การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวมีอะไรบ้าง

– ด้านการเลือกซื้อของ คือ เวลาเราจะเลือกซื้อของชิ้นใดชิ้นหนึ่งนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมว่าของสิ่งนั้นเหมาะสมกับเราหรือเปล่า ราคาเหมาะกับสินค้าหรือไม่และการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และต้องเข้ากับหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงด้วย คือไม่ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย และซื้อของที่จำเป็นจริงๆ เป็นต้น

ที่มา https://cocorider.wordpress.com/2013/08/01/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9/

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
          ◕ 5.การนำไปใช้พัฒนาด้านวัฒนธรรม  ด้วยการตระหนักถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การใช้สินค้าไทยพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความสำคัญด้านมารยาทไทย โดยการร่วมกันสืบทอดวัฒนธรรมและมารยาทอันดีงามของไทย และของท้องถิ่น ไม่ควรหันไปนิยมหรือตามวัฒนธรรมตะวันตกมากเกินไป การรู้จักปกปักษ์รักษาโบราณวัตถุและโบราณสถาน ตลอดจนกระทั่งจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และรักษาวัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืน

จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า 30 ปี คือ ใช้จ่าย 3 ส่วน และเก็บออม 1 ส่วน ฉันและครอบครัวได้นำมาปฏิบัติทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ครอบครัวของฉันอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ดังนี้

       1.พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน แบ่งให้เพื่อนบ้านบ้าง เหลือจึงขายไป

       2.พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) คุณพ่อของฉันและฉันมักเน้นเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าและน้ำประปา ท่านให้พวกเราช่วยกันประหยัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน ก็ควรปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง

       3.พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ชีวิต โดยจะอยู่ในกิจกรรม “ออมวันนี้ เศรษฐีวันหน้า”

       4.เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน จะแบ่งไว้ใช้จ่าย 3 ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้บางอย่างที่ชำรุด เป็นต้น

        5.ฉันจะยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆ วันที่ไม่จำเป็น ลดละควาฟุ่มเฟือย

การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  • ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้

  • ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ

“ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง”

  • ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต

“ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ”

  • ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง

“ความสุขความเจริญอันแท้จริง หมายถึง ความสุข ความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังจากผู้อื่น”

  • มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง

  • ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม

  • ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรงปัญญาที่เฉียบแหลม

       เศรษฐกิจพอเพียงจะดำเนินไปได้ดี ด้วยการ ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนปฏิบัติตาม ที่ขอให้อย่าลืมที่จะปฏิบัติในเรื่อง ความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน ปฏิบัติตนเป็นคนดี ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน และพอใช้ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนควรร่วมมือ ร่วมใจ กันปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงตั้งแต่ยังเด็ก แล้วจะติดเป็นนิสัยความพอเพียงไปตลอดชีวิต สามารถนำไปพัฒนาตน พัฒนาประเทศชาติให้เจริญ ก้าวหน้า เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดีของสังคม

การประยุกต์ปลูกฝังใช้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน

                   เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้ วิชาการและทักษะต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล เพื่อจะได้มีความเกรงกลัวและละอายต่อการประพฤติผิดมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้ เกื้อกูล แบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ หรือกระทำการใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล ในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้ จนตนสามารถทำตนให้เป็นพึ่งของตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด

เศรษฐกิจพื้นฐาน ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ

•  เป็นเศรษฐกิจ   ของคนทั้งมวล

•  มีชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ

•  มีความเป็นบูรณาการเข้มแข็งไปพร้อม ๆ กันหมด ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ  สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม

•  เติบโตบนพื้นฐานที่เข้มแข็งของเราเอง เช่น ด้านเกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรม สมุนไพร อาหาร การท่องเที่ยว เป็นต้น

•  มีการจัดการที่ดีเป็นพื้นฐาน ส่งเสริมการเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

การพัฒนาประเทศ มิได้มีแบบอย่างตายตัวตามตำรา หากแต่ต้องเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา วัฒนธรรมชุมชน ที่มีความหลากหลาย ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัฒน์ ควบคู่ไปกับการพยายามหาแนวทางหรือวิธีการที่จะดำรงชีวิตตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ดำเนินไปได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบที่ชุมชนอาจจะได้รับ ไม่ให้กระแสเหล่านั้นมาทำลายเอกลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนจนต้องล่มสลายไป

             จากแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางที่ให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพ

ที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งก็คือ วิถีชีวิตไทย ที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี ในหลักของการพึ่งพาตนเอง 5 ประการ คือ

•  ความพอดีด้านจิตใจ : เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

•  ความพอดีด้านสังคม : มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง

•  ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงเป็นขั้นเป็นตอนไป

•  ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการและควร

พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง

•  ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอสมควร พออยู่ พอกินตามอัตภาพ และฐานะของตนเอง

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเริ่มจาก การสร้างพื้นฐาน ความพอกินพอใช้ ของประชาชนในชาติเป็นส่วนใหญ่ก่อน แล้วจึงค่อยเสริมสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจ . ตามลำดับ เพื่อจะได้เกิดสมดุลทางด้านต่าง ๆ หรือ เป็นการดำเนินการไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง โดยสร้างความพร้อมทางด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ที่ไม่ใช่เป็นการ “ ก้าวกระโดด ” ที่ต้องใช้ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ มาเป็นตัวกระตุ้น เพียงเพื่อให้เกิดความทันกันในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งในที่สุดประชาชนไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการและการแข่งขันดังกล่าวได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมา ดังที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจ   เมื่อปี 2540

…การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง…

…ระดับบุคคลและครอบครัว…

ด้านเศรษฐกิจ

ลดรายจ่าย   เพิ่มรายได้   ใช้ชีวิตอย่างพอควร   คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป   การเผื่อทางเลือกสำรอง

        ด้านจิตใจ

มีจิตใจเข้มแข็ง  พึ่งตนเองได้  มีจิตสำนึกที่ดี   เอื้ออาทรประนีประนอมนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

        ด้านสังคม

ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน   รู้รักสามัคคี   สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน

     ด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ   เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด     ด้านเทคโนโลยี

รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม   สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม  (ภูมิสังคม) พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านเองก่อน   ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก   

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลและครอบวครัว

ตัวอย่างการใช้จ่ายอย่างพอเพียง

          พอประมาณ :  รายจ่ายสมดุลกับรายรับ 
          มีเหตุมีผล :  ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล /มีความจำเป็น /ไม่ใช้สิ่งของเกินฐานะ /ใช้ของอย่างคุ้มค่าประหยัด 
          มีภูมิคุ้มกัน : มีเงินออม /แบ่งปันผู้อื่น /ทำบุญ 
          ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจและดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชุมชน 

                                                                                                    

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง 
(ด้านเศรษฐกิจ)

หลักปฏิบัติ

ตัวอย่างกิจกรรม

1. รู้จักการใช้จ่ายของตนเอง
            -ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีผล  
            -อย่างพอประมาณ 
            -ประหยัด เท่าที่จำเป็น                –บันทึกบัญชีรายรับและรายจ่าย 
                -วิเคราะห์บัญชีรายรับและรายจ่าย 
                -แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 
                -รับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลด รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย2. รู้จักออมเงิน มีกลไกลดความเสี่ยง
            –ระบบสวัสดิการ 
            –ระบบออมเงิน 
            –ระบบสหกรณ์ 
            –ระบบประกันต่างๆ                -ออมวันละหนึ่งบาท
–สัปดาห์การออม 
                -จัดตั้งกลุ่ม/สหกรณ์ออมทรัพย์3. รู้จักประหยัด
            -ใช้และกินอย่างมีเหตุผลไม่ฟุ่มเฟือย 
            -ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น
            -ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า               -ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ 
               -เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ไว้กิน ไว้ขาย 
               -ใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน 
               -รีไซเคิลขยะเพื่อนำมาใช้ใหม่ 
               -นำของเหลือใช้ มาทำให้เกิดประโยชน์4. พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจโดยผลิต หรือสร้างรายได้ที่
            -สอดคล้องกับความต้องการ 
            -สอดคล้องกับภูมิสังคม 
            -สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 
            -สอดคล้องกับทรัพยากรท้องถิ่นเน้นการผลิตเพื่อพึ่งตนเอง ให้พอเพียงกับการบริโภค และการผลิตที่หลากหลาย เช่น 
             -ปลูกพืชผักผสมผสาน 
             -ปลูกพืชสมุนไพรไทย 
             -ผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 
             -จัดอบรมพัฒนาอาชีพในชุมชน

ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง
(ด้านสังคม)

ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจ

หลักปฏิบัติ

ตัวอย่างกิจกรรม

5. รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน 
        ›  ปลูกจิตสำนึกสาธารณะ 
        ›  ปลูกฝังความสามัคคี 
        ›  ปลูกฝังความเสียสละ 
        ›  เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาความรู้คูคุณธรรม ผ่านกิจกรรม  
รวมกลุ่มต่างๆ 
          ›  จัดกิจกรรมลด ละ เลิก อบายมุข 
          ›  จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส 
          ›  จัดค่ายพัฒนาเยาวชน 
          ›  จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ภายในชุมชน

พอเพียง
(ด้านสิ่งแวดล้อม)

หลักปฏิบัติ

ตัวอย่างกิจกรรม

6. สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ 
           ›  ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม 
           ›  ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น 
           ›  ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น   
           ›  ฟื้นฟูดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในพัฒนาความรู้เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า เพื่อฟื้นฟู รักษา 
         ›  โครงการชีววิถี 
         ›  จัดอบรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 
         ›  จัดทำฝายแม้ว

ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง
(ด้านวัฒนธรรม)

หลักปฏิบัติ

ตัวอย่างกิจกรรม

7. สืบสานวัฒนธรรมไทย
             › สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทยรักบ้านเกิด 
             › ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารประจำท้องถิ่น  
             › ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดนตรีไทยและ  
เพลงไทย 
             › ฟื้นฟูและอนุรักษ์วัตถุโบราและโบราณสถาน                 ›  ปลูกฝังมารยาทไทย 
                 ›  ส่งเสริมอาหารประจำท้องถิ่น 
                 ›  ส่งเสริมการใช้ภาษาประจำท้องถิ่น 
                 ›  ทำนุบำรุงโบราณวัตถุและโบราณสถาน8. ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
            › ปลูกจิตสำนึกความรักชาติ 
            › ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา 
            › จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์                ›  ให้ความสำคัญกับการรักษาศีลหรือสวดมนต์ 
 เป็นประจำ 
              ›  ส่งเสริมการฝึกอบรมสมาธิภาวนา 
              ›  ร่วมกันทะนุบำรุงศาสนา 
              ›  พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น 
              ›  รณรงค์การใช้สินค้าไทย

สรุปข้อสังเกตเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้หลายด้านและหลายรูปแบบ ไม่มีสูตรสำเร็จแต่ละคนจะต้องพิจารณา  ปรับใช้ ตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับ เงื่อนไขและสภาวะที่ตนเผชิญอยู่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้เรา “ฉุกคิด” ว่ามีทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยให้       เกิดความยั่งยืน มั่นคง และสมดุลในระยะยาว

ตัวอย่างความพอเพียงในองค์กรเอกชน แพรนด้าจิวเวอรี่

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวมีอะไรบ้าง

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวมีอะไรบ้าง

เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบไปด้วยอะไรบ้างนั้น เราได้สรุปรวบยอดมาให้เข้าใจได้ง่ายๆ พร้อมทั้งนำภาพประกอบความเข้าใจ มาให้ดูด้วยเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นั้น แท้จริงแล้ว เป็นบทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

รูปภาพเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวมีอะไรบ้าง

(คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)

3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน

        ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

        ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

นั่นคือสรุปรวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วคงกระจ่างกันสักที เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเอง.
- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้.
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ.
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต.
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย.
- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง.
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย.

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในครอบครัวในเรื่องใดบ้าง

ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว มุ่งเน้นให้บุคคลและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข ทั้งทางกายและทางใจ พึ่งพาตนเองอย่างเต็มความสามารถ ไม่ท าอะไรเกินตัว ด าเนินชีวิตโดยไม่ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมทั้งใฝ่รู้และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงในอนาคต และ เป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ในที่สุด เช่น หาปัจจัย ...

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจในระดับครอบครัวได้แก่อะไรบ้าง

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว ต้องยึดมั่นหลักการ “พึ่งตนเอง” ด้วยการบริหารจัดการอย่างพอดีและประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกแต่ละคนจะต้องรู้จักตนเอง เช่น รู้ข้อมูลรายรับ –รายจ่ายของตนเองและครอบครัว รักษาระดับการใช้จ่ายของตนเองไม่ให้เป็นหนี้และสมาชิกจะต้องรู้จักดึงความสามารถที่มีอยู่ในตนอง ...

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคครัวเรือนทำอย่างไร

ลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้/ใช้ชีวิตอย่างพอควร/คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ/มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป/การเผื่อทางเลือกสำรอง ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ /มีจิตสำนึกที่ดี /เอื้ออาทรประนีประนอม /นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก