รอย แตก ผนัง กับ เสา

ตามปกติของ ” การต่อเติมบ้าน ” มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงตั้งแต่การออกแบบเลยคือ ปัญหารอยแยกต่างๆ ที่ตัวโครงสร้างใหม่มักจะเกิดการทรุดตัว แยกตัว ออกจากตัวบ้านเดิม สาเหตุหลักเพราะส่วนที่ต่อเติมนั้นมีโครงสร้างที่แยกกับตัวบ้าน จึงเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน

–> ปัญหานี้หลีกเลี่ยงยากแต่ก็ป้องกันให้เกิดปัญหาช้าลงได้ด้วยการตอกเสาเข็ม ซึ่งจะทำให้พื้นทรุดตัวช้าลง หรือทรุดช้าพอๆ กับตัวบ้าน เป็นการยืดระยะเวลาที่บ้านจะทรุดตัวได้ วิธีการป้องกันคือ การก่อสร้างให้ผนังของส่วนต่อเติมแยกจากตัวอาคารเดิม ไม่ให้เชื่อมกันโดยตรง ส่วนบริเวณรอยต่อให้ยาแนวด้วยวัสดุที่มีความยืดหยุ่น เช่น PU หรือ ซิลิโคน เพื่อไม่ให้น้ำรั่วซืมเข้าสู่ตัวอาคารค่ะ

สรุปเบื้องต้นของรอยร้าวต่างๆ ที่กล่าวมานี้ บางปัญหาก็เป็นเรื่องของตัวโครงสร้างอาคาร บางปัญหาก็เกิดจากขั้นตอนการก่อสร้าง ซึ่งรอยร้าวต่างๆ นี้ มักจะมาเห็นผลในตอนหน้าฝน เมื่อน้ำรั่วเข้าบ้านตามรอยต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อพื้น ผนัง และเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน ดังนั้น เมื่อเกิดรอยร้าวก็ควรแก้ไขโดยเร็ว โดยต้องควบคุมให้การก่อสร้างหรือซ่อมแซมนั้นมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รวมถึงใช้บริการติดตั้งจากทีมช่างที่มีความชำนาญ เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้มากที่สุด

การป้องกันแก้ไขสำหรับรอยร้าวในจุดต่างๆ ก็ได้อธิบายไปหมดแล้ว ก็หวังว่าจะช่วยหาวิธีแก้ไขให้กับเพื่อนๆ ได้พอสมควร แต่หากไม่ได้เตรียมการรับมือไว้อย่างที่กล่าวมา ปัญหาเหล่านี้ก็อาจเกิดขึ้นและรอยร้าวบางจุดก็เป็นตัวแสดงถึงความอันตรายในระดับโครงสร้างด้วยเช่นกัน แล้วจะมีวิธีอย่างไรอีกบ้างในการรับมือกับปัญหานี้ ?.. ” การทำประกันภัยบ้าน “ ถือเป็นอีกทางออกหนึ่งที่จะทำให้เราไม่ต้องเสียเงินก้อนโตไปกับการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น หากวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ผนังอาคารร้าวจนน้ำฝนไหลเข้าบ้าน เข้าห้องพักอาศัย ซึ่งอาจทำให้เราต้องซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ใหม่ และซ่อมแซมบ้านในส่วนที่ชำรุดเสียหาย ..หากใครยังไม่เข้าใจถึงเรื่องของประกันภัยบ้านว่าทำหน้าที่อะไร บทความนี้จะยก Case Study ที่เกิดขึ้นจริงมาเล่าให้ฟังกันค่ะ

ข้อควรระวัง – หลายท่านเลือกที่แก้ไขเฉพาะบริเวณรอยร้าว แต่บอกได้เลยว่านับวันอาการมีแต่จะแย่ลง แนะนำให้กำหนดไว้เลยว่าจะซ่อมแซมเมื่อไร ตั้งงบไว้ เพื่อให้ปัญหาไม่บานปลายไปสู่โครงสร้างของบ้านเดิมในที่สุด

เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการทำงานก่อที่ไม่ถูกต้อง หรือละเลยในส่วนที่มองว่าเล็กน้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในรอยร้าวที่อาจเป็นสัญญาณของผนังที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากตัวผนังก่ออิฐอาจยึดเกาะกับเสาได้ไม่ดีพอ

6.   รอยร้าวแนวดิ่งกลางคาน ลักษณะของรอยร้าวกลางคาน ที่เป็นรอยแตกเป็นแนวดิ่งตั้งแต่ตัวคาน ถือเป็นรอยร้าวชนิดอันตราย เพราะมีโอกาสที่ตัวบ้านจะแยกออกจากกันได้ ซึ่งเป็นผลจากการที่คานรับน้ำหนักมากไป ต้องเร่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