ภัยคุกคามทางออนไลน์ มีอะไรบ้าง

หน้าความปลอดภัยของระบบช่วยให้คุณรับมือกับภันคุกคามด้านความปลอดภัยได้หลายประเภท เช่น มัลแวร์ การขโมยข้อมูล การรั่วไหลของข้อมูล และการละเมิดบัญชี คุณจะดูคำอธิบายของภัยคุกคามด้านความปลอดภัยเหล่านี้ได้ที่ด้านล่าง 

หมายเหตุ: ประเภทภัยคุกคามที่แสดงในหน้าความปลอดภัยของระบบจะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับรุ่น Google Workspace ของคุณ

การขโมยข้อมูล

การขโมยข้อมูลคือการคัดลอกหรือถ่ายโอนข้อมูลออกจากโดเมนโดยไม่ได้รับอนุญาต การถ่ายโอนนี้อาจดำเนินการด้วยตนเองโดยบุคคลที่เข้าถึงทรัพยากรภายในองค์กร หรือการโอนอาจดำเนินการโดยอัตโนมัติและดำเนินการผ่านการเขียนโปรแกรมที่เป็นอันตรายในเครือข่าย ตัวอย่างเช่น ข้อมูลอาจถูกขโมยผ่านการละเมิดบัญชีที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล หรือโดยการติดตั้งแอปของบุคคลที่สามที่ส่งข้อมูลออกนอกโดเมน

การรั่วไหลของข้อมูล

การรั่วไหลของข้อมูลคือการถ่ายโอนข้อมูลสำคัญที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกโดเมน อาจเกิดขึ้นได้ผ่านทางอีเมล, Meet, ไดรฟ์, กลุ่ม หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย ตัวอย่างเช่น จากการเปิดใช้งานการเข้าถึงกลุ่มแบบสาธารณะ จากการตั้งค่าการแชร์ร่วมกันสำหรับไดรฟ์ จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ถูกบุกรุก หรือจากไฟล์แนบในอีเมลขาออก

การลบข้อมูล

การลบข้อมูลคือการลบข้อมูลที่เป็นอันตรายซึ่งทำให้กู้คืนข้อมูลได้ยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลย ตัวอย่างเช่น ผู้บุกรุกอาจใช้แรนซัมแวร์ที่เข้ารหัสข้อมูล และจากนั้นก็เรียกร้องการชำระเงินสำหรับคีย์เข้ารหัสลับที่ถอดรหัสข้อมูลได้

บุคคลภายในที่ไม่หวังดี

บุคคลภายในที่ไม่หวังดีคือผู้ใช้หรือผู้ดูแลระบบที่ได้รับการอนุมัติภายในองค์กรที่แอบทำให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนรั่วไหลออกนอกโดเมน บุคคลภายในที่ไม่หวังดีอาจเป็นลูกจ้าง อดีตพนักงาน ผู้รับเหมา หรือคู่ค้า บุคคลภายในที่ไม่หวังดีอาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ถูกบุกรุก หรือโดยการส่งเนื้อหาออกนอกโดเมนทางอีเมล

การละเมิดบัญชี

การละเมิดบัญชีคือการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้หรือผู้ดูแลระบบภายในโดเมนโดยไม่ได้รับอนุญาต การละเมิดบัญชีเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาตขโมยข้อมูลรับรองสำหรับลงชื่อเข้าใช้ ในสถานการณ์สมมตินี้ บัญชีในโดเมนถูกละเมิดในลักษณะที่ผู้บุกรุกใช้เพื่อทำงานกับทรัพยากรได้ วิธีหนึ่งที่พบบ่อยในการขโมยข้อมูลรับรองคือฟิชชิงนำร่อง เมื่อแฮ็กเกอร์ส่งอีเมลที่ดูเหมือนว่ามาจากบุคคลหรือธุรกิจที่รู้จักและเชื่อถือเพื่อหลอกลวง

การยกระดับสิทธิ์

การยกระดับสิทธิ์หมายถึงผู้บุกรุกที่จัดการบัญชีในโดเมนได้หนึ่งบัญชีขึ้นไป และกำลังดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์จากสิทธิ์ที่จำกัดเหล่านี้เพื่อเข้าถึงบัญชีที่มีสิทธิ์มากขึ้น แฮ็กเกอร์ประเภทนี้มักพยายามเข้าถึงสิทธิ์ของผู้ดูแลสากลเพื่อให้ควบคุมทรัพยากรโดเมนได้มากขึ้น

การเจาะรหัสผ่าน

การเจาะรหัสผ่านคือกระบวนการกู้คืนรหัสผ่านโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษและการประมวลผลที่มีขีดความสามารถสูง ผู้บุกรุกลองใช้ชุดรหัสผ่านที่แตกต่างกันจำนวนมากได้ในระยะเวลาสั้นๆ กลยุทธ์หนึ่งเพื่อป้องกันการเจาะรหัสผ่านคือการบังคับใช้การยืนยันแบบ 2 ขั้นตอนสำหรับผู้ใช้และผู้ดูแลระบบในโดเมน Google จะล็อกบัญชีเมื่อมีการตรวจพบกิจกรรมที่น่าสงสัยด้วยเช่นกัน

