พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

หน้าที่หลักของการเป็นลูกเรือหรือแอร์โฮสเตส ก็คือ การดูแลเรื่องความปลอดภัยบนเครื่องบินด้วยการตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ และดูแลให้ผู้โดยสารอยู่ในความปลอดภัยตลอดเวลาตั้งแต่เครื่องขึ้นจนถึงเครื่องลง เช่น การสาธิตอุปกรณ์ฉุกเฉิน การช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร
พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

  1. เริ่มจากการมารายงานตัวก่อนเวลาบินที่สำนักงาน (อาจจะประมาณ 1 ชั่วโมง หรือมากกว่า) เพื่อเตรียมพร้อมบิน โดยจะมีการตรวจเอกสาร ทำความรู้จักทีมลูกเรือที่จะทำงานร่วมกัน เตรียมรายละเอียดและแบ่งหน้าที่งาน รวมถึงทบทวนความรู้ด้านความปลอดภัยของลูกเรือในทีม
  2. เดินทางไปที่เครื่องบินที่จะบินเพื่อเตรียมเครื่อง ก็จะมีการเช็คอุปกรณ์ฉุกเฉิน เช็คระบบต่างๆ ในห้องโดยสาร และเตรียมอุปกรณ์บริการ เช่น ขนมของว่าง อาหาร เครื่องดื่ม ฯลฯ
  3. เชิญผู้โดยสารขึ้นเครื่อง สาธิตการใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่างๆ บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร
  4. ช่วยทำความสะอาดห้องโดยสารแต่ละส่วน หลังจากผู้โดยสารลงจากเครื่องหมดแล้ว
  5. สิ้นสุดหน้าที่ของแต่ละวัน (หรือเที่ยวบิน) ด้วยการกลับสำนักงานเพื่อสรุปงานร่วมกับทีมลูกเรือที่บินด้วยกัน

 

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร
พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

อาชีพนี้ทำงานร่วมกับ นักบิน, เจ้าหน้าที่ช่างที่มาตรวจสอบความพร้อมของเครื่องบิน, lampmaster, เจ้าหน้าที่ทำความสะอาด, เจ้าหน้าที่โหลดของ (loader), เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก (potter)

นอกจากนี้ก็อาจจะมีหน่วยพยาบาล/ทีมแพทย์ หรือ หน่วย eod ที่จะเข้ามาในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน

 

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร
พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

อาชีพนี้ก็จะปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบินเป็นหลัก และก็จะมีสำนักงานที่เราจะต้องเข้าไปเพื่อประชุมรายละเอียดและสรุปงานด้วย

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร
พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

ทางสำนักงานก็จะกำหนดตารางเวลาทำงานในแต่ละเดือน ที่เรียกว่า original schedule โดยจะมีการกำหนด maximum และ minimum ของจำนวนเที่ยวบินหรือชั่วโมงบินว่าแต่ละเดือนแอร์โฮสเตสคนนั้นจะทำการบินกี่เที่ยวหรือกี่ชั่วโมงบิน

แต่เราก็สามารถเปลี่ยนตารางบินของเราได้ด้วยการสลับตารางบินกับเพื่อนแอร์โฮสเตสด้วยกันซึ่งก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของทางบริษัท

 

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร
พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

บุคลิกหรือนิสัยที่น่าจะเป็นพื้นฐานหลักของอาชีพแอร์โฮสเตสก็คือ ความมั่นใจ การกล้าแสดงออก ความเป็นคนคล่องแคล่ว รวดเร็ว ช่างสังเกต รักการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ และที่สำคัญที่สุดออีกหนึ่งเรื่องก็คือ การมีใจในเรื่องการบริการ

 

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร
พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

คุณค่าของอาชีพนี้ก็คือ ความภูมิใจที่เราได้คอยช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสาร

