ดินเหนียวมีประโยชน์อะไรบ้าง

เชื่อว่ามิตรชาวไร่ของมิตรผล ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการอ้อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องดินเป็นอย่างดี ดินลักษณะไหนปลูกอ้อยได้อย่างไร เมื่อดินมีปัญหาควรบำรุงรักษาหรือปรับปรุงดินอย่างไรให้อุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการปลูกอ้อย เพราะดินซึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งดินประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แร่ธาตุ อินทรียวัตถุหรือซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย น้ำ และอากาศ

ทั้งนี้ดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกต้องดูที่หน้าดินด้วย อาทิ ดินชั้นบน หรือ ชั้นไถพรวน มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกพืชมาก เนื่องจากรากของพืชส่วนมากจะชอนไชหาอาหาร ณ ดินชั้นนี้ ดินชั้นบนเป็นชั้นที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่าชั้นอื่น ปกติดินชั้นบนจะมีสีเข้ม หรือคล้ำกว่าชั้นอื่น ๆ ใช้สำหรับการทำการเพาะปลูกพืชทั่ว ๆ ไป จะต้องมีความหนาตั้งแต่ 0 - 15 ซม.

สำหรับดินชั้นล่าง รากพืชของต้นไม้ยืนต้น จะมีรากชอนไชลงไปถึงชั้นนี้ได้ และมีอินทรียวัตถุน้อยกว่าชั้นบน ดังนั้นดินซึ่งมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกควรต้องมีหน้าดิน รวมดินชั้นบนและดินชั้นล่าง มีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร

ดินเหนียวมีประโยชน์อะไรบ้าง

คุณสมบัติของดินซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช มี 3 ชนิด ได้แก่

ดินเหนียว เป็นดินมีความละเอียดมากที่สุด ยืดหยุ่นได้ดีเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ สามารถปั้นเป็นก้อนได้ จากความเหนียวจึงทำให้พังได้ยาก อุ้มน้ำดี รวมทั้งการจับยึดและดูดธาตุอาหารของพืช ทำได้ค่อนข้างสูง จึงมีแร่ธาตุอาหารของพืชอยู่มาก เหมาะสำหรับใช้ปลูกข้าวเนื่องจากกักเก็บน้ำได้นาน

ดินทราย เป็นดินร่วน เกาะตัวกันไม่แน่น จึงทำให้ระบายทั้งน้ำและอากาศได้อย่างดีเยี่ยม แต่อุ้มน้ำได้น้อย พังทลายได้ง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากความสามารถในการจับธาตุอาหารมีน้อย ทำให้พืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณดินทรายขาดน้ำและธาตุอาหารได้ง่าย

ดินร่วน เป็นดินค่อนข้างละเอียด จับแล้วนุ่ม มีความยืดหยุ่นพอสมควร ระบายน้ำได้ดีปานกลาง มีแร่ธาตุอาหารของพืชมากกว่าดินทราย เหมาะสำหรับใช้เพาะปลูกเป็นอย่างมาก แต่ดินร่วนแบบของแท้มักไม่ค่อยพบในธรรมชาติ แต่ก็จะพบดินซึ่งมีเนื้อดินใกล้เคียงกันเสียมากกว่า

มีดินที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชแล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าดินแบบไหนที่ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช ดินที่พืชไม่ชอบคือ ดินแบบมีน้ำขังหรือดินลักษณะแน่นทึบ พืชจะไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากรากพืชขาดอากาศสำหรับใช้หายใจ ทำให้ไม่อาจดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ พืชกินอาหารแบบสารละลาย ดังนั้นถ้าปราศจากความชื้นในดิน ถึงแม้จะมีธาตุอาหารอยู่มากแค่ไหน แต่พืชก็ไม่สามารถดูดขึ้นไปใช้ได้ จำเป็นต้องมีน้ำไปหล่อเลี้ยงนั่นเอง

