สิทธิของลูกจ้างที่สำคัญมีอะไรบ้าง

กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 50,000 บาท และถ้าในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลและค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 1,300 บาท
  • กรณีทุพพลภาพเนื่องจากการทำงาน ลูกจ้างจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนจำนวน 60% ของค่าจ้างรายเดือน ในกรณีไม่สามารถทำงานได้เกิน 3 วัน และค่าทดแทน 60% ของค่าจ้างรายเดือน  กรณีทุพพลภาพเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี  และหากจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ  จะได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพด้วย
  • กรณีตายหรือสูญหายจากการทำงาน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุ สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับ คือ ค่าทำศพ จำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ค่าทดแทนของค่าจ้างรายเดือนในอัตรา 60% ของค่าจ้างรายเดือน มีกำหนด 8 ปี (จ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด)
  •           ทั้งหมดนี้ถือเป็นกฎหมายแรงงาน น่ารู้ขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องใส่ใจจะละเลยไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทำตามกฎระเบียบตามที่กฎหมายกำหนด และส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นหลักประกันให้ลูกจ้างทำงานได้อย่างมีความสุขเพราะมีหลักประกันว่านายจ้างทำถูกกฎหมายเรียกได้ว่าสบายใจกันทั้งสองฝ่ายทั้งตัวนายจ้างเองและตัวลูกจ้างเองด้วย

    Show

    ⚡ ค้นหาคนที่ใช่ด้วยโซลูชันการสรรหาบุคลากรแบบครบวงจรกับ JobsDB ⚡

    ★ เข้าถึงโปรไฟล์ผู้สมัครงานคุณภาพมากกว่า 2.6 ล้านคนในประเทศไทย

    ★ ผู้สมัครงานพบงานที่ใช่มากขึ้น 6 เท่า ผู้ประกอบการได้ใบสมัครตรงใจมากขึ้น

    ★ ที่เว็บไซต์หางานอันดับ 1 ครองใจผู้สมัครงานคุณภาพ ลงทะเบียนเพื่อสรรหาผู้สมัครงาน ที่นี่ ★

    สิทธิของลูกจ้างที่สำคัญมีอะไรบ้าง

    Loading…

     

    เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

    ประกันสังคมน่ารู้สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่

    ขั้นตอนการขอยกเลิกกิจการให้ชอบด้วยกฎหมาย

    กฎหมายแรงงาน  กฎหมายแรงงานของผู้ประกอบการ  กฎหมายแรงงานควรรู้  กฎหมายแรงงานน่ารู้  กฎหมายแรงงานสำหรับผู้ประกอบการ

    บทความยอดนิยม

    9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023กฎหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการมือใหม่ควรรู้

    สิทธิของลูกจ้างที่สำคัญมีอะไรบ้าง

    Test case คืออะไรทำไม Tester จำเป็นต้องทำ?

    ในสายงานการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ซอฟท์แวร์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ นอกจากอาชีพชูโรงอย่าง Developer แล้ว ยังมีตำแหน่งยิบย่อยอื่น ๆ...

    สิทธิของลูกจ้างที่สำคัญมีอะไรบ้าง

    ChatGPT คืออะไรทำไมเราถึงควรต้องทำความรู้จัก

      เราอาจคุ้นเคยกับเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งก็คือความฉลาดของคอมพิวเตอร์กันมา...

    สิทธิของลูกจ้างที่สำคัญมีอะไรบ้าง

    Work From Home vs. Hybrid Work องค์กรใหญ่ควรเลือกระบบไหนในปี 2023

    ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

    ลูกจ้างเฮ…. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจะมีผลในอีก 30 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 5 เมษายน 2562)

    ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562  และจะมีผลในอีก  30 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 5 เมษายน 2562) พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องสิทธิประโยชน์สำคัญของลูกจ้างดังต่อไปนี้

     

    1.หากมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้างทำให้ต้องไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง    

    เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง หรือกรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลแล้วมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบรวมกับนิติบุคคลใด มีผลให้ต้องไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง สำหรับสิทธิต่าง ๆ ของลูกจ้างที่มีอยู่ต่อนายจ้างยังคงสิทธิต่อไปโดยนายจ้างใหม่ต้องรับไป

     

    2.มีสิทธิลาเพื่อกิจธุระจำเป็น โดยนายจ้างจ่ายค่าจ้างตามปกติปีละไม่เกิน 3 วันทำงาน

                จากเดิมมาตรา 34 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจําเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน  แต่ไม่มีมีการกำหนดจำนวนวันและการจ่ายค่าจ้างไว้

     

    3.ลูกจ้างหญิงลาคลอดบุตรและลาตรวจครรภ์ก่อนคลอดได้ 98 วัน

    ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรได้ ให้ถือเป็นวันลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดช่วงลาที่ลาด้วย สำหรับค่าจ้างจะได้รับจากนายจ้างไม่เกิน 45 วัน

     

    4.เพิ่มอัตราค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป โดยได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน

    อัตราชดเชยการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด มีดังนี้

    • ทำงานครบ 120 วันแต่ไม่ถึง 1  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
    • ทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ถึง 3  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
    • ทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ถึง 6  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง  180  วัน
    • ทำงานครบ 6 ปีแต่ไม่ถึง 10  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง  240  วัน
    • ทำงานครบ 10 ปีแต่ไม่ถึง 20  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง  300  วัน
    • ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง  400  วัน

     

    5.การย้ายสถานประกอบกิจการใหม่ หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานที่ใหม่ตามนายจ้าง สามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยได้รับค่าชดเชยตามสิทธิ

    • นายจ้างต้องปิดประกาศให้ทราบอย่างชัดเจนติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้ายสถานประกอบการ หากไม่มีการปิดประกาศต้องจ่ายชดเชยให้กับพนักงานที่ไม่ไปทำงานที่ใหม่เท่ากับค่าจ้าง 30 วัน หรือค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้าย
    • ลูกจ้างที่ไม่ต้องการไปทำงานที่ใหม่ตามนายจ้าง ต้องแจ้งเป็นหนังสือกับนายจ้างภายใน 30 วันหลังมีประกาศ จึงจะสามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยตามสิทธิ

     

     

    6.กรณีจ่ายค่าตอบแทนเกินเวลาปกติ  นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ย 15% ต่อปี

    หากนายจ้างคืนเงินหลักประกัน จ่ายเงินบอกเลิกสัญญาจ้าง เงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าชดเชย และตอบแทนต่าง ๆ เกินเวลาปกติ นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดให้กับลูกจ้าง 15% ต่อปี

     

    7.ค่าตอบแทนลูกจ้างชาย-หญิงเท่ากัน

    ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในอัตราเท่ากันทั้งลูกจ้างชายและหญิงสำหรับงานที่มีค่าเท่าเทียมกัน