กฎหมายให้ประโยชน์อะไรกับคนไทย

ประโยชน์ของกฎหมายอาจจะแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ข้อ ทั้งสามารถนำเอากฎหมายมาแยกแยะ
ประโยชน์ดังนี้
1. สร้างความเป็นธรรม หรือความยุติธรรมให้แก่สังคม เพราะกฎหมายเป็นหลักกติกาที่ทุกคนจะ
ต้องปฏิบัติเสมอภาค เท่าเทียมกัน เมื่อการปฏิบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเอาเปรียบคนอื่น ขาดความ
ยุติธรรม กฎหมายก็จะเข้ามาสร้างความยุติธรรม ยุติข้อพิพาทไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ดังที่เรา
เรียกกันว่า ยุติธรรม สังคมก็จะได้รับความสุขจากผลของกฎหมายในด้านนี้
2. รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบติต่อสังคม
3. ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย การเป็น ทนายความ
อัยการ ศาล ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยต่างฝ่ายต่างช่วยกันรักษาความถูกต้อง ความยุติธรรม
ให้เกิดขึ้นในสังคม
4. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง เพราะถ้าประชาชนรู้กฎหมายก็จะเป็นการเสริมสร้าง
ความมั่นคงของการปกครอง และการบริหารงานทางการเมือง การปกครอง ประโยชน์สุขก็จะตกอยู่กับ
ประชาชน
5. รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะกฎหมาย
ที่ดีนั้นจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนเท่าเทียมกัน ประชาชนก็จะเกิดความผาสุก ปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว ต่อบุคคลอื่น และต่อประเทศชาติ

ในฐานะผู้สอนวิชากฎหมาย เมื่อได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ประเทศไทยนั้นอะไรก็กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ มีอยู่อย่างเดียวที่ไม่ศักดิ์สิทธิ์คือกฎหมาย” ผู้เขียนก็รู้สึกเจ็บปวดระคนเศร้าใจ และได้แต่ครุ่นคิดว่า เหตุใดสังคมไทยจึงรู้สึกว่ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ หากจะตั้งข้อสมมติฐานว่าสิ่งใดที่ผู้คนศรัทธาให้ความเคารพสิ่งนั้นย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์ การที่สังคมรู้สึกว่ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ก็น่าจะมีเหตุมาจากการที่คนในสังคมไม่ศรัทธา ไม่เคารพ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั่นเอง

เมื่อพิจารณาต่อไปว่า ปัจจัยใดบ้างที่มีผลทำให้คนในสังคมไม่เคารพและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้เขียนสรุปว่าเกิดขึ้นจากปัจจัย 2 ประการด้วยกัน กล่าวคือ ปัจจัยที่เกิดจากสภาพการณ์แข่งขันในสังคม และปัจจัยอันเนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมาย

ในประการแรก จากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันอย่างสูงในแทบจะทุกๆ เรื่อง ทำให้ผู้คนในสังคมเห็นประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง เกิดพฤติกรรมมือใครยาวสาวได้สาวเอา บ่อยครั้งที่มีการเลี่ยงกฎหมายในบางเรื่องเพื่อให้ตนเองได้เปรียบผู้อื่น โดยผู้กระทำไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้รับผลร้ายจากการกระทำของตนจนสังคมรู้สึกว่าคนเลี่ยงกฎหมายได้ประโยชน์โดยไม่มีผลกระทบใดๆ แต่คนที่ปฏิบัติตามกฎหมายกลับต้องเสียเปรียบ คนในสังคมย่อมจะเกิดความชาชินและเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และนั่นย่อมกระทบต่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายโดยตรง

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกฎหมายจราจร ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อสร้างความปลอดภัยร่วมกันของสังคมในการใช้รถใช้ถนน แต่พฤติกรรมอันตรายต่างๆ เช่น การขับรถเร็ว การขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น หรือการฝ่าฝืนกฎหมายด้วยการจอดรถในที่ห้ามจอด การจอดรถซ้อนคัน ฯลฯ ก็ยังคงสามารถพบเห็นได้จนดูเป็นเรื่องธรรมดา เช่นนี้ ผู้กระทำก็อาจไม่รู้สึกว่าตนกำลังทำผิดอะไรเลย ในขณะที่ผู้พบเห็นต่างก็ชาชิน ในแง่นี้การฝ่าฝืนกฎหมายก็ดูเหมือนจะกลายเป็นประเพณีที่ยอมรับกันอยู่โดยทั่วไปและทำให้เจตนารมณ์ของกฎหมายจราจรกลายเป็นหมันไป

เมื่อพิจารณาในทางทัณฑวิทยา บทบัญญัติของกฎหมายที่มีบทลงโทษนั้น มีวัตถุประสงค์หลักประการหนึ่ง ก็คือเพื่อเป็นการยับยั้งการกระทำความผิด (deterrence) โดยตั้งอยู่บนการคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่ปรารถนาจะได้รับความสุขสบายและหลีกเลี่ยงความทุกข์ทรมาน ดังนี้ หากผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมิได้รับผลร้ายใดๆ แต่กลับได้ความสะดวกสบายและผลประโยชน์ ก็จะทำให้เขาไม่ได้รับบทเรียนและย่อมกระทำผิดอีกในอนาคต ในขณะเดียวกันบุคคลอื่นๆ ในสังคมก็ย่อมเห็นตัวอย่างนั้นและเกิดพฤติกรรมเอาอย่าง ซึ่งย่อมทำให้โทษในกฎหมายกลายเป็นสิ่งที่ปราศจากผลในทางปฏิบัติ และกระทบต่อความเคารพนับถือกฎหมายในท้ายที่สุด