แต่ก็ต้องแลกมาด้วยผลเสียที่จะเกิดกับสุขภาพกาย อย่างเช่น เรื่องการนอนไม่หลับเพราะตารางบินที่ไม่แน่นอน อีกทั้งหลายๆ เที่ยวบินก็เป็นเที่ยวบินกลางคืน นอกจากเรื่องการนอนแล้วก็เป็นเรื่องกระดูก ทั้งกระดูกข้อเข่าเพราะต้องยืนตลอดเวลา ต้องยืนบนพื้นที่ลาดเอียง หรือจะมีปัญหาที่กระดูกสันหลังงอจากการต้องยกกระเป๋าผู้โดยสาร

ปัญหาสุขภาพจากการบินยังมีเรื่องปัญหาสุขภาพตา เพราะเมื่ออยู่บนฟ้าออกซิเจนจะน้อย อากาศจะแห้ง ตาเราก็จะแห้ง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคนเป็นหลัก

 

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร
พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

ลำดับแรกเลยเราจะเป็น Cabin Crew ธรรมดา จากนั้นเราก็จะเป็น Cabin Crew ที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงสอนบนเครื่อง หลังจากนั้นเราก็จะสามารถขยับไปเป็น Trainer และทำงานไประยะเวลาหนึ่งแล้วเราก็จะสามารถสอบเป็น Cabin Leader หรือ Purser ได้

ในอีกสายหนึ่งซึ่งก็จะไม่ได้ทำการบินไปกับเครื่องบิน ก็คือ การสอบเป็น Instructor ที่ทำหน้าที่สอนแอร์โฮสเตสในห้องเรียน 

นอกจากนี้ก็จะมีตำแหน่ง Checker, Super visor,  manager และ director ที่เป็นสายบริหาร ซึ่งเป็นอีกสายงานหนึ่งที่สามารถเติบโตไปได้

* Career path ของอาชีพแอร์โฮสเตสอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสายการบิน

 

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร
พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

คนที่จะมาเป็นอาชีพแอร์โฮสเตสสามารถเรียนจบอะไรก็ได้แต่คุณสมบัติในส่วนของความรู้ก็คือ ภาษาที่สองที่เป็นภาษาอังกฤษที่ต้องคล่องและชำนาญ และอาจจะรวมถึงภาษาที่สามซึ่งถ้ามีก็จะเป็นต้นทุนที่ช่วยได้

คำศัพท์ภาษาอังกฤษแอร์ คือ คำศัพท์ที่ต้องรู้ถ้าคิดสมัครแอร์โฮสเตส / สจ๊วต ซึ่งมักคำศัพท์ที่ใช้ ในเครื่องบิน สนามบิน ที่เป็นภาษาอังกฤษ ที่ควรรู้ นอกจากพื้นฐานภาษาอังกฤษโดยทั่วๆไปแล้ว แต่ละอาชีพ ก็มักจะมี คำศัพท์เฉพาะ ที่ใช้กันในวงการอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินนี้

เรามาจำ คำศัพท์ภาษาอังกฤษแอร์ /สจ๊วตที่ใช้บ่อยๆ กันดีกว่า ไม่ว่าจะเจอคำศัพท์ภาษาอังกฤษเหล่านี้ที่ไหน ตั้งแต่ สนามบิน ไปจนถึง บนเครื่องบิน ก็รู้ และ เข้าใจ

เรามาดูกันค่ะว่ามีคำศัพท์ภาษาอังกฤษแอร์ คำไหนบ้าง ที่น่าจำไว้ เพื่อสร้างฐานคำศัพท์ใหม่ๆ ให้กับตัวเอง เตรียมความพร้อมไปสมัครสัมภาษณ์แอร์/สจ๊วต

ซึ่งน้องๆ ไม่ต้องกังวลไปนะคะ ว่าน้องๆ ไม่คุ้นกับคำศัพท์หลายๆคำเหล่านี้เลย เพราะ คำศัพท์เหล่านี้ เป็นคำศัพท์เฉพาะกับอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน รวมไปถึง งานบริการการบริการภาคพื้นด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ คำศัพท์ของกราวน์สต๊าฟ เครื่องบิน ตั๋วเครื่องบิน สนามบิน ต่างๆ

