มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

 มารยาทในการฟังเเละการดูสื่อที่ดี

มารยาท คือ พฤติกรรมที่แสดงออก เป็นระเบียบแบบแผน การประพฤติที่ดีงาม แสดงถึงความสุภาพเรียบร้อย
  มารยาทในการฟัง
– การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด
– ฟังด้วยความตั้งใจ มีสมาธิในการฟัง
– ตาควรมองที่ผู้พูด
– ไม่พูดคุยกับคนข้างๆ หรือส่งเสียงดัง
– ปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร
ฯลฯ
มารยาทในการดู
– ตั้งใจดู มีสมาธิในการดู
– ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
– นั่งหรือยืนดูในท่าทางที่สุภาพเรียบร้อย
– ไม่ลุกเดินไปมา
ฯลฯ
มารยาทในการพูด
– การพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก ควรมาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือมาก่อนเวลา
– พูดจาสุภาพไพเราะ
– พูดให้ชัดเจน ได้ยินอย่างทั่วถึง
– ใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด
ฯลฯ

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

        ในขณะที่นักเรียนดูสื่อต่างๆ โอกาสและสถานการณ์ในการดูอาจจะแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามนักเรียนควรจะมีมารยาทในการดู เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่น ดังนี้
           1. ตั้งใจดู ด้วยความสนใจอย่างจริงจัง
          2. สำรวมกิริยาอาการ โดยไม่ส่งเสียงดังในขณะดู ไม่แสดงกิริยาอาการที่ตื่นเต้นเกินไป หรือแสดงความรู้สึกออกมามากจนเกินไป
           3. ไม่พูดแทรกเรื่องอื่นขึ้นมาในขณะที่ผู้ดูคนอื่น ๆ กำลังสนใจดูสื่อนั้น
           4. ไม่พูดหรือเล่าเรื่องล่วงหน้า ในขณะที่ผู้ดูคนอื่นๆ กำลังดูรายการนั้นอยู่
           5. การดูสื่อที่ต้องมีเสียงด้วย ไม่ควรเปิดเสียงดังจนเกินไป
           6. การดูในสถานที่ประชุมหรือในที่สาธารณะ ควรดูด้วยความตั้งใจ ไม่คุยกัน ไม่รับประทานอาหารในขณะดู 7. ไม่ทำกิจกรรมอื่นใด และไม่ลุกเดินเข้า - ออกบ่อยๆ ในขณะดู
           7. การนั่งดูในสถานที่ประชุมหรือในที่สาธารณะ ให้นั่งฟังด้วยท่าทางที่สุภาพ ไม่ยกเท้าขึ้นพาดที่นั่งผู้อื่น และไม่นั่งบังผู้อื่น
          8. ห้ามสูบบุหรี่ในขณะที่ดู เพราะเป็นการสร้างมลพิษให้แก่ผู้อื่นที่ร่วมดูอยู่ด้วย และขณะนี้มีกฎห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะด้วย
           9. การวิพากษ์วิจารณ์สารที่ดู ควรใช้คำพูดที่สุภาพ และปราศจากอคติส่วนตัว
           10.หากเป็นการดูสารจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ควรมีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อชนิดนั้นพอสมควร และหากเป็นสื่อสาธารณะ ก็ไม่ควรจับจองการใช้สื่ออยู่เพียงผู้เดียว

     การฟังและการดูเป็นการรับสารที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน การฟังและการดูมีความจำเป็นในการเรียนรู้ นักเรียนที่มีสมรรถภาพในการฟังและการดูสูง คือ ฟังเป็น ดูเป็น จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

   http://ncn-edu.wikispaces.com/มารยาทในการดู

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

การฟัง หมายถึง ความสามารถในการได้ยินผ่านหู แล้วรับรู้ เข้าใจ ไปจนถึงขั้นตอนของการตีความ หรือรู้ว่าเนื้อเรื่องสำคัญของสิ่งที่ฟังอยู่คืออะไร ซึ่งถ้าหากเรามีความสามารถในการฟังที่ดี นอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่กำลังฟังแล้ว ก็ยังช่วยให้เราบอกเล่าเรื่องที่ฟังให้กับคนอื่นได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

