การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

ประวัติและตราสัญลักษณ์

ประวัติความเป็นมา ตราสัญลักษณ์

  • การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร
    จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีของไทย มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 -18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมืองโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนานพงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1893 นั้นได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวรณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการลักษณะกู้หนี้

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบๆเมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า" 

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆ คือ กรุงเก่าหรือ อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี หรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายหย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

  • การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

    ในปีพุทธศักราช 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงย้ายพระนครมาสร้างเมืองใหม่ ทรงเห็นว่าตำบลหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะมีน้ำล้อมรอบ จึงทรงกะเขตปักราชวัตรฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา ชีพ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์กระทำพิธีกลบบาตสุมเพลิง (ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำเพื่อแก้เสนียด) แล้วให้พนักงานขุดดินทั่วบริเวณ เพื่อสร้างพระราชวัง เมื่อขุดมาได้ถึงบริเวณต้นหมัน พนักงานพบสังข์ทักษิณาวัตรสีขาวบริสุทธิ์ 1 ขอน พระเจ้าอู่ทองทรงโสมนัสในศุภนิมิตรนั้นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้สร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานสังข์ดังกล่าว ทางราชการจึงถือว่า "สังข์" ซึ่งประดิษฐานบนพานทองภายในปราสาทใต้ต้นหมัน เป็นตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จากหนังสือ "กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทย")


การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

ข้อมูลทั่วไปจังหวัด

  • ข้อมูลทั่วไป
  • ต้นไม้ดอกไม้สัตว์ประจำจังหวัด
  • สภาพภูมิศาสตร์
  • สภาพภูมิอากาศ

การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทย มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยา หรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญ ทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง ๓ ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จพระอัยการลักษณะทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ พระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ กรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อมายาวนานถึง ๔๑๗ ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง ๓๓ พระองค์ จาก ๕ ราชวงศ์ คือ

๑. ราชวงศ์อู่ทอง              ๒. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
๓. ราชวงศ์สุโขทัย           ๔. ราชวงศ์ปราสาททอง
๕. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ได้สูญเสียเอกราชแก่พม่า ๒ ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๑๑๒ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. ๒๑๒๗ และ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกันแล้วทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยกวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างเมืองใหม่ แต่กรุงศรีอยุธยาไม่ได้ กลายเป็นเมืองร้าง ยังคงมีคนรักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และราษฎรที่หลบหนีไปได้กลับเข้ามาอยู่รวมกัน ต่อมาได้รับการยกย่อง เป็นเมืองจัตวาเรียก "เมืองกรุงเก่า"

การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาเช่นเดียวกับสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูป การปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วน ภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครอง แบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้รวม เมืองที่ใกล้เคียงกัน ๓ – ๔ เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวง เทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆคือกรุงเก่าหรือ อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์ และเมืองพรหม เข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่า เป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยา มีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหาร การปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนา เมือง อยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ อยุธยาจึง เปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้า พุทธศตวรรษ ประกอบกับในปี พ.ศ.๒๔๙๘ นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และมอบเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นการบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก มีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น " มรดกโลก " เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

ต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ต้นหมันเป็นพันธุ์ไม้ตระกูล Boraginaceae เป็นต้นไม้ขนาดปานกลาง สูงราว ๖๐ ฟุต ลำต้นลักษณะคล้ายกระบอกเนื้อไม้สีเทาปนสีน้ำตาล มีความแข็งปานกลางเปลือกหนาประมาณ ๑/๒ นิ้ว สีเทาปนน้ำตาลซึ่งมีรอยแตกยาวไปตามลำต้น ใบยาวประมาณ ๕ นิ้ว กว้างประมาณ ๓ นิ้ว เป็นรูปไข่โคนใบคล้ายรูปหัวใจ ดอกสีขาว ผลเป็นพวงสีเขียวเมื่อสุก ต้นหมันชอบขึ้นในป่าทั่วไปในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม้ประเภทนี้ปกติไม่นิยมใช้ประโยชน์ ต้นหมันเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพราะในประวัติศาสตร์ เมื่อพระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองมาตั้งที่ตำบลหนองโสน ได้ขุดพบสังข์ทักษิณาวัตร ๑ ขอน อยู่ใต้ต้นหมันอันเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดอกโสนเป็นต้นไม้ในตระกูล Leguminosae เป็นไม้ล้มลุก (Shrub)เนื้ออ่อนโตเร็ว ลำต้นอวบ ปลูกและขึ้นเองตามแม่น้ำลำคลองหนองบึงทั่วไปในภาคกลาง ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อห้อยและเหลืองอร่ามคล้ายทองไปทั่วทุกแห่งใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทองทรงตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ตำบลเวียงเหล็กทรงเลือกชัยภูมิที่จะตั้งพระราชวังทรงเห็นว่าที่ตำบลหนองโสนเหมาะสมเพราะมีต้นโสนมากดอกโสนออกดอกเหลืองอร่ามคล้ายทองคำสะพรั่งตาดังนั้นดอกโสนจึงถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