ฟิชชิง/เวลลิง

ฟิชชิง/เวลลิงคือการส่งอีเมลหลอกลวงที่อ้างว่ามาจากบริษัทที่มีชื่อเสียงเพื่อหลอกให้ผู้อื่นเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่านและหมายเลขบัญชี หรือเพื่อควบคุมบัญชีผู้ใช้ในโดเมน ฟิชชิงมี 3 รูปแบบดังนี้

  • การโจมตีแบบฟิชชิง - อีเมลที่กำหนดเป้าหมายอย่างกว้างๆ ซึ่งทำงานผ่านข้อความที่มีต้นทุนต่ำจำนวนมากไปยังผู้ใช้ Tข้อความอาจมีลิงก์ไปยังไซต์ที่เชิญผู้ใช้เข้าสู่ระบบเพื่อรับรางวัลเงินสด และผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะให้ข้อมูลรับรองการลงชื่อเข้าใช้ของตนด้วยการลงชื่อสมัครใช้ 
  • การโจมตีแบบฟิชชิงนำร่อง - การโจมตีแบบที่มีเป้าหมายเป็นบุคคลที่ระบุ ตัวอย่างเช่น ชักจูงให้นักบัญชีเปิดไฟล์แนบที่ติดตั้งมัลแวร์ไว้ มัลแวร์ช่วยให้ผู้บุกรุกเข้าถึงข้อมูลบัญชีและข้อมูลธนาคารได้
  • การโจมตีเวลลิง - ความพยายามที่จะหลอกลวงบุคคลต่างๆ ให้ดำเนินการกระทำที่เจาะจง เช่น การโอนเงิน การหลอกลวงเวลลิงออกแบบมาเพื่อหลอกลวงว่าเป็นอีเมลทางธุรกิจที่สำคัญซึ่งส่งมาจากผู้มีอำนาจตามกฎหมาย

การปลอมแปลง

การปลอมแปลงคือการปลอมหัวเรื่องอีเมลโดยผู้บุกรุกเพื่อให้ข้อความปรากฏว่ามาจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่แหล่งที่มาจริง เมื่อผู้ใช้รายหนึ่งเห็นผู้ส่งอีเมล อาจดูคล้ายกับคนที่พวกเขารู้จักหรือดูเหมือนว่ามาจากโดเมนที่พวกเขาไว้วางใจ การปลอมแปลงอีเมลเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในแคมเปญฟิชชิงและสแปมเนื่องจากผู้ใช้อีเมลมักจะเปิดข้อความเมื่อเชื่อว่ามาจากแหล่งที่ถูกต้อง

มัลแวร์

มัลแวร์เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบโดยมีเจตนาร้าย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจัน สปายแวร์ และโปรแกรมที่เป็นอันตรายอื่นๆ

  2. การโจมตีแบบ DoS/DDos คือการพยายามโจมตีเพื่อทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางหยุดทำงาน หรือสูญเสียเสถียรภาพ หากเครื่องต้นทาง(ผู้โจมตี) มีเครื่องเดียว เรียกว่าการโจมตีแบบ Denial of Service (DoS) แต่หากผู้โจมตีมีมากและกระทำพร้อมๆ กัน จะเรียกกว่าการโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS) ซึ่งในปัจจุบันการโจมตีส่วนใหญ่มักเป็นการโจมตีแบบ DDoS

Cyber Sexual Harassment คือ การใช้ภาษาลวนลามทางเพศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ปัจจุบันพฤติกรรมคุมคามทางเพศผ่านสังคมออนไลน์สามารถพบเห็นไปแทบทุกช่องทาง เนื่องจากโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนในสังคม และไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้งานได้ ทำให้การกระทำความผิดเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น เพราะผู้กระทำความผิดสามารถ ลบทำลายหลักฐานบนโซเชียลมีเดียได้ ทำให้ยากในการติดตาม

และยังมีแนวคิดบางส่วนมองว่า พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการพูดเล่น พูดติดตลก หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนอื่นไปในแนวลามก “เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เพราะเราต่างไม่รู้จัก” ไม่ใช่เรื่องผิดแปลก

ภัยคุกคามทางออนไลน์ มีอะไรบ้าง
Social networks. Friends texting on their smartphones, standing in row

พฤติกรรมแบบใดเข้าข่าย Cyber Sexual Harassment?

การเหยียดเพศ

การแสดงความคิดเห็นในเชิงดูถูกเหยียดหยามรสนิยมทางเพศ หรือเพศสภาพของผู้อื่น โดยเห็นว่าเป็นเรื่องตลก และนำมาล้อเลียนให้อับอาย อาทิ สายเหลือง, ล้างตู้เย็น, ขุดทอง หรือเปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ ฯลฯ

การลวนลามทางเพศ

การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ การพูดถึงอวัยวะเพศ (ชาย/หญิง) เสนอหรือขอทำกิจกรรมทางเพศกับบุคคลดังกล่าว โดยไม่สนใจเรื่องเพศ หรืออายุของผู้ถูกกระทำ อาทิ อยากเลีย/อม_ให้ล้ม, ได้น้อง_สักครั้ง จะตั้งใจเรียน, เห็นกล้ามแล้ว อยาก_ซักคำ, ช่วงนี้ พี่หิวขอกินข้าวหลามน้องได้ไหม หรือเห็นน้องแล้ว พี่อยากเป็นผู้ประสบภัย เป็นต้น

การข่มขู่ทางเพศ

การข่มขู่ผู้ถูกกระทำและคนสนิทบนโลกออนไลน์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเพศ โดยพฤติกรรมดังกล่าว ถือว่าเป็นการเกาะติดชีวิตออนไลน์ของผู้อื่น (Cyberstalking) หรืออีกกรณี คือ Revenge Porn เป็นการนำรูปโป๊ของเหยื่อมาข่มขู่หรือแก้แค้น และเหตุการณ์ที่พบบ่อย คือ เมื่อฝ่ายหญิงเลิกกับฝ่ายชาย แล้วฝ่ายชายนำภาพโป๊ที่เคยถ่ายตอนเป็นแฟนกันมาข่มขู่ หรือแก้แค้นฝ่ายหญิง โดยไม่สนใจว่าฝ่ายหญิงจะได้รับความเสื่อมเสียหรืออับอายเพียงใด

สื่อออนไลน์ที่พบข้อความ Cyber Sexual Harassment

  • ทวิตเตอร์
  • เฟซบุ๊ก
  • ยูทูป
  • อินสตาแกรม
  • พันทิป
  • การแสดงความคิดเห็นผ่านการไลฟ์สด ฯลฯ

ภัยคุกคามทางออนไลน์ มีอะไรบ้าง
sexual harassment conceptual

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เข้าข่าย Cyber Sexual Harassment

  • การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนอื่นไปในแนวลามก
  • การกระจายข่าวลือเรื่องการร่วมเพศ หรือนินทาคนอื่นด้วยข้อความบนสื่อออนไลน์
  • การโพสต์แสดงความคิดเห็นทางเพศภาพหรือวิดีโอลามกบนสื่อออนไลน์
  • ส่งข้อความและภาพลามกผ่านข้อความ
  • กดดันให้คนอื่นมีส่วนร่วมในการส่งข้อความลามก
  • ส่งต่อข้อความและภาพลามกผ่านข้อความหรืออีเมล
  • แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นบนสื่อออนไลน์ เพื่อแสดงความคิดเห็นลามกหรือเสนอการร่วมเพศ ฯลฯ

 สิ่งที่ควรย้ำเตือน เพื่อไม่ให้เกิด Cyber Sexual Harassment

  • คนหน้าตาดี ไม่ว่าจะเพศใด อายุเท่าใด หรือสัญชาติไหน ท่องไว้ว่า บุคคลเหล่านั้นไม่ใช่เหยื่ออารมณ์หื่นที่คุณจะนำมาเล่นสนุกบนโซเชียลได้
  • การแต่งตัวเซ็กซี่ หรือล่อแหลม ไม่ใช่ใบอนุญาตคุกคามทางเพศ
  • การแสดงความหื่น ไม่ว่าจะทำกับใครก็ตาม การกระทำของคุณไม่ได้ดูเท่ หรือดูเก่งเหนือใคร แต่เป็นเรื่องน่าอายที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย
  • หากคุณไม่เคารพ “สิทธิส่วนตัว” ของผู้อื่น ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้คนอื่นเคารพสิทธิส่วนตัวของคุณเช่นกัน ฯลฯ

Cyber Sexual Harassment เข้าข่ายความผิดอะไรบ้าง

ปัจจุบันยังไม่มีตัวบทกฎหมายที่กำหนดเรื่องการเอาผิดกับผู้กระทำผิดเรื่องลวนลามทางเพศในสังคมออนไลน์ เนื่องจาก พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 ไม่ได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศบนอินเทอร์เน็ตไว้เป็นการเฉพาะ อีกทั้งประมวลกฎหมายอาญา ก็ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน มีเพียงบทบัญัติทั่วไปที่อาจนำมาปรับใช้ตามกรณีที่เกิดขึ้น อาทิ

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ 2560

มาตรา 14 ข้อ (4) ที่กล่าวไว้ว่า การนำข้อมูลที่มีลักษณะอันลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การกระทำดังกล่าวถือว่า มีความผิด อาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภัย คุกคาม คือ อะไร มี อะไร บ้าง

การคุกคาม.
1.1 อิเล็กทรอนิกส์.
1.2 โลกออนไลน์.
1.3 ตำรวจ.
1.4 เชื้อชาติ.
1.5 ศาสนา.
1.6 เพศ.

การต่อสู้บนโลกออนไลน์คืออะไร

8) การต่อสู่บนโลกออนไลน์ (Flaming) คือ การต่อสู้กันบนโลกออนไลน์ด้วยข้อความที่สร้าง ความจงเกลียดจงชังด้วยการโพสต์ลงในหลายๆ เว็บไซต์เว็บบอร์ด