สถาบันหลักของไทยมีสถาบันใดบ้าง

          ครั้นล่วงมาถึงสมัยปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ มิได้มีอำนาจในการบริหารประเทศโดยตรง หากพระองค์จะทรงวางพระราชกิจทั้งปวง คงไว้แต่พระราชกรณียกิจในฐานะองค์ ประมุขอันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศก็ย่อมทรงกระทำได้ แต่ด้วยน้ำพระทัยที่ ทรงคำนึงถึงประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม พระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำ เพื่อราษฎรตลอดระยะเวลา ๕๐ ปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่า ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงปกป้องคุ้มครองประเทศชาติและประชาชน ให้เกิด ความร่มเย็นเป็นสุขตามครรลองแห่ง “ธรรมราชา” โดยแท้ สมดังพระปฐม บรมราชโองการที่ทรงไว้ในวันเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติว่า

“ผบ.สูงสุด” ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” พัฒนาคลองทองหลาง ถวายฯ วันเฉลิมพระชนมพรรษา28 กค.

พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นำกำลังพล กว่า 600 นาย ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” พัฒนาพื้นที่คลองทองหลาง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่ การเคหะจังหวัดนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี

ทั้งนี้ โครงการจิตอาสาพระราชทาน ตามแนวพระราชดำริ “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” นี้ ทรงมุ่งหวังให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่ามีความสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือร่วมใจ ประกอบกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนเป็นส่วนรวม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

และ ก่อให้เกิดความรักความผูกพันใน 4 สถาบันหลักของชาติ คือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาชน

โดย ทำความสะอาดและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณการเคหะ จังหวัดนนทบุรี 36 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลปากเกร็ด ตำบลบางพูด ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางตลาด และตำบลคลองเกลือ

สถาบันพระมหากษัตริย์ก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลต่อประเทศชาติมาตั้งแต่โบราณจวบจนปัจจุบันนี้ ทั้งในฐานะที่ก่อให้เกิดการสร้างชาติ การกู้เอกราชของชาติการรักษาและพัฒนาชาติ มีสาระสำคัญที่ควรแก่การนำมาศึกษา คือ

1) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงทำให้เกิดความสำนึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ว่าสถาบันการเมืองการปกครองจะแยกสถาบันนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ แต่ต้องให้อำนาจของตนภายใต้พระปรมาภิไธย ทำให้ทุกสถาบันมีจุดรวมกัน อำนาจที่ได้มาจากแหล่งเดียวกัน คือ พระมหากษัตริย์ นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ยังทำให้เกิดความสำนึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างหมู่ชนภายในชาติ โดยที่ต่างเคารพสักการะและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ร่วมกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาก็มีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกันในปวงชนทั้งหลาย ทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นและเป็นพลังที่สำคัญยิ่งของชาติ กล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติเป็นศูนย์รวมจิตใจ ก่อให้เกิดความสมานสามัคคี และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ เกิดเอกภาพทั้งในทางการเมืองการปกครองในหมู่ประชาชนอย่างดียิ่ง พระมหากษัตริย์ทรงรักใคร่ห่วงใยประชาชนอย่างยิ่งทรงโปรดประชาชนและทรงให้เข้าเฝ้าฯ อย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดความจงรักภักดีแน่นแฟ้นมากขึ้นไม่เสื่อมคลายพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นถิ่นทุรกันดารหรือมีอันตรายเพียงไรเพื่อทรงทราบถึงทุกข์สุขของประชาชน และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์อย่างกว้างขวางโดยไม่จำกัด ฐานะ เพศ วัย ประชาชนก็มีความผูกพันกับพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้งกว้างขวางแน่นแฟ้นมั่นคง จนยากที่จะมีอำนาจใดมาทำให้สั่นคลอนได้

2) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันประมุขของชาติสืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสายขาดตอนตลอดเวลา ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงไปกี่ชุดกี่สมัยก็ตาม แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงอยู่เป็นความต่อเนื่องของประเทศชาติ ช่วยให้การปกครองไม่มีช่องว่างแต่มีความต่อเนื่องตลอดเวลา เพราะสาเหตุที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาลด้วย

3) พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก ทำให้เกิดความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างคนในชาติแม้จะมีศาสนาต่างกัน เพราะพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนาแม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นพุทธมามกะ จึงก่อให้เกิดพลังความสามัคคีในชาติ ไม่บาดหมางกันด้วยการมีศาสนาต่างกัน

4) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพลังในการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติยศทั้งปวง ก่อให้เกิดความภาคภูมิ ปีติยินดี และเกิดกำลังใจในหมู่ประชาชนทั่วไปที่จะรักษาคุณงามความดี มานะพยายามกระทำความดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระองค์ทรงไว้ซึ่งความดีงามตลอดเวลา ทำให้ประชาชนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีกำลังใจที่จะทำงานเสียสละต่อไป จึงเสมือนแรงดลใจผลักดันให้ผู้มีเจตนาดี ประกอบคุณงามความดีมุ่งมั่นในการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง ทั้งในส่วนประชาชน ส่วนราชการหรือรัฐบาล

5) พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน และทำให้การบริหารงานประเทศเป็นไปด้วยดี พระมหากษัตริย์ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยความเห็นชอบยอมรับของประชาชน โดยมีรัฐสภาทำหน้าที่แทนพระองค์จึงได้รับการเทิดทูนยกย่องเสมือนผู้แทนอันอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนด้วย การที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะยับยั้งพระราชบัญญัติ หรือพระราชทานคำแนะนำตักเตือน คำปรึกษา และการสนับสนุนในกิจการต่าง ๆ ทั้งของรัฐบาล รัฐสภา และศาล ตามรัฐธรรมนูญจัดได้ว่าพระองค์ทรงมีส่วนร่วมอันสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและก่อให้เกิดผลดีในการบริหารการปกครองประเทศอย่างน้อยก็ช่วยให้ฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ทั้งหลายเกิดความสำนึก เกิดความระมัดระวัง รอบคอบมิให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมมากพอสมควร พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและทรงเป็นกลางทางการเมืองการกำหนดหลักการสืบสันตติวงศ์ไว้อย่างชัดเจนโดยกฎมณเฑียรบาลและรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องประกันว่าจะทรงเป็นกลางทางการเมืองได้อย่างแท้จริง และทำให้สามารถยับยั้ง ท้วงติงให้การปกครองประเทศเป็นไปโดยสุจริตยุติธรรมเพื่อประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งต่างจากประมุขของประเทศที่มาจากการเลือกตั้งที่จะต้องยึดนโยบายของกลุ่มหรือพรรคการเมืองเป็นหลัก

6) พระมหากษัตริย์ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นกลไกสำคัญในการยับยั้งแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงในประเทศได้ ไม่ทำให้เกิดความแตกแยกภายในชาติอย่างรุนแรงจนถึงต้องต่อสู้กันเป็นสงครามกลางเมือง หรือแบ่งแยกกันเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยขจัดปัดเป่ามิให้เหตุการณ์ลุกลามและทำให้ประเทศเข้าสู่ภาวะปกติได้ เพราะพระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นด้านประชาชน รัฐบาล หน่วยราชการ กองทัพ นิสิต - นักศึกษาปัญญาชนทั้งหลาย หรือกลุ่มต่าง ๆ แม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศ อันได้แก่ ชาวไทยภูเขาชาวไทยมุสลิม เป็นต้น

7) พระมหากษัตริย์ทรงส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ โดยการยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนและกองทัพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยจึงทรงใส่พระทัยในการพัฒนากองทัพทั้งทางวัตถุและจิตใจ ทรงเยี่ยมเยียนปลอบขวัญทหาร พระราชทานของใช้ที่จำเป็นทรงช่วยเหลืออนุเคราะห์ ผู้เสียสละเพื่อชาติ ทำให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่ทหาร ข้าราชการอย่างดียิ่งพร้อมที่จะรักษาความมั่นคงและเอกราชของชาติอย่างแน่นแฟ้น

8) พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ พระมหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความเข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่าง ๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย

9) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการพัฒนาและปฏิรูปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญ ๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่าง ๆทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่าง ๆทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลัก ทางเกษตรกรรมเพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น

10) พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนเกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตย บทบาทของพระมหากษัตริย์มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากที่ทำ ให้ประชาชนบังเกิดความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพราะการที่ประชาชนเกิดความจงรักภักดีและเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีผลส่งให้ประชาชนเกิดความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นระบอบที่เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนนั่นเอง

สถาบันหลักที่สำคัญของประเทศไทยกี่สถาบัน

สถาบันหลักของชาติ ได้แก่สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งค้าจุน ประเทศชาติให้มีความมั่นคงยั่งยืนอยู่ตลอดมา สถาบันที่จะกล่าวถึงนีไม่ได้หมายถึงตัวอาคารสถานที่ แม้สถาบัน ที่จะกล่าวถึงนีจะมีอาคารหรือที่ท้าการ แต่สถาบันนีหมายถึงแบบแผนพฤติกรรม หรือการกระท้าบางประการ หรือ หน่วยทางสังคมซึ่งเรารู้ว่ามีอยู่ ...

สถาบันของชาติไทยมีอะไรบ้าง

สถาบันหลักของชาติ ประกอบด้วย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันที่อยู่กับสังคมไทยมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นเสาหลักในการสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น เป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชน เป็นบ่อเกิดของความรัก ความสามัคคี นำพาประเทศชาติให้ผ่านพ้นภัยนานาประการ ไม่ว่าจะเป็นภัยรุกรานของประเทศอื่น ภัยจาก ...

สถาบันใด เป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดในสังคมไทย

1. สถาบันครอบครัว หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสมรส การอบรมเลี้ยงดูบุตรและแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องทางสังคม เป็นสถาบันพื้นฐานที่มีความสำคัญที่สุดของสังคม

สถาบันหลักของชาติมีความสำคัญอย่างไร

สถาบันการสร้างชาติมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมโดยการสร้างให้ผู้คนในสังคมตกผลึกทางความคิด จัดระบบ และบริบทให้เอื้ออำนวย เพื่อหนุนให้การสร้างชาติเกิดขึ้นจริงผ่านสถาบัน