สัตว์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กุ้งแม่น้ำ หรือ กุ้งก้ามกราม (กุ้งสมเด็จ)ชื่อสามัญ : Giant Freshwater Prawn ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพบางไทรขึ้นริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ ต.ช้างใหญ่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา และได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์ฯนี้เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๒๗ และทรงปล่อยลูกกุ้งชุดแรกที่หน้าศูนย์ศิลปาชีพบางไทรแห่งนี้ และได้มีการปล่อย อย่างต่อเนื่องมาทุกปีจนถึงทุกวันนี้ ในบางปีที่เสด็จพระราชดำเนินมายังพระตำหนักสิริยาลัย ก็ได้นำลูกกุ้งก้ามกรามนับล้านตัวมาปล่อยในบริเวณหน้าพระตำหนัก

การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดอกโสน เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ้าลายดอกโสน เป็นลวดลายที่เกิดจากการนำดอกโสน และสีฟ้า สีน้ำเงิน สีธงประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาออกแบบเป็นลวดลายผ้าดอกโสน มีชื่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบนผืนผ้า ซึ่งผ้าลายดอกโสนเกิดขึ้นในสมัยนายสุรพล กาญจนะจิตรา ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕) โดยมีการประกาศในที่ประชุมให้รับทราบโดยทั่วกัน และนำผ้าลายดอกโสนตัดเย็บเป็นเสื้อประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้าราชการ พนักงานและบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สวมใส่ทุกวันศุกร์จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลา ๒๐ ปีมาแล้ว และเป็นผ้าลายที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ความเป็น “จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ได้อย่างชัดเจน

ประวัติความเป็นมา

ดอกโสน เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ้าลายดอกโสน เป็นลวดลายที่เกิดจากการนำดอกโสน และสีฟ้า สีน้ำเงิน สีธงประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาออกแบบเป็นลวดลายผ้าดอกโสน มีชื่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบนผืนผ้า ซึ่งผ้าลายดอกโสนเกิดขึ้นในสมัยนายสุรพล กาญจนะจิตรา ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕) โดยมีการประกาศในที่ประชุมให้รับทราบโดยทั่วกัน และนำผ้าลายดอกโสนตัดเย็บเป็นเสื้อประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้าราชการ พนักงานและบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สวมใส่ทุกวันศุกร์จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลา ๒๐ ปีมาแล้ว และเป็นผ้าลายที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ความเป็น “จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ได้อย่างชัดเจน

ข้อมูลการขึ้นทะเบียน

ประกาศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ มติที่ประชุมพิจารณาลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เห็นชอบให้ “ลายผ้าดอกโสน” เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรและด้วยสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณอันหาที่สุดมิได้ ที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมเรื่อง “ผ้าไทย” และสิ่งทอท้องถิ่นที่เกือบสูญหายไป ให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง พร้อมยกระดับผ้าไทยให้มีความโดดเด่นและมีชื่อเสียงในเวทีโลก เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

รายละเอียดการทอผ้า

ผ้าลายดอกโสน มีเอกลักษณ์เฉพาะในรูปของดอกโสนที่กระจายบนผืนผ้า ผลิตโดยการใช้เทคนิคบาติก ใช้ผ้าไหมและผ้าฝ้าย (ผ้าคอตตอน) ด้วยเทคนิคการเขียนมือ ด้วยความละเอียดประณีต โดยมีวิธีการผลิตดังนี้ เริ่มต้นด้วยการเขียนลายดอกโสนด้วยมือ ลอกลายลงบนผ้า เขียนลายด้วยเทียนเขียน การลงสี และเคลือบสี นำผ้าไปต้ม นำไปปั่น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวทำให้สีไม่ตก และรีดให้เรียบ พร้อมบรรจุใส่ถุงด้วยความปราณีต นำไปตัดเสื้อหรือชุดร่วมสมัยได้อย่างสวยงาม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

สภาพทางภูมิศาสตร์

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศห่างจากกรุงเทพมหานคร ทางถนนสายเอเซีย ๗๕ กิโลเมตร ทางรถไฟ ๗๒ กิโลเมตร และทางเรือ ๑๐๓ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๒,๕๕๖.๖๔ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑,๕๙๗,๙๐๐ ไร่ นับว่าเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ ๖๓ ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ ๑๑ ของจังหวัดในภาคกลาง ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา ไม่มีภูเขา ไม่มีป่าไม้ มีแม่น้ำไหลผ่าน ๔ สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำน้อย รวมความยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร มีลำคลองใหญ่น้อย ๑,๒๕๔ คลอง เชื่อมต่อกับแม่น้ำเกือบทั่วบริเวณพื้นที่