ดินเหนียวมีประโยชน์อะไรบ้าง
ดินเหนียว
        ในบรรดาวัตถุดิบทั้งหลายที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิก โดยเฉพาะหัตถกรรพื้นบ้าน อาทิ หม้อ ไห กระถาง อิฐ นั้น ดินเหนียวเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
        ดินเหนียว เป็นดินที่เกิดจากตะกอนที่พัดพามาทับถมกัน ธรรมชาติของดินเหนียว จะประกอบด้วยแร่เคโอลิไนต์ (kaolinite) เป็นส่วนใหญ่ โดยแร่เคโอลิไนต์ที่พบในดินเหนียว มักมีผลึกที่ไม่สมบูรณ์และมีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังพบแร่ดินชนิดอื่นๆ อาทิ มอนมอริลโลไนต์ (monmorillonite) อิลไลต์ (illite) ควอร์ทซ์ (quartz) แร่ไมกา (mica) แร่เหล็กออกไซด์ (iron oxide) รวมทั้งมักมีสารอินทรีย์ปะปนอยู่เสมอ ดินเหนียวมีสีต่างๆ เกิดจากการมีแร่ธาตุชนิดต่างๆ ในปริมาณที่แตกต่างกัน อาทิ สีดำ เทา ครีม และน้ำตาล ดินเหนียวที่มีสีเทาหรือดำนั้น จะมีอินทรีย์วัตถุปนมาก ส่วนดินเหนียวสีครีมหรือน้ำตาล มาจากแร่เหล็กที่ปะปนอยู่
        ดินเหนียวมีสมบัติเด่นในการนำมาขึ้นรูปคือ มีความเหนียว และเมื่อแห้งมีความแข็งแรงสูง ทำให้ผลิตภัณฑ์หลังแห้งมีความแข็งแรง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อแห้ง ดินเหนียวมักมีการหดตัวสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีการแตกร้าว ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้เนื้อดินเหนียวล้วนๆ ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ แต่ต้องมีการผสมวัสดุที่ไม่มีความเหนียว อาทิ ดินเชื้อ หรือทราย เพื่อลดการดึงตัวและหดตัว ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการแตกร้าว เนื่องจากการหดตัวของดินได้ ดินเหนียวหลายชนิด มีช่วงอุณหภูมิที่จะเปลี่ยนไปเป็นเนื้อแก้วกว้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ คือ ช่วยปรับปรุงเนื้อผลิตภัณฑ์หลังการเผาให้ดีขึ้น ในการใช้ประโยชน์จากดินเหนียวนั้น นอกจากใช้เป็นเนื้อดินปั้นสำหรับหัตถกรรมพื้นบ้านแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ผสมกับดินขาว เพื่อเพิ่มความเหนียว หรือช่วยให้น้ำดินมีการไหลตัวดีขึ้น
        ในปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งดินเหนียวอยู่หลายแหล่ง ที่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเซรามิก อาทิ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปราจีนบุรี ลำปาง เชียงใหม่ นอกเหนือจากนี้ ดินเหนียวที่มีอยู่ในแหล่งพื้นบ้านทั่วไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดินเหนียวจะมีอยู่ในหลายพื้นที่ก็ตาม การนำดินเหนียวจากแหล่งต่างๆ มาใช้ก็ควรใช้อย่างมีคุณค่า และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเมื่อดินเหนียวหมดไปแล้วก็จะต้องใช้เวลานานเป็นร้อยล้านปี กว่าที่จะมีการทับถมเพื่อให้เกิดทดแทนใหม่ได้
ดินเหนียวมีประโยชน์อะไรบ้าง

http://www.material.chula.ac.th/RADIO45/May/radio5-3.htm

ดิน คือ ปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ของการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะในการเพาะปลูกพืชไม่ว่าดินจะมีสภาพเป็น ดินเหนียว ดินร่วน หรือ ดินทราย ถ้าเป็นที่ดินของเราแล้ว เราก็ต้องยอมรับสภาพ และ หาทางใช้ประโยชน์จากที่ดินของเราให้มากที่สุด

บทความนี้ผมจะขอหยิบเอาเรื่องของ ดินเหนียว ขึ้นมา เพราะว่า ดินเหนียว เป็น เนื้อดิน ที่พบได้มากที่สุด ในพื้นที่การเกษตรของประเทศ เพราะบ้านเรามีพื้นที่นาข้าว ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นดินเหนียวเกือบ 70 ล้านไร่  คิดเป็น 48% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดทั่วประเทศ

“เนื้อดิน” แบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ดินเหนียว ดินร่วน และ ดินทราย ซึ่งเนื้อดินเกิดจากการรวมตัวกันของตะกอนขนาดเล็กมากในดิน มีชื่อเรียกว่า อนุภาคดิน แบ่งได้ 3 ชนิด ตามขนาด คือ อนุภาคทราย มีขนาดใหญ่สุด อนุภาคทรายแป้ง ขนาดเล็กกว่าทราย และ อนุภาคดินเหนียวมีขนาดเล็กที่สุด เมื่ออนุภาคดินทั้ง 3 ชนิดรวมเข้าด้วยกัน จะเกิดเป็นเนื้อดินชนิดต่างๆ ตามสัดส่วนที่ผสมกัน เช่น เนื้อดินทราย จะมีอนุภาคทราย 80% อนุภาคทรายแป้ง10% อนุภาคดินเหนียว10% หรือ เนื้อดินร่วน ก็จะมีอนุภาคทราย 40% อนุภาคทรายแป้ง40% อนุภาคดินเหนียว 20%