 

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

จุดมุ่งหมายในการฟัง

การสื่อสารในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการฟัง การพูด การอ่าน หรือการเขียนก็ล้วนแล้วแต่ต้องมีจุดมุ่งหมาย หรือความต้องการที่จะสื่อสารออกมา เช่นเดียวกันกับการฟังที่ต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เรารู้ว่าเราจะต้องฟังสิ่งนั้นไปเพื่ออะไร โดยจะแบ่งจุดมุ่งหมายของการฟังออกเป็น 3 ข้อใหญ่ ๆ ดังนี้

1) การฟังเพื่อความรู้

สำหรับจุดมุ่งหมายของการฟังเพื่อความรู้ เป็นการฟังเนื้อหาสาระที่ทำให้เราเกิดปัญญา เกิดความรู้ อย่างการฟังครูสอนในห้องเรียน ฟังข่าวสารทางโทรทัศน์ ฟังพยากรณ์อากาศทางวิทยุ หรือการฟังเพื่อนพูดรายงงานหน้าชั้นเรียน ซึ่งเมื่อเราได้ฟังแล้วก็จะนำไปคิด วิเคราะห์ หรือตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งที่ฟังต่อได้

2) การฟังเพื่อความเพลิดเพลิน

จุดมุ่งหมายต่อมาคือการฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ซึ่งเรามักจะได้ใช้ในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ  เพราะเป็นการฟังที่ไม่ต้องใช้การครุ่นคิด ไม่ต้องตีความ เพียงแค่ฟังให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินใจอย่างการฟังเพลง ฟังดนตรีสด ฟังเรื่องตลกขบขัน หรือฟังเสียงตามธรรมชาติ โดยการฟังแบบนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความชอบ หรือความต้องการของเราด้วย

3) การฟังเพื่อได้คติ และความจรรโลงใจ

สุดท้ายเป็นการฟังเพื่อให้ได้คติสอนใจ หรือความจรรโลงใจ น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่คุ้นชินกับการฟังในข้อนี้มากนัก แต่ความจริงแล้วมันเป็นการฟังที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น การฟังพระเทศนา ฟังนิทานที่มีข้อคิดคติสอนใจ รวมทั้งการฟังกลอน
หรือบทกวีที่โดยรวมแล้วจะเป็นการฟังเพื่อทำให้จิตใจของเราคิดดี ทำดี หรือฟังเพื่อให้ได้ข้อคิดไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตด้วย

 

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

 

มารยาทของผู้ฟังที่ดีควรทำอย่างไร?

 

1.ฟังอย่างเรียบร้อยตั้งใจ

มารยาทข้อแรกที่เราควรต้องมีเมื่อฟังผู้อื่นพูด คือการตั้งสมาธิ และตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้พูดกำลังจะสื่อสารกับเรา ให้เราตั้งใจฟังว่าเนื้อหาสาระสำคัญที่ผู้พูดต้องการจะบอกเราคืออะไร เช่น ถ้าเราต้องฟังเพื่อนพูดรายงงานหน้าชั้นเรียน เราควรฟังว่า
เพื่อนทำรายงานเรื่องอะไร และต้องการจะนำเสนอเรื่องอะไรบ้าง

2. ไม่พูด หรือส่งเสียงรบกวนขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด

ข้อนี้เป็นมารยาทที่น้อง ๆ ทุกคนต้องให้ความสำคัญมาก ๆ เพราะเมื่อมีผู้พูดก็ต้องมีผู้ฟังเป็นธรรมดา ดังนั้น ทุกครั้งที่เราเห็นผู้อื่นกำลังพูดอยู่ เราควรที่จะเงียบ และตั้งใจฟัง ไม่ควรพูดแทรก หรือส่งเสียงรบกวนผู้พูดเด็ดขาด

3. ปรบมือเพื่อให้เกียรติผู้พูด

ข้อนี้เป็นมารยาทสากลที่ทุกคนต้องฝึกฝนให้เป็นนิสัย ทุกครั้งที่เพื่อนของเราออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน หรือไปฟังผู้อื่นพูดบนเวที เมื่อเขาพูดจบแล้วให้ปรบมือเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้พูด

4. ยกมือถามเมื่อรู้สึกสงสัย

การยกมือถามเมื่อเรารู้สึกสงสัยเป็นเรื่องที่เราสามารถทำได้ และเป็นมารยาทที่ดี แต่น้อง ๆ ต้องคำนึงถึงสถานการณ์ ณ ขณะนั้นด้วยว่าเราสามารถยกมือถามได้หรือไม่ เช่น ในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนเราควรให้เพื่อนของเรารายงานจนจบก่อน แล้วเราจึงยกมือถามเพื่อไม่เป็นการทำลายสมาธิของเพื่อนในขณะที่กำลังพูดอยู่ หรือในงานประชุมที่มีคนกำลังพูดอยู่บนเวทีเราควรรอให้ผู้พูดเว้นช่วงให้เราถามในตอนท้ายแล้วค่อยยกมือถามจึงจะเหมาะสมกว่า

5. รักษากฎระเบียบของสถานที่ที่เราไปนั่งฟัง 

การเรียนรู้กฎระเบียบของสถานที่ที่เราไปนั่งฟัง แล้วปฏิบัติตามถือเป็นมารยาทที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ เลย เพราะทุกสถานที่ย่อมมีกฎระเบียบกำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่นในห้องเรียนที่มีกฎว่าเวลาเรียนห้ามส่งเสียงดัง ห้ามพูดคุยกันในระหว่างที่ครูสอน หรือห้องประชุมที่มักจะห้ามคุยโทรศัพท์ หรือเปิดเสียงโทรศัพท์ระหว่างการประชุม ซึ่งเราก็ควรจะปฏิบัติตามกฎของสถานที่นั้น ๆ อย่างเคร่งครัดด้วย

6. ฟังด้วยความไม่มีอคติ

ข้อสุดท้ายคือการฟังโดยที่ตัวเราต้องลบความรู้สึกไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือไม่เห็นด้วยออกไปให้หมดก่อน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นอคติที่จะทำให้เราปิดกั้นตัวเองจากการรับฟังสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารกับเรา เช่น ถ้าเราไม่ชอบผู้พูดเป็นการส่วนตัว หรือเราไม่ชอบเนื้อหา มุมมองที่ผู้พูดเอาออกมานำเสนอ เราก็จะไม่อยากฟัง  หรือไม่ให้ความสนใจกับผู้พูด ซึ่งนั่นถือเป็นมารยาทในการฟังที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นเราควรฟังด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่คิดลบ หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมาเด็ดขาด

สรุป

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเนื้อหาสาระที่เราได้นำมาฝากน้อง ๆ ทุกคน บทเรียนเรื่องมารยาทในการฟังที่ดีนั้น
ถึงแม้ว่าจะเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างง่าย แต่ก็มีหลายอย่างที่เรายังต้องเรียนรู้ โดยน้อง ๆ ทุกคนจะได้เรียนเรื่องจุดมุ่งหมายของการฟังที่ลึกขึ้นในระดับมัธยมศึกษา และจะมีเนื้อหาการฟังที่ละเอียดมากขึ้น ดังนั้น การมีรากฐานความรู้ที่ดีในบทเรียนนี้ก็จะช่วยให้เราสามารถนำไปต่อยอดกับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้ โดยเนื้อหาต่อไปเราจะมาเรียนรู้มารยาทในการฟังที่ดี ถ้าใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องมารยาทการฟัง และการพูดที่ดีก็สามารถไปดูคลิปวีดีโอจากครูอุ้มด้านล่างนี้ได้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

ทริคสังเกต ประโยคในภาษาไทย รู้ไว้ไม่สับสน

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยสับสนและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยคในภาษาไทยกันมาไม่มากก็น้อย ทำไมอยู่ดี ๆ เราถึงไม่เข้าใจประโยคภาษาไทยที่พูดกันอยู่ทุกวันไปได้นะ? แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ กลับไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องประโยคอีกครั้ง พร้อมเรียนรู้เคล็ดลับการสังเกตประโยคง่าย ๆ จะเป็นอย่างไร ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของประโยค   ประโยค เป็นหน่วยทางภาษาที่เกิดจากการนำคำหลาย ๆ คำ หรือกลุ่มคำ มาเรียงต่อกันอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กัน

