ส่วนประกอบเครื่องดื่มมีอะไรบ้าง

น้ำอัดลมถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่อยู่ในกลุ่ม อาหาร Empty Calories หรือ อาหารไร้คุณค่าทางอาหาร แต่ก็ถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่คลายร้อยดับกระหายได้ชะงักนัก ลองคิดถึงความรู้สึกเหนื่อยๆ ร้อนๆ แล้วได้ดื่มน้ำอัดลมเย็นๆ สักขวด รู้สึกว่าดื่มแล้วจะมีเรี่ยวแรง ใครที่ออกกำลังกายมา ดื่มแล้วจะรู้สึกสดชื่น หายเหนื่อย อิ่มเลยก็มี บางคนถึงกับไม่ต้องทานอาหารมื้อนั้นเลยก็เป็นได้ แต่รู้หรือไม่ว่า องค์ประกอบของน้ำอัดลมนั้นมีอะไรบ้าง ทำไมดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าเช่นนั้น

ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลมรสไหน ชนิดไหนก็มีองค์ประกอบหลักเหมือนกัน คือ น้ำ, น้ำตาล, กรดคาร์บอนิก, กรดฟอสฟอริก, คาเฟอีน, สีและกลิ่นหรือรส รวมถึงสารกันบูด เมื่อเราทราบถึงองค์ประกอบของมันแล้ว เรามาวิเคราะห์กันดีกว่าว่าสารเหล่านั้นเป็นอย่างไรบ้าง มีประโยชน์หรือเป็นโทษอย่างไร มีผลกระทบต่อร่างกายเราอย่างไร

เริ่มจากองค์ประกอบแรกและเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของน้ำอัดลม คือ น้ำ นั่นเอง ร่างกายเรามีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 60-70% นอกจากน้ำจะทำให้เราสดชื่นแล้ว น้ำยังเป็นตัวรักษาสมดุลต่างๆ ให้กับร่างกาย เช่น ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิคงที่ เพราะน้ำมีความจุความร้อนมาก ช่วยละลายสารอาหารต่างๆ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ ทำให้เซลล์ต่างๆ ดูดซึมสารอาหารและนำไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังช่วยในระบบขับถ่าย และเจือจาง สารพิษที่ร่างกายได้รับอีกด้วย แต่น้ำไม่ได้ให้พลังงานแก่ร่างกายแต่อย่างใด

ในน้ำอัดลมไม่มีสารอาหารประเภทโปรตีนและไขมัน น้ำตาล จึงเป็นสารอาหารชนิดเดียวที่อยู่ในขวดน้ำอัดลม เพราะเป็นสารที่ให้ความหวานและพลังงาน น้ำตาลที่ใช้ในน้ำอัดลมคือ ซูโครส (น้ำตาลทราย) เป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตซึ่งจะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัม ถ้าดูจากข้างขวดก็จะพบว่าในทุกๆ 100 มิลลิลิตร จะประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 10.6 กรัม (ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำอัดลม) ประมาณ 42.4 กิโลแคลอรี ถ้าเราดื่มน้ำอัดลม 1 ลิตร จะให้พลังงาน 424 กิโลแคลอรี ขณะที่โดยปกติร่างกายต้องการพลังงานวันละประมาณ 2000-2500 กิโลแคลอรี จึงทำให้เรารู้สึกอิ่มและสดชื่น การที่มีน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่าที่ร่างกายต้องการ อินซูลินจะทำงานหนักเพื่อที่จะเก็บน้ำตาลที่มากเกินพอในกระแสเลือดนั้นในรูป ของไกลโคเจนและไขมันใต้ผิวหนัง เป็นเหตุให้เรามีน้ำหนักมากขึ้นและอ้วนขึ้นนั่นเอง (ถ้าได้รับพลังงานมากกว่าที่ร่างกายต้องการ 7700 กิโลแคลอรี ก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม) นอกจากนี้การบริโภคน้ำอัดลมมาก จะทำให้อิ่มและรับประทานอาหารได้น้อยลง อาจเป็นเหตุให้ขาดสมดุลทางโภชนาการ

ส่วนในเครื่องดื่มบางชนิด เช่น Light, Zero หรือ Diet นั้น จะใช้สาร (เคมี) ให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งจะให้ความหวานแต่ไม่ให้พลังงาน อันนี้ก็ต้องระวัง เพราะสารให้ความหวานบางชนิดจะเป็นพิษต่อร่างกายหรือเป็นสารก่อมะเร็ง สารให้ความหวานที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้นยังได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ เพราะปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าสารนั้นเป็นพิษต่อร่างกาย แต่ในอนาคตอาจพบว่าเป็นสารพิษเหมือนในอดีตที่เปลี่ยนสารให้ความหวานอยู่เสมอ เพราะพบว่าเป็นพิษ ก็เป็นได้