ดินเหนียวมีประโยชน์อะไรบ้าง

ดินเหนียว จะมี อนุภาคดินเหนียว 60% อนุภาคทรายแป้ง 20% อนุภาคทราย 20% ทำให้ ดินเหนียวมีเนื้อดินละเอียดเล็กมากที่สุด เมื่อดินแห้งจึงแตกออกเป็นก้อนแข็งมาก ถ้าได้รับน้ำหรือความชื้น ดินเหนียวจะจับตัวกันหนาแน่นแต่มีความยืดหยุ่น สามารถปั้นดินเป็นรูปทรงต่างๆได้

ดังนั้น พื้นที่เพาะปลูกในที่ลุ่มต่ำที่เป็นดินเหนียว จึงมักจะมีน้ำท่วมขัง หรือน้ำซึมลงดินได้ช้า การระบายน้ำและอากาศไม่ดีนัก แต่สะสมธาตุอาหารได้ดี จึงทำให้ดินเหนียวมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว เพราะเก็บน้ำได้นาน  รวมไปถึงพืชสวนชนิดอื่นที่ชอบน้ำ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง กล้วยน้ำว้า แต่หากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมขัง การปลูกไม้ผลในดินเหนียวควรมีการยกร่องขึ้น

เนื้อดิน มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของพืช และการให้ผลผลิต เพราะเนื้อดินมีผลต่อการระบายน้ำ อากาศ ซึ่งดินร่วนจะเหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชที่สุด เพราะอุ้มน้ำได้ปานกลาง มีการระบายน้ำดีและมีอากาศถ่ายเท ส่วนดินทรายนั้น เนื้อจะหยาบอุ้มน้ำไม่ดี ดินจะแห้งง่าย และมีธาตุอาหารอยู่น้อย

ส่วนดินเหนียวนั้นแม้จะอุ้มน้ำได้มากและมีธาตุอาหารอยู่มาก แต่ก็มีข้อเสียที่การระบายน้ำไม่ดี มักจะมีน้ำขัง ทำให้มีอากาศไม่พอ ไม่เหมาะกับรากพืชบางชนิดในการหายใจ และ ยังไถพรวนลำบากเพราะเมื่อดินแห้งจะแข็งมาก และดินจะเหนียวจัดเมื่อเปียกชุ่มน้ำ

ดังนั้น ไม่ว่าพื้นที่เพาะปลูกของเราจะมีสภาพเนื้อดินแบบไหน ถ้าหากพืชเติบโตช้า ให้ผลผลิตได้น้อยเราควรหาทางตรวจสอบคุณสมบัติของดิน ให้รู้สาเหตุเพื่อใช้พิจารณาว่าระหว่าง ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสภาพเนื้อดิน หรือการเลือกเปลี่ยนไปปลูกพืชพันธุ์ชนิดอื่นที่เหมาะสม ต่อสภาพเนื้อดินให้มากที่สุด ทางเลือกไหนจะให้ความคุ้มค่ามากกว่ากันนะครับ

ดินเหนียวนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

ประโยชน์ของดินเหนียว.
ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำอิฐ.
ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง แกนดินเหนียวสำหรับเขื่อนดิน และเขื่อนหินทิ้ง.
ใช้เป็นวัสดุดิบในการผลิตเซรามิก เพื่อใช้ในงานวิศวกรรมและอุตสาหกรรม.

ดินเหนียวเหมาะกับอะไร

ดินเหนียว เป็นดินที่มีเนื้อละเอียดแน่น มีการจับตัวกันอย่างดีทำให้มีช่องว่างระหว่างเม็ดดินน้อย อุ้มน้ำได้ดี และไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย แต่การระบายถ่ายเทอากาศไม่สะดวก เหมาะสำหรับปลูกพืชที่ต้องการน้ำมาก เช่น ข้าว และพืชน้ำต่างๆ เป็นต้น

ข้อเสียของดินเหนียวมีอะไรบ้าง

ดินเหนียวมีข้อเสียในหน้าฝน(น้ำเยอะ)คือท่วมขัง เนื้อดินละเอียดและเหนียว ทำให้ในดินมีออกซิเจนน้อย (สำหรับรากพืช) ข้อเสียในหน้าฝน (ไม่มีน้ำ)คือแห้งและแน่นแข็ง รากต้นไม้อยู่ยาก แต่อย่างไรก็ตามน้ำคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการปลูกต้นไม้ ถ้ามีน้ำพอตลอดปี ดินเหนียวก็ปลูกต้นไม้ได้หลายชนิดครับ

การใช้ประโยชน์จากดินมีอะไรบ้าง

1. ใช้ในการเกษตรกรรม ดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ อาหารที่มนุษย์เราบริโภคทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90 % 2. ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ พืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่บนดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ ตลอดจนเป็น แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู หนู แมลง นาก ฯลฯ