สหกรณ์ออมทรัพย์ มี ลักษณะ อย่างไร

สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย คือ "สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้" จัดตั้งขึ้นในหมู่ข้าราชการสหกรณ์และพนักงานธนาคารเพื่อการสหกรณ์ จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2492 และได้แพร่หลายไปในหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ 

ส่วนสหกรณ์ออมทรัพย์ในชุมชนแห่งแรก คือ "สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่มูล จำกัด" จดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522

  •  ความสำคัญของสหกรณ์ออมทรัพย์ ในยุควิกฤติ 

สหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน และยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินฝากและเงินกู้ของสมาชิก ช่วยให้มีสภาพคล่องในการดำเนินชีวิต และยังคงเป็นทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาทางการเงินให้กับสมาชิก โดยเฉพาะในสภาวะที่ประสบปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผู้มีรายได้น้อย หรือมีรายได้คงที่ หรือมีรายได้ทางเดียว มักจะได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่สามารถหารายได้เพิ่มให้เพียงพอกับรายจ่ายต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะแก้ไขปัญหาด้วยการกู้ยืมเงินจากนายทุนหรือกู้ยืมนอกระบบ โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูง จึงก่อให้เกิดหนี้สินผูกพัน และเกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและครอบครัวตามมา

สหกรณ์ออมทรัพย์ยังคงใช้โมเดลดอกเบี้ยเงินฝากที่ค่อนข้างสูง และปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำ และถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญของสมาชิกในการเพิ่มสภาพคล่อง และเก็บออมเงินที่หมุนเวียนจากสมาชิก

ตัวอย่าง เงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ของหน่วยงานภาครัฐอย่าง "สหกรณ์ออมทรัพย์ ข้าราชการสรรพากร" มีดอกเบี้ยออมทรัพย์เริ่มต้นที่ 1.50% ต่อปี ไม่เสียภาษี ไปจนถึง 3.00% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้เริ่มต้น 4.25-6.00%

"สหกรณ์ออมทรัพย์ สภากาชาดไทย" มีดอกเบี้ยออมทรัพย์เริ่มต้นที่ 1.00% ต่อปี ไม่เสียภาษี ไปจนถึง 2.50% ตามเงื่อนไขที่สหกรณ์กำหนด ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทอยู่ที่ 6.00% 

ปัจจุบัน สหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย ในข้อมูลการจดทะเบียนสหกรณ์ ณ วันที่ 30 มิ.ย. 63 ที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ และกำลังดำเนินการอยู่ รวมทั้งสิ้น 1,420 สหกรณ์ และมีลักษณะการดำเนินงานในโมเดลการบริหารในรูปแบบที่คล้ายกัน 

สหกรณ์ออมทรัพย์ มี ลักษณะ อย่างไร

แม้สหกรณ์ออมทรัพย์ จะมีหลักการ และมีโมเดลที่เป็นประโยชน์ แต่ก็ยังมีการ "ทุจริต" เกิดขึ้นให้ได้ยินข่าวคราวกันอยู่บ่อยๆ โดยการทุจริตในสหกรณ์ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ 

บทความของ รศ.ชฎาพร ทีฆาอุตมากร อาจารย์ภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตีพิมพ์ใน วารสารรามคำแหง ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 (ก.ค.- ก.ย. 2550) ระบุถึงสาเหตุการทุจริตในสหกรณ์ 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 

1. การบริหารจัดการไม่ถูกต้อง คณะกรรมการสหกรณ์ ไม่แบ่งหน้าที่มอบหมายความรับผิดชอบงานให้แก่เจ้าหน้าที่ ให้ชัดเจน ที่สำคัญ ใช้บุคคลคนเดียวกันทำหน้าที่ทั้งการเงินและบัญชี

2. คณะกรรมการดำเนินการขาดความรับผิดชอบ ไม่เคร่งครัด/กำกับ/ควบคุมการทำงานของผู้จัดการ และ พนักงาน ให้ถูกต้องเป็นไประเบียบ ข้อบังคับ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควรตรวจสอบการปฎิบัติงานของฝ่ายจัดการอยู่เสมอ

3. ผู้จัดการสหกรณ์ มีอำนาจ/สร้างบุญคุณ อยู่เหนือเจ้าหน้าที่ พนักงานต้องยอมร่วมมือทำตามความต้องการของผู้จัดการ กระทำการในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก อยู่ภายใต้อำนาจให้คุณให้โทษ หรือ มีบุญคุณ เช่น ผู้จัดการช่วยค้ำประกันตอนเข้าทำงาน / ผู้จัดการเอาญาติพี่น้องเข้ามาทำงานในสหกรณ์ ฯลฯ

4. เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ร่วมกันทุจริตเป็นคณะฯ พนักงานสหกรณ์สมรู้ร่วมคิดทำการทุจริต โดยผู้จัดการขาดประสิทธิภาพไม่สามารถรู้เท่าทันหรือกวดขันการทำงานให้ถูกต้องได้