มันจะเป็นประโยชน์มาก ถ้าน้องๆ เรียนรู้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษแอร์ เหล่านี้ไว้ เพื่อทีว่า เวลาที่น้องๆ ไปสัมภาษณ์งานกับสายการบิน แล้ว มีการยกตัวอย่างสถานการณ์ต่างๆ น้องๆจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เวลาสัมภาษณ์งานด้วย

ซึ่ง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ น่ารู้เหล่านี้มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

อัพเกรด Resume, Cover Letter, SOP และ โปรไฟล์ LinkedIn

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

(คำศัพท์ภายในสนามบินทั่วๆไป)

  • Airports: สนามบิน
  • Airline: สายการบิน
  • Passenger: ผู้โดยสาร
  • Trolley: รถเข็น สำหรับใช้ในสนามบิน
  • Lounge: ห้องรับรอง
  • Business Loung: เลานจ์/ห้องรับรอง ชั้นธุรกิจ
  • Runway: ลานวิ่ง (ของเครื่องบิน)
  • Lost and Found:ห้องติดตามสัมภาระหาย
  • Carousel : สายพาน
  • Air Traffic Control: หอควบคุมการจราจรทางอากาศ
  • Scanner: เครื่องสแกน (เอาไว้เช็คสิ่งของต้องสงสัยในกระเป๋า เพื่อความปลอดภัย)
  • Terminal: แปลตรงๆ คือ สถานี หรือที่เข้าใจกันคือ อาคารสนามบิน บางครั้งสนามบินแต่ละที่ จะมีหลายอาคารด้วยกัน ซึ่งบางครั้งจะแบ่งเป็น Terminal 1 / Terminal 2 / Terminal 3 ดังนั้น เพื่อความเข้าใจง่ายๆ เมื่อกล่าวถึง Terminal ในสนามบิน คือ อาคารของสนามบินนั่นเอง
  • Complimentary: ฟรี (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
  • Transit Passenger: ผู้โดยสารต่อเครื่อง
  • Vat Refund: การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับนักท่องเที่ยว
  • Immigration:ตรวจคนเข้าเมือง หรือ ต.ม.
  • Passport Checkpoint: จุดตรวจพาสปอร์ต
  • Currency Exchange Counter: เคาเตอร์แลกเงิน
  • Security: ความปลอดภัย
  • Security Checkpoint: จุดตรวจความปลอดภัย
  • Metal Detector: เครื่องตรวจจับโลหะ
  • Shuttle: รถรับส่ง
  • Shuttle Bus: รถบัสรับส่ง
  • Passport: พาสปอร์ต

(คำศัพท์เกี่ยวกับ การเช็คอิน)

  • Aisle Seat: ที่นั่งติดทางเดิน
  • Row: แถว
  • Exit row: แถวที่ติดกับทางออก
  • Seat number: เลขที่นั่ง
  • Window: หน้าต่าง
  • Emergency Exits: ทางออกฉุกเฉิน
  • Emergency Seat: ที่นั่งตรงทางออกประตูฉุกเฉิน (จะไม่ให้เด็ก หญิงตั้งครรถ์ หรือ คนชรา นั่งเพราะ เวลาเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ผู้ที่นั่งแถวนี้ จะต้องช่วยลูกเรือในการกระทำการ อพยพผู้โดยสาร ตามคำขอของลูกเรือ)
  • Window Seat: ที่นั่งติดหน้าต่าง
  • Cabin: ห้องโดยสร
  • Business-Class: ชั้นธุรกิจ
  • Business-Class Seat: ที่นั่งโดยสารชั้นธุรกิจ
  • Economy class / Coach class: ที่นั่งโดยสารชั้นประหยัด
  • Departure: การเดินทาง (ขาออก)
  • Departure Time: เวลาออกเดินทาง
  • Gate: ประตู
  • Gate Closing Time: เวลาประตูขึ้นเครื่องปิด
  • Boarding Card/ Pass: บอร์ดดิ้งพาส หรือ บัตรที่นั่งโดยสาร (เป็นกระดาษที่เราสามารถปริ๊นได้ออนไลน์ เมื่อทำการเช็คอินออนไลน์เรียบร้อยแล้ว แต่โดยทั่วไป ถ้าเราไปเช็คอินหน้าเคาเตอร์เช็คอิน พนักงานจะ ยื่นบัตรโดยสารให้เรา พร้อมแจ้ง Gate (ประตูขึ้นเครื่อง) และ Boarding Time(เวลาขึ้นเครื่อง ซึ่งควรไปถึงล่วงหน้า 5-10 นาทีเป็นอย่างน้อย))
  • Board: การขึ้นเครื่อง
  • Boarding time: เวลาขึ้นเครื่อง

