การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร

 
การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
 
 
การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
 
 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.อธิบายความหมาย องค์ประกอบ และ กระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ให้เป็นสารสนเทศ

2.  สามารถนำสารสนเทศไปใช้งานได้

 
     
 

<< ข้อมูลและสารสนเทศ >>

 
 

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ข้อมูล (Data )  หมายถึง  ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน  สัตว์สิ่งของหรือ เหตุการณ์ต่างๆ

2.  สารสนเทศ (Information)   หมายถึง  ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสม และถูกต้อง ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้ใช้

กระบวนการสารสนเทศ
|
ข้อมูล - >> การประมวลผลข้อมูล - >> สารสนเทศ
 
 

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
ระบบสารสนเทศ

สารสนเทศสามารถแบ่งแยกประเภทออกตามสภาพความต้องการ    ที่จัดทำขึ้นได้  ดังนี้

1. สารสนเทศที่ทำประจำ  เช่น  การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียน ที่มารงเรียนในแต่ละวันรายงานรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน

2.  สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย  เช่น  การทำบัญชีงบดุล ของบริษัทที่ต้องยื่นต่อทางราชการและเพื่อใช้ในการเสียภาษี

3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ  เช่น  รายงานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

 
 

<< ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ >>

 
 

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ มี 5 ส่วน  คือ

1.  บุคลากร

2.  ขั้นตอนการปฏิบัติ

3.  เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ฮาร์ดแวร์)

4.  โปรแกรม (ซอฟต์แวร์)

5.  ข้อมูล 

 
 

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
บุคลากร

       เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจ
วิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการในการทำงานทั้งหมด บุคลากร จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กร
เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้า
แห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย
เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
ขั้นตอนการปฏิบัติ

เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล และการทำรายงาน เป็นต้น
            การดำเนินการต่างๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหา ระบบก็จะมีปัญหา ด้วยเพราะทุกขั้นตอนล้วนมีผลต่อระบบสารสนเทศด้วยเช่นกัน

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ฮาร์ดแวร์)

      เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการหรือประมวลผลข้อมูล ให้เป็นสารสนเทศตามต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถคำนวณ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์  จึงเป็น องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศ

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
ซอฟต์แวร์

       คือลำดับขั้นตอนคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
ข้อมูล

       เป็นวัตถุดิบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถาบันการศึกษามักจะต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ   ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดสารสนเทศ

 
 

<< ประเภทของข้อมูล >>

 
 

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
ประเภทของข้อมูล

ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2  ประเภท  คือ

1.  ข้อมูลปฐมภูมิ  เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง  เช่น  ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง  การสัมภาษณ์  การสำรวจ  การจดบันทึก 
2.  ข้อมูลทุติยภูมิ 
เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว เช่น  สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด   สถิติการนำสินค้าเข้า

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี  มีดังนี้

1. ถูกต้อง

2. ทันเวลา

3. สมบูรณ์

4. สอดคล้องกับงาน

5. สามารถตรวจสอบได้

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
การประมวลผลข้อมูล

วิธีการประมวลผล แบ่งได้เป็น   2  วิธี  ดังนี้

1.  การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)   หมายถึง    การประมวลผลโดยทันทีทันใด     เช่น   การจองตั๋วเครื่องบิน ,  การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ,  การฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม

2.  การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)   หมายถึง  การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ     เช่น   เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน  ก็มีการสำรวจข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงจะประมวลผลได้ จึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน

การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
การจัดการสารสนเทศ  

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จึงมีขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนได้มาซึ่งสารสนเทศ  มีหลายขั้นตอน ดังนี้   

1.  การเก็บรวบรวมข้อมูล
2.
  การตรวจสอบข้อมูล 
3.
การจัดเรียงข้อมูล
4.
  การคำนวณ
5. 
การทำรายงาน
6. 
การจัดเก็บ
7.
  การทำสำเนา 
8. 
การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล 

 
 

<< การแทนข้อมูล >>

 
 

ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลจะต้องอยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์ เข้าใจจึงจำเป็นต้องหาวิธีการแทนข้อมูลซึ่งเป็นชุดของตัวอักขระดังกล่าว  

ปกติการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสองสถานะ คือปิดและเปิดจึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลข 0 และ 1 แทนสถานะทั้งสอง และมีการกำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลขซึ่งประกอบด้วย 0 และ 1ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง  

รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระที่เป็นมาตรฐานแบบหนึ่ง  เรียกว่า รหัสแอสกี(American Standard Code for Information Interchange : ASCII) 

 
 
การจัดทำระบบสารสนเทศมี 6 ขั้นตอนคืออะไร
 

การจัดทำระบบสารสนเทศมีขั้นตอน 6 ขั้นตอนคืออะไร

การรวบรวมข้อมูล วิธีการดำเนินการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวลผล เช่น บันทึกในแฟ้ม เอกสาร บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ จดบันทึกไว้ในสมุด เป็นต้น.
การตรวจสอบข้อมูล ... .
การประมวลผลข้อมูล ... .
การจัดเก็บข้อมูล ... .
การประมวลผลข้อมูล ... .
การนำข้อมูลไปใช้.

กระบวนการสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง

กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย - การรวบรวมข้อมูล - การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล - การประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศ และความรู้ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจ - การเผยแพร่สารสนเทศ

ขั้น ตอน การจัด ทำ ระบบ สารสนเทศ มี กี่ ขั้น ตอน อะไร บ้าง

การจัดให้มีระบบสารสนเทศที่ดีในสถานศึกษานั้น ต้องเป็นไปตามกระบวนการหรือขั้นตอนที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศ มีขั้นตอนการดำเนินงานหลัก ๆ จำนวน ๕ ขั้นตอน คือ ๑) การรวบรวมข้อมูล ๒) การตรวจสอบข้อมูล ๓) การประมวลผลข้อมูล๔)การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ และ ๕) การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่ง ...