การจำแนกประเภทของบุคลิกภาพตามทฤษฎีของจอห์น แอล ฮอลแลนด์ ออกเป็น ๖ กลุ่ม อะไรบ้าง

บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ

การจำแนกประเภทของบุคลิกภาพตามทฤษฎีของจอห์น แอล ฮอลแลนด์ ออกเป็น ๖ กลุ่ม อะไรบ้าง

Show

     เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ โดยบุคคลจะเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตน บุคลิกภาพเฉพาะอย่างมีความสัมพันธ์กับอาชีพ เฉพาะอย่าง ทฤษฎีการเลือกอาชีพของ "จอห์นแอล ฮอลแลนด์"

1. แนวคิดพื้นฐาน 4 ประการ 

     ประการที่ 1 อาชีพเป็นเครื่องแสดงออกทางบุคลิกภาพ บุคคลจะเลือกอาชีพใดย่อมแสดงว่าบุคลิกภาพของ เขาจะปรากฏออกมาในทิศทางเดียวกัน

      ประการที่ 2 บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลมีความสัมพันธ์กับชนิดของสิ่งแวดล้อมในการทำงานของบุคคลนั้น ดังนั้น บุคคลจึงมีแนวโน้มจะหันเข้าหางาน หรืออาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของเขา
      ประการที่ 3 บุคคลจะค้นหาสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เขาได้ฝึกทักษะ และใช้ความสามารถของเขา ทั้งยัง เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงเจตคติ ค่านิยม และบทบาทของเขา
      ประการที่ 4 บุคลิกภาพของสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ดังนั้น เมื่อสามารถ ทราบบุคลิกภาพและสิ่งแวดล้อมของบุคคลแล้ว ก็จะทำให้ทราบผลที่จะติดตามมาของบุคคลนั้นด้วย เช่น การเลือกอาชีพ ความสำเร็จในอาชีพ ตลอดจนทั้ง พฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งการศึกษาอาชีพและสังคมด้วย

2. สาระของทฤษฎี 

     ฮอลแลนด์ได้สรุปทฤษฎีของเขาไว้ 4 ประการดังนี้ คือ
          2.1 ในสังคมของวัฒนธรรมตะวันตก สามารถแบ่งบุคคลออกตามลักษณะของบุคลิกภาพได้ 6 ประเภท คือ พวกชอบเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม (Realistic) พวกที่ชอบเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ใช้ความคิด การแก้ปัญหา (Intellectual) พวกชอบเข้าสังคม (Social) พวกชอบระเบียบแบบแผน (Conventional) พวกที่มีความทะเยอทะยาน ชอบมีอำนาจ (Enterprising) และพวกชอบศิลปะ (Artistic)
          2.2 บรรดาอาชีพต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งตามลักษณะและสภาพแวดล้อมได้ 6 ชนิด ซึ่งสอดคล้องกับบุคลิกภาพของคนทั้ง 6 ประเภท
          2.3 บุคคลย่อมแสวงหาสภาพแวดล้อมและอาชีพ ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้ความสามารถและทักษะ เพื่อแสดงออกถึงค่านิยมและทัศนคติ ตลอดจนการ มีบทบาทที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงบทบาทที่ไม่เหมาะสมกับตนเอง
          2.4 พฤติกรรมของบุคคลสามารถอธิบายได้จากปฏิกิริยาระหว่างแบบฉบับแห่งพฤติกรรมของเขากับสภาพแวดล้อมของเขา