สถานที่ตั้ง อาณาเขต

จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดอ่างทองและ จังหวัดลพบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสระบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดสุพรรณบุรี

การตั้งเมืองอยุธยามีผลดีอย่างไร

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี 2558

ข้อมูลภูมิอากาศ วัดได้ เมื่อ
อุณหภูมิสูงสุด ๓๙.๗ องศาเซลเซียส เมษายน ๒๕๕๘
อุณหภูมิต่ำสุด ๑๖.๐ องศาเซลเซียส มกราคม ๒๕๕๘
ปริมาณฝนรวมทั้งปีต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ๑๑๕๒.๗ มิลลิเมตร -
จำนวนวันฝนตก ๙๕ วัน -
วันที่ฝนตกมากที่สุด ๙๑.๖ มิลลิเมตร ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘
ความยาวนานแสงแดดมากที่สุดเฉลี่ย ๘.๒ (ชม./วัน) พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ความยาวนานแสงแดดน้อยที่สุดเฉลี่ย ๔.๓ (ชม./วัน) มิถุนายน/กรกฎาคม ๒๕๕๘
ความยาวนานแสงแดดตลอดทั้งปีเฉลี่ย ๖.๔ (ชม./วัน) -
น้ำระเหยมากที่สุดเฉลี่ย ๕.๙ มิลลิเมตร เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘
น้ำระเหยน้อยที่สุดเฉลี่ย ๓.๗ มิลลิเมตร เดือนธันวาคม ๒๕๕๘
น้ำระเหยตลอดทั้งปีเฉลี่ย &๔.๗ มิลลิเมตร  

ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาพระนครศรีอยุธยาข้อมูล : ณ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๙

ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาก่อให้เกิดผลอย่างไร

กรุงศรีอยุธยาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการเป็นเมืองท่าภายใน เพราะอยู่ห่างชายฝั่งทะเลเข้ามาในแผ่นดินตามแม่น้ำสายใหญ่ไม่ไกลนักและน้ำเค็มเข้ามาไม่ถึง จากแผนที่ของชาวตะวันตกจะเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาคดโค้งเนื่องจากใกล้ปากแม่น้ำและมีการขุดคลองลัดเพื่อย่นระยะทางหลายแห่งซึ่งเป็นเหตุผลในเชิงยุทธศาสตร์และการค้าเป็นหลัก ทั้งยังเป็น ...

ลักษณะภูมิประเทศส่งผลดีต่อกรุงศรีอยุธยาอย่างไรบ้าง

อาณาจักรอยุธยามีศูนย์กลางซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหมาะแก่การค้าขายเพราะตั้งอยู่ใกล้ทางออกทะเล ความมั่งคั่งของอาณาจักรอยุธยาล้วนเป็นผลมาจากการมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ข้อใด ทำให้กรุงศรีอยุธยามีทำเลที่ตั้งที่ดีและเป็นจุดแข็งในการป้องกันการรุกรานของข้าศึก *

กรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะซึ่งมีแม่น้ำสามสายล้อมรอบ ได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้งสามสาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจาก ...

สภาพภูมิอากาศและทำเลที่ตั้งมีผลดีต่อการสถาปนากรุงศรีอยุธยาอย่างไร

4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสักและลพบุรี ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป

ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาก่อให้เกิดผลอย่างไร ลักษณะภูมิประเทศส่งผลดีต่อกรุงศรีอยุธยาอย่างไรบ้าง ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ข้อใด ทำให้กรุงศรีอยุธยามีทำเลที่ตั้งที่ดีและเป็นจุดแข็งในการป้องกันการรุกรานของข้าศึก * สภาพภูมิอากาศและทำเลที่ตั้งมีผลดีต่อการสถาปนากรุงศรีอยุธยาอย่างไร ข้อดี ข้อเสีย การตั้งเมืองสมัยอยุธยา การที่อยุธยาเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบก่อให้เกิดผลดี คือ ลักษณะที่ตั้งของอยุธยาเป็นอย่างไร การตั้งรับในเมืองของอยุธยาเมื่อมีข้าศึกมาล้อม มีข้อที่ได้เปรียบ คือ ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเหมาะแก่การป้องกันข้าศึกในสมัยโบราณ เพราะ การรับอารยธรรมเดิมของ อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรอยุธยาปกครองด้วยพระมหากษัตริย์ 33 พระองค์ประกอบด้วยราชวงศ์ใดบ้าง