กรดคาร์บอนิก

เป็นองค์ประกอบที่ทำให้น้ำอัดลมซ่า มีฟอง และมีรสเปรี้ยวอ่อนๆ กรดคาร์บอนิกนั้น ได้จากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้ความดันสูงบังคับ (อัด) ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับน้ำให้ได้ เพราะในสภาวะความดันปกติคาร์บอนไดออกไซด์แทบจะไม่ละลายน้ำหรือทำปฏิกิริยา กับน้ำเลย แต่กรดคาร์บอนิกที่เกิดขึ้นนั้นไม่เสถียร คือสลายตัวได้ง่ายในสภาวะความดันปกติ ยิ่งถ้ามีความร้อนด้วยจะยิ่งเร่งการสลายตัวให้เร็วยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสลายตัวของกรดคาร์บอนิกก็คือน้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์ นั่นเอง ดังนั้นจึงต้องเก็บน้ำอัดลมภายใต้ความดัน ก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้เราจึงเรียกว่าเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า “น้ำอัดลม” เมื่อเปิดขวดออก ความดันสูงในขวดก็จะลดลงเท่ากับความดันปกติ จึงทำให้กรดคาร์บอนิกสลายตัวออกมา ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดฟองนั่นเอง กรดคาร์บอนิกยังสามารถย่อยสลายหินปูนได้ จึงสามารถกัดกร่อนกระดูกและฟันได้เช่นกัน เช่นเดียวกับ กรดฟอสฟอริกซึ่งมีความเป็นกรดสูงมากพอที่จะ ละลายตะปูได้ภายใน 4 วัน นอกจากจะทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังทำให้นอนหลับยาก ฟันผุ อาจทำให้กระดูกพรุน เนื่องจากฟอสเฟสไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูกและฟัน

คาเฟอีน

เป็นสารที่มีกลิ่นหอมและพบมากในชา กาแฟ เป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงลง เมื่อ ได้รับคาเฟอีน ร่างกายจะมีความต้องการคาเฟอีนมากขึ้น และถ้าหยุดบริโภคคาเฟอีนอย่างทันที อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะและคลื่นไส้อาเจียนได้ การบริโภคคาเฟอีนมากเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะเสพติดคาเฟอีนได้ ซึ่งจะปรากฏอาการต่างๆ เช่น กระสับกระส่าย วิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก นอนไม่หลับ ใจสั่น หรือแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ เด็กที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ จะทำให้มีรูปแบบการนอนที่ผิดแผกไปจากเดิม เด็กเหล่านี้จะนอนไม่หลับในเวลากลางคืนและง่วงนอนในเวลากลางวัน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง

สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย ใส่เพื่อให้สามารถเก็บน้ำอัดลมได้นาน ในน้ำอัดลมนิยมใช้ กรดซิตริก (เป็นกรดที่อยู่ในมะนาว) สามารถป้องกันการเจริญของแบคทีเรียและยีสต์ได้ดี แต่เป็นกรดค่อนข้างแรง จะทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร ส่วนสี กลิ่นและรส เป็นสารเคมีสังเคราะห์ทั้งสิ้น สารเหล่านี้เป็นสารก่อมะเร็ง ถ้าได้รับมากเกินไปก็อาจจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้น

แนวทางในการดื่มน้ำอัดลมที่ถูกต้อง

  • ไม่ดื่มในปริมาณมาก
  • ไม่ดื่มน้ำอัดลมระหว่างมื้ออาหารหลัก หรือดื่มในปริมาณน้อย
  • หลังดื่มน้ำอัดลม ควรบ้วนปากหรือแปรงฟันเสมอ เพื่อป้องกันฟันผุ
  • ไม่ควรดื่มบ่อย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ อาจทำให้กระเพาะเกิดแผลได้

เมื่อ ทราบแล้วว่าน้ำอัดลมประกอบด้วยอะไรบ้างแล้ว เราก็พอจะประเมินได้ว่า น้ำอัดลมมีประโยชน์และมีโทษต่อร่างกายเราอย่างไร การดื่มน้ำอัดลมในปริมาณที่เหมาะสมและถูกวิธี ก็สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกายได้

Credit: vcharkarn.com

นำ้อะไรบ้าง

เครื่องดื่ม.
น้ำ น้ำประปา น้ำแร่.
น้ำผลไม้ น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำแคร์รอต น้ำฝรั่ง.
นม นมชง นมเปรี้ยว.
น้ำธัญพืช น้ำเต้าหู้.

เครื่องดื่มมีอะไรบ้าง

เครื่องดื่มมีกี่ประเภท.
กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มสุรา (Spirit) ได้แก่ จิน รัม วอดก้า บรั่นดี วิสกี้ ตากีลา ลิเคียว แอควาวิท แอพเพอริทีฟ.
กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มเบียร์ (Beer) ได้แก่ ลาเกอร์เบียร์ เอล.
กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มไวน์ (Wine) ได้แก่ ไวน์แดง ไวน์ขาว โรเซ่ไวน์ สปาร์คลิ้งไวน์ แชมเปญ.

เครื่องดื่มมีความสําคัญต่อร่างกายอย่างไร

จะเห็นได้ว่า เครื่องดื่มจากธรรมชาติให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประโยชน์ทางตรงก็คือ ช่วยให้ได้เครื่องดื่มที่อร่อย สะอาด ช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ส่วนประโยชน์ทางอ้อม คือ ใช้เป็นยาบำรุง และยารักษาโรค เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ บำรุงร่างกาย ช่วยระบาย หรือช่วยแก้ท้องเสีย เป็นต้น ...

การจัดเครื่องดื่มมีวิธีอย่างไรบ้าง

การเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่ง และบริการเครื่องดื่ม 1. อุปกรณ์ต้องสะอาด 2. เครื่องดื่มที่มีเนื้อ ควรสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนทํา 3. เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมผักหรือผลไม้ควรดื่มทันที.
ให้นักเรียนเลือกเครื่องดื่มที่ตนเองสนใจ ... .
ใส่แก้วเสิร์ฟ และตกแต่งเครื่องดื่มให้สวยงาม ... .
สามารถทาํ ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวได้.