          ท่านมีแนวถนัดด้านใดบ้าง          คนเรานั้นมีความถนัดในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลาย ๆ สิ่งด้วยกันทุกคน แต่มีระดับความสามารถมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนมีความถนัดใน การทำงานหลาย ๆ ด้าน แต่บางคนมีความถนัดในการทำงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะความถนัดก็คือ ระดับความสามารถของบุคคล ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ โดยที่บุคคลนั้น ๆ ได้รับการฝึกอบรม หรือมีประสบการณ์ในงานนั้นๆ มาคู่กัน และสามารถที่จะนำ ประสบการณ์หรือความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมนั้นไปใช้ให้ เป็นประโยชน์
          สำหรับการสำรวจตัวท่านเองว่าเป็นคนอย่างไร มีบุคลิกภาพอย่างไร ตลอดจนพฤติกรรมและลักษณะที่เป็นทั้งข้อดีข้อเสีย มีความเชี่ยวชาญ ชอบงาน ประเภทใด และมีความถนัดทางด้านใด จะช่วยให้เราสามารถมองภาพที่เป็นตัวเองได้ทั้งหมด
          จอห์น แอล ฮอลแลนด์ ได้จำแนกประเภทอาชีพตามบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็น 6 กลุ่ม ซึ่งสามารถตัดสินใจก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพดังนี้

1. กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ

  กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ (Enterprising)


      บุคลิกภาพ : คนในกลุ่มที่ 5 นี้ มักมีลักษณะเป็นคนที่ชอบกิจกรรมที่มีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ใช้ทักษะในทางพูดจา มองเห็นตนเองเป็นผู้นำเต็มตัว เชื่อมั่นในตนเอง ชอบชักจูงผู้อื่นให้คล้อยตาม หรือชอบดำเนินการให้บรรลุเป้าประสงค์ ชอบถกเถียงปัญหาทางการเมือง ชอบอภิปราย พูดจาตรงไปตรงมา กล้าแสดงออก กล้าโต้แย้ง กล้าคิดกล้าทำ กล้าเสี่ยง ชอบการแข่งขัน ทะเยอทะยาน ว่องไวคล่องแคล่ว มักชอบริเริ่มและดำเนินธุรกิจส่วนตัว ชอบกิจกรรมชนิดเป็นกลุ่มและองค์การ ชอบควบคุมผู้อื่น ชอบพบปะบุคคลสำคัญ เป็นผู้นำกลุ่มในการทำกิจกรรม ชอบการปาฐกถา ร่วมขบวนการในการรณรงค์หรือหาเสียง ชอบการบรรยายเรื่องราวต่างๆ ไม่ชอบกิจกรรมที่ต้องเขียนด้วยสำนวนภาษาแบบสละสลวย หรือเป็นคำประพันธ์ หรือเขียนภาพ หรือปั้นแกะสลัก หรือกิจกรรมที่มีระบบระเบียบมาก เป็นพวกมุ่งงานและมุ่งความสัมพันธ์

      ความสามารถ : มักเคยถูกเลือกให้ทำกิจกรรมต่างๆ สมัยอยู่ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย สามารถควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้อื่นได้ มีความกระตือรือร้นมากๆ สามารถชักจูงให้คนอื่นมาทำสิ่งที่ตนต้องการได้ ขายสินค้าเก่ง ชอบจัดการ รวบรวมก่อตั้งเป็นสมาคมและองค์การ เป็นผู้นำการอภิปรายที่ดี เป็นตัวแทนเจรจาตกลงให้กับกลุ่มหรือองค์การได้ดี

      อาชีพ : นักธุรกิจ นักการตลาด นายธนาคาร นักบริหาร ผู้ขายประกันชีวิต นายหน้าซื้อขาย ผู้จัดการ นักการเมือง ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา ที่ปรึกษาทางธุรกิจ โฆษก แอร์โฮเตส อาชีพเหล่านี้ มักเป็นอาชีพที่อยู่ในความสนใจของคนกลุ่มนี้ในระดับต้นๆ

2. กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบจริงจัง

กลุ่มบุคลิกภาพแบบจริงจัง ไม่คิดฝัน นิยมความเป็นจริง (Realistic)

     เป็นคนชอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม (Realistic) ใช้อักษรย่อ R เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการควบคุม การปฏิบัติการกับเครื่องยนต์เครื่องจักรกล เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ชอบแก้ไขซ่อมวัสดุต่างๆ ทั้งไม้และโลหะ ชอบเรื่องทางช่าง มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ และทางเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนวิธีใช้ ชอบกิจกรรมเกี่ยวกับพืชและสัตว์ ชอบกิจกรรมกลางแจ้ง ชอบทำงานประเภทใช้กำลังกาย ชอบการเคลื่อนไหวและใช้ทักษะเป็นลักษณะงานของผู้ที่มักมองเห้นปัญหาชัดเจน เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้วาจาอธิบาย บุคคลพวกนี้อาจขาดทักษะทางสังคม เป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบจริงจัง ไม่คิดฝัน นิยมความเป็นจริง และสิ่งที่เป็นรูปธรรม เป็นวัตถุที่จับต้องได้