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

(คำศัพท์เกี่ยวกับ ตารางการบิน)

  • Information Screen: จอแสดงข้อมูลเที่ยวบิน
  • Estimated Time of Arrival: เวลาที่คาดว่าจะถึง
  • Estimated Time of Departure: เวลาที่คาดว่าจะออกเดินทาง
  • Land/Landing: การลงถึงพื้น ตัวอย่าง Landing time: เวลาที่จะถึงพื้น, We are going to land in Bangkok at 7:00 p.m.
  • Long-haul flight: ไฟล์ยาว (เที่ยวบินใช้เวลานานในการบิน)
  • Short Flight: ไฟล์สั้นๆ (เที่ยวบินใช้เวลาสั้นๆในการบิน)
  • On time: ตรงเวลา เช่น เครื่องออกตรงเวลา เครื่องบินมาถึงตรงเวลา ตามที่ตารางกำหนด
  • Delayed: การล่าช้า (มักจะพบบนป้ายไฟ ที่แจ้งว่าแต่ละไฟล์ นั้นมีสถานะอย่างไร ถ้าขึ้นว่า Delayed ก็แปลว่า ไฟล์นั้นๆ จะมีการล่าช้า ไม่ว่าจะเป็นการออกเดินทางล่าช้า หรือ มาถึงล่าช้า)
  • Domestic Flight: เที่ยวบินภายในประเทศ
  • International Flight: เที่ยวบินต่างประเทศ
  • Departures: ขาออก (เที่ยวบินขาออก)
  • Arrivals: ขาเข้า (เที่ยวบินขาเข้า)

(คำศัพท์เกี่ยวกับ ศุลกากร)

  • Duty-Free:  สินค้าปลอดภาษี
  • Customs Declaration: การแจ้งศุลกากร (จะทำเวลาขาเข้าประเทศนั้นๆ ว่าเรามีของต้องสำแดงไหม )
  • Nothing to Declare: ไม่มีของต้องสำแดง
  • Goods to Declare: มีของต้องสำแดง
  • Customs: ศุลกากร
  • Custom Form: แบบฟอร์มที่เอาไว้กรอกเพื่อแจ้งของต้องสำแดง ที่นำเข้าประเทศ
  • Prohibited Items: สิ่งของต้องห้าม
  • Final Call:การเรียกขึ้นเครื่องครั้งสุดท้าย
  • Last Call: การประกาศขึ้นเครื่องครั้งสุดท้าย

(คำศัพท์เกี่ยวกับ การจองตั๋ว)