อย่างไรก็ตาม หากสหกรณ์ออมทรัพย์ มีการบริหารจัดการที่ดี สมาชิกทำความเข้าใจกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในการออมเงินและขอสินเชื่ออยู่เสมอ สหกรณ์ออมทรัพย์จะเป็นทางเลือกที่ดีในการบริหารจัดการเงินได้ดีแม้ในช่วงวิกฤติ

สหกรณ์ออมทรัพย์ มี ลักษณะ อย่างไร

     สถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลทีมีอาชีพอย่างเดียวกันหรืออาศัยในที่ชุมชนเดียวกัน  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์ และให้กู้ยืมเงินเมื่อเกิดความจำเป็น หรือเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์งอกเงย และได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542

สหกรณ์ออมทรัพย์ มี ลักษณะ อย่างไร

     ในภาวะปัจจุบัน ประชาชนประสบปัญหาเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผู้ที่มีรายได้น้อยได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่สามารถจะหารายได้เพิ่มให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น และมักจะแก้ไขปัญหาด้วยการกู้ยืมเงินจากนายทุนโดยยอมเสีย ดอกเบี้ยในอัตราสูง จึงก่อให้เกิดหนี้สินผูกพัน และก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัวภายหลังบุคคลที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จึงร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยการรวมกลุ่มกัน จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
     สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ข้าราชการสหกรณ์และพนักงานธนาคารเพื่อการพัฒนาสหกรณ์ (ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น "ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร") จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2429 โดยใช้ชื่อว่า “สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้” ปัจจุบันชื่อว่า "สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัด"

  วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ออมทรัพย์

     สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ส่งเสริมให้บุคคลที่เป็นสมาชิกรู้จักการประหยัด รู้จักการออมทรัพย์และสามารถบริการเงินกู้ ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นการร่วมกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง ดังนี้
     (1)  การส่งเสริมการออมทรัพย์ เป็นวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ออมทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
           1.1  การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการถือหุ้น สหกรณ์กำหนดให้สมาชิกส่งชำระค่าหุ้นเป็นประจำทุกเดือน โดนการหักเงินค่าหุ้น ณ ที่จ่ายเงินเดือนและจ่ายเงินปันผลค่าหุ้นให้แก่สมาชิกตามอัตราที่พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 กำหนดไว้ เงินปันผลที่ได้รับนี้ไม่ต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ และเมื่อสมาชิกลาออกจากสหกรณ์ก็สามารถถอนค่าหุ้นคืนได้
           1.2  การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการรับฝากเงิน สหกรณ์มีบริการด้านเงินฝากทั้งประเภทเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ และให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์ หรือสูงกว่าตามฐานะของแต่ละสหกรณ์
     (2)  การให้เงินกู้แก่สมาชิก สหกรณ์จะนำเงินค่าหุ้นและเงินฝากของสมาชิกมาหมุนเวียนให้สมาชิกที่มีความจำเป็นหรือเดือดร้อนกู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเอกชน

  ลักษณะการให้เงินกู้
          เงินกู้ที่สหกรณ์จ่ายให้กับสมาชิกมี 3 ประเภท คือ
     (1)  เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่สมาชิกมีความจำเป็นเร่งด่วนหรือมีรายจ่ายที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้จากสหกรณ์ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินได้รายเดือน แต่จำกัดขั้นสูงไว้ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์และกำหนดส่งชำระคืนไม่เกิน 2 งวดรายเดือน เงินกู้ประเภทนี้ไม่ต้องมีหลักประกัน
     (2)  เงินกู้สามัญ สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้ได้ประมาณ 4-15 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่จะจำกัดขั้นสูงไว้ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์ และกำหนดส่งชำระคืนระหว่าง 24-72 งวดรายเดือน และต้องมีสมาชิกด้วยกันค้ำประกัน อย่างน้อย 1 คน การกำหนดวงเงินกู้ฉุกเฉินและสามัญ จะใช้เงินเดือนเฉลี่ยของสมาชิกแต่ละสหกรณ์เป็นฐานในการกำหนด ตัวอย่าง เช่น สหกรณ์แห่งหนึ่ง สมาชิกมีเงินเฉลี่ย 10,000 บาท/เดือน ขั้นสูงของวงเงินกู้ฉุกเฉินควรเป็น 5,000 บาท ขั้นสูงของวงเงินกู้สามัญ ควรเป็น 40,000-150,000 บาท แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ในการกำหนดระเบียบ
     (3) เงินกู้พิเศษ ถ้าสหกรณ์มีฐานะมั่นคงแล้ว สหกรณ์จะเปิดบริการให้เงินกู้พิเศษเพื่อให้สมาชิกกู้ไปลงทุนในการประกอบอาชีพ หรือกู้ไปเพื่อการเคหะสงเคราะห์ เงินกู้ประเภทนี้สามารถกู้ตามจำนวนเงินที่จะนำไปลงทุนประกอบอาชีพ หรือขึ้นอยู่กับราคาของบ้านและที่ดินที่จะซื้อ หรือจำกัดขั้นสูงไว้ไม่เกิน 400,000-1,000,000 บาท และกำหนดชำระคืน ตั้งแต่ 10-15 ปี โดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักจำนองค้ำประกัน

