ค่านิยมในเรื่องเพศของวัฒนธรรมไทยคืออะไร

เอเชียเป็นหนึ่งในหลายพื้นที่รอบโลกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมทางเพศสภาพ และเราเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในหลายๆประเทศ แต่เราก็ได้ยินหลายๆคนที่ยังแย้งว่าความหลากหลายทางเพศเป็นแนวคิด “ตะวันตก” หรือขัดต่อ “วัฒนธรรมอันดีงาม” ของชาวเอเชีย วันนี้ เราจึงจะมาตอบคำถามพบได้บ่อยเรื่องความหลากหลายทางเพศกัน

 

  1. แต่รักร่วมเพศมันขัดกับ“วัฒนธรรมอันดีงาม”ของเอเชียนะ

 

ถ้าดูหลายๆประเทศตอนนี้ละก็ คนยอมรับเรื่องรักร่วมเพศเยอะกว่าที่คุณคิดนะ

 

ศาลฮ่องกงและไต้หวันรับรองสิทธิของคู่สมรสเพศเดียวกันแล้ว เหลือรอลุ้นแค่ว่ากฎหมายจะผ่านหรือไม่เท่านั้น ส่วนอินเดียก็ยกเลิกกฎหมายที่ลงโทษการมีเพศสัมพันธ์ในเพศเดียวกัน หลายๆ จังหวัดในญี่ปุ่นยอมรับคู่สมรสเพศเดียวกันอย่างเท่าเทียมกับคู่สมรสข้ามเพศในหลายๆเรื่อง แม้แต่ไทยเราก็กำลังมีการร่างกฎหมายรับรองการสมรสของคนเพศเดียวกัน

 

“วัฒนธรรมอันดีงาม”, “จารีตประเพณี”, และ “ค่านิยมของสังคม” ไม่ใช่เหตุผลในการละเมิดสิทธิผู้อื่นได้ ต่อให้คนส่วนใหญ่ในสังคมเห็นด้วย สหประชาชาติก็เคยประกาศไว้แล้วเมื่อปี 2010 ว่า  “เมื่อใดที่วัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชนขัดกัน สิทธิมนุษยชนต้องคงอยู่เสมอไป”

 

  1. คู่รักร่วมเพศมีลูกไม่ได้ อย่างนี้มันก็ผิดธรรมชาติน่ะสิ

 

คู่รักต่างเพศที่ไม่มีลูกก็มีถมไป ไม่ว่าจะไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ เป็นหมัน หรือไม่อยากมีเอง แต่คนกลุ่มนั้นก็ไม่เคยถูกสังคมตีตราว่าผิดธรรมชาติแต่อย่างใด

 

สิทธิมนุษยชนไม่ใช่สิ่งที่จะขาดตอนได้แค่เพราะคนๆ นั้นจะไม่มีลูก กลับกัน มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกได้ว่าจะมีลูกหรือไม่ เมื่อไหร่ หรือกี่คน

 

  1. โดยกฎหมายน่ะ คำว่า “สมรส” มันใช้ได้เฉพาะคู่ที่เป็นผู้หญิงกับผู้ชายนะ

 

แค่เพราะกฎหมายไม่รองรับการแต่งงานในเพศเดียวกัน ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะเป็นใบอนุญาตไปเบียดเบียนคนรักเพศเดียวกันได้ กฎหมายระหว่างประเทศระบุชัดเจนถึงการห้ามเลือกปฎิบัติต่อบุคคลเพราะเพศสภาพของคนนั้นๆโดยกฎดังกล่าวไม่ได้พูดถึงการแต่งงานแต่อย่างใด

 

ดังนั้น แค่เพราะประเทศของคุณไม่รับรองการสมรสในเพศเดียวกัน ไม่ได้แปลว่าจะสามารถนำกฎหมายนั้นมาตีความเพื่อกลั่นแกล้งทำร้ายผู้แตกต่างทางเพศได้อยู่ดี

 

  1. รัฐไม่มีสิทธิ์มาก้าวก่ายจารีตของสังคมนะ

 

ขอแสดงความเสียใจ แต่สหประชาชาติได้ตกลงร่วมกันไปแล้วว่าความเสมอภาคในฐานะมนุษย์อยู่เหนือทุกจารีตประเพณี ถ้าการมีอยู่ของประเพณีนั้นๆ ทำให้มีผู้เสียหายที่ถูกละเมิดสิทธิของบุคคลนั้น รัฐมีหน้าที่ที่จะเข้าไปช่วยเหลือบุคคลนั้นให้อยู่ได้อย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี แม้จะหมายถึงการลบเลือนจารีตประเพณีนั้นๆ ให้หายไปก็ตาม

 

  1. ทำไมต้องปกป้องกลุ่มพิเศษพวกนั้นกว่าคนอื่นๆ เขาด้วย

 

ผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และคนในแต่ละส่วนของสังคมล้วนต้องเผชิญกับปัญหาและการกีดกันที่แตกต่างออกไป ทำให้การปกป้องคนเหล่านั้นต้องใช้วิธีพิเศษที่ทำขึ้นเพื่อปัญหาแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะ

 