ปัจจัยที่มีผลต่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายอีกประการหนึ่ง คือการขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียมกัน ดังมีกรณีตัวอย่างที่ทำให้สังคมตั้งคำถามเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายให้เห็นอยู่บ่อยครั้งจนคนในสังคมขาดความเชื่อมั่นในเรื่องความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมายซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหานี้มีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากระบบอุปถัมภ์ (patronage system) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยอยู่แต่เดิม และกำลังมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบความสัมพันธ์เชิงผลประโยชน์โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ทางสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน

เพื่อหาทางออกของปัญหาความไม่ศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย สังคมต้องร่วมกันสร้างกลไกให้ผู้ที่รับผิดชอบต่อส่วนรวมโดยปฏิบัติตามกฎหมายได้รับความคุ้มครอง ส่วนผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องได้รับผลร้ายจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างแน่นอนและในระยะเวลาที่รวดเร็ว โดยสังคมต้องส่งเสริมปัจจัยที่ทำให้คนเกิดความศรัทธาต่อกฎหมายขึ้นในสังคม กล่าวคือ

1.ในกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและสม่ำเสมอในปัจจุบันมีการตรา พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 ซึ่งออกตามความในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดให้ก่อนตรากฎหมายทุกฉบับจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดังนั้น หากมีการดำเนินการในกระบวนการเหล่านี้อย่างจริงจังย่อมทำให้กฎหมายที่เกิดขึ้นนั้นได้รับการยอมรับจากประชาชน ซึ่งจะส่งผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายด้วย

2.การบังคับใช้กฎหมายต้องดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการคัดกรองมาอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการฝึกฝนให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี มีเครื่องมือในการทำงานที่ครบครันทันสมัย และวิธีการบังคับใช้กฎหมายกระทำอย่างตรงไปตรงมา บังคับใช้กฎหมายอย่างสม่ำเสมอกับทุกกรณีโดยไม่มียกเว้นด้วยเหตุผลอื่นใดนอกเหนือจากเหตุผลในกฎหมาย

3.การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน กระบวนการยุติธรรมต้องเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายที่สูงเกินสมควร ภายใต้แนวคิดว่าการเข้าถึงความยุติธรรมเป็นภาระหน้าที่ของรัฐที่จะอำนวยให้แก่ประชาชนไม่ใช่ประชาชนต้องแสวงหาความเป็นธรรมด้วยความยากลำบาก ใช้เวลานาน และในราคาแพง

4.สมาชิกสังคมทุกคนต้องสำนึกถึงสิทธิและหน้าที่ของตนอย่างจริงจังเห็นความสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ละเลยเอาแต่ความสะดวกหรือประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

หากทุกภาคส่วนในสังคมได้ร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง สังคมก็จะมีความศรัทธาและเคารพในกฎหมายมากขึ้น เมื่อมีการปฏิบัติตามกฎหมายด้วยความเคารพนับถือย่อมส่งผลให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งแน่นอนว่าประโยชน์สุดท้ายก็คือสมาชิกสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขนั่นเอง

กฎหมายให้ประโยชน์อะไรกับชีวิตคนไทยบ้าง

กฎหมายทาให้เกิดความสงบและความเป็นระเบียบขึ้นในสังคม เพราะหลักกฎหมายเป็นลักษณะของ ข้อห้ามมีบทลงโทษสาหรับผู้ควรทาผิดที่ชัดเจน ดังนั้นกฎหมายจึงท าให้ประชาชนทุกคนมีความยาเกรงเพราะการฝ่าฝืนกฎหมายจะได้รับการลงโทษ อย่างเฉียบขาด เป็นเครื่องมือสาคัญที่ทาให้เกิดความสงบสุขของประเทศชาติ

กฎหมายคืออะไร มีลักษณะสําคัญอย่างไรบ้าง

กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือผ็มีอำนาจสูงสุดเพื่อใช้เป็นเครื่อง มือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้น

การเรียนวิชากฎหมายเป็นประโยชน์แก่นักเรียนในข้อใด มากที่สุด

นักเรียนกฎหมายจะได้พัฒนาทักษะในการหาเหตุผลของคำตอบ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทักษะทางการสื่อสาร, การแก้ไขปัญหาและการคิดนอกกรอบเป็นอย่างมาก ส่งผลให้นักเรียนที่จบออกไปสามารถประยุกต์กับสถานการณ์ต่างๆในสายอาชีพทุกสายอาชีพได้เป็นอย่างดี

จุดมุ่งหมายสำคัญของการออกกฎหมายคืออะไร

การแบ่งประเภทของกฎหมาย วัตถุประสงค์สำคัญของการมีกฎหมายก็เพื่อที่จะให้เกิดมีหลักประกัน และการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งการกำหนดกระบวนวิธีการในการป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ฉะนั้น จึงได้มีการแบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน กล่าวคือ