   การดำเนินงาน
      สหกรณ์ออมทรัพย์ดำเนินการโดยสมาชิก กล่าวคือ เมื่อได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นแล้ว สมาชิกจะเลือกตั้งตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ให้เข้ามาบริหารงานในสหกรณ์ ตัวแทนสมาชิกเหล่านี้เรียกว่า “คณะกรรมการดำเนินการ” มีประมาณ 7-15 คน ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์นั้นๆคณะกรรมการดำเนินการ จะทำหน้าบริหารกิจการสหกรณ์โดยจะมีการประชุม อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดนโยบายในการทำงาน แล้วจึงมอบให้ “ฝ่ายจัดการ” รับไปปฏิบัติงานต่อไป ฝ่ายจัดการนั้น ประกอบด้วย ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ สมุห์บัญชี เจ้าหน้าที่การเงิน ฯลฯ ซึ่งทำหน้าที่บริการแก่สมาชิกที่มาติดต่อทำธุรกิจกับสหกรณ์

  สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
      สหกรณ์เป็นของสมาชิกและสมาชิกทุกคนมีบทบาทที่จะควบคุมการบริหารงานของสหกรณ์ โดยใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิก ให้ถูกต้องและสม่ำเสมอการร่วมประชุมใหญ่ เป็นทั้งสิทธิและหน้าที่อ้นสำคัญยิ่งของสมาชิกทุกคนควรจะต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ ซึ่งเป็นโอกาสที่สมาชิกจะแสดงบทบาทรักษาสิทธิและปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของตน ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินงาน การจัดสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างยุติธรรม กำหนดนโยบายการดำเนินงานรวมทั้งคัดเลือกรรมการดำเนินการที่มีความสามารถ และมอบภารกิจในการดำเนินการต่อไปในแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อมวลสมาชิก เสริมสร้างความเจริญมั่นคงให้กับสหกรณ์ โดยสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทุกคนจะต้องร่วมกันอภิปราบปัญหา แสดงความคิดเห็น ออกเสียง และยอมรับมติของที่ประชุม ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายข้อบังคับและระเบียบ เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ โดยร่วมกันพิจารณาในเรื่องต่างๆ เหล่านี้

   ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์

      ด้านการเงิน 

       (1)  เมื่อชำระเงินแก่สหกรณ์ ต้องชำระต่อเจ้าหน้าที่การเงินที่สหกรณ์แต่งตั้งไว้เท่านั้น และต้องเรียกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง เช่น การชำระหนี้ก่อนกำหนด การถือหุ้นเพิ่ม
       (2)  ควรเก็บใบเสร็จรับเงินทุกฉบับไว้ จนกว่าจะได้สอบทานหนี้สินและเงินค่าหุ้นให้ถูกต้องตรงกันเป็นประจำทุกปี
       (3)  ควรมารับเงินที่สหกรณ์ด้วยตนเอง ถ้าจำเป็นควรมอบฉันทะแก่ผู้ที่ไว้ใจเท่านั้น
       (4)  เมื่อรับเงินจากสหกรณ์ทุกครั้ง ควรตรวจนับจำนวนเงินให้ถูกต้องก่อนออกจากสหกรณ์ไป
       (5)  การนำเงินมาฝากกับสหกรณ์ สมาชิกต้องยื่นใบฝากเงินพร้อมกับสมุดคู่ฝาก เมื่อรับสมุดคืนให้ตรวจสอบรายมือชื่อผู้มีอำนาจกำกับในสมุดคู่ฝากทุกครั้ง และไม่ควรฝากสมุดคู่ฝากไว้กับพนักงานสหกรณ์

       ด้านสินเชื่อ

        (1)  ควรกู้เงินจากสหกรณ์ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ และกู้ในจำนวนที่ต้องการใช้เท่านั้น
        (2)  จะค้ำประกันใครต้องตัดสินใจให้ดี เพราะถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้ครับประกันจะต้องชำระหนี้แทนโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง
        (3)  ในกรณีที่สมาชิกสหกรณ์ต้องการรับเงินกู้ เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนให้สมาชิกรับเงินดังกล่าวที่สหกรณ์ด้วยตนเอง ถ้าหากจำเป็นให้ทำหนังสือมอบฉันทะโดยมีผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์ด้วย

สหกรณ์ออมทรัพย์ มี ลักษณะ อย่างไร

ตัวอย่างสหกรณ์ออมทรัพย์