  • Book (a ticket): การจอง(ตั๋ว)
  • Direct flight: บินตรงไม่หยุดพัก
  • One-way: ขาเดียว (มีแต่ขาไป ไม่มีขากลับ)
  • Round Trip: ไป-กลับ
  • Stopover: การหยุดเครื่องชั่วคราว หรือ การแวะพักเครื่อง (จะพบเมื่อ เครื่องบินที่เราโดยสาร จะจอดพัก ก่อนที่เราจะถึงจุดหมายปลายทาง)
  • Layover: การหยุดพักค้างคืน
  • Connecting Flight: การต่อเครื่องบิน
  • Travel Agent: ตัวแทนจำหน่ายตั๋ว
  • Visa: วีซ่า
  • Destination: เมืองปลายทาง
  • Multi Destination: การเดินทางหลายๆเมือง เช่น จองตั๋ว จาก ไทย ไป โตเกียว แล้ว ไปต่อ ฮ่องกง
  • Origin: เมืองต้นทาง
  • Overbooked: การขายต๋วเกินจำนวน
  • Offload: ไม่ให้ไป หรือ การเอาผู้โดยสาร หรือ สิ่งของออกจากเครื่องบิน

(คำศัพท์เกี่ยวกับ โหลดกระเป๋าเดินทาง)

  • Dangerouse Goods: สินค้าอันตราย (สิ่งของที่อันตราย ที่สามารถก่อประกายไฟ หรืออันตรายอื่นๆ บนเครื่องบินได้ เราต้องศึกษาให้ดีว่า มีอะไรบ้างเพื่อที่จะไม่พกขึ้นเครื่อง)
  • Power Bank: แบตเตอรี่สำรอง
  • Suitcase: กระเป๋าเดินทาง
  • Checked-bag: กระเป๋าสำหรับโหลดใต้ท้องเครื่อง
  • Carry-on Luggage: กระเป๋าลากขึ้นเครื่อง โดยส่วนใหญ่ จะกำหนดน้ำหนักที่ไม่เกิน 7 กิโลกรัมต่อใบ
  • Excess Baggage: สัมภาระส่วนเกิน (เกินตามน้ำหนักที่แต่ละสายการบินให้ ซึ่งน้ำหนักที่เกินมานี้เราต้อง จ่ายเงินเพิ่ม)
  • Registered luggage: สัมภาระที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
  • Fragile: เปราะบาง (มักพบเป็น สติ๊กเกอร์ ติดประเป๋า หรือ สำภาระของผู้โดยสารที่ภายในมีสินค้า หรือ ของที่แตกง่าย เพื่อแจ้งกับพนักงานภาคพื้นในการเคลื่อนย้ายกระเป๋า อย่างระมัดระวังไม่ให้แตก)
  • Liquids: ของเหลว คำศัพท์นี้มักจะพบ เวลาเช็คอิน กระเป๋า หรือเวลา Scan กระเป๋าว่าเรามีของเหลว ติดตัวมาไหม ซึ่งของเหลวที่จะเอาขึ้นเครื่องได้ จะต้องไม่มีขนาดเกิน 100 ml.

การแจ้งสถานะ และ ตารางเวลา ของเครื่องบิน

สักเกตุว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเติม -ed หลังคำศัพท์
มักจะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว เช่น

Landed: เครื่องลงจอดแล้ว
Delayed: เครื่องดีเลย์(ไปแล้ว)
Arrived: เครื่องบินถึงแล้ว
Gate Closed: ประตูขึ้นเครื่องปิดแล้ว

ตำแหน่ง เพื่อนร่วมงาน ในหน้าที่ แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต

ในเที่ยวบินหนึ่งๆ ของ อาชีพลูกเรือ เราต้องทำงานกันเป็นทีม ดังนั้น เราต้องรู้จัก ชื่อตำแหน่ง ของบุคคลนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การบิน และ การทำงานของเราด้วย

คำศัพท์เรียก แอร์โฮสเตส มีหลากหลาย คือ

Flight Attendant : คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
Cabin Crew : คือ ลูกเรือ ใช้ได้กับทั้งผู้หญิง และ ผู้ชาย ทั้งหมด ที่ทำงานในห้องโดยสาร
Steward : คือ พนักงานตอนรับบนเครื่องบิน ผู้ชาย
Stewardess : คือ พนักงานตอนรับบนเครื่องบิน ผู้หญิง (เรียกได้อีกแบบ)
Air Hostess : คือ แอร์โฮสเตส พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน นี่เอง

คำศัพท์ เรียก เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง บนเครื่องบิน

