ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคมีลักษณะอย่างไร

ในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย บริษัทมีช่องทางหลัก 5 ช่องทาง ได้แก่

ช่องทางร้านค้าโมเดิร์นเทรด (Modern Trade)

เป็นช่องทางการค้าสมัยใหม่ในแบบการค้าปลีก โดยมีจุดเด่นคือมีสินค้าหลากหลายรูปแบบ มีการจัดระเบียบร้านค้าเป็นหมวดหมู่ ตกแต่งสวยงาม อยู่ในพื้นที่ที่สะดวกแก่การเข้าถึง เช่น ห้างสรรพสินค้า ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าที่ต้องการได้ด้วยตนเอง ได้แก่

  • ร้านสะดวกซื้อ

จำหน่ายสินค้าปลีกขนาดพกพา สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่ายเนื่องจากมีจำนวนสาขามาก และกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ 7-Eleven, Family Mart, Max Value, jiffy, Big C Mini, Lotus Express, Tops Daily, CJ Express และ Lawson108 เป็นต้น

  • ประเภทซุปเปอร์มาร์เก็ต/ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และดิสเคาท์สโตร์

จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่หลายหลาย มีสินค้าจำนวนมากให้ผู้บริโภคเลือกสรร เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อและมีความต้องการสินค้าในจำนวนมากเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือการค้าส่งในลักษณะ SMEs ได้แก่ Tops, Home Fresh Mart, Gourmet Market, Food Hall, Tesco Lotus, Big C, Makro เป็นต้น

  • ร้านค้าบิวตี้สโตร์

จัดจำหน่ายสินค้าเครื่องสำอาง กลุ่มสินค้าดูแลผิว ดูแลเส้นผม และผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคด้านความงามในรูปแบบต่างๆ และยา ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมสินค้าความงามที่มีความทันสมัย มีกลุ่มสินค้าหลากหลายที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ได้แก่ Watsons, Boots, Beautrium, EVEANDBOY เป็นต้น และร้านค้ากลุ่มยา จำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น อาหารเสริม เวชสำอางต่างๆ ได้แก่ Save Drug, Pure, eXtra Plus เป็นต้น ซึ่งถือเป็นช่องทางขายที่ช่วยขยายตลาดไปสู่ลูกค้ากลุ่มใหม่ได้อีกช่องทางหนึ่ง

  • ร้านค้าขายตรงผ่านแค็ตตาล็อก

แหล่งรวบรวมสินค้าหลากหลายชนิดที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าผ่านการนำเสนอสินค้าในรูปแบบแค็ตตาล็อก โดยมีพนักงานตัวแทนขายเป็นสื่อกลางในการให้บริการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ทำให้สามารถเข้าถึงความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ Friday Catalog, 7-Catalog เป็นต้น

สำหรับภาพรวมในปี 2564 ยอดขายช่องทางหน้าร้านลดลงเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สืบเนื่องจากปี 2563 แต่ก็มีการขยายตลาดไปสู่ช่องทางออนไลน์ของร้านค้าโมเดิร์นเทรดมากขึ้นในทุกรูปแบบ เพื่อปรับตัวให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น All Online ของ 7-Eleven, ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต เช่น Tops Online ของ Tops Supermarket และร้านค้าบิวตี้สโตร์ เช่น Watson Online เป็นต้น

ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคมีลักษณะอย่างไร

ช่องทางร้านค้าคาร์มาร์ท (KARMART SHOP)

ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคมีลักษณะอย่างไร

19

ร้าน คาร์มาร์ท ทั่วประเทศ

เป็นช่องทางการขายสินค้าที่ดำเนินการโดยบริษัทเอง จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าทุกรายการของบริษัทได้อย่างสะดวกสบายภายใต้ราคาและโปรโมชั่นที่จูงใจหลากหลายรูปแบบ ช่วยให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและเกิดความจงรักภักดีในแบรนด์สินค้า ช่วยให้บริษัทได้ศึกษาและเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้าผ่านการให้บริการของพนักงานขายของบริษัทที่ได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าทุกรายการได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีใจรักบริการ พร้อมดูแลลูกค้าทุกคนด้วยความเต็มใจอย่างสุดความสามารถ นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนการพัฒนาระบบ CRM เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ เป็นการช่วยส่งเสริมในด้านการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีโครงการร่วมกับพาร์ทเนอร์ในธุรกิจต่างๆ หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ สถาบันการเงิน บัตรสะสมแต้ม ร้านค้าอื่นๆ เช่น ร้านขนม เครื่องดื่ม เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่และมอบสิทธิพิเศษแทนคำขอบคุณให้กับลูกค้าทุกคนมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีร้านคาร์มาร์ทช็อปในประเทศไทย ทั้งหมด 19 สาขา ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 18 สาขา และพื้นที่ต่างจังหวัด 1 สาขา โดยมีทำเลที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ คอมมูนิตี้มอลล์ สถานีรถไฟฟ้า และสาขา Outlet เป็นต้น โดยสาขาทั้งหมดดำเนินการในรูปแบบบริษัทลงทุนเป็นเจ้าของเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารจัดการร้านค้าทั้งในด้านภาพลักษณ์ความสวยงาม คุณภาพของพนักงานขาย รวมทั้งสต็อคสินค้าให้พร้อมจำหน่ายและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับภาพรวมในปี 2564 ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้มีการขยายตลาดในช่องทางออนไลน์ผ่าน Social Media มากขึ้น เพื่อปรับตัวให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ เช่น การช้อปผ่านแชทในระบบ LINE OA ของบริษัทและสาขาร้านคาร์มาร์ท การช้อปผ่านเพจ Facebook ของบริษัท เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและให้บริการได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายที่สุด

ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคมีลักษณะอย่างไร

ช่องทางร้านค้าตัวแทนจำหน่าย (Traditional Trade)

เป็นช่องทางการค้าแบบดั้งเดิมที่ใช้กระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคโดยอาศัยคนกลาง ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจะมีร้านค้าโมเดิร์นเทรดกระจายตัวอยู่ในทุกพื้นที่ แต่ช่องทางการค้าแบบดั้งเดิมยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างยอดขายให้แก่บริษัท เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือพื้นที่ขนาดเล็ก โดยปัจจุบันบริษัทมีร้านค้าตัวแทนจำหน่ายที่จำหน่ายสินค้าของบริษัทกระจายตัวอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ได้แก่

  1. ร้านค้าบิวตี้สโตร์ (Beauty Store) เป็นร้านค้าที่จำหน่ายเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคด้านความงามและเครื่องสำอางเท่านั้น โดยจำหน่ายทั้งในรูปแบบค้าปลีกและค้าส่ง ถือเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าสู่กลุ่มลูกค้าชุมชนได้เป็นอย่างดี
  2. ซุปเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่น (Local Supermarket) ตั้งอยู่ในพื้นที่แหล่งชุมชนในเมืองที่ผู้คนเดินทางสะดวก มีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคในท้องถิ่น รู้จัก เข้าใจ และเข้าถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในท้องถิ่นนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี
  3. ร้านค้าออนไลน์ (Online) ร้านตัวแทนจำหน่ายที่จำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น ลาซาด้า ช้อปปี้ เป็นต้น และการขายผ่าน Social Media เช่น การไลฟ์สดผ่าน Facebook
  4. ร้านค้ากลุ่มยา (Drug Store) จำหน่ายสินค้าเวชสำอางและสินค้าสุขภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สินค้าเกี่ยวกับการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอลล์ล้างมือ ทิชชู่เอนกประสงค์ เป็นต้น
  5. ร้านค้าเฉพาะกลุ่ม (Specialty) เช่น โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม จำหนายสินค้าเพื่อประโยชน์ใช้สอยภายในองค์กร

นอกจากนี้ ยังมีตัวแทนจำหน่ายประเภทหน่วย Van ที่ช่วยกระจายสินค้าขนาดเล็กไปยังพื้นที่ชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เช่น ร้านโชว์ห่วย ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่นขนาดเล็ก ร้านค้าชุมชนตามอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ ตามกลยุทธ์การขยายตลาดในส่วนร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่น จึงทำให้สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ผู้บริโภคในชุมชนได้อย่างหลากหลาย ช่วยสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนชุมชนแบบปากต่อปาก เกิดความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้า และในปี 2565 บริษัทจะมุ่งเน้นการเจาะกลุ่มตัวแทนจำหน่าย (Distributor) รายใหม่ เพื่อเพิ่มช่องทางในการกระจายสินค้าไปสู่ร้านค้าท้องถิ่นในชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีร้านค้าตัวแทนจำหน่ายอยู่กว่า 10 ราย โดยได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนตัวแทนจำหน่าย และร้านค้าชุมชนให้มีจำนวนมากขึ้น โดยเน้นขยายตลาดในกลุ่มสินค้าตลาดมวลชน (Mass Products) เป็นหลัก เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่มได้อย่างครอบคลุม

ช่องทางส่งออก (Export)

บริษัทมีการขยายตลาดไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการลงพื้นที่ศึกษาตลาด และสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดร่วมกับคู่ค้าหรือพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Sole Distributor, Distributor และ Joint Venture โดยในปัจจุบันบริษัทมีจุดจัดจำหน่ายในต่างประเทศทั้งหมด 14 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม เมียนมาร์ ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ดูไบ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และคูเวต โดยในแต่ละประเทศจะทำการตลาดทั้งในช่องทางออฟไลน์ ได้แก่ ร้านค้าโมเดิร์นเทรดชั้นนำ เช่น 7-Eleven, Family Mart, Big C, Watsons รวมถึงห้างท้องถิ่นชั้นนำด้วย และในช่องทางออนไลน์ทำการตลาดผ่านแพลตฟอร์ม Marketplace เช่น Lazada, Shopee, Amazon รวมไปถึงร้านค้าบิวตี้ออนไลน์ เช่น Watsons, Zalora เป็นต้น ซึ่งนอกจากการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายตามข้างต้นแล้วยังมีการจำหน่ายสินค้าให้กับร้านค้าตัวแทนในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดน เพื่อกระจายสินค้าไปยังร้านค้าตัวแทนในต่างประเทศอีกด้วย

