หม้อหุงข้าวมีประโยชน์อย่างไร

หม้อหุงข้าวทำงานอย่างไร และหม้อหุงข้าวรู้ได้อย่างไรว่าข้าวสุกแล้ว เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยมาทุกยุคทุกสมัย เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว และมักเป็นข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับหลักการทำงานไฟฟ้าของหลายๆ โรงเรียนอีกด้วย วันนี้ไทยรัฐออนไลน์พาคุณมาพบคำตอบที่แท้จริงของระบบการทำงานของหม้อหุงข้าวว่ารู้ได้อย่างไรว่าข้าวสุกแล้ว

หม้อหุงข้าวทำงานอย่างไร

หม้อหุงข้าวใช้หลักการส่งผ่านความร้อนที่เกิดจากขดลวดไปสู่ชั้นต่างๆ ของหม้อหุงข้าว เพื่อทำให้ข้าวสุก ตัวหม้อเองไม่รู้ว่าข้าวด้านในหม้อสุกพอดี อุปกรณ์ที่ควบคุมการตัดไฟในหม้อหุงข้าวมีชื่อว่า เทอร์โมสตัท (Thermostat)

เทอร์โมสตัท จะติดอยู่ที่ก้นหม้อชั้นนอก และมักจะเป็นแม่เหล็กที่ประกอบด้วยโลหะ 2 ชนิด คือ แท่งแม่เหล็กถาวร และเหล็กเฟอร์ไรต์

วงจรหม้อหุงข้าว

วงจรหม้อหุงข้าว เกิดขึ้นเมื่อกดสวิตช์ ทำให้คานที่มีแท่งแม่เหล็กประกบติดกันเกิดเป็นวงจรให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ขณะหุงข้าวเมื่อน้ำระเหยออกหมด ความเป็นแม่เหล็กของวงจรน้อยลง ทำให้เกิดการตัดวงจรขึ้น ข้าวจึงไม่ไหม้

ภาพจาก : http://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/Publication/Publication/Pubication_1/7.pdf

แท่งเหล็กเฟอร์ไรต์เป็นปุ่มกลมแบนอยู่กลางแผ่นความร้อนสัมผัสกับหม้อชั้นใน และมีสปริงติดอยู่ เมื่อกดสวิตช์ คานจะทำให้สปริงดันตัวขึ้นไป แท่งแม่เหล็กด้านล่างจะดูดแท่งเหล็กเฟอร์ไรต์ที่อยู่ด้านบนของสปริง ไฟฟ้าจึงไหลผ่านเกิดเป็นวงจรกระแสไฟฟ้า ความร้อนที่ส่งผ่านจะทำให้ข้าวสุก

ภาพจาก : http://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/Publication/Publication/Pubication_1/7.pdf

สรุปได้ว่า เทอร์โมสตัท (Thermostat) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตัดกระแสไฟฟ้าในขณะที่ข้าวสุก แต่ข้าวสวยจะนุ่มเด้งพอดีรับประทานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่หุงนั่นเอง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

  • รวม 8 หม้อหุงข้าวไฟฟ้าขนาดเล็ก เด็กหออยู่คนเดียว

หม้อหุงข้าวมีประโยชน์อย่างไร

     หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างยิ่งสำหรับคนไทยอย่างเรา เนื่องจากวัฒนธรรมของคนไทยเรานั้นรับประทานข้าวสวยหรือข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของมนุษย์ ที่ใช้ความร้อนจากไฟฟ้าทำให้ข้าวสุกโดยอัตโนมัติ และรักษาอุณภูมิของข้าวไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากหม้อหุงข้าวแล้วยังมี หม้อนึ่งไฟฟ้า, หม้อทอดไฟฟ้า, เครื่องปิ้งขนมปัง, กระทะไฟฟ้า และยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมายที่นำความร้อนจากไฟฟ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันมีการออกแบบหม้อหุงข้าวมาหลายหลายรูปทรงและหลายขนาด หลัก ๆ จะมีระบบไอน้ำที่ช่วยให้ข้าวสุกไวเป็นฝาติดกับหม้อ และแบบหูจับฝาแยกซึ่งทำความสะอาดได้ง่าย เป็นตัวเลือกให้คุณแม่บ้านหาซื้อเพื่อความสะดวกในการหุงข้าว โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดดังนี้

1.หม้อหุงข้าวธรรมดา หรือแบบดั้งเดิม

หม้อแบบธรรมดา และหม้อแบบดิจิทัลนั้นมีการใช้งานพื้นฐานที่เหมือนกัน เช่น ใส่ข้าว ตวงน้ำ กดปุ่มแล้วเริ่มทำการหุงข้าว แต่หม้อแบบดิจิทัล ตัวเครื่องก็จะมีฟังก์ชันการใช้งานที่มากกกว่าแค่หุงหรืออุ่นข้าวธรรมดา สามารถหุงข้าวได้หลายชนิดมากกว่า ปรุงอาหารอื่น ๆ เช่น โจ๊ก ได้ นอกจากนี้ตัวเครื่องหม้อหุงข้าวดิจิทัลยังมีหน้าจอเพื่อกำหนดระยะเวลาการหุง รวมถึงการกำหนดอุณหภูมิในการหุงเองได้ด้วย ใช้สำหรับหุงข้าว ตั้งแต่ตวงข้าวสาร ใส่น้ำและกดปุ่ม รอให้สุกพร้อมรับประทาน

