คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง

แม้ว่าคุณสามารถแสดงงานของคุณได้ทั้งสองสื่อด้วยกันด้วยกัน คือ การพิมพ์ลงบนกระดาษและการแสดงภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่คุณจะต้องจำไว้ว่าจอภาพคอมพิวเตอร์กับกระดาษมีความแตกต่างกันอย่างมาก คุณจะต้องจดจำและทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้เอาไว้เพื่อการใช้งานกับสื่อที่แตกต่างกัน หรือการทำงานร่วมกันกับทั้งสองสื่อ

ตัวอักษรในการพิมพ์ลงบนกระดาษสามารถจะทำให้มีขนาดเล็กมาก และยังคงอ่านได้ เพราะหมึกที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์นั้นจะมีความคมชัด ซึ่งจะแตกต่างจากจุดของตัวอักษรที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ดังนั้น คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก หรือการใช้ภาพกราฟิกที่มีรายละเอียดที่เล็กมาก ๆ กับการทำงานบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายความว่าการออกแบบงานที่นำเสนอบนหน้าจอไม่เหมาะกับงานออกแบบที่มีเนื้อหาแบ่งเป็นคอลัมน์ย่อยหลายคอลัมน์บนหน้าจอ

จอคอมพิวเตอร์มีให้เลือกหลายขนาด คุณเองก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าผู้ที่ชมผลงานของคุณจะใช้จอคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเดียวกับคุณ ดังนั้นคุณควรออกแบบงานของคุณเพื่อให้ใช้ได้กับจอคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไปซึ่งก็น่าจะเป็นขนาด 14-15 นิ้ว แต่สำหรับการพิมพ์ลงบนกระดาษคุณจะรู้ได้ทันทีว่าคุณกำลังทำงานออกแบบของคุณลงบนกระดาษขนาดเท่าใด อย่างไรก็ตามงานออกแบบในไฟล์ประเภท HTML หรือ PDF นั้น จะมีความยาวไม่จำกัดเช่นกัน

ลักษณะของจอคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นแนวนอน (Landscape) ในขณะที่งานพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแนวตั้ง (Portrait) สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการจัดรูปแบบของงานออกแบบของคุณ

งานสิ่งพิมพ์ทั่ว ๆ ไปนั้นจะนิยมอ่านในลักษณะเป็นชุดต่อเนื่องกัน การเปิดไปสู่เนื้อหาที่ต่อเนื่องกันนั้น ผู้อ่านต้องเปิดอ่านจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง แต่สำหรับงานนำเสนอแบบออนไลน์นั้นผู้อ่านจะสามารถไปยังที่ใดก็ได้ตลอดเวลา ตั้งแต่การระบุว่าจะไปยังหน้าใดหรือการคลิกไปยัง Link ที่อาจพาไปยังหน้าอื่น ๆ ได้ เช่น ไปยังงานอื่นที่ไม่ใช่งานของคุณ

Resolution สำหรับงานพิมพ์นั้นขึ้นอยู่กับ Resolution ของเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างกันและอาจสูงได้ถึง 300 ppi ส่วนงานภาพที่ใช้กับงานเว็บเพจนั้ต้องการค่า Resolution เพียงแค่ 72 ppi ก็พอ

การนำเข้าไฟล์ภาพในระบบดิจิตอล

ในการนำเข้าไฟล์ภาพในระบบดิจิตอล เช่นการถ่ายภาพ หรือ การสแกนภาพ นั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือ Output หรือผลสำเร็จของงานที่จะนำเสนอ เพราะงานแต่ละประเภทต้องการคุณสมบัติของภาพที่แตกต่างกันออกไป การนำเข้าไฟล์ภาพที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ต้องทำงานใหม่ทั้งหมด ตัวอย่างเช่นภาพที่ใช้ทำโปสเตอร์ต้องมีขนาดที่ใหญ่และความละเอียดที่สูงกว่าภาพที่ใช้ทำเว็บเพจ

Resolution ของภาพที่เหมาะสม

งานสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่นั้นเป็นงานที่ดูในระยะใกล้และเป็นงานที่ผ่านระบบการพิมพ์คุณภาพสูงดังนั้นมีความต้องการ Resolution ที่สูงกว่างานที่นำเสนอบนจอภาพ สิ่งพิมพ์คุณภาพสูงส่วนใหญ่พิมพ์ที่ความละเอียด 300 DPI แต่สิ่งพิมพ์บางประเภทอาจมีความละเอียดที่แตกต่างออกไปได้ เช่น หนังสือพิมพ์ หรือป้ายโฆษณาแผ่นใหญ่ อาจใช้ Resolution ที่ต่ำเพราะไม่ต้องการคุณภาพมากนัก ส่วน Resolution ของจอภาพนั้นโดยทั่วไปจะเป็น 72 PPI ดังนั้นการทำงานเพื่อแสดงผลบนจอภาพควรใช้ค่า Resolution 72 PPI