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

ส่วนต่างๆ ของวงกลม

ส่วนต่างๆ ของวงกลม ก่อนที่เราจะมารู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลม เรามาเริ่มรู้จักวงกลมกันก่อน จากคำนิยามของวงกลมที่กล่าวว่า “วงกลมเกิดจากชุดของจุดที่มาเรียงต่อกันบนระนาบเดียวกัน โดยทุกจุดอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดคงที่ในระยะทางที่เท่ากันทุกจุด”   โดยเรียกจุดคงที่นี้ว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม เรียกระยะทางที่เท่ากันนี้ว่า รัศมีของวงกลม       วงกลม คือ รูปทรงเรขาคณิตที่มีสองมิติเเละจะมีมุมภายในของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่เยอะเเยะมากมาย

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

Finite and Non- Finite Verb

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนการใช้ “Finite and Non- Finite Verb” ในภาษาอังกฤษกันจร้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า   คำเตือน: การเรียนเรื่องนี้จะทำให้นักเรียนมึนงงได้หากว่าพื้นฐานเรื่อง Part of speech, Subject , Tense, Voice และ Mood ของเราไม่แน่น

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง
มารยาทในการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ขั้นตอนของการแก้โจทย์ปัญหา บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย แต่ก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้อย่าลืมทบทวน การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กันก่อนนะคะ ถ้าน้องๆพร้อมแล้วเรามาศึกษาขั้นตอนของการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการ ดังนี้               ขั้นที่ 1 วิเคราะห์โจทย์ว่ากำหนดอะไรให้บ้าง และให้หาอะไร               ขั้นที่ 2 กำหนดตัวแปรแทนสิ่งที่โจทย์ให้หาหรือแทนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่โจทย์ให้หา               ขั้นที่ 3 เขียนสมการตามเงื่อนไขของโจทย์               ขั้นที่

มารยาทในการฟังและดูมีความสําคัญอย่างไร

การฟังและดูเป็นการรับสารเข้าสู่สมอง ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น การฝึกรับสารด้วยการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะที่สำคัญ จะทำให้ผู้รับสารมีความรู้ที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมและนำความรู้ที่ได้รับพูดนำเสนออกไปได้อย่างมีคุณค่า มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น

มารยาทในการดูคืออะไร

มารยาทในการดู - นั่งหรือยืนดูในท่าที่เรียบร้อย - ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น - เมื่อต้องเดินผ่านผู้ที่กำลังดู ควรเดินอย่างระมัดระวัง - ไม่พูดหรือเล่าเรื่องราวแทรกขณะที่ผู้อื่นกำลังดูอยู่

มารยาทข้อสำคัญในการฟังและดูสื่อคือสิ่งใด

มารยาทในการฟังและการดู 1. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เพื่อให้เกียรติผู้พูดและให้เหมาะแก่กาลเทศะ 2. ตั้งใจฟังโดยไม่ซักถาม หรือพูดคุยกันจนกว่าผู้พูดจะพูดจบ ไม่ควรลุกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็นระหว่างที่ผู้พูดกำลังพูด หากมีเหตุจำเป็นต้องลุกออกไป ควรแสดงความเคารพผู้พูดทั้งก่อนออกจากห้องและเมื่อกลับเข้ามาในห้อง

มารยาทในการฟังที่ดีมีอะไรบ้าง

มารยาทของผู้ฟังที่ดีควรทำอย่างไร?.
ฟังอย่างเรียบร้อยตั้งใจ ... .
ไม่พูด หรือส่งเสียงรบกวนขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด ... .
ปรบมือเพื่อให้เกียรติผู้พูด ... .
ยกมือถามเมื่อรู้สึกสงสัย ... .
รักษากฎระเบียบของสถานที่ที่เราไปนั่งฟัง ... .
ฟังด้วยความไม่มีอคติ.