จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี มีอะไรบ้าง

วิชาชีพบัญชีเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อกิจการงานในทุกภาคส่วนของรัฐและเอกชน ไปจนถึงองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรต่างๆ เพราะงานบัญชีคืองานที่ทำหน้าที่ในการจดบันทึก และทำเอกสารเพื่อเสนอรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนแนวทางการทำงาน และใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานที่สำคัญต่างๆ ดังนั้น นักบัญชีจึงเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและการดำเนินงานต่างๆ

คำว่า การบัญชีได้ถูกกำหนดคำจำกัดความจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย(ปัจจุบันคือ สภาวิชาชีพบัญชี) ซึ่งสามารถกล่าวโดยสรุปว่า งานบัญชีคือการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลเหตุการณ์หรือรายการดำเนินการต่างๆทางด้านการเงิน จากนั้นจึงทำการจำแนกหมวดหมู่รายการออกให้เป็นระเบียบและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเงินต่างๆที่เกิดขึ้นและนำเสนอออกมาเป็นรายงานเพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้งานต่อไป ซึ่งในการดำเนินงานทางธุรกิจมีเหตุการณ์ทางการเงินต่างๆเกิดขึ้นมากมาย และมีข้อมูลที่ซับซ้อน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนการจัดทำบัญชีที่เป็นระเบียบและดำเนินงานโดยนักบัญชีที่มีความรู้ความสามารถและมีจริยธรรมที่ดี มีความโปร่งใสและซื่อสัตย์สุจริตเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติงาน

ทำไมการจัดทำบัญชีจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจและบริษัทต่างๆ

การจัดทำบัญชีเป็นการจดบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ทางด้านการเงินต่างๆโดยลำดับการเกิดก่อนหลังอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายที่ว่าด้วยการบัญชี จากนั้นจึงทำการจำแนกประเภทรายการต่างๆออกมาและจัดทำเป็นรายงานออกมาเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจและองค์กรเป็นรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ดังนั้นจึงมีความสำคัญในการวางแผนการดำเนินงานของธุรกิจ เพราะเป็นการแสดงสถิติต่างๆทางการเงินและผลประกอบการว่าในช่วงเวลานั้น กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าไหร่ และมีสินทรัพย์/หนี้สิน ในขณะนั้นเป็นจำนวนมากน้อยแค่ไหน

ข้อมูลทางบัญชีเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบายการดำเนินงานของบริษัท ทำให้การบริหารกิจการงานต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด เพราะบางครั้งการตัดสินใจดำเนินธุรกิจผิดพลาดเพียงแค่ครั้งเดียวก็อาจส่งผลให้กิจการมีปัญหาหรืออาจจะส่งผลต่อเนื่องให้บริษัทล้มละลายได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ช่วยลดขั้นตอนการทำงานลงไปได้อีกมาก

ข้อมูลบัญชีเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ดำเนินงานหลายฝ่ายด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย

·        เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น เพื่อให้ทราบถึงสถานะทางการเงินของกิจการ และใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนและการดำเนินกิจการต่างๆ

·        ผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กร ที่ต้องนำข้อมูลทางบัญชีเพื่อใช้ในการดำเนินงานต่างๆภายในบริษัท และนำไปเป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทางและแผนในการดำเนินงาน

·        เจ้าหนี้ ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้กู้ยืมเงินหรือให้เครดิตในการดำเนินกิจการ

·        นักลงทุน ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อประเมินสถานะทางการเงินของบริษัทและความมั่นคงเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน

·        หน่วยงานรัฐบาล อย่างกรมสรรพากร ที่ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อพิจารณาในการเก็บภาษี

จะเห็นว่าข้อมูลบัญชีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับหลายฝ่าย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่นักบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการทำบัญชี และมีความซื่อสัตย์ เที่ยงตรง และยึดแนวทางการทำงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

จรรยาบรรณวิชาชีพของนักบัญชี

นอกเหนือจากความรู้ความสามารถทางด้านบัญชีแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับบัญชีจะต้องมีพฤติกรรมในการประกอบวิชาชีพที่เป็นไปตาม“พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.  2547 ที่กำหนดให้ผู้สอบบัญชีและผู้มีวิชาชีพทางบัญชีต้องมีความโปร่งใสในการทำงาน มีความเป็นอิสระในการใช้ดุลยพินิจในการทำงานและสามารถปฏิบัติงานภายใต้กรอบวิชาชีพได้โดยอิสระไม่อยู่ภายใต้การบังคับ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความซื่อตรงต่อวิชาชีพ โดยไม่เห็นแก่ความสัมพันธ์หรือเหตุการณ์ใดๆ พิจารณาหลักฐานต่างๆโดยปราศจากอคติ ปฏิบัติงานทางบัญชีด้วยความซื่อสัตย์ ไม่คดโกง และทำงานตามหลักฐานที่เป็นจริง

ความสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี

แม้ว่าจะมีกรอบทางกฎหมายที่กำหนดแนวทางในการทำงานของนักวิชาชีพบัญชี แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงในการทำงานของนักบัญชีเอง เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า บัญชีมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจการขององค์กรและธุรกิจต่างๆ และมีหลายฝ่ายที่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลบัญชี การตกแต่งตัวเลขหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการทำบัญชีจึงมีผลกระทบอย่างมหาศาล

การจัดทำบัญชีที่ไม่โปร่งใส มีการตกแต่งตัวเลข หรือละเลยการบันทึกข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ  อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการลงทุนและการดำเนินการทางธุรกิจ และส่งผลให้บริษัทเกิดปัญหากับสภาพคล่องทางด้านการเงิน และอาจทำให้บริษัทถึงกับล้มละลายได้ และผลที่ตามมาก็กระทบกันเป็นวงกว้าง ทั้งตัวเจ้าของกิจการที่ขาดทุนหรือสูญเสียเงินจากการดำเนินงานผิดพลาดเป็นจำนวนมากจนอาจถึงขั้นปิดบริษัท  ผู้บริหารและพนักงานที่ต้องออกจากงานเมื่อบริษัทปิดกิจการ นักลงทุนและเจ้าหนี้ที่ต้องสูญเสียเงินในการลงทุนและเงินให้กู้ ไปจนถึงสรรพากรที่ไม่สามารถเก็บภาษีได้ เนื่องจากบริษัทล้มเลิกกิจการ จนทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียรายได้ที่จะนำไปพัฒนาประเทศ

ดังนั้นความสำคัญของวิชาชีพบัญชีจึงมีมากกว่าการปฏิบัติตามกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม และจริยธรรมในการประกอบอาชีพอีกด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่จะทำให้เกิดความเสียหาย และช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับบุคลากรของบริษัทและผู้เกี่ยวข้อง และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติให้ดียิ่งๆขึ้นไป

จรรยาบรรณของผู้ทำบัญชีมีอะไรบ้าง

(๑) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องปฏิบัติงาน อย่างตรงไปตรงมา จริงใจ ซื่อตรงต่อวิชาชีพไม่คดโกง ไม่หลอกลวง (๒) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องปฏิบัติงานตรงตามหลักฐานที่เป็นจริง (๓) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องไม่อ้างหรือยินยอมให้บุคคลอื่นอ้างว่าได้ปฏิบัติงานโดยที่ไม่ได้มีการปฏิบัติงานจริง

จรรยาบรรณในวิชาชีพของนักบัญชีบริหารมีกี่ด้าน อะไรบ้าง

จรรยาบรรณการบัญชีบริหาร (MA) 1. ด้านสมรรถนะวิชาชีพด้านบัญชี (MAV) รูปภาพประกอบ 1. 2. ด้านการรักษาความลับ (MAC) 3. ด้านความซื่อสัตย์สุจริต (MAI) 4. ด้านการสร้างความเชื่อมั่นในการนาเสนอข้อมูล (MAIC) ประสิทธิภาพการทํางาน (WE) 1. ด้านการทํางานต้องเชื่อถือได้ (RW) 2. ด้านงานสําเร็จทันเวลา (TW) 3. ด้านผลงานได้มาตรฐาน (SW)

คุณลักษณะของจรรยาบรรณผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชีประกอบด้วยข้อกำหนดในเรื่องใดบ้าง

1)หลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจําแนกได้4องค์ประกอบได้แก่1.) ความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรมความเป็นอิสระ2.)รักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน 3.)การรักษาความลับและ พฤติกรรมทาววิชาชีพ4.)ความโปร่งใส

จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมาตรา 47 มีอะไรบ้าง

มาตรา 47 ให้สภาวิชาชีพบัญชีจัดทาจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ บัญชีขึ้นเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อกาหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้ - ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต - ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน - ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