 3.กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบบริการสังคม และชอบสมาคม


 กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบบริการสังคม และชอบสมาคม (Social)


      บุคลิกภาพ : คนในกลุ่มนี้มักจะเป็นคนที่ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยคนที่มีปัญหาทางจิตใจ แต่ไม่ชอบให้ใครสั่ง ไม่ชอบอยู่ใต้บังคับบัญชาของใคร ชอบให้ความรู้ ชอบสนทนาและสังสรรค์กับผู้คน มีความเข้าใจคนอื่นได้ดี กล้าแสดงออก เป็นกันเอง ร่าเริง มีความเมตตากรุณา ชอบมีอำนาจเหนือคนอื่น มีอุดมคติ รับผิดชอบ อนุรักษ์นิยม ชอบดูกีฬา ชอบร่วมกิจกรรมบันเทิง ชอบเป็นสมาชิกองค์การหรือศูนย์ ชอบดูแลเด็กๆที่มีกิจกรรมสนุกสนาน ชอบช่วยและรักษาพยาบาลผู้อื่น มีความสามารถในการพูด มีทักษะในการติดต่อกับผู้อื่น ชอบพัฒนาให้ความรู้หรือฝึกอบรมผู้อื่น มักจะชอบงานด้านภาษามากกว่างานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือ คณิตศาสตร์ บุคคลแบบนี้จะขาดทักษะทางเครื่องจักรกล ขาดความสามารถในการวิเคราะห์อย่างมีกฎเกณฑ์ระเบียบวิธี

      ความสามารถ : มีความสามารถอธิบายสิ่งต่างๆได้อย่างดี สามารถทำงานร่วมกับบุคคลที่มีอายุสูงกว่าได้ดี สามารถวางกิจกรรมหรือโครงการให้กับโรงเรียน หรือวัด มองคนได้อย่างถูกต้อง ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และทำงานให้ชุมชนโดยสมัครใจ และชอบทำงานกับคนหมู่มาก

      อาชีพ : ครู-อาจารย์ นักวิชาการ พยาบาล นักสังคมสังเคราะห์ นักสังคมวิทยา นักจิตวิทยา นักแนะแนว ผู้ให้คำปรึกษา ผู้จัดการ บรรณารักษ์ นักโภชนาการ ล่าม มัคคุเทศก์ นักเทศน์ พนักงานต้อนรับ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่งานบุคคล นักฝึกอบรม นักพัฒนากร ทูต เป็นต้น ซึ่งบุคคลในกลุ่มที่ 4 จะสามารถทำหน้าที่ในอาชีพเหล่านี้ได้ค่อนข้างดี

4.กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบศิลปิน

 กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบศิลปิน (Artistic)


      บุคลิกภาพ : กลุ่มนี้จะเป็นคนประเภทที่ชอบแสดงออก รักความเป็นอิสระ ไม่ชอบอยู่ใต้บังคับบัญชาใคร ไม่ชอบพึ่งพาผู้อื่น ไม่คล้อยตามบุคคลอื่น เป็นคนชอบริเริ่มไม่ชอบเอาอย่างใคร ไม่ชอบสัมพันธ์เป็นส่วนตัวโดยตรงกับใคร ไม่ชอบความจำเจ หรืองานที่มีกฎระเบียบแน่นอน ช่างฝัน อ่อนไหวง่าย ชอบแสดงออก บางครั้งเจ้าอารมณ์ มีอุดมคติ ชอบคิดค้นเกี่ยวกับปัญหา สิ่งแวดล้อม และแสดงออกทางศิลปกรรม มีความสามารถทางดนตรี อ่านหนังสือแบบแสดงความรู้สึกได้ดี ชอบฟังเพลง ชอบดูละคร เขียนหนังสือและแต่งกลอนได้ดี บุคคลประเภทนี้อาจจะขาดทักษะทางสำนักงาน