การศึกษาของเราพบว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศยังเข้าไม่ถึงสิทธิ์อีกมากมายในหลายๆ ประเทศ หรือแม้กระทั่งต้องตกอยู่ในอันตรายๆทุกๆวัน ดังนั้นการมีวิธีเพื่อปกป้องคนเหล่านี้ที่ถูกพัฒนาเพื่อคนกลุ่มนี้ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาได้รับสิทธิพิเศษ แต่เป็นหนึ่งในกระบวนการเพื่อทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมสามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนได้อย่างเท่าเทียม

 

  1. ครอบครัวรักร่วมเพศจะเลี้ยงลูกดีๆได้หรือ

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กๆในครอบครัวรักร่วมเพศไม่เคยมาจากการมีผู้ปกครองเพศเดียวกัน แต่มาจากการที่สังคมชอบกลั่นแกล้งเด็กที่มาจากครอบครัวรักร่วมเพศ

 

โลกของเรามีลักษณะของครอบครัวมากมายหลายชนิด แต่สังคมกลับถือว่าครอบครัวที่มีพ่อเป็นผู้ชายและแม่เป็นผู้หญิงเท่านั้นที่ปกติ ทั้งที่ครอบครัวชนิดอื่นๆเหล่านั้นก็เลี้ยงดูลูกๆของพวกเขาออกมาได้สมบูรณ์เช่นเดียวกัน

 

การศึกษาหลายๆ ครั้งแสดงให้เห็นแล้วว่าครอบครัวรักร่วมเพศไม่ได้มีความเสี่ยงหรืออันตรายต่อเด็กมากไปกว่าครอบครัวต่างเพศแต่อย่างใด ดังนั้น การกีดกันว่าคนกลุ่มหนึ่งไม่ควรจะเป็นผู้ปกครองเด็กแค่เพราะเพศสภาพที่แตกต่างจึงถือเป็นการเลือกปฏิบัติที่อันตราย

 

  1. ทำไมบางโรงเรียนถึงสอนเรื่องเพศศึกษาร่วมกับเพศสภาพด้วย

 

การศึกษาเรื่องเพศ เพศสัมพันธ์ การเจริญพันธุ์ และเพศสภาพมีส่วนสำคัญในการทำให้เด็กโตขึ้นมามีสุขภาพกายและจิตที่ดี ซึ่งการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะจัดให้เด็กๆอย่างทั่วถึง การปิดกั้นข้อมูลในเรื่องดังกล่าวจะนำไปสู่ความไม่เข้าใจที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกและกลั่นแกล้งในโรงเรียน และทำให้เด็กโตขึ้นมามีทัศนคติที่เป็นภัยต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ

 

นอกจากนี้ สหประชาชาติเคยประกาศไว้แล้วให้เพศศึกษาเป็นหนึ่งในหลักสูตรภาคบังคับและสามารถเข้าถึงได้โดยเยาวชนนอกระบบการศึกษาด้วย

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแอมเนสตี้
บริจาคสนับสนุนแอมเนสตี้

แบ่งปัน

/latest/blog/673

1118

Share

Tweet

Send In Messenger

ค่านิยมในเรื่องเพศของวัฒนธรรมไทยคืออะไร

“เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราจึงต้องสื่อสารออกไปให้ดีที่สุด” : วีริสา ลีวัฒนกิจ กับบทบาทนักศึกษาฝึกงานในองค์กรสิทธิมนุษยชน

ค่านิยมเรื่องเพศในปัจจุบันของสังคมไทยเป็นอย่างไร

2. ค่านิยมทางเพศที่ดีของสังคมไทย 2.1 หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัว ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน 2.2 ชายไทยไม่ควรส าส่อนทางเพศเพราะอาจเกิดผลเสียโดยการติดโรค 2.3 ชายไทยมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิง ไม่หลอกลวง ไม่ข่มเหงน ้าใจ 2.4 ชายไทยรับผิดชอบต่อครอบครัว Page 10 193 Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University ...

ค่านิยมทางเพศของไทยมีอะไรบ้าง

2. ค่านิยมทางเพศ พบว่า 1) ค่านิยมเรื่องรักนวลสงวนตัวของหญิงวัยรุ่น คิดว่าเป็นเรื่องล้าสมัยการถูกเนื้อต้องตัว และการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา 2) ค่านิยมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจจึงไม่ป้องกัน และ 3) ค่านิยมในการคุมกำเนิด ส่วนใหญ่คิดว่าฝ่ายชายเคยมีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน จึงขึ้น ...

ค่านิยมทางพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้องสำหรับสังคมไทยประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับคนไทย ได้แก่ 1.1 การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่ บุตรหลานโดยคิดว่าเป็นเรื่อง หยาบคาย หรือน่าอาย 1.2การไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศ อย่าง เปิดเผย 1.3 การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง

ปัจจัยที่เกี่ยวกับค่านิยมเรื่องเพศมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับค่านิยมทางเพศ ของนักศึกษา ส านักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพพบว่าปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับค่านิยมทางเพศ ได้แก่ปัจจัยด้าน บุคคล คือ อายุปัจจัยด้านครอบครัว คือ ความสัมพันธ์ กับบิดา-มารดา ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม คือ บริเวณที่พักอาศัย และปัจจัยด้านสารเสพติด คือ Page 6 96 วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 5 ...