2.หม้อหุงข้าวดิจิตอล

กลับทำได้มากกว่าการหุงข้าวธรรมดา นั่นคือ เราสามารถปรับปุ่มอุ่นข้าวให้ร้อนตลอดวันได้หลังหุง หรือยังจะกำหนดระยะเวลาของการหุงข้าว และ นอกจากนี้ยังมีความพิเศษ คือ สามารถทำเค้ก หุงข้าวเหนียว หรือการทำโจ๊กได้อีกด้วยหม้อแบบดิจิทัลจะมีการติดตั้งเสียงสัญญาณเพื่อแจ้งให้ผู้ใช้รู้ว่าข้าวเสร็จแล้ว ต่างจากหม้อแบบธรรมดาที่จะต้องสังเกตเองว่าข้าวสุกพอทานหรือยัง หรืออย่างมากก็จะมีการเด้งเตือนเมื่อครบรอบการหุงซึ่งอาจจะยังไม่ได้ที่ รวมถึงการออกแบบหม้อแบบดิจิทัลส่วนใหญ่จะจะดูดี ดูทันสมัย ยืดหยุ่นกับเฟอร์นิเจอร์หลากหลายทำให้การตกแต่งครัวดูสวยงามโมเดิร์นด้วย

ข้อดี ข้อด้อย ของหม้อหุงข้าวดิจิทัล

     ข้อดีที่เห็นได้ชัดคือ หุงข้าวอร่อยกว่า หอมกว่า เลือกได้เลยว่าจะเป็นข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ข้าวต้ม หรือจะทำขนมเค้กก็ได้ สามารถตั้งเวลาหุงข้าวและปรับอุณหภูมิที่ต้องการได้ ดูมีความคุ้มค่าเพราะสามารถใช้งานได้หลายอย่างข้อเสียใช่ว่าจะไม่มี เพราะหม้อแบบดิจิทัลนั้นใช้เวลาหุงข้าวนานกว่า ประมาณ 45 นาทีสำหรับข้าวหอมมะลิ แต่ถ้าข้าวกล้องจะนานมากเพราะข้าวชนิดนี้มีความแข็งมากกว่าจึงต้องใช้เวลานาน และราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหม้อหุงข้าวอื่น ๆ

     สุดท้ายข้อควรคำนึงทั่วไปในการเลือกซื้อหม้อหุงข้าว ควรเลือกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ด้านความปลอดภัยควบคุมอยู่ดังนั้นตรวจฉลากให้ดี นอกจากนี้ควรเลือกซื้อที่มีการรับประกัน เมื่อมีปัญหาในการใช้งานต้องมีศูนย์ที่พร้อมให้การดูแลซ่อมแซม เลือกขนาดความจุของหม้อและกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน เพื่อเป็นการประหยัดไฟฟ้า ต้องมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบอกปริมาณในส่วนหม้อด้านใน ขีดบอกระดับ หรือสัญลักษณ์อื่นที่แสดงความจุที่กำหนด ซึ่งมองเห็นได้ในขณะเติมน้ำ และสุดท้ายสำหรับหม้อแบบดิจิทัลควรมีสัญลักษณ์การใช้งานภาษาไทยกำกับและควรมีคู่มือการใช้งานภาษาไทยเพื่อกันความผิดพลาดและสมาชิกในครอบครัวทุกคนสามารถใช้งานได้ค่ะ

หม้อหุงข้าวมีประโยชน์อย่างไร

หม้อหุงข้าวใช้งานอย่างไร

ข้อแนะนำในการซื้อและการใช้ อย่ากดสวิตช์เปิด-ปิด ขณะที่ไม่มีหม้อชั้นใน อย่าใช้วัตถุมีคม ถูหรือขัดหม้อชั้นใน เพราะจะทำให้สารที่เคลือบหม้อหลุดไปได้ อย่าเสียบปลั๊กหรือสวิตช์ หรือจับหม้อชั้นนอกขณะที่มือเปียก เพราะอาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังจากการใช้งาน

หม้อหุงข้าวมีหน้าที่อะไรบ้าง

หม้อข้าว เป็นเครื่องใช้ประจำครัวเรื่องที่มีหน้าที่หลักในการหุงข้าวให้สุก นุ่ม อร่อยน่ารับประทาน ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อหม้อสำหรับหุงข้าวของเราทุกคน รองจากนั้นก็คือเรื่องของการเลือกดูว่าหม้อแต่ละยี่ห้อมีคุณสมบัติและคุณภาพอย่างไรบ้าง แต่เชื่อได้เลยว่าหลายคนมักจะลืมและไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องของประโยชน์ ...

หม้อหุงข้าวมีอะไรบ้าง

ล่วนประกอบของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน 1.ที่จับฝาหม้อภายนอก 2. ฝาปิดหม้อ 3.หูจับหม้อชั้นนอก 4. หม้อชั้นใน 5. หม้อชั้นนอก 6. ชุดควบคุมแสดงการท างาน

หม้อหุงข้าวมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นขณะผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ได้แก่ การปล่อยสารมลพิษออกสู่ อากาศ น้ํา และดิน จากกระบวนการผลิต อีกทั้งในการผลิตบางครั้งก่อให้เกิดเสียงดังรบกวน และ ถ้ามีการจัดการที่ไม่ดีเพียงพอ ก็จะมีขยะมูลฝอย/ของเสียเกิดจากกระบวนการผลิตได้