     ความสามารถ : สามารถเล่นดนตรีได้ ร้องเพลงประสานเสียงได้ แสดงบทบาทต่างๆได้ รวมทั้งสามารถอ่านแบบแสดงความรู้สึกได้ นิยมการไปฟังและดูละคร เขียนรูปได้อย่างใกล้เคียงความจริง เขียนหนังสือและแต่งกลอนได้ดี

      อาชีพ : ผู้กำกับการแสดง ครูสอนภาษา ผู้สื่อข่าว ครูสอนการละคร ครูสอนนาฏศิลป์ ผู้แปลภาษาต่างประเทศ นักปรัชญา ครูสอนวรรณคดี ครูสอนดนตรี เต้นรำ นักดนตรี นักโฆษณา นักแสดงต่างๆ นักประชาสัมพันธ์ นางแบบ-นายแบบ นักจัดรายการวิทยุ-โทรทัศน์ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย นักวิจารณ์ ผู้ออกแบบเครื่องเรือน มัณฑนากร สถาปนิก จิตรกร นักแต่งเพลง นักแต่งบทละคร นักเขียนบทภาพยนตร์ ปฏิมากร นักประดิษฐ์ ช่างภาพ ช่างพิมพ์ นักออกแบบ นักประพันธ์ นักร้อง นักเต้นรำ นักเขียนการ์ตูน ครูสอนศิลปะ นักพากษ์ วาทยากร อาชีพพวกนี้จะเป็นอาชีพที่คนในกลุ่มนี้ประสบความสำเร็จได้มาก

5.กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบใช้ปัญญาและความคิดแบบนักวิชาการ

 กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบใช้ปัญญา และความคิดแบบนักวิชาการ (Investigative)

      บุคลิกภาพ : บุคคลในกลุ่มที่ 2 จะเป็นบุคคลประเภทที่มีลักษณะดังนี้ เป็นคนที่ชอบการวิเคราะห์ และการประเมิน เป็นคนอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ช่างสงสัย ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แถมยังมีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ เป็นคนค่อนข้างอนุรักษ์นิยม นิสัยชอบเก็บตัว ไม่ชอบสังคมมาก ชอบงานอิสระ ไม่ชอบเอาอย่างใคร พึ่งพาตนเองได้ มีความมั่นใจในตนเอง ชอบคิดชอบฝัน ชอบแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ชอบวิจัยในโครงงานทางวิทยาศาสตร์ ชอบทำงานที่ซับซ้อน หรืองานทดลองแบบประเภทท้าทายความสามารถ ไม่ชอบงานการค้า หรือการโฆษณาชักชวน ยึดระเบียบกฎเกณฑ์ สนใจการจัดการและวางแผนงาน เป็นคนมุ่งงานเป็นใหญ่ และสนใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม บุคคลประเภทนี้อาจจะ ขาดทักษะในการเป็นผู้นำ

6.กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบยึดมั่นและมีระเบียบแบบแผน


 กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบยึดมั่นและมีระเบียบแบบแผน (Conventional)


      บุคลิกภาพ : เป็นบุคคลที่ชอบทำงานเกี่ยวกับตัวเลข และการนับจำนวน ชอบบทบาทที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา พอใจที่จะคล้อยตาม หรือเชื่อฟังบุคคลอื่น ไม่ชอบเป็นผู้นำ เลี่ยงการโต้แย้ง ไม่ชอบงานที่ใช้ทักษะทางร่างกาย ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เจ้าระเบียบ ไม่ยืดหยุ่น มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมาก ขาดความคิดริเริ่มและจินตนาการ ชอบเลียนแบบ แต่เป็นคนจริงจังกับงานมาก อดทนและรับผิดชอบสูง ละเอียดถี่ถ้วน มีความพากเพียร เก็บกดและควบคุมอารมณ์ตนได้ดี ชอบทำงานสำนักงาน งานเสมียน งานตัวเลข งานเอกสารและสารบรรณ เช่น การเก็บบันทึกข้อมูล การจดคัดลอกข้อมูล การจัดหมวดหมู่งาน ไม่ชอบงานด้านศิลปะ ดนตรี วรรณกรรมและงานด้านวิทยาศาสตร์