Captain : กัปตัน สังเกตุได้ จะมี 4 ขีด บนบ่า หรือ ปลายสูท
First Officer : นักบินผู้ช่วยที่ 1 (สามารถมีหลายคนได้) แต่ใน 1 เที่ยวบิน ต้องมี อย่างน้อย 2 คนที่ขับเครื่องบิน
Engineer : วิศวกร เครื่องบิน (จะเจอตอนจอดเครื่อง ส่วนใหญ่ เค้าจะขึ้นมาเช็คเครื่อง )
Ground Staff : พนักงานภาคพื้น หรือที่เรียกกันว่า กราวน์สต๊าฟ ที่จะมาคอยส่งเอกสาร และ แจ้งข้อมูลของผู้โดยสาร ให้หัวหน้าลูกเรือบนเครื่องบิน
Cleaner : คนทำความสะอาดเครื่องบิน
Catering Officer: เจ้าหน้าที่ จัดหาอาหาร ให้กับเที่ยวบินนั้นๆ


ตัวอย่าง บทสนทนาการใช้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษแอร์ ใน สนามบิน

ระหว่าง Passenger (ผู้โดยสาร) กับ Ground Staff (พนักงานภาคพื้น) ที่สนามบิน

กราวด์สต๊าฟ : Good morning. Can I have your ticket, please?
ผู้โดยสาร     : Here you are.
กราวด์สต๊าฟ : Would you like a window seat or an aisle seat? Sir/Madam
ผู้โดยสาร      : An aisle seat, please.
กราวด์สต๊าฟ  : Do you have any baggage?
ผู้โดยสาร      : Yes, this suitcase (กระเป๋าเดินทาง)
                      and this carry-on bag(กระเป๋าถือขึ้นเครื่อง).
กราวด์สต๊าฟ  : Here’s your boarding pass(บัตรที่นั่ง).
                      Please process to the gate 15 mins before the departure time.
                      The gate will be closed at 8.20 pm.
Have a nice flight Sir/Madam.
ผู้โดยสาร      : Thank you.

คำศัพท์ภาษาอังกฤษแอร์/สจ๊วต ที่ใช้บ่อย ในบนเครื่องบิน

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

คำศัพท์ ห้องต่างๆ บนเครื่องบิน

  • Cabin: ห้องโดยสาร
  • Lavatory:  ห้องน้ำ
  • Vacant: ว่าง (เวลาเข้าห้องน้ำบนเครื่องบิน ให้สังเกตป้ายหน้าห้องน้ำนี้ )
  • Occupied: ไม่ว่าง (ป้ายหน้าห้องน้ำ แจ้งว่ามีคนเข้าอยู่ค่ะ)
  • Galley: ห้องครัวภายในเครื่องบิน
  • Aisle: ช่องทางเดินตรงกลางภายในเครื่องบิน
  • Cockpit: ห้องควบคุมเครื่องบิน 
  • Crew Rest Area: ห้องพักของลูกเรือ (มีเฉพาะบางลำ บางรุ่นเท่านั้น)

คำศัพท์ ระหว่าง การบิน

  • Push back:การเลื่อนตัวถอยหลัง
  • Taxi:การเคลื่ยนตัวช้าๆ ของเครื่องบิน
  • Takeoff:เทคออฟ หรือ การบินขึ้น
  • Touchdown:การแตะพื้นของเครื่องบิน
  • Turbulence:สภาวะที่เครื่องบินไม่นิ่ง เครื่องสั่นไปมา
  • Bumpy:เครื่องสั่น
  • Top Of Descent:จุดเริ่มต้นลดระดับการบิด
  • Landing:การลงสู่พื้นดิน

