่สำคัญและทำรายได้ให้เมืองสุโขทัย ได้แก่ เครื่องถ้วยชามสังคโลก หลักฐานที่พบคือ เตาเผา ที่เรียกว่า “เตาทุเรียง” มากกว่า 200 เตา ในเมืองศรีสัชนาลัยและสุโขทัย 3. การค้า สุโขทัยเป็นศูนย์กลางทางการค้าในดินแดนตอนในกับหัวเมืองท่าชายทะเล เศรษฐกิจ ของสุโขทัยจึงมี ความรุ่งเรืองตลอดมา

สินค้าหลักของอาณาจักรสุโขทัยคืออะไร

1. สินค้าออกที่สำคัญ คือ เครื่องสังคโลก หนังสัตว์ ไม้หอม งาช้าง นอแรด ของป่าอื่นๆ 2. สินค้าข้าที่สำคัญ คือ ผ้าไหม แพร เครื่องเหล็ก และอาวุธต่างๆ เป็นต้น

อุตสาหกรรมที่สำคัญในสมัยสุโขทัยคืออะไร

อุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัย คือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่ เมือง ศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย สินค้าเครื่องสังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก เป็นต้น (ชาญวิทย์เกษตรศิริ, 2549 : 20) นอกจากค้าขายกันภายในประเทศแล้ว ยัง ส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย (ปภาวดี ดุลยจินดา, 2545 : 50) ซึ่งจากการส า รวจทาง ...