สำหรับภาพรวมในปี 2564 มียอดขายเติบโตในกลุ่มตลาดอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น มียอดขายเติบโตสูงจากสินค้ากลุ่ม Makeup แบรนด์เคที่ดอลล์ โดยมีจุดจำหน่ายในร้านค้าโมเดิร์นเทรดชั้นนำ มากกว่า 30 แห่ง อาทิเช่น TRIAL, Welcia, Tsuruha, Kawachi Pharmaceutical, Toshiya Pharmacy,Thank you drug, Drug Store Mori, Fit Care Depot, Don Quijote, Heiwado เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเจาะตลาดใหม่ในประเทศคูเวตด้วยสินค้ากลุ่ม Skincare แบรนด์เคที่ดอลล์ในช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซด์บิวตี้ออนไลน์ชั้นนำอีกด้วย

ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคมีลักษณะอย่างไร

ช่องทางออนไลน์ (Online)

ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคมีลักษณะอย่างไร

3 ประเภท

ของช่องทางออนไลน์ของบริษัทฯ ในปัจจุบัน

ในปี 2564 ช่องทางออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจค้าขาย เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ร้านค้าไม่สามารถเปิดให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ จึงทำให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยการพึ่งพาช่องทางออนไลน์ในทุกๆ รูปแบบในการขายสินค้า ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซด์ แพลตฟอร์ม Marketplace รวมไปถึง Social Media ในรูปแบบต่างๆ เช่น LINE, Facebook เป็นต้น สำหรับบริษัทมีช่องทางการขายออนไลน์ 3 ประเภท ได้แก่

ช่องทางการขายออนไลน์ของบริษัทฯ ในปัจจุบันมี 3 ประเภท
  • การขายผ่านเว็บไซต์ของบริษัท ได้แก่ www.karmarts.com
  • การขายผ่าน Social Commerce ได้แก่
    • LINE OA: @karmart, @karmarts_onlineshop, LINE OA ของสาขาร้าน Karmart
    • Facebook Karmartsclub ผ่านการโพสต์หรือไลฟ์ขายสินค้า
  • การขายผ่าน Marketplace ได้แก่ Lazada, Shopee, Konvy, ShopAt24, JD Central และ Buzzebees เป็นต้น

ภาพรวมในปี 2564 มีการขยายตลาดในแพลตฟอร์ม Marketplace เพิ่มขึ้นด้วยการเปิดร้านค้าออนไลน์รายใหม่ เช่น TV Direct, Central Online, Noc Noc เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการขยายร้านค้าออนไลน์เฉพาะแบรนด์ ได้แก่ Lazada Browit, Lazada Ruenrom เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้อย่างตรงความต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการทำการตลาดในช่องทางออนไลน์รูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น เช่นการขายสินค้าผ่านระบบแชทใน LINE OA ของสาขาร้านคาร์มาร์ท และการไลฟ์สดขายสินค้าที่ร้านค้าคาร์มาร์ท รวมไปถึงการสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการรายย่อย เช่น นักขายออนไลน์เพื่อช่วยนำเสนอสินค้าสู่ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งการทำการตลาดในรูปแบบใหม่ที่หลากหลายเหล่านี้ล้วนมาจากการปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายอันดีของบริษัทในการเริ่มต้นบุกตลาดออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ

ช่องทางการจัดจำหน่ายมีลักษณะเป็นอย่างไร

1. ช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง ช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง หมายถึง การขายผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรมโดยไม่มีคนกลาง หรือช่องทางศูนย์ระดับ ผู้ผลิต > ผู้บริโภค ... .
2. ช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม ช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม หมายถึง เส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตโดยต้องผ่านคนกลางไปยังผู้บริโภค.

ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค 3 ระดับมีลักษณะอย่างไร

ช่องทางการจัดจำหน่ายสามระดับ ผู้ผลิต > ตัวแทน > ผู้ค้าส่ง > ผู้ค้าปลีก > ผู้บริโภค ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าบริโภค

ช่องทางการกระจายสินค้า มีอะไรบ้าง

1. ช่องทางการจำหน่ายทางตรง คือผู้ผลิตขายสินค้าไปยังผู้ใช้หรือผู้บริโภคด้วยตนเอง 2. ช่องทางการจำหน่ายทางอ้อม คือผู้ผลิตขายสินค้าผ่านตัวกลาง ตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกเพื่อจำหน่ายไปยังผู้ใช้หรือผู้บริโภค

Rack Jobber มีลักษณะอย่างไร

2.4 พ่อค้าส่งพร้อมจัดการ (rack jobber)เป็นพ่อค้าส่งขายสินค้าในลักษณะของ การฝากขาย (consignment) จะเก็บเงินได้ก็ต่อเมื่อสินค้าได้มีการขายออกไปจากร้านค้าปลีกแล้ว เท่านั้น โดยพ่อค้าส่งยังเป็นเจ้าของสินค้าและเป็นผู้ก าหนดราคาขาย เป็นผู้จัดชั้นวางโชว์สินค้า และ ท าการส่งเสริมการขาย อาจจะมีพนักงานสาธิตหรือให้ค าแนะนา สินค้า ...