คำศัพท์ อุปกรณ์ต่างๆ บนเครื่องบิน

  • Headset / Headphones: หูฟัง
  • Life Vest/ Life Jacket: เสื้อชูชีพ
  • Overhead Bin/ Compartment: ที่เก็บของเหนือศรีษะ
  • Oxygen Mask: หน้ากากออกซิเจน
  • Window Shade: ม่านบังแดด
  • Passenger Safety Card: คู่มือความปลอดภัยของผู้โดยสาร
  • Seat Pocket: กระเป๋าหน้าที่นั่ง
  • Tray: ถาดอาหาร
  • Pre-Flight Safety Demonstration: การสาธิความปลอดภัยก่อนบิน
  • Armrest: ที่วางแขน
  • Footrest: ที่วางเท้า
  • Reading Light: ไฟอ่านหนังสือ
  • Air Vent: ช่องแอร์
  • Seatbelt: เข็มขัดนิรภัย (Fasten Your Seatbelt: คาดเข็มขัดนิรภัย)
  • Infant Seatbelt: เข็มขัดนิรภัยสำหรับทารก (ที่นั่งบนตักผู้ปกครอง)
  • Baby Bassinet: เตียงเด็กทารก (จะมีเฉพาะ ผู้โดยสารที่นั่งติดกับ Bankhead (ฉากกั้น ห้องโดยสาร) เท่านั้น)

พนักงานบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

ตัวอย่างบทสนทนา ที่ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษแอร์

รู้เหรือไม่ว่า ตามกฏของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ The Federal Aviation Administration (FAA) แล้ว ตำแหน่งที่ นั่งแถวทางออก exit row นั้น นั่งได้เฉพาะ คนที่พูดภาษาอังกฤษ ได้เท่านั้น เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย โดยมีกฏว่า ผู้ที่นั่งตรงแถวทางออก จะต้องเป็น บุคคลที่ อายุ มากกว่า 15 ปีขึ้นไป และจะต้อง มีร่างกายที่แข็งแรง พร้อมทั้ง มีความยินดีช่วยเหลือ ลูกเรือ ในกรณี ที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะต้องช่วยเปิดประตูฉุกเฉิน และ อพยพ ผู้โดยสารท่านอื่นๆ

จึงทำเป็นลูกเรือ มีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายให้ผู้โดยสารแถวนี้ ทำความเข้าใจ ก่อนเครื่องขึ้น ตัวอย่าง การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษแอร์/สจ๊วต ที่จะต้องใช้บนเครื่องบิน ดังนี้

ผู้โดยสารบนเครื่องบินเรียกว่าอะไร

Airline: สายการบิน Passenger: ผู้โดยสาร

พนักงานบนเครื่องบิน มีอะไรบ้าง

เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller).
นักบินเครื่องบินพาณิชย์ (Airline Pilot).
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant/Cabin crew/Cabin attendant).
พนักงานบริการภาคพื้น (Ground Attendant/Ground Services/Airport Station Attendant).
วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Engineer).

แอร์โฮสเตส เรียกว่าอะไร

หน้าที่หลักของการเป็นลูกเรือหรือแอร์โฮสเตส ก็คือ การดูแลเรื่องความปลอดภัยบนเครื่องบินด้วยการตรวจเช็ค อุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้และดูแลให้ผู้โดยสารอยู่ในความปลอดภัยตลอดเวลาตั้งแต่เครื่องขึ้น จนถึงเครื่องลง เช่น การสาธิตอุปกรณ์ฉุกเฉิน การช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน

Cabin Crew กับ Air Hostess ต่างกันยังไง

Cabin crew และ Flight Attendant นั้นมีความหมายคล้ายๆ กันนั่นก็คือกลุ่มคน ที่มีหน้าที่ดูแลผู้โดยสารบนเครื่องบิน ส่วนคำว่า Steward และ Stewardess นั้น จะใช้เรียกพนักงานผู้ชายกับผู้หญิง เป็นคำศัพท์ที่มาจากการเรียกพนักงานบริการเสิร์ฟบนเรือและรถไฟคะ เนื่องจากสมัยก่อนที่จะมีเครื่องบิน ผู้คนนิยมโดยสารด้วยรถไฟและเรือคะ จึงนำคำ ...