ข้อดีของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คืออะไร

    ตลาดผูกขาด เป็นคำที่น่ากลัวสำหรับธุรกิจหลาย ๆ อย่าง เพราะถ้าเราได้ยินคำว่าธุรกิจนี้เป็น “ตลาดผูกขาด” หรือ “Monopoly Market” นั้นหมายความว่าโอกาสในการที่เจ้าเล็ก ๆ หรือธุรกิจขนาดย่อมจะหมดสิทธิ์ในการเข้าไป ดังนั้นตลาดโมโนโพลีนี้จะมีวิธีการบริหารธุรกิจที่แตกต่างกับการบริหารธุรกิจในตลาดอื่น ๆ
    คำว่า “ตลาด” ในวงการของ Marketing นั้นไม่ได้หมายถึงตลาดสดหรือที่ขายหมู ขายผัก แต่หมายถึงโลกของการค้าขาย เป็นสถานที่มีผู้ขายและผู้ซื้อ โดย 2 คนมีความต้องการตรงกันและยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับสินค้า เช่น ตลาดน้ำดื่ม ประกอบไปด้วยผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำดื่ม กับผู้บริโภคน้ำดื่ม เป็นต้น ตลาดมีแบบทั้งสถานที่ที่จับต้องได้ และแบบออนไลน์อีกด้วย เช่น เมื่อพูดถึงตลาด E-commerce ก็จะนึกถึงร้านค้าใน LAZADA, Shopee และนักชอปปิงนั่นเอง โดยที่ตลาดผูกขาด (Monopoly Market) ที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้ จะเป็นตลาดที่มีผู้ขายเพียงแค่รายเดียว ไม่มีคู่แข่งในตลาดเลย และไม่มีสินค้าใดมาแทนได้ เช่น การให้บริการน้ำประปา, การไฟฟ้า, ยาสูบ, การรถไฟ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วตลาดผูกขาดนี้จะเป็นการบริหารของรัฐบาลเพื่อกำหนดราคาไม่ให้สูงเกินไป และควบคุมจำนวนการผลิตได้อย่างถูกกฎหมาย


สาเหตุของตลาดผูกขาด


    -เจ้าของหรือผู้ผลิต มีอิทธิพลและเป็นผู้ที่สามารถนำวัตถุดิบมาผลิตได้เพียวเจ้าเดียว
    -วัตถุดิบมักจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป จึงต้องจำกัดการใช้งาน ไม่ให้ใช้เยอะเกิน และอาจจะส่งผลต่อระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ
    -การเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มาก และจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลและเทคโนโลยีที่ก้าวไกลมากระดับต้น ๆ ของประเทศ
    -เกิดจาดข้อกฎหมายที่เจ้าของธุรกิจได้ขออนุญาตสัมปทานกับรัฐบาล


ข้อดีของตลาดผูกขาด


1.มีเจ้าของธุรกิจเพียงรายเดียว ทำให้การกำหนดราคาและควบคุมตลาดเป็นไปได้ง่าย
2.ส่วนใหญ่ตลาดผูกขาดเป็นของรัฐบาล ดังนั้นโอกาสในการล้มเหลวทางธุรกิจต่ำกว่าตลาดทั่วไป
3.เมื่อเกิดวิกฤติเกิดขึ้น การลดราคาหรือกำหนดราคาให้ต่ำลงนั้นสามารถทำได้เลย ไม่ต้องกังวลเรื่องกลไกราคาและคู่แข่งในตลาด


ข้อเสียของตลาดผูกขาด


1.เนื่องจากมีผู้ผลิตเพียงรายเดียว ความเสี่ยงจึงเกิดกับผู้บริโภค เมื่อเกิดปัญหากับธุรกิจขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนในวงกว้าง
2.จำเป็นต้องมีการควบคุมทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับราคา มิเช่นนั้นเจ้าของตลาดอาจจะตั้งราคาสูงมาก จนถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
3.ยิ่งตลาดใดผูกขาดมาก ยิ่งเสี่ยงต่อการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพต่ำออกมา เพราะถ้าหากไม่มีคู่แข่งในตลาดเลย ก็อาจจะผลิตสินค้าที่ต้นถูกมาจำหน่ายได้
4.สินค้าอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากมีผู้ผลิตจำกัด (Demand มากกว่า Supply)

    เมื่อกล่าวถึงการบริหารธุรกิจแบบผูกขาดนี้ อาจจะไกลตัวมาก ๆ สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กถึงกลางอย่างพวกเรา เพราะตลาดที่เรามีส่วนร่วมส่วนใหญ่จะเป็นตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligipoly) เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ, เครื่องบิน, น้ำมัน, รถยนต์ เป็นต้น และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เช่น สบู่, อุปกรณ์ช่าง, เสื้อผ้า, ปากกา, ระบบออนไลน์, เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น


Author : Pajaree Kanmaneelert

ประเภทของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ มี 2 ประเภทคือ

1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competitive market) มีผู้ขายจำนวนมากและขายสินค้าเหมือนกัน
2. ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (imperfect competitive market)

ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. ตลาดผูกขาด (monopoly) มีผู้ขายรายเดียวขายสินค้าไม่สามารถทดแทนได้
2. ตลาดผู้ขายน้อยราย (oligopoly) ผู้ขายมีน้อยรายขายสินค้าคล้ายกัน หรือแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้
3. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition) ตลาดที่มีผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ขายมีความพอใจจะขายให้แก่ผู้ซื้อบางคนเท่านั้น
1. ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ (competitive market) หรืออาจเรียกว่าตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ (perfect or pure competition) ตลาดประเภทนี้มีอยู่น้อยมากในโลกแห่งความเป็นจริง อาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดในอุดมคติ (ideal market) ของนักเศรษฐศาสตร์ ตลาดชนิดนี้เป็นตลาดที่ราคาสินค้าเกิดขึ้นจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน โดยแท้จริง ไม่มีปัจจัยอื่นๆมาผลักดันในเรื่องราคา ลักษณะสำคัญของตลาดประเภทนี้ คือ 
1. มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก (many buyers and sellers) แต่ละรายมีการซื้อขายเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ซื้อและผู้ขาย ทั้งหมดในตลาด การซื้อขายสินค้าของผู้ซื้อหรือผู้ขายแต่ละรายไม่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา ในตลาด กล่าวคือ ถึงแม้ผู้ซื้อหรือผู้ขายจะหยุดซื้อหรือขายสินค้าของตนก็จะไม่กระทบกระเทือน ต่อปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด เพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายแต่ละคนจะซื้อสินค้าหรือขายสินค้าเป็นจำนวนเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด 
2. สินค้าที่ซื้อหรือขายจะต้องมีลักษณะเหมือนกัน (homogeneity) สามารถที่จะใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์ในทรรศนะหรือสายตาของผู้ซื้อ ไม่ว่าจะซื้อสินค้าประเภทเดียวกันนี้จากผู้ขายคนใดก็ตามผู้ซื้อจะได้รับความ พอใจเหมือนกัน เช่น ผงซักฟอก ถ้าตลาดมีการแข่งขันกันอย่างแท้จริงแล้ว ผู้ซื้อจะไม่มีความรู้สึกว่าผงซักฟอกแต่ละกล่องในตลาดมีความแตกต่างกัน คือใช้แทนกันได้สมบูรณ์ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ผู้ซื้อมีความรู้สึกว่าสินค้ามีความแตกต่าง เมื่อนั้นภาวะของความเป็นตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์ก็จะหมดไป 
3. ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีความรอบรู้ในภาวะของตลาดอย่างสมบูรณ์ คือ มีความรู้ภาวะของอุปสงค์ อุปทาน และราคาสินค้าในตลาด สินค้าชนิดใดมีอุปสงค์เป็นอย่างไร มีอุปทานเป็นอย่างไร ราคาสูงหรือต่ำก็สามารถจะทราบได้ 
4. การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้โดยสะดวก หมายความว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำการติดต่อค้าขายกันได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว รวมถึงการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตจะต้องเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วด้วย
5. หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากธุรกิจการค้าโดยเสรี ตลาดประเภทนี้จะต้องไม่มีข้อจำกัดหรือข้อกีดขวางในการเข้ามาประกอบธุรกิจของ นักธุรกิจรายใหม่ หมายความว่าหน่วยการผลิตใหม่ๆจะเข้ามาประกอบกิจการแข่งขันกับหน่วยธุรกิจที่ มีอยู่ก่อนเมื่อใดก็ได้ หรือในทางตรงกันข้ามจะเลิกกิจการเมื่อใดก็ได้ 
ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างไม่สมบูรณ์ พิจารณาในด้านผู้ขาย แบ่งออกเป็น 
1. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition) ตลาดประเภทนี้มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมาก และทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีอิสระเต็มที่ในการที่จะวางนโยบายการขายและการ ซื้อของตนโดยไม่กระทบกระเทือนคนอื่น แต่สินค้าที่ผลิตมีลักษณะหรือมาตรฐานแตกต่างกันถือเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน แต่ก็มีหลายตรา หลายยี่ห้อ การบรรจุหีบห่อ การโฆษณาต่างกัน เป็นเหตุให้ผู้ซื้อชอบหรือพึงใจในสินค้ายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งโดยเฉพาะทำให้ ผู้ขายสามารถกำหนดราคาสินค้าของตนได้ทั้ง ๆ ที่ผู้ขายในตลาดชนิดนี้ต้องแข่งขันกับผู้ขายรายอื่น เช่น สินค้าผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ฯลฯ 
2. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (oligopoly) ตลาดประเภทนี้จะมีผู้ขายเพียงไม่กี่ราย และผู้ขายแต่ละรายจะขายสินค้าเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด ถ้าหากว่าผู้ขายรายใดเปลี่ยนราคาหรือนโยบายการผลิตและการขายแล้วก็จะกระทบ กระเทือนต่อผู้ผลิตรายอื่น ๆ เช่น บริษัทผู้ขายน้ำมันในประเทศไทยซึ่งมีเพียงไม่กี่ราย ผู้ขายแต่ละบริษัทจะต้องวางนโยบายของตนให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทอื่น ๆ เพื่อที่จะดำเนินการค้าร่วมกันอย่างราบรื่น และผู้ขายทุกคนก็มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาและปริมาณสินค้าในตลาด ถ้าบริษัทใดเปลี่ยนนโยบายการขายย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสินค้าชนิดนั้น ๆ ทั้งหมด เช่น ถ้าบริษัทใดบริษัทหนึ่งลดราคา สินค้าของคู่แข่งขัน ก็จะลดราคาลงด้วยเพื่อรักษาระดับการขายไว้ 
3. ตลาดผูกขาด (monopoly) คือตลาดที่มีผู้ขายอยู่เพียงคนเดียว ทำให้ผู้ขายมีอิทธิพลเหนือราคาและปริมาณสินค้าอย่างสมบูรณ์ในการที่จะเพิ่ม หรือลดราคาและควบคุมจำนวนขายทั้งหมด (total supply) ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนมาก มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กรายอื่น ๆ ไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ ตลาดประเภทนี้ ได้แก่ บริษัทผลิตเครื่องบิน เครื่องจักรกล หรือกิจการสาธารณูปโภค เช่น การเดินรถประจำทาง โรงงาน ยาสูบ ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ เป็นต้น
บทบาทของรัฐในการแทรกแซงเศรษฐกิจ
การประกันราคามี 2 แบบ คือ
การประกันราคาขั้นต่ำ คือการที่รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมราคมไม่ให้มีการซื้อขายกันต่ำกว่าราคาที่ กำหนด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรมักมีราคาต่ำ
การ ประกันราคาขั้นสูง การที่รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมราคมไม่ให้มีการซื้อขายกันเกินกว่าราคาที่กำหนด เพื่อช่วยผู้บริโภค เวลาที่เศรษฐกิจมีภาวะเงินเฟ้อ
การพยุงราคา คือ การแทรกแทรงโดยรัฐบาลโดยใช้นโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อทำให้ราคาสินค้าไม่ให้ลดลงหรือสูงขึ้น 
การให้เงินอุดหนุนคือ การที่รัฐบาลกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ แล้วปล่อยให้มีการซื้อขายตามกลไกตามตลาดไปก่อน จากนั้นรัฐบาลจึงจ่ายเงินอุดหนุนให้เกษตกรเท่ากับส่วนต่างของราคาประกับกับ ราคาตลาด
การลดปริมาณการผลิต
ข้อดี รายได้เกษตรกรเพิ่ม รัฐไม่รับภาระในผลผลิตส่วนเกิน
ข้อเสีย ผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น

การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความ ช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การ ดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้และห้ามผู้ ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด
ผลที่ตามมา คือ 
เกิดการขายแบบใครมาก่อนได้ก่อน รอคิวยาว สูญเสียด้านเวลา
เกิดการลดคุณภาพสินค้า เพื่อลดต้นทุน 
เกิดการลักลอบซื้อขายสินค้า โดยราคาซื้อขายจะสูงกว่าราคาขั้นสูง
ต้องใช้ร่วมกับมาตรการอื่น เพื่อกระจายสินค้าให้ครอบคลุม เช่น การแจกคูปอง

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=393718314015526&id=382968295090528อ้างอิง

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มีข้อดีอย่างไร *

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มีข้อดีอย่างไร เป็นตลาดที่มีสินค้าหลากหลาย ราคาสินค้ามีหลายระดับให้เลือกซื้อ ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุดจากการซื้อสินค้าเพราะสินค้ามีคุณภาพและราคาถูกที่สุด

ข้อเสียของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ คืออะไร

ผู้ขายมีจำนวนไม่มาก ในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ลักษณะของตลาดจะตรงกันข้ามกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ขายมีจำนวนไม่มาก อาจเนื่องจากเป็นกิจการที่ผูกขาดโดยรัฐ หรือการให้สัมปทานแก่เอกชนโดยรัฐ จำนวนผู้ผลิตไม่มากอาจด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ซับซ้อน การลงทุนที่สูงเกินไป เป็นต้น

ข้อใดเป็นตลาดที่อยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์

ลักษณะของตลาดแข่งขันกันโดยสมบูรณ์.
ผู้ซื้อ และผู้ขายมีเป็นจำนวนมาก.
ราคาจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด ธุรกิจไม่มีอิทธิพลในการกำหนดราคาเอง.
ผู้ซื้อและผู้ขายต้องยอมรับราคาตลาด (Price Taker).
สินค้าและบริการที่ขายมีลักษณะเหมือนกัน เช่น สินค้าเกษตร ตัวอย่างเช่น ข้าว ไข่ไก่ ผัก และผลไม้ เป็นต้น.

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์หมายถึงอะไร

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition Market) คือตลาดที่มี การแข่งขันอย่างสมบูรณ์ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานอย่างแท้จริง ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (1) มีผู้ซื้อและผู้ขายมีจานวนมาก (Many Buyers and Sellers) (2) สินค้าที่ซื้อขายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการในสายตาผู้ซื้อ (Homogenous Product) (3) การเข้าหรือออก ...