แม่สี

แม่สีคือสีหลักหรือสีขั้นที่หนึ่งซึ่งเมื่อผสมผสานกันในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเห็นเป็นสีต่างๆ ในวงจรสีได้ทั้งหมด ในทางทฤษฎีสีแบ่งแม่สีออกเป็นสองระบบตามลักษณะการมองเห็น ได้แก่ แม่สีแสง และ แม่สีวัตถุธาตุ

แม่สีแสง ได้แก่สี Red, Green, Blueหลักการทำงานของแม่สีแสงคือ เป็นการมองเห็นสีต่างต่างๆ จากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรง หรือแสงนั้นตกกระทบกับวัตถุสีขาวแล้วสะท้อนมาเข้าตา ยกตัวอย่างเช่น ในห้องที่มืดสนิท เมื่อฉายไฟสี Red ไปบนผนังสีขาว เราจะมองเห็นเป็นสี Red ต่อมาเมื่อฉายไฟสี Green ไปบนผนังในตำแหน่งเดียวกัน ไฟสองสีจอผสมกันเป็นสีเหลือง และเมื่อฉายไฟครบทั้งสามสี Red Green Blue ก็จะได้แสงสีขาว ตัวอย่างของสื่อที่นำเสนอในระบบแม่สีแสงก็ได้แก่ จอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ จอสไลด์ หลอดไปสีต่างๆ เป็นต้น ในเซลที่เล็กที่สุดของจอภาพถ้าคุณลองขยายดูก็จะเห็นหลอดไฟเล็กสามสีเรียงกันเป็นชุดๆ จนเต็มจอ ซึ่งก็ใช้หลักการแบบแม่สีแสงนี่เอง

คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง
   
คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง

แม่สีวัตถุธาตุ ได้แก่สี Cyan, Magenta, Yellowเป็นระบบแม่สีที่ให้ในงานสิ่งพิมพ์ หรือ การระบายสี หลักการทำงานของสีในระบบนี้คือ วัตถุสีต่างๆ มีคุณสมบัติในการดูดซับและสะท้อนแสงที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น วัตถุสีเหลือง เมื่อถูกส่องด้วยแสงสีขาว (ในแสงสีขาวจะมีสี Red Green Blue ในประมาณเท่าๆ กัน) วัตถุสีเหลืองจะดูดซับแสงสี Blue และ สะท้อนแสงสี Red และ Green มาเข้าตา จึงมองเห็นเป็นสีเหลือง ตัวอย่างของสื่อที่นำเสนอในระบบแม่สีวัตถุธาตุได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ภาพจิตรกรรม สีทาบ้าน วัตถุสีต่างๆ เป็นต้น

คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง
  
คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง
คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง

ระบบสี

ในเมนู Image > Mode ของ Photoshop มีระบบสีต่างๆ ให้คุณเลือก ๘ ระบบ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงระบบสีที่สำคัญและใช้งานกันบ่อยๆ

Bitmap

เป็นระบบสีที่มีเพียงสีขาว และ ดำ เหมาะกับงานประเภทลายเส้น ภาพที่มีสองน้ำหนัก  ภาพเอกสารข้อความ หรือภาพที่มีลักษณะจุดสีเล็กๆ ที่เรียกว่า Halftone Screen

คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง

Gray Scale

เป็นภาพขาวดำที่มีนำหนักอ่อนแก่หรือน้ำหนักเทาในภาพด้วย เหมาะกับงานประเภททพิมพ์สีเดียว หรือในหน้าขาวดำของหนังสือเป็นต้น

คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง


Indexed Color

เป็นภาพที่มีจำนวนสีที่จำกัด ไม่เกิน ๒๕๖ สี ยิ่งจำกัดจำนวนสีให้น้อยเท่าได ภาพก็ยิ่งมีขนาดไฟล์ที่เล็กลง เหมาะกับงานที่มีสีไม่ซับซ้อนมากนัก หรือมีสีน้อยๆ เช่นภาพการ์ตูน หรือ โลโก้ ระบบสีแบบ Indexed Color มักพบในงานที่นำเสนอบนจอภาพ เช่น เว็บเพจ หรือ เกมคอมพิวเตอร์ ระบบนี้ไม่เหมาะนำมาใช้พิมพ์เพราะให้สีที่น้อยเกินไป

คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง

RBG Color

เป็นระบบสีที่ทำงานในระบบแม่สีแสง RGB ย่อมาจาก Red Green Blue ไฟล์ที่ได้จากกล้องดิจิตอลหรือสแกนเนอร์ส่วนใหญ่ก็เป็นภาพในระบบ RGB เป็นระบบสีที่ใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด ในโปรแกรม Photoshop เมื่อคุณเลือกระบบสี RGB คุณจะใช้งานคุณสมบัติของสีอย่างครบถ้วน ระบบสี RGB เป็นระบบสีที่เหมาะจะใช้แสดงผลบนจอภาพมากกว่าการพิมพ์ ถ้าคุณส่งงานในระบบสี RGB เข้าโรงพิมพ์ ไฟล์จะถูกแปลงเป็นระบบสี CMYK ผลของสีที่ได้อาจผิดเพี้ยนไปจากที่คุณต้องการ

คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง

CMYK Color

เป็นระบบสีที่ทำงานในระบบแม่สีวัตถุธาตุ ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ที่เรียกว่า ระบบการพิมพ์สี่สี (4-color process) CMYK คือตัวย่อของ Cyan Magenta Yellow และ Black ส่วนสีดำหรือ Black ที่เพิ่มขึ้นมาจากแม่สีทั้งสามก็เพื่อให้งานพิมพ์มีสีสันที่หนักแน่นยิ่งขึ้น

คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง
คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง

Format

Format คือรูปแบบในการบันทึกไฟล์งานที่คุณจะต้องเลือกเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแบบต่างๆ ในโปรแกรม Photoshop มี Format ให้คุณเลือกในการบันทึกไฟล์งานมากมาย ในที่นี้จะยกตัวอย่างและอธิบายเฉพาะ Format ที่สำคัญและมีการใช้งานบ่อยๆ เท่านั้น

Photoshop (*.PSD, *.PDD)

เป็น Format ที่ใช้ในการบันทึกไฟล์ในโปรแกรม Photoshop เพื่อคงคุณสมบัติต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วน เช่น Layer Channel ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นการบันทึกเพื่อทำงานต่อหรือแก้ไขได้ในโปรแกรม Photoshop หรือต้องการนำไฟล์ไปใช้งานกับโปรแกรมอื่นที่รองรับ Format แบบ Photoshop เช่น Illustrator, Encore

GIF

Format นี้อนุญาตให้บันทึกในระบบสีแบบ Indexed Color เท่านั้น จึงทำให้ไฟล์มีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับงานด้านเว็บเพจ หรืองานที่แสดงผลบนหน้าจอ ไม่เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์เพราะให้สีที่จำกัด คุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่งของไฟล์ GIF ก็คือสามารถทำพื้นโปร่งใสในหน้าเว็บเพจหรือโปรแกรมนำเสนอบางโปรแกรมได้ นอกจากนั้นไฟล์ GIF ยังสามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวแบบ Animation GIF ได้ด้วย

EPS

เป็น Format สำหรับงานสิ่งพิมพ์ที่ให้คุณภาพที่ครบถ้วน และบันทึกเพื่อให้ใช้คุณสมบัติบางอย่างร่วมกับโปรแกรม Illustrator ได้

JPEG หรือ JPG

Format แบบ JPEG นับว่าเป็นที่นิยมอย่างมากในการบันทึกไฟล์ ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นในการบีบอัดไฟล์ให้กินพื้นที่น้อยในการจัดเก็บ แต่ก็แลกมาด้วยการสูญเสียคุณภาพของรูปภาพ ในการบันทึกไฟล์เป็น JPEG คุณสามารถเลือกได้ว่าต้องการไฟล์ขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพสูง หรือ ไฟล์ขนาดเล็กแต่คุณภาพต่ำ ไฟล์ JPEG จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานด้าน Internet เช่น เว็บเพจ หรือส่งอีเมล์ เพราะไฟล์ที่มีขนาดเล็กทำให้ลำเลียงได้เร็ว ไฟล์แบบ JPEG ไม่แนะนำสำหรับงานสิ่งพิมพ์ แต่ถ้าถ้าจำเป็นต้องบันทึกงานเป็น JPEG เพื่อใช้พิมพ์ควรเลือกให้คุณภาพสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

คุณลักษณะของไฟล์มีอะไรบ้าง

PNG

คุณสมบัติคล้ายกับ GIF แต่มีการสูญเสียข้อมูลน้อยกว่า ไม่สามารถทำ Animation ได้

TAGA

Format นี้ใช้กับงาน Video มีคุณสมบัติในการบันทึก Alpha Channel เพื่อทำพื้นโปร่งใสในงาน Video

TIFF

เป็น Format ที่เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์เป็นที่สุด เพราะให้คุณภาพที่ครบถ้วน และยังมีคุณสมบัติในการบีบอัดไฟล์ได้เล็กน้อย โดยไม่ทำให้เสียคุณภาพ