      ความสามารถ : ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรธุรกิจ (เช่น คอมพิวเตอร์) ได้ดี จัดระเบียบงานเข้าหมวดหมู่ ใช้วิชาชวเลข ทำงานในเวลาตามที่กำหนด พิมพ์หนังสือได้ ทำบัญชีรับจ่าย ประวัติ ข้อมูล และการนัดหมายต่างๆ ตลอดจนถึงรายจ่ายในการซื้อขาย คุ้นเคยกับวัสดุครุภัณฑ์ทางธุรกิจเป็นอย่างดี

      อาชีพ : สมุห์บัญชี นักบัญชี เลขานุการ เจ้าหน้าที่การเงินการธนาคาร เจ้าหน้าที่งานพัสดุ เจ้าหน้าที่สารบัญ ผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ช่วยบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่สรรพากร เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ผู้คุมสต็อคสินค้า ผู้ควบคุมเครื่องยนต์ เจ้าหน้าที่พิมพ์ดีด นักสถิติ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์การเงิน พนักงานไปรษณีย์ เป็นต้น บุคคลที่มีบุคลิกภาพดังที่กล่าวมา จะประกอบอาชีพต่างๆเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

จอห์น แอล ฮอลแลนด์ ได้จำแนกประเภทอาชีพตามบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็นกี่กลุ่ม *

การกำหนดลักษณะบุคลิกภาพ ฮอลแลนด์ได้จำแนกลักษณะบุคลิกภาพตามความสนใจอาชีพต่าง ๆ 6 กลุ่ม โดยมีเป้าหมาย ดังนี้ 1. ชี้แนะประสบการณ์ที่จะนำไปสู่ลักษณะเฉพาะของบุคคล อธิบายให้ทราบว่า ประสบการณ์นำไปสู่ลักษณะเฉพาะได้อย่างไร และลักษณะเฉพาะ 2. นำไปสู่พฤติกรรมได้อย่างไร

บุคลิกภาพตามทฤษฎีการเลือกอาชีพของจอห์นแอลฮอลแลนด์มีความสําคัญอย่างไร

ทฤษฎีการเลือกอาชีพของ John L. Holland เชื่อว่าบุคลิกภาพของคนจะสะท้อนผ่านการเลือกอาชีพของตน โดยเหตุผลในการเลือกอาชีพนั้นเกิดจากการผสมผสานความคิดต่อตัวเอง และความเข้าใจต่ออาชีพที่เลือก นั่นคือ คนที่เลือกอาชีพได้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตนเองมากที่สุด จะมีความพึงพอใจในอาชีพ และส่งผลให้ประสบความสำเร็จในอาชีพนั้น ๆ ได้

จอห์น แอล ฮอลแลนด์ (John l. Holland) ได้สร้างทฤษฎีการเลือกอาชีพโดยมีความคิดพื้นฐานกี่ประการ *

2.1.1 ความคิดพื้นฐานในการสร้างทฤษฎีการเลือกอาชีพ จอห์น แอล ฮอลแลนด์(John L. Holland) เป็นผู้สร้าง "แบบส ารวจความพอใจใน อาชีพ" (The Vocational Preference Inventory) ได้สร้าง "ทฤษฎีการเลือกอาชีพ" ขึ้นโดยมีความคิด พื้นฐาน 4 ประการ (Holland. 1973 : 2 - 4) ดังนี้

จอห์นแอลฮอลแลนด์มีแนวคิดพื้นฐานการเลือกอาชีพเกี่ยวกับเรื่องใด

ฮอลแลนด์ได้กล่าวถึง "การเลือกอาชีพ" ไว้ว่า "การเลือกอาชีพคือ การกระทำที่สะท้อนให้เห็นถึงแรงจูงใจ ความรู้ บุคลิกภาพ และความสามารถของบุคคล อาชีพเป็นวิถีชีวิต ส่วนสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นงานและทักษะ" การกำหนดลักษณะบุคลิกภาพ